การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
18679
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/25
คำถามอย่างย่อ
โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
คำถาม
กระผมเป็นนักเขียนบทภาพยนตร์คนหนึ่ง ขณะนี้กำลังเขียนเรื่องหนึ่งโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ การสร้างความสมานฉันท์ในอิสลาม ดังนั้น จำเป็นที่กระผมต้องรู้หลักความเชื่อกว้างของนิกายที่มีการปฏิบัติตัวชนิดสุดโต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง

ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ที่สร้างไว้เหนือหลุมฝังศพของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ หรือปวงปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ล้วนเป็นบิดอะฮฺ ทั้งสิ้น พวกเขาเชื่อว่าท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มากด้วยความไร้สามารถต่างๆ  และมีความอ่อนแอของความเป็นมนุษย์อยู่อย่างมากมาย ท่านได้จากโลกไปโดยไม่ได้รับรู้ข่าวคราวอันใดจากเราและจากโลกใบนี้, การซิยาเราะฮฺหลุมศพของท่านเราะซูลถือเป็น ฮะรอม

ในทัศนะของวะฮาบีทั้งหลายถือว่า ไม่มีบุคคลใดเป็นมุสลิม นอกเสียจากได้ละเว้นภารกิจดังกล่าวข้างต้น

สิ่งที่ลืมไม่ได้ที่จะกล่าวถึงคือ หลักความเชื่อดังกล่าวได้รับการท้วงติง และหักล้างด้วยเหตุผลจากบรรดาปวงปราชญ์ ทั้งฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺ จำนวนมากมาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

บรรดาวะฮาบี (สำนักคิดวะฮาบี) คือพวกที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ บิน สุไลมาน นัจญฺดี (1115-1206) ซึ่งปฏิบัติตามสำนักคิดของ อิบนุตัยมียะฮฺ และเป็นลูกศิษย์ของ อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ผู้สถาปนาแนวศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ ชื่อสำนักคิดนี้ได้ตั้งมาจากชื่อของบิดาของอับดุลวะฮาบ[1]

วะฮาบี นับว่าเป็นหนึ่งในสำนักคิดอิสลามที่ตั้งรกรากอยู่ใน ประเทศซาอุดิอารเบีย และยังมีผู้นับถือปฏิบัติตามอยู่บางส่วน เช่น ในบางประเทศ ปากีสถานและอินเดีย.

มุฮัมมัดญะวาด มุฆนียะฮฺ กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อว่า »นี่คือวะฮาบี« โดยอ้างอิงไปยังสำนักคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ และผลงานชิ้นอื่นของวะฮาบี ท่านเขียนว่า : ตามทัศนะของวะฮาบีทั้งหลายเชื่อว่า ไม่มีมีมนุษย์คนในที่เคารพภักดีต่อพระเจ้า และไม่มีผู้ใดเป็นมุสลิมโดยแท้ เว้นเสียแต่ว่าต้องละทิ้งตามที่ได้กำหนดไว้ [ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป][2] ขณะที่, บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างมีความเชื่อว่า บุคคลใดก็ตามกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมาเขาผู้นั้นคือ มุสลิม ชีวิตและทรัพย์สินของเขาต้องได้รับการปกปักษ์รักษา, แต่บรรดาวะฮาบีกลับกล่าวว่า : คำพูดที่ปราศจากการปฏิบัติไม่มีคุณค่า และเชื่อถือไม่ได้, ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมา, แต่ได้ขอความช่วยเหลือผ่านพวกที่เสียชีวิตไปแล้ว เขาก็มิได้แตกต่างอะไรไปจากบรรดากาฟิรผู้ปฏิเสธทั้งหลาย ซึ่งเลือดและทรัพย์สินของพวกเขา ฮะลาล.

สำนักคิดวะฮาบี ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดิอารเบีย และได้รับการสถาปนาให้เห็นสำนักคิดประจำชาติ คำวินิจต่างๆ ของบรรดาผู้รู้ถูกดำเนินการปฏิบัติโดยรัฐบาล ส่วนรายละเอียดด้านการปฏิบัติ พวกเขาได้ยึดถือปฏิบัติตามแนวคิดของ อะฮฺมัด ฮันบะลี ขณะเดียวกันพวกเขาจะไม่ท้วงติงหรือขัดขวางผู้ปฏิบัติตาม สำนักคิดทั้งสี่ได้แก่ (ฮะนะฟี, ชาฟิอี, ฮันบะลี, และมาลิกี) แต่จะขัดขวางผู้ปฏิบัติตามมัซฮับอื่น เช่น ชีอะฮฺ ซัยดียะฮฺ ซึ่งทั้งสองมัซฮับจะได้รับการประณามสาปแช่ง[3]

ก่อนที่จะอธิบายถึงแนวความเชื่อของวะฮาบี สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ, บทนำสั้นๆ เกี่ยวกับการตั้งภาคีหรือชิริกเสียก่อน : คำว่า ชิริก, ในปธานุกรมหมายถึง การให้ความโศกเศร้าลำบาก, การผสมผสานกันการร่วมกันของสองหุ้นส่วน[4] ส่วนในนิยามของอัลกุรอาน, จะถูกนำไปใช้ในความหมายที่อยู่ตรงข้ามกับ คำว่า ฮะนีฟ ซึ่งจุดประสงค์ของ ชิริก, คือชิริกที่คล้ายเหมือน หรือตั้งสิ่งที่คล้ายคลึงขึ้นมาสำหรับพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง, คำว่า ฮะนีฟ, หมายถึงความปรารถนา ความทะยานอยากให้หลุดพ้นจาก การหลงผิดไปสู่ความถูกต้อง หรือแนวทางที่เที่ยงธรรม, และเนื่องจากผู้ปฏิบัติตามเตาฮีด, คือผู้บริสุทธิ์หรือผู้ที่หันห่างออกจากการตั้งภาคีไปสู่แก่นสารอันเป็นพื้นฐานของความปรารถนา, จึงเรียกพวกเขาว่า ฮะนีฟ

อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวถึงศาสดาของพระองค์ในอัลกุรอานว่า : »จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงพระผู้อภิบาลของฉันได้ชี้นำฉันไปสู่ทางอันเที่ยงตรง คือศาสนาที่เที่ยงแท้ [หลักประกันความผาสุกทั้งศาสนาและโลก] อันเป็นแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาสัจธรรม เขาเป็นผู้หันห่างออกจากความหลงผิดและเขาก็ไม่เป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี«[5]

และพระองค์ตรัสอีกว่า : »และ (มีบัญชา) ว่า จงมุ่งหน้าของเจ้าสู่ศาสนาโดยเที่ยงธรรม และอย่าอยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี«[6]

ด้วยเหตุนี้ ตามทัศนะของอัลกุรอาน, ชิริก, คือจุดที่อยู่ตรงกันข้ามกับศาสนาเที่ยงธรรม และสำหรับการรู้จักชิริกนั้น จำเป็นต้องรู้จักศาสนาที่เที่ยงธรรมเสียก่อน, เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่า «تعرف الاشیاء باضدادها» หมายถึงการรู้จักบางสิ่งด้วยสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม, สรุปก็คือ, สามารถกล่าวได้ว่า ชิริก, นั้นอยู่ตรงกันข้ามกับเตาฮีด และดั่งที่ทราบว่า เตาฮีด นั้นหลายประเภท, ชิริกก็มีหลายประเภทเช่นกัน.

สำหรับการจัดแบ่งโดยทั่วไปกล่าวคือ, ชิกริกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ก) »ชิริกในความหลักความศรัทธา« ข) »ชิริกในการปฏิบัติ«, และชิริกในหลักความศรัทธายังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ :

1.ชิริกในอุลูฮียะฮฺ : หมายถึง การเชื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ โดยเอกเทศซึ่งมีทั้งคุณลักษณะที่สัมบูรณ์และสง่างาม แน่นอนว่าความเชื่อทำนองนั้นเป็นสาเหตุนำไปสู่ การปฏิเสธ[7]ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : »แน่นอน ได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว สำหรับบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ คืออัลมะซีฮฺ บุตรมัรยัม[8]«

2.ชิริกในการสร้าง: มนุษย์เชื่อว่ามีผู้สร้างเป็นเอกเทศในโลกนี้ 2 องค์, ซึ่งทั้งการสร้างและการควบคุมโลกอยู่ในอำนาจของทั้งสอง, ดังที่พวกโซโรแอสเตอร์เชื่อในเรื่องผู้สร้างความดี (ยัซดอนนี) และความชั่ว (อะฮฺเราะมัน)

3.ชิริกในการบริบาล : หมายถึงเชื่อว่าในโลกนี้มีการอภิบาล (พระผู้อภิบาล) จำนวนมาก ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงเป็นนายของผู้อภิบาลเหล่านั้น กล่าวคือ การบริบาลโลกถูกควบคุมโดยผู้บริบาลต่างๆ,อย่างเป็นเอกเทศ ดังที่บรรดามุชิรกในสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ต่างมีความเชื่อเช่นนั้น โดยกลุ่มหนึ่งมีเชื่อว่าเทพพระเจ้าแห่งดวงดาวคือ ผู้บริบาลโลกนี้ ส่วนอีกกลุ่มเชื่อในดวงจันทร์ และอีกกลุ่มเชื่อดวงตะวัน

ชิริกในการกระทำ:

การเป็นชิริกในด้านการปฏิบัติเรียกว่า เป็นชิริกในการแสดงความเคารพภักดีหรือชิริกในอิบาดะฮฺนั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ได้แสดงความนอบน้อมถ่อมตน ซึ่งเกิดจากความเชื่อที่มีต่อความคู่ควรในการเป็นพระเจ้า หรือผู้สร้าง หรือผู้บริบาล โดยเขาได้แสดงความนอบน้อมและความเคารพนั้นแก่บุคคลหรือสรรพสิ่ง.

เหล่านี้คือมาตรฐานของการเป็นชิริก ซึ่งได้ตีความมาจากอัลกุรอาน

ส่วนมุสลิมกลุ่มหนึ่ง เช่น บรรดาวะฮาบีทั้งหลาย, พวกเขาได้สร้างมาตรฐานการเป็นชิริกด้วยตัวเอง และนำเอามาตรฐานเหล่านั้นมาเทียบบรรดามุสลิมคนอื่น พร้อมกับกล่าวหาว่าพวกเขาเป็นชิริก

โดยหลักการแล้ว มาตรฐานการเป็นชิริกที่พวกเขาได้กำหนดขึ้นนั้น, ไม่มีสิ่งใดเป็นที่เชื่อถือแม้แต่สิ่งเดียว,เนื่องจากมาตรฐานตามกำหนดของพวกเขาขัดแย้งกับอัลกุรอาน แบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของท่านศาสดา

ตรงนี้จะขอนำเสนอหลักความเชื่อบางประการของวะฮาบี ดังนี้ :

1.วะฮาบีมีความเชื่อเรื่อง อำนาจเร้นลับ สำหรับสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ พวกเขากล่าวว่า : »ถ้าหากบุคคลใดเชื่อและได้ขอความช่วยเหลือจากนบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ [โดยเรียกร้องความช่วยเหลือ] ขณะที่เชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นได้ยินดุอาอฺ และรับรู้ถึงสภาพของพวกเขา,พร้อมกับตอบรับดุอาอฺของพวกเขา, เหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในชิริกทั้งสิ้น[9]

2. การวิงวอนดุอาอฺกับคนตาย, ตามความเชื่อของวะฮาบีหนึ่งในชิริกคือ, การวิงวอนดุอาอฺกับคนตายและขอความช่วยเหลือจากพวกเขา หรือความมุ่งมั่นไปยังพวกเขา (แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นนบีหรือบรรดาศาสดาทั้งหลาย) และสิ่งนี้ถือว่าเป็นแก่นของการเป็นชิริกบนโลกนี้[10]

3.ดุอาอฺและตะวัซซุลเป็นอิบาดะฮฺประเภทหนึ่ง, กล่าวว่า : «การอิบาดะฮฺนั้น เฉพาะเจาะจงสำหรับอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว และดุอาอฺเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺ, ดังนั้น การวิงวอนต่อผู้อื่นไปจากอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นชิริกทั้งสิ้น»[11]

4.การซิยาเราะฮฺกุบูร สถานฝังศพเป็นชิริก

5. การขอตะบัรรุกจากร่องรอยของบรรดาศาสดาและมวลกัลญาณชนเป็นชิริก

6. การจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นชิริก

7.การสร้างโดมหรือเครื่องครอบหลุมศพเป็นชิริก

หลักความเชื่อเหล่านี้และมาตรฐานที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเอง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ :

1.วะฮาบีทั้งหลายต่างถือว่า มาตรฐานและการกระทำต่างๆ ตามที่กล่าวมาหากเป็นชิริกในด้านความเชื่อ ถือว่าผู้นั้นเป็นมุชริกทันที

สำหรับข้อหักล้างหลักความเชื่อข้างต้น สามารถกล่าวได้ว่า, ถ้าหากเชื่อในเรื่องอำนาจเร้นลับ, เชื่อในเรื่องการชะฟาอะฮฺ เชื่อในเรื่องการตอบรับดุอาอฺ และอื่นๆ ..ในลักษณะที่ว่าภารกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ ดังนั้น ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับสิ่งใด ล้วนอยู่ในอำนาจของพระองค์ที่ประทานแก่พวกเขา อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นชิริก, เนื่องจากตรงนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นเอกเทศไปจากอัลลอฮฺ แม้แต่ประการเดียว ซึ่งได้อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับ ชิริกในอุลูฮียะฮฺ ชิริกในการสร้างสรรค์ และชิริกในการบริบาล ซึ่งกล่าวไปแล้วเช่นกันว่า ชิริกในความศรัทธา จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น มีความเชื่อว่าผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ มีคุณลักษณะสัมบูรณ์และสง่างาม, หรือเชื่อว่าผู้นั้นสามารถสร้างสรรค์สรรพสิ่งได้อย่างเอกเทศ หรือสามารถบริบาลโลกได้อย่างเอกเทศเช่นกัน, แต่ถ้าอำนาจของเขาขึ้นอยู่อัลลอฮฺ, ตรงนี้คำว่า ชิริก จะไม่มีความหมายอีกต่อไป. เราและบรรดามุสลิมทั้งหลายต่างวิงวอนขอผ่านท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และตัวแทนของท่าน หรือมีความเชื่อว่าพวกเขามีอำนาจเหนือญาณวิสัย ซึ่งอำนาจเหล่านั้นล้วนได้รับมาจากอัลลอฮฺ ทั้งสิ้นหรืออัลลอฮฺทรงประทานตำแหน่งดังกล่าวแก่พวกเขา ถ้าเป็นในลักษณะนี้ยังจะถือว่าเป็น ชิริก อีกหรือไม่?

2. ส่วนที่สองภารกิจต่างๆ ที่วะฮาบีถือว่าเป็นชิริก ด้วยสาเหตุที่ว่าพวกเขาถือว่าการงานเหล่านั้นเป็นอิบาดะฮฺ, เช่น การจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือสร้างโดม หรือสัญลักษณ์ครอบไว้เหนือหลุมฝังศพ หรือการจูบลูกกรงหรือโดมที่ครอบอยู่บนหลุมฝังศพ และอื่นๆ ...

คำตอบ สำหรับหลักความเชื่อข้อนี้คือ พวกเขาตีความคำว่า อิบาดะฮฺ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เข้าใจว่า อิบาดะฮฺว่าหมายถึงอะไร ซึ่งอิบาดะฮฺนั้น มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการด้วยก้น และด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านั้นเอง อิบาดะฮฺ จึงเป็นอิบาดะฮฺที่กระทำไปเพื่อพระเจ้า อิบาดะฮฺ, ที่กล่าวว่าเป็นอิบะฮฺคือ ได้ถูกกระทำด้วยความนอบน้อมถ่อมตน ถูกขับเคลื่อนออกมาจากความเชื่อศรัทธาไปสู่ความคู่ควรในความเป็นพระเจ้า หรือพระผู้ทรงสร้างสรรค์ และบิรบาล ด้วยเหตุนี้เอง ตามคำนิยามดังกล่าวนี้ ถ้าหากความนอบน้อมถ่อมตน ไม่ได้ออกมาจากความเชื่อศรัทธา ไปสู่ความคู่ควรแก่การเคารพภักดี จะไม่ถือว่านั่นเป็นอิบาดะฮฺเด็ดขาด ด้วยสาเหตุนี้เอง จะเห็นว่าเมื่ออัลลอฮฺ ตรัสถึงการซัจญฺดะฮฺของเหล่าบรรดาพี่น้องของยูซุฟ (อ.) ต่อหน้ายูซุฟในบทยูซุฟ ไม่ถือว่าการซัจญฺดะฮฺนั้นเป็นชิริกแต่อย่างใด, เนื่องจากบรรดาพวกพี่ๆ ของยูซุฟ จะไม่เชื่อยูซุฟว่าคู่ควรแก่การเคารพภักดี หรือเป็นผู้สร้าง หรือผู้บริบาลแต่อย่างใด

น่ายินดีที่ว่า, บรรดาปวงปราชญ์ในอิสลาม และผู้รู้นักคิดทั้งหลายต่างมีความตื่นตัวกันอย่างถ้วนหน้า และมีความเข้าใจต่อมาตรฐานที่พวกเขาได้ตั้งขึ้นมาเอง พร้อมกับได้ตอบความเชื่อเชิงหักล้างด้วยเหตุผล

ตรงนี้สิ่งเดียวที่สมารถกล่าวได้ว่า สิ่งใดถูกหรือผิดคือ สติปัญญาที่มีความสมบูรณ์ของท่านผู้อ่านทั้งหลาย ที่ต้องพิจารณาด้วยวิจารณญาณของตนเองว่า ความเชื่อเหล่านี้สามารถเข้ากันได้กับธรรมชาติของมนุษย์ และอัลกุรอานหรือไม่, สิ่งเหล่านี้นะหรือคือความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในฐานะพรมแดนสุดท้ายของสาส์นแห่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[12] อัลกุรอาน มิได้กล่าวกับเราหรือว่า บรรดาชะฮีดต่างมีชีวิตอยู่ ณ อัลลอฮฺ[13] และฐานะภาพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่ำต้อยกว่าชะฮีดกระนั้นหรือ? และ ..

ทุกวันนี้, มุสลิมสำนักคิดต่างๆ ได้นำเอาประเด็น (ชิริก) มาเป็นมาตรวัดความผิดพลาด และทัศนะของคนอื่น และเมื่อใดก็ตามเมื่อมองเห็นสถานภาพของตนเองอ่อนแอ หรือเห็นว่าข้อพิสูจน์และเหตุผลของตนอ่อน ก็จะใส่ร้ายคนอื่นทันทีว่าเป็นชิริก ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิบัติเช่นนี้นอกเหนือไปจากคำสอนของอิสลาม, ไม่มีจริยธรรมจรรยาและหลงผิดอย่างหนัก แน่นอนว่าบรรดาปวงปราชญ์อิสลาม, ได้ตอบข้อพิสูจน์ของพวกเขาจนหมดสิ้นแล้ว[14]

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือดังต่อไปนี้ :

1.บะฮูษ กุรอานนียะฮฺ ฟิตเตาฮีด วัชชิรกิ, ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ.

2.วะฮาบียัต มะบานี ฟิกรียะฮฺ, วะบทวิเคราะห์เชิงวิชาการ,ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ.

3. สำนักคิดวะฮาบียฺ,ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ.

4.ฟังฮัง ฟิร็อก อิสลาม, มุฮัมมัด ญะวาด มัชกูร.

 

 


[1] มัชกูร,มุฮัมมัด ญะวาด,ฟัรฮัง ฟิร็อก อิสลามี,หน้า 461-457.

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] มัจญฺมะอุล บะฮฺเรน, เล่ม 5, หน้า 247, อัลอัยนฺ, เล่ม 5, หน้า 293.

[5] บทอันอาม, 161

[6] «و ان اقم وجهک للدین حنیفاً و لاتکونن من المشرکین»บทยูนุส, 105.

[7] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ ชิริกทุกประเภท, คือสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธทั้งสิ้น, แต่สิ่งที่ต้องตระหนักจุดประสงค์ของเราที่กล่าวถึง การปฏิเสธ หมายรวมถึงการปฏิเสธทั้งด้านความเชื่อและการปฏิบัติ

[8] «لقد کفرالذین قالوا ان الله هو المسیح بن مریم»บทมาอิดะฮฺ, 17

[9] รวมคำฟัตวาของเชค บินบาซ, เล่ม 2, หน้า 552.

[10] ฟัตฮุลมะญีด, หน้า 68

[11] อัรร็อดดุ อะลี อัรรอฟิเฎาะฮฺ (คัดลอกมาจากหนังสือ การรู้จักชีอะฮฺ, ของอะลี อัสฆัร ริฎวานียฺ, หน้า 135-143)

[12] อัลกุรอาน บทชูรอ, 23.

[13] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 169.

[14] ศึกษาได้จากคำถามที่ 978 (ความเชื่อของวะฮาบี)

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6710 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    18251 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน
  • ระบบการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาในอิหร่านเป็นอย่างไร?
    10109 ประวัติหลักกฎหมาย 2555/08/22
    ปัจจุบันวิธีการศึกษาศาสนาในสถาบันสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน จะยกระดับสูงมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากนักศึกษาทุกท่านก่อนเข้าศึกษาศาสนา ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นอย่างน้อย ระดับต้นของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาวิชา อิลมุล ซะรอฟ วิชาการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะล, อิลมุลนะฮฺวุ วิชาโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา, อิลมุลมะอานี วิชาวาทศาสตร์ หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน, อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง, อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง(ตรรกศาสตร์) ระดับที่สอง ซึ่งมีทั้งสิ้นสิบระดับด้วยกัน วิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้คือ อุซูล วิชาหลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ,ฟิกฮฺ หลักนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาทั่วไปที่ต้องศึกร่วมประกอบด้วย เทววิทยา ตัฟซีร เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์,ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน, จริยศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ,คอมพิวเตอร์ และ...ระดับสามเรียกว่า บะฮัษคอริจญฺ ต้องเรียนอุซูลและฟิกฮฺระดับของการอิจญฺติฮาดเพื่อก้าวไปเป็นมุจญฺตะฮิด และวิชาเฉพาะที่ต้องศึกษาร่วมคือ ตัฟซีรกุรอาน เทววิทยาระดับสูง การเผยแพร่ ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6609 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • ถ้าหากไม่รู้ประเด็นปัญหา ได้ฝังศพไปโดยไม่ได้ใส่พิมเสนบนอวัยวะทั้งเจ็ดแห่ง หน้าที่เราควรจะทำอย่างไร?
    6154 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    หลังจากฆุซลฺมัยยิตแล้ว,วาญิบต้องฮุนูตให้แก่มัยยิต,หมายถึงให้เอาพิมเสนใส่ไปที่หน้าผาก, ฝ่ามือทั้งสองข้าง, หัวเข่าทั้งสองข้าง, และที่ปลายหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง[1] แต่หลังจากฝังเรียบร้อยแล้ว เพิ่งจะนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ใส่พิมพ์เสนให้มัยยิต กรณีที่ศพที่อยู่ในหลุมยังมิได้เน่าเปื่อย หรือยังมิได้ส่งกลิ่นเหม็น, วาญิบต้องขุดศพและใส่พิมเสนในหลุมนั้นเลย โดยไม่จำเป็นต้องนำมัยยิตออกมาจากหลุม, แต่ถ้าเป็นสาเหตุนำไปสู่การไม่ให้เกียรติมัยยิต (เช่น มีกลิ่นเหม็นโชยออกมา หรือร่างเน่าเปื่อยแล้วบางส่วน และ ...) ไม่วาญิบต้องใส่พิมเสนอีกต่อไป[2] คำถามข้อนี้, ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัดชี), ค้นคว้าและแก้ไขโดย, บนีฮาชิมมี โคมัยนี้, ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน, ...
  • ถ้าหากไม่ทราบว่าและได้รับประทานเนื้อฮะรอมไป จะมีความผิดอันใดบ้าง?
    5688 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    บุคคลใดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว, เพิ่งจะรู้ว่านั่นเป็นอาหารฮะรอม, ถ้าหากไม่คิดว่าสิ่งนั้นจะฮะรอมประกอบกับมีสัญลักษณ์ของฮะลาลด้วยเช่นมาจากร้านของมุสลิม, มิได้กระทำบาปอันใด
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7684 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7508 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    7981 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8478 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59997 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57342 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42097 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39149 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33909 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27925 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27833 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27628 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25650 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...