การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6233
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
 
รหัสในเว็บไซต์ ar18663 รหัสสำเนา 24328
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
คำถาม
ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง

อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า

"كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛

“อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ]  ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า สูเจ้าจงนำเอาเตารอตมาแล้วจงอ่านหากสูเจ้าเป็นผู้พูดจริง"

นักตัฟซีรบางท่านกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า :

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งในคัมภีร์เตารอตได้ระบุถึงการลงโทษบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนจากวงศ์วานอิสราเอล โดยการสั่งห้ามบางสิ่งสำหรับพวกเขา แต่พวกเขาได้อ้างว่าการสั่งห้ามสิ่งเหล่านี้มิได้เกิดจากแนวคิดแต่อย่างใด ทว่าเนื่องจากผู้เป็นต้นตระกูลของพวกเขาหมายถึง ศาสดายะอฺกูบได้ทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง ซึ่งคำสั่งนั้นได้ครอบคลุมไปถึงเหล่าบรรดาลูกหลานของท่านด้วย, ทว่าโองการนี้ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลบล้างคำพูดอ้างของพวกยะฮูดียฺ เกี่ยวกับการห้ามรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เนื้ออูฐและน้ำนม ทรงตรัสว่า อาหารทั้งหมดสะอาดและในตอนเริ่มต้นบทบัญญัติแห่งเตารอตสิ่งเหล่านี้เป็นที่อนุมัติและฮะลาลสำหรับชาวอิสราเอล เว้นเสียแต่ว่าเนื้ออูฐเป็นอันตรายกับยะอฺกูบ ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมา หรืออาจเป็นเพราะการบนบานเอาไว้ว่า จะไม่รับประทานเนื้ออูฐหรือจะไม่ดื่มน้ำนม แต่ต่อมาผู้ปฏิบัติตามท่านบางคนเข้าใจผิดนึกว่าสิ่งนั้นเป็นคำสั่งห้ามจากพระเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง โองการข้างต้นจึงได้อธิบายว่าเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเป็นการให้ร้ายต่ออัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ไม่เคยทรงห้ามอาหารที่สะอาดและดีแก่วงศ์วานอิสราเอลก่อนการประทานคัมภีร์เตารอตเลยแม้แต่นิดเดียว แต่หลังจากประทานคัมภีร์แล้ว เนื่องจากพวกเขาแสดงพฤติกรรมไม่ดีต่อศาสดามูซา (อ.) อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลงโทษพวกเขา และห้ามมิให้พวกเขารับประทานอาหารบางประเภทด้วย[1]

 


[1] ดาวูด พะนอ,อบุลฟัฎล์, อัลวารุลเอรฟาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 6, หน้า 228-229, อินเตชารอตซ็อดร์, เตหะราน, ปี 1375, ค.ศ. 1996

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
    9282 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม อบูดัรดาอฺ คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.), ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน เพื่อสงครามการนองเลือดจะได้สิ้นสุดลง แล้วทั้งสองก็กลับมาหาท่านอิมามอะลี แต่ท่านมาลิกอัชตัรได้พบกับพวกเขาก่อน และได้ประณามพวกเขาอย่างรุนแรง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลีแล้ว, วันที่สองเมื่อความต้องการของพวกเขาได้แจ้งให้ท่านอิมามอะลี ได้รับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน ...
  • บทบาทและเป้าหมายของอะฮ์ลุลบัยต์คืออะไร?
    6877 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มีฮะดีษทั้งในสายของชีอะฮ์และซุนนะฮ์มากมายที่บ่งชี้ถึงความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านนบี(ซ.ล.)อันประกอบด้วยผู้มีเกียรติทั้งห้านั่นคือตัวท่านนบีเอง, ท่านอิมามอลี, ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • การสักร่างกายถือว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5883 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
     คำตอบของอายาตุลลอฮ์มะฮ์ดีฮาดาวีเตหะรานี“หากไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอีกทั้งไม่ทำให้ภาพพจน์ของบุคคลดังกล่าวตกต่ำลงถือว่าไม่เป็นไรคำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9228 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7713 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5478 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    6409 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    7685 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6120 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59386 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41666 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33445 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...