การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7588
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10087 รหัสสำเนา 20024
คำถามอย่างย่อ
ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
คำถาม
ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ในซิยารัตอาชูรอ มีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการ ซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัต เพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่า บนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขา อันหมายถึงผู้กระทำผิด ผู้วางเฉย ผู้ปีติยินดี ... ฯลฯ ต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวก หากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอ ก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์ และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก
ฉะนั้น ในทางวิชาอุศู้ลแล้ว เราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้น เป็นการยกเว้นประเภทตะค็อศศุศมิไช่ตัคศี้ศหมายความว่า คำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำถามข้างต้นมีสองแง่มุม หนึ่ง ต้องการทราบความคิดและพฤติกรรมของบุตรชายยะซีด สอง ทำความเข้าใจขอบเขตละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ในซิยารัตอาชูรอ
ต้องเรียนชี้แจงเกี่ยวกับบุตรชายยะซีดว่า การที่เขายอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ถือเป็นการกระทำที่เหมาะสม เนื่องด้วยยอมรับว่าตำแหน่งดังกล่าวได้มาอย่างไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าวก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เราแน่ใจว่าเขาเตาบะฮ์อย่างครบถ้วนทุกเงื่อนไข (ทดแทนสิ่งที่เคยละเมิด) แล้วหรือยัง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะได้รับพระเมตตาจากอัลลอฮ์และหลุดพ้นจากบ่วงละอ์นัตของพระองค์ 

การยึดครองตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์แม้จะด้วยระยะเวลาสั้นๆ ก็ถือเป็นบาปมหันต์ที่ต้องมีเงื่อนไขบางประการจึงจะได้รับอภัยโทษ ดังที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีนกล่าวถึง อุมัร บิน อับดุลอะซีซว่าเขาเสียชีวิตลงโดยมีชาวโลกร่ำไห้ไว้อาลัย แต่ชาวฟ้าประณามละอ์นัตเขาอยู่[1] ทั้งนี้ก็เนื่องจากเขาครองตำแหน่งที่ตนไม่มีสิทธิ แม้ว่าเขาจะมีความประพฤติที่ดีกว่าเคาะลีฟะฮ์คนอื่นๆก็ตาม อย่างไรก็ดี เรามิได้ฟันธงว่าทั้งมุอาวิยะฮ์ บุตรของยะซีด และอุมัร บิน อับดุลอะซีซ ไม่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์[2] พระองค์เท่านั้นที่ทรงทราบ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีคนดีๆในเชื้อตระกูลบนีอุมัยยะฮ์อยู่ ถึงแม้จะมีจำนวนน้อยนิดก็ตาม อาทิเช่น คอลิด บิน สะอี้ด บิน อาศ, อบุลอาศ บิน เราะบี้อ์, สะอ์ดุ้ลค็อยร์ และคนอื่นๆ ฉะนั้น เมื่อทราบแล้วว่ายังมีบางคนในตระกูลนี้ที่ไม่ควรถูกละอ์นัตจากอัลลอฮ์ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ในสำนวนซิยารัตอาชูรอ  ที่นี้

ความหมายของการละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ทั้งตระกูล
ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียด จำเป็นต้องชี้แจงเบื้องต้นก่อนว่าหนึ่งในคำสอนอันชัดเจนของกุรอานก็คือ การที่บุคคลจะไม่ถูกประณามหรือลงโทษทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยกับความผิดของผู้อื่น[3] เว้นเสียแต่ว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจกับความผิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ห้ามปราม ซึ่งการวางเฉยของเขานี่แหล่ะที่นำมาซึ่งอะซาบ มิไช่อะซาบที่มาจากการกระทำของผู้อื่น ดังกรณีอูฐของนบีศอลิห์ที่ถูกฆ่าโดยชายคนเดียว[4] แต่กุรอานโยงความผิดครอบคลุมทั้งชนเผ่าษะมู้ด[5]อันสมควรได้รับโทษร่วมกัน[6] ทั้งนี้ก็เพราะกลุ่มชนษะมู้ดพึงพอใจกับพฤติกรรมฆ่าอูฐดังกล่าว ซึ่งอิมามอลี(.)ถือว่า ความยินดียินร้ายร่วมกันของชาวษะมู้ดคือสาเหตุที่ต้องประสบชะตากรรมร่วมกัน[7]

กล่าวคือ มาตรฐานของกุรอานและฮะดีษในการโยงบุคคลไปยังกลุ่มหรือชนเผ่าก็คือ ความสอดคล้องทางความคิดและพฤติกรรม ดังที่อัลลอฮ์ไม่ทรงถือว่าบุตรชายของนบีนู้ห์เป็นอะฮ์ล” (สมาชิกครอบครัว) นบีนู้ห์ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับบิดา[8] ในขณะที่ท่านนบี(..)กลับถือว่าซัลมาน ฟารซี เป็นสมาชิกครอบครัวของท่าน[9]
ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม(.)จึงไม่นับว่าคนดีในสายตระกูลบนีอุมัยยะฮ์เป็นเทือกเถาเหล่ากอของบนีอุมัยยะฮ์ อย่างเช่นกรณีของสะอ์ดุ้ลค็อยร์ ที่เข้าพบอิมามมุฮัมมัด บากิร(.) พลางร้องไห้เสียงดัง อิมามถามว่า ท่านเป็นอะไรจึงร้องไห้เช่นนี้? เขาตอบว่า จะไม่ให้กระผมร้องไห้ได้อย่างไร ในเมื่อกระผมเป็นเทือกเถาของต้นไม้ที่ถูกละอ์นัตในกุรอาน อิมาม(.)กล่าวว่า لَسْتَ مِنْهُمْ أَنْتَ أُمَوِی مِنَّا أَهْلَ الْبَیت ท่านมิไช่พวกเขา ท่านคือเชื้อสายอุมัยยะฮ์ทว่าเป็นสมาชิกครอบครัวเรา ท่านไม่เคยได้ยินดอกหรือว่า อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า และผู้ใดที่ปฏิบัติตามฉัน เขาคือพรรคพวกของฉัน [10]

สรุปคือ นัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ในสำนวนซิยารัตครอบคลุมเฉพาะบุคคลที่มีความคิดสอดคล้องกับกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ อันประกอบด้วยผู้เบิกทาง ผู้ลงมือ ผู้นิ่งเฉย และผู้ยินดีปรีดาต่อการแย่งชิงตำแหน่งผู้นำและการสังหารบรรดาอิมาม(.) และเหล่าสาวก
หากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอ ก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยาก เนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์ และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์ โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์ รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก
ฉะนั้น ในทางวิชาอุศู้ลแล้ว เราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้น เป็นการยกเว้นประเภทตะค็อศศุศมิไช่ตัคศี้ศหมายความว่า คำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ

มัรฮูม มีรซอ อบุลฟัฎล์ เตหรานีอธิบายซิยารัตอาชูรอโดยย้ำประเด็นนี้ และเสริมข้อสังเกตุอีกสองประการคือ:
1
. คำว่าบนีเชื่อมกับคำว่าอุมัยยะฮ์ซึ่งการเชื่อมคำเช่นนี้มักมีการเจาะจงเป็นการเฉพาะ  กล่าวคือ บนีอุมัยยะฮ์หมายถึงลูกหลานของอุมัยยะฮ์กลุ่มหนึ่งที่เกลียดชังและเป็นศัตรูกับอะฮ์ลุลบัยต์
2. บางฮะดีษ อิมาม(.)เอ่ยคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ แต่ก็ได้ระบุถึงอบูซุฟยาน มุอาวิยะฮ์ และลูกหลานมัรวานด้วย[11]

สรุปคือ ในกรณีที่มุอาวิยะฮ์ บุตรของยะซีดไม่สมควรจะถูกละอ์นัต  แต่ด้วยกับเบาะแสในแง่ความหมาย บนีอุมัยยะฮ์จึงถูกจำกัดให้หมายถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่รวมถึงคนอย่างบุตรชายยะซีด[12]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ คำตอบที่ 854 และ 2795



[1] ศ็อฟฟ้าร,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, บะศออิรุดดะเราะญ้าต, หน้า 170, ห้องสมุดอ.มัรอะชี นะญะฟี,กุม,พิมพ์ครั้งที่สอง,..1404

[2] ด้วยเหตุนี้ ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมีรซอ อับดุลลอฮ์ อะฟันดีจึงกล่าวในหนังสือ ริยาฎุ้ลอุละมา ว่า ไม่แน่ชัดว่าสามารถละอ์นัตและสาปแช่งอุมัร บิน อับดุลอะซีซได้ และซัยยิดมุรตะฎอก็ยกตัวอย่างจากกวีอุมัร บิน อับดุลอะซีซในลักษณะที่ยกย่องเขา

[3] อันนัจม์,38-41 สำนวน لا تزر وازرة وزر اخری ในโองการซูเราะฮ์ อันอาม,164 อิสรอ,15 ฟาฏิร,18  ซุมัร.7

[4] เกาะมัร, อิมามอลี(.)กล่าวว่า แท้จริงมีเพียงชายษะมู้ดคนเดียวที่ฆ่าอูฐ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ศุบฮี ศอลิห์, คุฏบะฮ์ 201, หน้า 319

[5] อะอ์รอฟ,77 ฮูด,65 อัชชุอะรอ,157 อัชชัมส์,14

[6] และพวกเขาได้ฆ่าอูฐ และอัลลอฮ์ได้ลงโทษตามความผิดของพวกเขา และทำให้ราพณาสูรอัชชัมส์,14

[7] โอ้กลุ่มชน ความยินดีและความโกรธาเท่านั้นที่รวบรวมผู้คนได้ เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ฆ่าอูฐ ทว่าอัลลอฮ์ทรงลงทัณฑ์ทั้งกลุ่มชน เพราะพวกเขายินดีปรีดานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 201, หน้า 319

[8] قالَ یا نُوحُ إِنَّهُ لَیْسَ مِنْ أَهْلِکَ إِنَّهُ عَمَلٌ غَیْرُ صالِحٍ فَلا تَسْئَلْنِ ما لَیْسَ لَکَ بِهِ عِلْمٌ إِنِّی أَعِظُکَ أَنْ تَکُونَ مِنَ الْجاهِلینَ ฮู้ด,46

[9] سلمان منا اهلَ البیت ซัลมานเป็นสมาชิกครอบครัวเรา มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 65,หน้า 55, สถาบันวะฟา,เบรุต..1404

[10] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 46,หน้า 337, และเชคมุฟี้ด,อัลอิคติศ้อศ,หน้า 85 สัมมนาเชคมุฟี้ด,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1413

[11] เตหรานี,มีรซอ อบุลฟัฎล์, ชิฟาอุศศุดู้ร ฟี ชัรฮิ ซิยาเราะติลอาชู้ร, เล่ม 1,หน้า 255-263, สำนักพิมพ์มุรตะเฎาะวี,พิมพ์ครั้งแรก

[12] อ่านเพิ่มเติม ดู: ทัรคอน, กอซิม, บุคลิกภาพและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)ในปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา,หน้า 279-291

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    9501 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    8696 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    8155 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8359 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    7054 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    9530 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    7668 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    8158 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
    6664 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้นจะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิงสอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิมและกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไปดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสารแต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้ ...
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6939 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60546 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58139 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40047 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39291 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34407 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28471 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28395 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28322 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26246 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...