การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6022
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10572 รหัสสำเนา 22843
หมวดหมู่ รหัสยทฤษฎี
คำถามอย่างย่อ
ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
คำถาม
ดิฉันต้องการจะทราบเกี่ยวกับอิรฟานภาคปฏิบัติว่า กลุ่มชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? (ดิฉันหมายถึงสำนักอย่างกอดิรียะฮ์, นักชบันดียะฮ์...) ดิฉันทราบเกี่ยวกับแก่นคำสอนของอิรฟานภาคปฏิบัติในระดับหนึ่ง อย่างเช่นคำสอนที่ว่ามนุษย์มีจิตใจที่จะต้องได้รับการขัดเกลาด้วยคำสอนของบรรดาศาสนทูต และหากตาใจของเราเปิด เราก็สามารถจะกล่าวเหมือนอิมามท่านแรกของชีอะฮ์ได้ว่า “ฉันบูชาพระเจ้าเพราะฉันประจักษ์ถึงพระองค์” หรืออย่างน้อยก็สามารถกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงทำให้ข้าฯประจักษ์ถึงพระองค์ด้วยตาใจ” การที่ตาใจเปิดก็เท่ากับได้ประจักษ์ “วะฮ์ดะฮ์”(เอกะ)อย่างแท้จริง ดังที่กล่าวกันว่า لیس فی الدار غیره دیار หากความมหัศจรรย์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นในโลกได้ตามความคิดของชีอะฮ์ ก็แสดงว่าสามารถจะจาริกในหนทางดังกล่าวในประเทศอุซเบกิสถานได้ เราชาวอุซเบกิสถานจะมีโอกาสได้บรรลุถึงอิรฟานระดับต่างๆทั้งที่ยังใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน (ซึ่งขาดแคลนคุณธรรมและคละคลุ้งด้วยความเสื่อมทรามในระดับที่หยั่งรากลึกในประสาทสัมผัสและเลือดเนื้อของเราแล้ว) หากเป็นไปได้ เราจะต้องเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
คำตอบโดยสังเขป

มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง
ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิรฟานและชีอะฮ์
มีเหตุผลมากมายที่บ่งชี้ว่าอิรฟานที่แท้จริงมีความเชื่อมโยงกับสำนักคิดชีอะฮ์อย่างชัดเจน อาริฟหลายท่านเชื่อว่าโดยแก่นแท้แล้ว สองแนวคิดข้างต้นนี้ก็คือสิ่งเดียวกัน ท่านซัยยิดฮัยดัร ออโมลี ซึ่งเป็นอาริฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า:
“ชีอะฮ์และอิรฟานมีต้นกำเนิดเดียวกัน และดำเนินสู่แก่นธรรมเดียวกัน เนื่องจากแหล่งอ้างอิงของศาสตร์ทุกแขนงของชีอะฮ์ก็คือท่านอิมามอลี(อ.)และวงศ์วานของท่าน ส่วนกรณีของอาริฟ(ตะศ็อววุฟที่แท้จริง)ก็เช่นกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากพวกเขาจะไม่อ้างอิงคำสอนจากผู้ใดนอกจากอิมามอลีและวงศ์วานของท่าน บางคนถือว่าแนวอิรฟานและสำนักอิรฟานต่างๆมีต้นกำเนิดมาจากกุเมล บิน ซิยาด นะเคาะอี ซึ่งเป็นสาวกพิเศษของอิมามอลี บางคนเชื่อว่าแนวทางนี้ได้มาจากฮะซัน บัศรี ซึ่งก็เป็นผู้ที่เลื่อมใสในตัวท่านเช่นกัน บางคนถือว่าได้มาจากอิมามญะฟัร ศอดิก(อ.) ซึ่งเป็นลูกหลานของท่านและมีหลักฐานยืนยันถึงความเป็นอิมาม ... ฉะนั้น บรรดาอิมามของชีอะฮ์จึงเป็นทั้งประมุขด้านชะรีอัต และเป็นผู้นำฝ่ายเฏาะรีกัต และยังเป็นแกนและเสาหลักของฮะกีกัต”[1]

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชีอะฮ์และอิรฟานเป็นประเด็นที่กว้างเกินกว่าจะกล่าวถึงในบทความสั้นๆ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และเนื้อหา อย่างไรก็ดี  คำสอนของอิรฟานไม่ว่าจะภาคทฤษฎีหรือในแง่วัตถุวิสัยล้วนรณรงค์สู่การเป็น “มนุษย์ผู้สมบูรณ์”ในฐานะที่เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าในหมู่ประชาชนทั้งสิ้น และแน่นอนว่าบรรดาอิมามก็คือบุคคลเหล่านี้ โดยในยุคแห่งการเร้นกายอันเป็นยุคสุดท้ายนั้น ท่านอิมามมะฮ์ดี (อิมามท่านที่สิบสอง) ก็คือกุฏบ์ (แกน) ของเหล่าอาริฟ โดยมีนบีคิเฎรและนบีอีซา ฯลฯ คอยเป็นเสนาบดีและผู้ช่วยของท่าน

ด้วยเหตุนี้จึงมีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าแก่นคำสอนของหลักอิมามะฮ์และวิลายะฮ์ที่ปรากฏในแนวทางชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง หรือที่เรียกกันว่า “วิลายะฮ์ตั้กวีนี”และระดับขั้นทางใจ ในมุมมองของอิรฟานนั้น อิมามก็คือหัวใจและแกนของโลกทั้งผอง และเป็นภาพลักษณ์ของคุณลักษณะและพระนามของพระองค์ทั้งหมด

สำนักตะศ็อววุฟ
ประเด็นการสืบทอดหรือการเข้าร่วมสำนักอิรฟานนั้น มักได้รับอิทธิพลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างครูอิรฟานและสานุศิษย์ ดังกรณีความสนิทสนมระหว่างชัมส์ ตับรีซี กับ เมาละวี อย่างไรก็ดี มิไช่ว่าศิษย์ทุกคนที่เรียนรู้จากครูบาจะสามารถบรรลุอิรฟานขั้นสูงเสมอไป มีบางคนที่สามารถเข้าถึงแก่นของอิรฟานได้ด้วยเบื้องลึกของตน (ซึ่งตามทัศนะชีอะฮ์แล้ว จะเกิดขึ้นโดยผ่านแก่นแห่งอิมามะฮ์เท่านั้น) ฉะนั้นจึงมีอาริฟหลายคนที่แม้ว่าจะได้รับอนุญาตจากเหล่าอาริฟท่านอื่นให้สามารถสอนแก่ลูกศิษย์ลูกหาได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ถือว่าตนเองสังกัดในสำนักใดสำหนักหนึ่งของอิรฟาน อาทิเช่น อิบนิ อะเราะบี ซึ่งถือว่านบีคิเฎรคือครูของตน

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่อาริฟที่มีชื่อเสียงล่วงลับไป ก็มักจะมีการถ่ายทอด “เฏาะรีกัต”(แนววิธี)กันในหมู่ลูกศิษย์รุ่นต่อรุ่น ซึ่งอาจมีการสังคายนาหรือบิดเบือนไปตามกาลเวลา ทำให้บางครั้งไม่อาจจะถือว่าการสังกัดสำนักอิรฟานหรือการสืบเชื้อสายถึงอาริฟท่านใดท่านหนึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าแนวทางนั้นคือสำนักอิรฟานที่ถูกต้องเสมอไป

เป็นที่ทราบกันว่าเหล่าอาริฟผู้สมบูรณ์มักใช้ชีวิตปะปนอยู่ในสังคมทั่วไปทุกยุคสมัย โดยอาจจะอยู่ในเครื่องแบบหรืออาชีพใดก็ได้เพื่อจะให้การช่วยเหลือผู้แสวงหาการจาริกอิรฟาน ทั้งนี้ก็เพราะอัลลอฮ์ทรงไม่ประสงค์ที่จะปิดกั้นโอกาส และหากพบว่ามีมุอ์มินที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจในหนทางนี้ พระองค์ก็จะทรงบันดาลให้มีครูบาอาจารย์เข้ามาชี้แนะหนทางอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถจำกัดนัยยะของอิรฟานไว้แค่สำนักอิรฟานที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะบางครั้งก็ไม่สามารถจะพบอิรฟานได้ในสำนักต่างๆโดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน และก็ไม่อาจจะเชื่อได้เสมอไปว่า ผู้ที่ได้รับเสื้อผ้าซูฟีหรือเข้าสังกัดสำนักต่างๆจะเป็นผู้ที่คงไว้ซึ่งอิรฟานที่แท้จริงแห่งอัลลอฮ์ อันเป็นแก่นแท้ของมัซฮับและชะรีอัตของเหล่าศาสนทูตของพระองค์ ดังวจนะของนักกวีนามฮาฟิซที่ว่า:

ค่าของซูฟีมิได้ดูกันเพียงแค่ความสมถะ
บ่อยครั้งอาภรณ์ที่ชุนปะนำพาสู่ไฟนรก

บรรดาอาริฟกำหนดว่า“อานุภาพความรักอัลลอฮ์ที่มีต่อกายและใจของอาริฟ”คือหลักเกณฑ์ที่จะจำแนกอาริฟที่แท้จริงออกจากพวกฉวยโอกาส อาริฟจะสามารถโอนถ่ายอานุภาพดังกล่าวแก่ลูกศิษย์ ซึ่งสามารถสัมผัสได้อย่างยาวนาน ตรงข้ามกับพวกที่แอบอ้างเป็นอาริฟซึ่งถนัดแต่จะใช้คารมรื่นหู เล่ห์เหลี่ยม มายากล และยกคำพูดของอาริฟที่มีชื่อเสียงมาเพื่อระดมคะแนนนิยมและต้มตุ๋นสาวกของตน อุบายเหล่านี้ก็คือสิ่งที่ทำให้ผู้คนในสังคมมีอคติต่อแนวอิรฟานโดยรวม

อิรฟานที่แท้จริงในยุคปัจจุบัน
ในยุคที่เต็มไปด้วยอบายมุขและเทคโนโลยีที่ฉาบด้วยกิเลสและตัณหาอย่างปัจจุบันนี้ อิรฟานสามารถที่จะมีบทบาทอันโดดเด่นในการช่วยเหลือมนุษยชาติ ไม่เพียงแต่จะเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูอิรฟาน หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เพราะการเข้าใจเปลือกนอกของศาสนาอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอต่อการถักทอตักวาในเบื้องลึกของจิตใจ แต่จะเกิดขึ้นได้ด้วยสัมผัสทางจิตวิญญาณเท่านั้น

ในอีกมุมหนึ่ง การประจักษ์ว่าโลกสมัยใหม่ถึงทางตัน โดยที่การเริงโลกีย์ที่แพร่หลายในปัจจุบันไม่สามารถจะบำเรอความกระหายได้อีกต่อไป กระทั่งต้องหันไปพึ่งยาเสพติดและฆ่าตัวตายอย่างแพร่หลาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า มนุษยชาติกำลังก้าวสู่ยุคสุดท้ายในแง่อิรฟาน และมีความกระหายที่จะได้หวลคืนสู่คุณธรรมทางจิตวิญญาณอันเป็นคุณธรรมที่สามารถสัมผัสได้ ณ หัวใจ และรับรู้ได้ในโลกนี้โดยไม่ต้องรอถึงโลกหน้า คุณธรรมที่จะสนองให้มนุษยชาติอิ่มเอม และนำพาให้หลุดพ้นจากความไร้แก่นสารของโลกนี้

อิรฟานภาคปฏิบัติ
เบื้องต้นได้เรียนชี้แจงไปแล้วว่า อิรฟานมิไช่สิ่งที่แปลกแยกจากศาสนา แต่เป็นแก่นและเบื้องลึกของศาสนานั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองที่วิธีปฏิบัติเบื้องต้นของอิรฟานก็มีเพียงชะรีอัตเท่านั้น ต่างกันตรงที่ชะรีอัตที่กระทำด้วยสำนึกแห่งอิรฟานย่อมจะมีความลึกซึ้งมากกว่าปกติ อันจะนำพานักจาริกไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คำว่าชะรีอัตแปลว่าหนทาง ส่วนอิรฟานและการรู้จักพระองค์ถือเป็นเส้นชัยของหนทางนี้ ชะรีอัตอิสลามมิได้เป็นขนบประเพณีของศาสนาที่แพร่หลายในสังคมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นคำสั่งที่จำเป็นต่อการปกปักษ์รักษาอัญมณีอันเลอค่าในตัวมนุษย์ เพื่อจะนำพาสู่การประจักษ์ถึงตนเองและพระเจ้า

หากปฏิบัติตามลำดับของชะรีอัตและตักวา(ซึ่งล้วนเป็นมารยาทของความเป็นมนุษย์)อย่างเคร่งครัดแล้ว เมื่อนั้นหัวใจก็จะมีศักยภาพพอที่จะได้รับอานิสงส์ทางจิตวิญญาณซึ่งเรียกกันว่า“เฏาะรีกัต” และเส้นชัยของหนทางนี้ก็มิไช่อื่นใดนอกจากได้ประจักษ์ถึง“ฮะกีกัต”

เบื้องต้นของการย่างก้าวสู่หนทางจาริกสู่อัลลอฮ์และการมุมานะในหนทางนี้ก็คือการเตาบะฮ์ อันหมายถึงการตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะละทิ้งบาปทั้งมวล เพื่อแผ้วถางหัวใจให้ได้รับการนำทางของพระองค์ การนำทางในที่นี้อาจเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิเช่น การได้มีโอกาสพบมนุษย์ผู้สูงส่งอันถือเป็นการนำทางพิเศษของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักจาริกได้พัฒนาถึงขั้นที่สูงขึ้นนั้น ยิ่งจำเป็นต้องมีครูผู้เพียบพร้อม ฉะนั้น ผู้ที่มีโอกาสได้พบและสานสัมพันธ์กับบุคคลพิเศษเหล่านี้จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความผาสุกที่สุดแล้ว

หากนักจาริกมีความมุ่งมันพากเพียรในหนทางอิรฟานอย่างแท้จริง ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดในโลก อัลลอฮ์จะทรงประทานการนำทางพิเศษแก่เขาอย่างแน่นอน เมื่อศึกษาอัตชีวประวัติของนักจาริกที่ยิ่งใหญ่ก็จะพบว่าพวกเขาได้รับโอกาสที่จะพบอาริฟที่สูงส่งได้โดยที่ตนเองก็ไม่เคยคาดฝันมาก่อน ฉะนั้นจึงควรทราบว่า พลานุภาพของพระองค์ในการนำทางนั้น มิได้จำกัดไว้เพียงยุคใดยุคหนึ่ง ดังที่เหล่าอาริฟมีความกระหายที่จะนำทางลูกศิษย์มากกว่าที่ลูกศิษย์แสวงหาอาริฟเสียอีก ฉะนั้น หากมีความบริสุทธิ์ใจในการแสวงหา ย่อมจะมีปฏิกิริยาจากพระองค์อย่างแน่นอน สิ่งที่เราขาดแคลนในยุคปัจจุบันก็คือความมุ่งมั่นที่จะปลดแอกแห่งโลกิยะ หาไม่แล้ว การนำทางพิเศษของอัลลอฮ์มีพร้อมไว้ให้ปวงบ่าวของพระองค์ได้ตักตวงเสมอ

อนึ่ง โลกชีอะฮ์มีอาริฟที่ยิ่งใหญ่เสมอมา ในยุคร่วมสมัยก็มีอาริฟหลายท่านที่ให้การช่วยเหลือและอบรมนักจาริกมากมาย อาทิเช่น อายะตุลลอฮ์ มีรซอ อลี ออฆอ กอฎี, มุลลอ ฮุเซนกะลี ฮะมะดอนี, อายะตุลลอฮ์ อันศอรี ฮะมะดอนี และอีกหลายท่านที่เพียรพยายามอบรมลูกศิษย์มากมายทั้งในแง่วิชาการและอิรฟาน ปัจจุบันลูกศิษย์เหล่านี้ทั้งผู้ที่มีชื่อเสียงและผู้ไม่ประสงค์จะเป็นที่รู้จัก ต่างก็ช่วยกันผดุงไว้ซึ่งแวดวงอิรฟานสืบไป

ท้ายนี้ ขอแนะนำหนังสือ “มะกอล้าต”ประพันธ์โดยอายะตุลลอฮ์ มุฮัมมัด ชะญาอี แก่ผู้สนใจแวดวงจาริกทางอิรฟาน หนังสือดังกล่าวมีสามเล่ม[2] และนำเสนอขั้นตอนการจาริกไว้ดังนี้
1.“ยักเซาะฮ์”หรือแรงจูงใจจากอัลลอฮ์  2.เตาบะฮ์(การหวลสู่พระองค์)  3.ขัดเกลาจิตใจ(เตาบะฮ์ให้พ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์)  4.ปรารถนาและมุ่งมั่น   5.การระมัดระวังขั้นแรก   6.การระมัดระวังขั้นที่สอง

อ่านเพิ่มเติมได้จากระเบียนต่อไปนี้
7709 (ลำดับในเว็บไซต์ 7855), 9043 (ลำดับในเว็บไซต์ 9018)

 

 


[1] ออโมลี,ซัยยิดฮัยดัร,ญามิอุ้ลอัสร้อร วะมันบะอุ้ลอันว้าร,หน้า 4,สำนักพิมพ์อิลมีฟัรฮังฆี,ปี 1368

[2] เล่ม1 พื้นฐานภาคทฤษฎีของการขัดเกลา
เล่ม2 การขัดเกลาภาคปฏิบัติ(1)
เล่ม3 การขัดเกลาภาคปฏิบัติ(2)
งานประพันธ์เล่มนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โซรู้ช.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะทำอิบาดะฮ์ทั้งที่มีงานประจำล้นมือได้อย่างไร?
    7661 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/14
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้นควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. อิบาดะฮ์หมายถึงการจำนนต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์[i]แม้ว่านมาซจะถือเป็นอิบาดะฮ์ขั้นสูงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิบาดะฮ์จะต้องเป็นนมาซหรือดุอาเสมอไปฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ล้วนกำลังทำอิบาดะฮ์อยู่ทั้งสิ้น2. การแสวงหาริซกีฮะล้าลหมายถึงการเพียรพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนาแน่นอนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงงานที่ใช้ทักษะความคิดเช่นงานของวิศวกรแพทย์ฯลฯด้วยซึ่งหากเป็นไปตามกฏและบทบัญญัติศาสนาก็ถือว่ากำลังแสวงหาริซกีฮะล้าลทั้งสิ้น3. หากไม่ไช่การประชดประชันถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกว่าทำงานตั้งแต่ตีสี่ครึ่งถึงเที่ยงคืน
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20878 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • การเผยแพร่ศาสนา (สอนและแนะนำต่างศาสนิก) เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนหรือไม่?
    23037 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/02
    อิสลามเป็นศาสนาระดับโลกสำหรับสาธารณชน และเป็นศาสนาสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกชาติพันธุ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม วิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้อื่นรู้จักศาสนาแห่งมนุษยธรรมดังกล่าวก็คือ การเผยแพร่ข้อเท็จจริง บทบัญญัติ คำแนะนำและขนบมารยาทของอิสลามให้เป็นที่รู้จัก คัมภีร์กุรอานได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ไว้ในหลายโองการด้วยกัน ดังโองการที่ว่า “จะมีใครมีวาจาที่ประเสริฐไปกว่าผู้ที่เชื้อเชิญสู่อัลลอฮ์และความประพฤติอันงดงาม โดยกล่าวว่าฉันคือหนึ่งในมวลมุสลิม”[1] อีกโองการหนึ่งระบุว่า “และจะต้องมีคณะหนึ่งจากสูเจ้าที่เชื้อเชิญสู่ความประเสริฐ กำชับสู่ความดีและห้ามปรามจากความชั่ว บุคคลเหล่านี้แหล่ะคือผู้ได้รับชัยชนะ”[2] แม้ว่าการเผยแพร่ศาสนาจะมิได้เป็นภาระหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่กุรอานได้กำชับให้มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธาออกไปศึกษาวิชาการอิสลามเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ศาสนา โองการกล่าวว่า “มิบังควรที่เหล่าผู้ศรัทธาจะกรีฑาทัพ(สู่สมรภูมิ)ทุกคน เหตุใดจึงไม่กรีฑาทัพไปเพียงคณะหนึ่งจากแต่ละกลุ่ม (และเหลือบุคคลที่ยังอยู่ในมะดีนะฮ์)เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา(สารธรรมและบทบัญญัติอิสลาม)อย่างลึกซึ้ง และจะได้กำชับสอนสั่งกลุ่มชนของตนเมื่อพวกเขากลับ(จากสมรภูมิ) เพื่อหวังว่าพวกเขาจะยำเกรง”[3] โองการดังกล่าวสื่อว่า จำเป็นต้องมีความพร้อมสรรพด้านวิชาการในการเผยแพร่ศาสนา โดยแต่ละคนมีหน้าที่ในการเผยแพร่ตามความรู้ที่ตนมี ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่รายงานฮะดีษของเราจำนวนมาก อันจะสามารถทำให้จิตใจของชีอะฮ์ของเรามั่นคง บุคคลผู้นี้ประเสริฐกว่าผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์ถึงหนึ่งพันคน”[4] การช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดีที่สำคัญที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ การตอบปัญหาและการปกป้องความเชื่ออันบริสุทธิของชีอะฮ์ให้พ้นจากเหล่าผู้ใส่ไคล้ ผู้ที่หวงแหนศาสนาย่อมจะต้องพร้อมด้วยการศึกษาวิชาการศาสนา เพื่อที่จะสนองความต้องการทางวิชาการและการเผยแพร่ศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การเผยแพร่มิได้จำกัดอยู่เพียงการกล่าวเทศนาหรือการเขียนตำรา ...
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11421 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9639 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • มีคำอรรถาธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่เก้า ซูเราะฮ์ญิน?
    11387 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    นักอรรถาธิบายกุรอานแสดงทัศนะเกี่ยวกับโองการประเภทนี้แตกต่างกัน นักอรรถาธิบายยุคแรกส่วนใหญ่เชื่อว่าควรถือตามความหมายทั่วไปของโองการ แต่“อาลูซี”ได้หักล้างแนวคิดดังกล่าวพร้อมกับนำเสนอคำตอบไว้ในตำราอธิบายกุรอานของตน นักอรรถาธิบายบางคนอย่างเช่นผู้ประพันธ์ “ตัฟซี้รฟีซิล้าล”ข้ามประเด็นนี้ไปอย่างง่ายดายเพราะเชื่อว่าโองการประเภทนี้เป็นเนื้อหาที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ส่วนบางคนก็อธิบายลึกซึ้งกว่าความหมายทั่วไป โดยเชื่อว่าฟากฟ้าที่เป็นเขตพำนักของเหล่ามลาอิกะฮ์นี้ เป็นมิติที่พ้นญาณวิสัยที่มีสถานะเหนือกว่าโลกของเรา ส่วนการที่กลุ่มชัยฏอนพยายามเข้าใกล้ฟากฟ้าดังกล่าวเพื่อจารกรรมข้อมูล จึงถูกกระหน่ำด้วยอุกกาบาตนั้น หมายถึงการที่เหล่าชัยฏอนต้องการจะเข้าสู่มิติแห่งมลาอิกะฮ์เพื่อจะทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่ก็ถูกขับไล่ด้วยลำแสงของมิติดังกล่าวซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะทนได้ ...
  • ถ้าหากชาวสวรรค์มีการแบ่งชั้นอยู่ ดังนั้นสำหรับชาวนรกแล้วเป็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่?
    11988 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    สิ่งที่อัลกุรอานและรายงานฮะดีซ กล่าวไว้เกี่ยวกับชั้นต่างๆ ของนรก,ก็คือนรกนั้นมีชั้นเหมือนกับสวรรค์[1]ที่แบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งชาวนรกทั้งหลายจะถูกพิพากษาไปตามความผิดที่ตนได้กระทำไว้หนักเบาต่างกันไป, ซึ่งเขาจะถูกนำไปพักอยู่ในชั้นนรกเหล่านั้นเพื่อลงโทษในความผิดที่ก่อขึ้น รายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวเกี่ยวกับโองการที่ว่า «لَها سَبْعَةُ أَبْوابٍ لِكُلِّ بابٍ مِنْهُمْ جُزْءٌ مَقْسُوم»[2] สำหรับนรกมีเจ็ดประตู และทุกประตูมีสัดส่วนที่ถูกจัดไว้แล้ว (สำหรับผู้หลงทาง) ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ได้มีรายงานมาถึงฉันว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแบ่งนรกออกเป็น 7 ชั้น 1.ชั้นที่หนึ่ง : เป็นชั้นที่สูงที่สุดเรียกว่า “ญะฮีม” ชาวนรกในชั้นนี้จะถูกให้ยืนอยู่บนโขดหินที่ร้อนระอุด้วยความยากลำบาก กระดูกและสมองของเขาจะเดือดพล่านเนื่องจากความร้อนนั้น
  • อัศล์ อะมะลีและดะลี้ล อิจติฮาดีหมายความว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่?
    7281 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    อัศล์อะมะลีอัศล์อะมะลีในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรงโดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆกล่าวคืออัศล์อะมะลีหรืออุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัยฉะนั้นมูลเหตุของอุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย” อีกชื่อหนึ่งของอัศล์อะมะลีก็คือ “ดะลี้ลฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาลอันได้แก่บะรออะฮ์เอียะฮ์ติยาฏตัคยี้รและอิสติศฮ้าบดะลี้ลอิจติฮาดีดะลี้ลอิจติฮาดีคือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริงสาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริงจึงขนานนามว่าดะลี้ลอิจติฮาดีซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ลอิจติฮาดีได้เช่นกันดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริงอันได้แก่กุรอานซุนนะฮ์อิจมาอ์และสติปัญญาความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ลก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์อะมะลีอีกต่อไปในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้นในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจนแน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัยเมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุอัศล์ก็ย่อมหายไปแต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภทแม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1][1]อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ ...
  • กรุณาอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์
    5841 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/03/07
    คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์ นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์: وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى‏ فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    9388 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60180 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42255 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39463 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38986 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34043 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28052 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28038 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27873 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25858 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...