การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13605
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/16
คำถามอย่างย่อ
อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
คำถาม
อัสสลามมุอลัยกุม ต้องการทราบว่า มีหลักเกณฑ์อะไรในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม? ทำไมพี่น้องซุนนีกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวว่าจะต้องถึงวัยที่บรรลุนิติภาวะ แต่ชีอะฮ์กำหนดว่าจะต้องอายุ 9 ปีบริบูรณ์? กรุณาอธิบายพร้อมกับแสดงหลักฐานด้วย
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย  ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa

คำตอบเชิงรายละเอียด

การบาลิกเป็นลักษณะทางธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายจะต้องพบเจอในช่วงหนึ่งของชีวิต ในช่วงเวลาดังกล่าวร่างกายมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงบางประการ  ซึ่งจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคลโดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม, ภูมิอากาศ, อาหารการกิน ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้ในลักษณะของการเปลี่ยนของเสียง, การที่มีขนบริเวณอวัยวะพึงสงวน, การหลั่งอสุจิ (สำหรับผู้ชาย), การมีประจำเดือน (สำหรับผู้หญิง) ฯลฯ อิสลามถือว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเกณฑ์สำหรับการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อมีหนึ่งในปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้สำหรับคือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และการมีประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยบาลิก(บรรลุนิติภาวะทางศาสนา)แล้ว แต่ทว่าในอิสลาม นอกจากคุณลักษณะทางธรรมชาติแล้ว ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์ด้านอายุในการบาลิกสำหรับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย  ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มมิได้บาลิกโดยธรรมชาติ แต่อายุถึงเกณฑ์ที่ศาสนาได้กำหนดไว้ เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเฉกเช่นบุคคลบาลิกทั่วๆไป

ทั้งซุนนีและชีอะฮ์มีความเชื่อตรงกันว่า[1] ในกรณีที่เด็กสาวมีประจำเดือน[2] ถือว่าเขาได้ถึงวัยบาลิกแล้ว ทั้งนี้ นอกจากลักษณะดังกล่าว ยังมีการกล่าวถึงลักษณะอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งเนื่องจากหลักเกณฑ์ปลีกย่อยดังกล่าวไม่เป็นที่เอกฉันท์สำหรับมัซฮับอื่นๆ จึงของดนำเสนอในที่นี้ สรุปคือ ไม่ใช่ว่าฝ่ายซุนนีจะถือวัยของการบรรลุนิติภาวะทางธรรมชาติเป็นเกณฑ์ในการเข้าสู่วัยบาลิกเสมอไป โดยมีชีอะฮ์เท่านั้นที่เชื่อว่าเด็กสาวจะต้องมี 9 ปีบริบูรณ์ (แต่ทว่าในบางพื้นที่ เด็กสาวก็อาจจะบรรลุนิติภาวะทางธรรมชาติในวัย 9 ปีด้วยเช่นกัน) แต่หากเด็กสาวมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ ในกรณีนี้ทุกมัซฮับล้วนเชื่อว่าเธอถึงวัยบาลิกแล้ว แม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายซุนนีได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเด็กสาวก็ตาม[3] ดังนั้นจึงไม่มีข้อแตกต่างระหว่างความเชื่อของซุนนีและชีอะฮ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของการบาลิกแต่อย่างใด มีข้อแตกต่างเพียงประเด็นเดียวก็คือชีอะฮ์และซุนนีกำหนดวัยของบาลิกในเด็กสาวไม่ตรงกัน

การถึงวัยบาลิก

ชาวซุนนีกำหนดวัยของบาลิกต่างจากชีอะฮ์ ดังที่ในมัซฮับต่าง ๆ ของซุนนีก็มีความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดด้วยเช่นกัน[4]

บรรดาฟุกะฮาอ์ของชีอะฮ์ได้กำหนดว่าเด็กสาวจะถึงวัยบาลิกเมื่อถึง 9 ปี และในเด็กผู้ชายเมื่อถึง 15 ปี[5]

ทัศนะของชาวซุนนีเกี่ยวกับวัยของการบาลิกในเด็กสาว[6]

มัซฮับฮะนาฟีถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและเด็กหนุ่มเมื่อถึงอายุ 15 ปี แม้อบูฮานีฟะฮ์จะกำหนดว่าผู้ชายจะบาลิกเมื่ออายุ 18 ปี และในผู้หญิงเมื่อถึงอายุ 17 ก็ตาม

มาลิกี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 18 ปีบริบูรณ์

ชาฟิอี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 15 ปีบริบูรณ์

ฮัมบะลี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 15 ปีบริบูรณ์

ฮะนาฟี ถือว่าวัยในการบาลิกในเด็กสาวและผู้ชายคือ 15 ปีบริบูรณ์

 


[1] ญะซีรีย์, อับดุรเราะฮ์มาน, อัลฟิกฮ์ อะลัล มะซาฮิบ อัลอัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412, ดารุษษะเกาะลัยน์, เบรุต, 1419

[2] ตั้งสมมุติฐานว่าวัยที่จะมีประจำเดือนได้น่าจะอยู่ประมาณ 9 ปี, กิตาบุฏ ฏอฮาเราะฮ์, (อิมามโคมัยนี, พิมพ์ใหม่) เล่ม 1, หน้า 9

[3] อัลฟิกฮ์ อะลัลมะซาอิบิล อัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412

[4] อัลฟิกฮ์ อะลัลมะซาอิบิล อัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412

[5] ฏูซีย์, มูฮัมหมัด บิน ฮะซัน, อัลมับซูฏ, เล่ม 3, หน้า 37, ชะรอยิอุลอิสลาม, เล่ม 1, หน้า 179, ญามุล มะกอซิด, เล่ม 5, หน้า 180, ตัซกิเราะตุลฟุกะฮาอ์, เล่ม 14, หน้า 188, อีฏอฮุล ฟะวาอิด, เล่ม 2, หน้า 50, คัชฟุร รุมูซ ฟี ชัรฮิ มุคตะซารุล นาฟิอ์, เล่ม 1, หน้า 552

[6] อัลฟิกฮ์ อะลัลมะซาอิบิล อัรบาอะฮ์ วะ มัซฮับ อะฮ์ลิล บัยต์, เล่ม 2, หน้า 412, ฟะตะวาเย อัลอัซฮัร, เล่ม 10, หน้า 426, อัลมูซูอะตุล ฟิกฮียะฮ์, เล่ม 2, หน้า 332, กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการส่วนรวม, คูเวต وقد اختلف في سنّ البلوغ : فيرى الشّافعيّة والحنابلة وأبو يوسف ومحمّد من الحنفيّة ، وبرأيهما يفتى في المذهب ، والأوزاعيّ ، أنّ البلوغ بالسّنّ يكون بتمام خمس عشرة سنةً قمريّةً للذّكر والأنثى ' تحديديّة كما صرّح الشّافعيّة ' ، لخبر " ابن عمر.

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่านซูเราะฮ์ต่าง ๆ ที่มีสุญูดวาญิบในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถทำการสุญูดได้อย่างไร?
    6749 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
     มัรญะอ์ตักลีดทุกท่านมีความเห็นว่าเป็นวาญิบสำหรับทุกคนที่จะต้องสุญูดหลังจากการอ่านหรือฟังอายะฮ์ที่วาญิบจะต้องสุญูดท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “ในซูเราะฮ์ “อันนัจม์, อัลอะลัก, อลีฟลามมีมตันซีลและฮามีมซัจดะฮ์” จะมีหนึ่งอายะฮ์ที่หากใครก็ตามได้อ่านหรือฟังอายะฮ์เหล่านี้จะต้องทำการสุญูดทันทีหลังจากที่อายะฮ์ดังกล่าวจบลงและหากหลงลืมจะต้องทำการสุญูดเมื่อนึกขึ้นได้[1]มัรญะอ์บางท่านได้กล่าวว่า “แม้หากได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจหรือได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวอย่างผิวเผินเป็นอิฮ์ติญาดวาญิบที่จะต้องทำการสุญูด[2]อนึ่งในการสุญูดวาญิบของกุรอานไม่สามารถสุญูดบนอาหารหรือเครื่องแต่งกายแต่ไม่จำเป็นที่จะทำตามเงื่อนไขข้ออื่นๆ[3]ของการสุญูดในนมาซเช่นไม่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำละหมาดหรือหันหน้าไปทางกิบลัตอีกทั้งไม่วาญิบที่จะต้องอ่านอะไรและหากกระทำเพียงแตะหน้าผากบนพื้นโดยมีเจตนาที่จะสุญูดโดยไม่ได้อ่านอะไรก็ถือว่าเพียงพอแล้ว[4]ดังนั้นหากไม่สามารถสุญูดเช่นนี้ได้จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเช่นขอร้องไม่ให้นักกอรีอ่านซูเราะฮ์ที่มีสุญูดวาญิบในงานเช่นนี้หรือผู้จัดงานจะต้องหาสถานที่จัดงานที่ผู้เข้าร่วมในงานสามารถทำสุญูดได้เมื่อมีการอันเชิญอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบและหากไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้ฟังจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะได้ยินอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบเองเช่นเมื่อจะมีการอ่านอายะฮ์หรือซูเราะฮ์ดังกล่าวให้รีบเดินออกจากงานทันทีเพื่อไม่ต้องสุญูด[1]
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5841 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    6191 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
    5616 تاريخ کلام 2554/12/10
    สำนวน “ร็อวเฎาะฮ์” เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่างๆในหนังสือ “ร็อวเฎาะตุชชุฮะดา”มาอ่านโดยนักบรรยายหนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลาซึ่งเขียนโดยมุลลาฮุเซนกาชิฟซับซะวอรี (เกิด 910 ฮ.ศ.) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซีหนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้วดังนั้นพิธีต่างๆที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน
  • โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
    17980 کلیات 2555/06/30
    วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ...
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    15004 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    7902 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    8404 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • บรรดามลาอิกะฮฺมีอายุขัยนานเท่าใด ?มลาอิกะฮฺชั้นใกล้ชิดต้องตายด้วยหรือไม่? เป็นอย่างไร?
    14287 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ตามรายงานกล่าวว่ามวลมลาอิกะฮฺถูกสร้างหลังจากการสร้างรูฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) พวกเขาทั้งหมดแม้แต่ญิบรออีล,
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    7971 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59028 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56455 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41353 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38133 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37883 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33202 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27307 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26922 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24892 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...