Please Wait
7707
วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลาม หลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลาม ปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้ว ได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว,กล่าวคือ วิชาฟิกฮฺที่เกิดหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งได้นำมาจากอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน และอีกฝ่ายหนึ่งได้นำมาจากบรรดาเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) และตาบิอีนของท่านศาสดา
ประกอบกับความก้าวหน้าด้านฟิกฮฺได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และปัญหาด้านฟิกฮฺก็มีมากขึ้น ซึ่งหลังจากอิสลามได้เปิดประตูแล้ว ก็ได้เริ่มเข้าสู่ปัญหาใหม่ๆ มีการค้นคว้าละเอียดมากยิ่งขึ้น และวิชาการด้านฟิกฮฺ, กล่าวคือนับจากเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนถึงช่วงต้นๆ ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรษที่ 4 วิชาการฟิกฮฺฝ่ายอะฮฺลุซซุนนะฮฺ ได้เจริญไปถึงขึ้นสูงสุด และได้มีกาจัดตั้งสำนักคิดที่ 4 ฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ. การอฮิจญฺติฮาดมุฏลัก (หมายถึงการอิจญฺติฮาดในปัญหาฟิกฮฺทั้งหมด โดยมิได้คำนึงถึงสำนักคิดใดเป็นการเฉพาะ) จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการวิชาการฟิกฮฺฝ่ายซุนนียฺ ได้ปิดประตูลงซึ่งนอกเหนือจากสำนักคิดทั้งสี่แล้ว สำนักคิดอื่นๆ ได้ปิดตัวลงโดยสิ้นเชิงหรือมิได้ถูกรู้จักอย่างเป็นทางการอีกต่อไป และการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา อิมามญุมุอะฮฺ และผู้ออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ได้ปฏิบัติตามและตกอยู่ในการควบคุมดูแลจากหนึ่งในสำนักคิดทั้งสี่ที่มีชื่อเสียง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้มีเสียงมาจากฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ ซึ่งมีใจความคร่าวว่าจะมีการนำเอาหลักอิจญฺติฮาดกลับคืนสู่ การอิจญติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง, พวกเขาเคยทำการอิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่ง ขณะนี้จะมีการอิจญฺติฮาดในระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ ประกอบกับปัจจุบันนี้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชีวิตมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการขอให้มีการอิจญฺติฮาดมุฏลักเกิดขึ้นมาใหม่
การจัดตั้งบทบัญญัติได้เริ่มต้นในยุคสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และได้ดำเนินต่อมาจนสิ้นอายุขัยของท่าน. ในมุมมองของชีอะฮฺ, นั้นยอมรับว่าหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล น) การอธิบายหรือการตีความต่างๆ เกี่ยวกับแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) ของท่านศาสดา การอธิบายความบทบัญญัติและปัญหาด้านฟิกฮฺ และปัญหาอื่นที่นอกเหนือจากฟิกฮฺ, เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) บุตรหลานสนิทของท่านศาสดา แต่ในมุมมองของฝ่ายซุนนะฮฺ, เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่างหากที่มีหน้าที่รับผิดชอบการชี้นำศาสนาและประชาชน
การอธิบายความบทบัญญัติและหลักอุซูลฟิกฮฺ ที่นำมาจากซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จนถึงประมาณ 40 ปีเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ, และหลังจากปีนั้นไปแล้วยังมีเซาะฮาบะฮฺบางท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้วบรรดาฟุกาฮา (นักปราชญ์) เป็นผู้อื่นมิใช่เซาะฮาบะฮฺ. หลังจากนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบตกเป็นของบรรดาตาบิอีน จนกระทั่งสิ้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 1 และได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 2
ช่วงปรากฏสำนักคิดด้านฟิกฮฺของซุนนะฮฺ
ฟิกฮฺของฝ่ายซุนนะฮฺ หลังจากไม่ยอมรับสภาวะการเป็นผู้นำและอิมามะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) แล้ว พวกเขาก็ได้เลือกแนวทางที่มิใช่แนวทางของลูกหลานของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ในปัญหาด้านฟิกฮฺนั้น พวกเขาได้สอบถามและปฏิบัติตามเหล่าบรรดาเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีน.
เนื่องจากการใช้ประโยชน์สูงสุดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) สืบเนื่องจากปัญหามีมากยิ่งขึ้น, และหลังจากอิสลามได้เปิดตัวแล้วก็ได้เข้าไปสู่ปัญหาใหม่ๆ และมีการค้นคว้าที่ละเอียดยิ่งขึ้น วิชาการด้านฟิกฮฺได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว กล่าวคือเริ่มต้นจากฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนกระทั่งช่วงเริ่มต้น ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรที่ 4 ฟิกฮฺของซุนนะฮฺ ได้เติบโตจนถึงจุดอิ่มตัว และได้มีการจัดตั้งสำนักคิดทั้งสี่ขึ้นมาในช่วงนี้เอง
การก่อตัวของสำนักคิดต่างๆ ด้านนิติในหมู่ของซุนนะฮฺ, เป็นเสมือนปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ว่าปัญหาด้านนิติมีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความต้องการของสังคมอิสลาม และมุสิลมใหม่ที่มีต่อปัญหาบทบัญญัติก็มีมากยิ่งขึ้น แน่นอนในการขยายตัวของสำนักคิดเหล่านี้ บางสำนักคิดก็มาจากอุบายทางการเมือง โดยมีเจตนาที่จะขจัดหรือขับไล่ฟิกฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ออกไป ซึ่งเราไม่สามารถมองข้ามปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจากการที่รัฐบาลของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มิได้ปกครองอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เกิดความว่างเปล่าด้านฟิกฮฺเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีบรรดาฟุกาฮาเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนั้นก็ตาม
สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ในตอนแรกสำนักคิดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) มิได้จำกัดอยู่เฉพาะสี่สำนักคิดเท่านั้น, ทว่ามีกลุ่มนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺอีกจำนวนมากได้จัดตั้งสำนักคิดของตนขึ้นมา, และแต่ละสำนักคิดเหล่านั้นก็ได้รับการสนับสนุน และมีผู้ปฏิบัติตามไปตามสถานภาพของเขตภูมิศาสตร์ ซึ่งจำนวนสำนักคิดเหล่านั้นทีสามารถยกตัวอย่างได้ เช่น สำนักคิดของ ฮะซัน บัศรียฺ (ฮ.ศ.ที่ 21-110), สำนักคิด เอาซาอียฺ (ฮ.ศ. 88-157), สำนักดาวูด บิน อะลี เอซฟาฮานียฺ (202-270) ซึ่งมีชื่อเสียงไปตามเปลือกนอก และสำนักคิดมุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรียฺ (224-310)[1]
แต่เมื่อพิจารณาบางปัญหาแล้ว, สำนักคิดเหล่านี้ก็ย้อนกลับไปสู่สำนักคิดทั้งสี่นั่นเอง
สาเหตุการผูกขาดด้านนิติศาสตร์ของซุนนะฮฺไว้ในสี่สำนักคิด
เนื่องด้วยความขัดแย้งด้านนิติศาสตร์อย่างมากมาย ระหว่างสำนักคิดต่างๆ ฝ่ายซุนนะฮฺ, จึงได้เกิดการยอมรับโดยทั่วไปเพื่อจำกัดสำนักคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน แต่ตรงนี้เช่นกันต้องไม่ลืมว่า ฝ่ายปกครองเองก็มีบทบาทไม่น้อยต่อการกำหนดรายละเอียดของสำนักคิดทั้งสี่ แน่นอน ประชาชนนั้นไม่มีอำนาจพอที่จะกำหนด หรือจำกัดจำนวนที่แน่นอนให้แก่สำนักคิดต่างๆ ได้, ทว่ารัฐบาลต่างหากที่กำหนดรายละเอียดและตัวอย่างต่างๆ อันเฉพาะเหล่านั้น และบางครั้งก็ยกย่องให้บางสำนักคิดดีกว่าอีกสำนักคิดหนึ่ง และบางครั้งถ้าหากบุคคลที่ปฏิบัติตามสำนักคิดหนึ่ง ได้ก้าวไปถึงยังตำแหน่งของการออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) หรือการพิพากษา รัฐก็จะถือว่าสำนักคิดนั้นเป็นสำนักคิดโปรดสำหรับเขา ซึ่งจะสนับสนุนและขยายสำนักคิดให้กว้างขวางออกไป พร้อมกับสนับสนุนให้เป็นสำนักคิดสาธารณ ตัวอย่างเช่น สำนักคิดฮะนะฟี เนื่องจากอำนาจ สิ่งอำนวยประโยชน์ และมีผู้ปฏิบัติตามมาก จึงได้ขยายสำนักคิดออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ซุนนะฮฺด้วยกันเอง, อบูยูซุฟ, ผู้พิพากษาในสมัยปกครองของอับบาซซี ซึ่งได้รับเกียรติอย่างมากจากฝ่ายปกครอง สำนักคิดนี้จึงได้รับการยกย่องและถือเป็นสำนักคิดที่ดีกว่าสำนักคิดอื่น และโดยปกติแล้วบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สำนักคิดฮะนะฟียฺ เขาก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาโดยปริยาย
บรรดาอิมามสำนักคิดซุนนะฮฺ ประกอบด้วย
1.อบูฮะนีฟะฮฺ,นุอฺมาน บิน ษาบิต (เสียชีวิต ฮ.ศ. 150)
2. มาลิก บิน อะนัส (เสียชีวิต ฮ.ศ. 179)
3. ชาฟิอียฺ, มุฮัมมัด บิน อิดรีส (เสียชีวิต ฮ.ศ. 204)
4. อะฮฺมัด บนิ ฮันบัล (เสียชีวิต ฮ.ศ. 240)
สาเหตุของการปิดประตูการอิจญฺติฮาดในหมู่ซุนนะฮฺคืออะไร และปิดอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว การอิจญฺติฮาด, ถือว่าเป็นหัวเชื้อแห่งชีวิตของอิสลาม และเป็นพลศาสตร์แห่งบทบัญญัติ, เกี่ยวกับการอิจญฺติฮาดนั้นจะเห็นว่าบรรดามุสลิมได้ทำให้กฎหมายอิสลาม ปราศจากการพิงพึ่งไปยังกฎหมายอื่นที่มิใช่อิสลาม มานานถึง 14 ศตวรรษด้วยกัน, การอิจญฺติฮาดมุฏลัก, จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการ สำนักคิดต่างๆ ที่นอกเหนือจาก 4 สำนักคิดต่างได้รับการละเลย และไม่ได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการอีกต่อไป ซึ่งทุกตำแหน่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา, อิมามญุมุอะฮฺ, ผู้ออกฟัตวา ทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของนักปราชญ์จากหนึ่งในสี่สำนักคิดที่มีชื่อเสียง
แต่สาเหตุของการยุติการอิจญฺติฮาดมุฏลักในฝ่ายซุนนะฮฺ สามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ความอคติที่มีต่อสำนักคิด
เนื่องจากลูกศิษย์และผู้ปฏิบัติตามของแต่ละสำนักคิด พวกเขามีความอคติอย่างมาก กับหัวหน้าสำนักคิดของพวกเขา ซึ่งจะไม่อนุญาตให้มีทัศนะขัดแย้งกับหัวหน้าสำนักคิดเด็ดขาด หนึ่งในนักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : หนึ่งในปัจจัยสำคัญอันเป็นสาเหตุของการนำไปสู่การปิดประตูการอิจญฺติฮาดของฝ่ายซุนนะฮฺ – ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เองที่เกือบจะเป็นสาเหตุทำให้พวกเขามาศึกษาด้านนิติของฝ่ายชีอะฮฺ- ซึ่งเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นบุคคลที่มีความรู้, และตัวการนี้เองหลังจากบรรดาผู้นำสำนักคิดทั้งสี่ อะฮฺมัด ฮันบัล, มุฮัมมัด บิน อิดรีส,ชาฟิอียฺ อบูฮะนีฟะฮฺ. และมาลิกบินอะนัส ได้วางรากฐานผลงานของตนอย่างเป็นรูปร่างไว้ในสังคมของซุนนะฮฺ แต่เนื่องจากความแปลกประหลาดที่มีมากเกินขนาด เป็นปรากฏการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับนักปราชญ์ของพวกเขา จึงได้มีการยึดอำนาจในการ อิจญฺติฮาด ไปจากพวกเขา
2.สร้างปัญหาในการพิพากษา :
บางครั้งกฎหมายต่างๆ ที่ผู้พิพากษาแต่ละบัลลังก์ได้พิจารณาออกมา, มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง,ในลักษณะที่ว่าถ้าหากผู้พิพากษาศาลหนึ่งเป็นมุจญฺตะฮิด, เขาได้ฟัตวาออกมาตามการอิจญฺติฮาดของตน, ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเองได้รับการคัดค้านต่างๆ เป็นจำนวนมากจากประชาชน, เนื่องจากจะเห็นว่าศาลแต่ละบัลลังก์จะออกคำพิพากษา หรือบทบัญญัติสำหรับหัวข้อหนึ่งอันเฉพาะที่มีความแตกต่างกัน, ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงได้เขามามีบทบาทรับผิดชอบและเสนอทิศทางของบทบัญญัติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน และเพื่อป้องกันการวิวาทกัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้นำเสนอแนวคิดของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งจากสี่สำนักคิด
3.ปัจจัยด้านการเมือง :
เกี่ยวกับประเด็นนี้ได้มีคำกล่าวว่า : โดยทั่วไปแล้วองค์กรภาคการเมืองในสมัยนั้น ต่างมีความหวาดกลัวต่อแนวคิดของนักปราชญ์ทางศาสนา และสถาบันทางวิชาการ, เนื่องจากบรรดานักปราชญ์หรือมุจญฺตะฮิดนั่นเองได้ใช้ความอิสระทางความคิด และพละศาสตร์ด้านการอิจญฺติฮาดของตนปกป้องอิสลามเอาไว้ อีกทั้งป้องกันการอุปโลกน์ต่างๆ หรือการเบี่ยงเบนของบรรดานักปกครองที่อธรรม ซึ่งนักปราชญ์นั่นเองที่ได้เชิดชูอิสลามให้สูงส่ง และฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ พร้อมกับได้แนะนำและนำเอาอิสลามมาปฏิบัติใช้ในสังคม และสิ่งนี้ก็คือความขัดแย้งอันเป็นปรปักษ์อย่างสุดโต่ง กับผู้ปกครองที่อธรรมฉ้อฉล ซึ่งไม่มีวันเข้ากันได้อย่างแน่นอน[2]
แน่นอน การอิจญฺติฮาดแบบมีเงื่อนไข ในหมู่ซุนนะฮฺก็พอมีอยู่บ้างในระดับหนึ่ง ซึ่งการอิจญฺติฮาดลักษณะนี้จะอนุญาตให้มุจญฺตะฮิดบางท่านได้อิจญฺติฮาด เพื่อจะได้มีขอบเขตจำกัดและอยู่ในขอบข่ายของสำนักคิดอันเฉพาะ ดังนั้น ถ้าพิจารณาหลักอุซูลและพื้นฐานของสำนักคิดนั้นแล้ว จะมีการอิจญฺติฮาดบทบัญญัติและตีความออกมา, แต่การอิจญฺติฮาดสมบูรณ์ได้ถูกปิดไปจากสำนักคิดทั้งสี่นานแล้ว
การนำเอาหลักอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้งในซุนนะฮฺ
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเอ่ยถึงหลักการอิจญฺติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง ในหมู่ซุนนะฮฺ[3] โดยอ้างว่าจำเป็นต้องนำเอาหลักการอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้ง.พวกเขาหลังจากได้อิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่งแล้ว (กล่าวคือบรรดาฟะกีฮฺมีสิทธิ์อิจญฺติฮาด ซึ่งต้องวางอยู่บททฤษฎีทางความเชื่อเรื่องฟิกฮฺของสำนักคิดเดียวเท่านั้น เช่น ฮะนะฟี) อนุญาตให้อิจญฺติฮาดระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ได้ (หมายถึงขอบข่ายของการอิจญฺติฮาดของฟะกีฮฺที่มีต่อสำนักคิดหนึ่ง ได้ขยายตัวไปสู่ทั้งสี่สำนักคิดได้ และฟะกีฮฺ สามารถอิจญฺติฮาดไปตามความเชื่อของสำนักคิดทั้งสี่ได้) ซึ่งทุกวันนี้บทบัญญัติใหม่ในชีวิตประจำวัน และทุกสิ่งได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการนำเสนอเรื่อง การอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้ง
ทุกวันนี้ บรรดานักคิดฝ่ายซุนนีย์ได้ถามตัวเองว่า : ทำไมประชาชนต้องปฏิบัติตาม (ตักลีด) บุคคลหนึ่งที่ได้ใช้ชีวิตอยู่เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ซึ่งเขาไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาใหม่ๆ ของทุกวันนี้?
ทำนองเดียวกัน พวกเขาถามว่า : ถ้าหากการตักลีดวาญิบและจำเป็นแล้วละก็, อิมามของสำนักคิดทั้งสี่ของซุนนะฮฺ ก็เป็นผู้ปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน? แล้วพวกเขาตักลีดตามใครหรือ?
แนวคิดนี้ปัจจุบันในหมู่ผู้มีวิสัยทัศน์สมัยใหม่ได้รับการสนับสนุน และมีผู้ปฏิบัติตาม โดยีเจตนารมณ์ที่จะเปิดประตูแห่งการอิจญฺติฮาดที่ได้ถูกปิดมานานขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง :
คำถามที่ 796 (ไซต์ : 855) การอิจญฺติฮาดในหมู่ชีอะฮฺ
คำถามที่ 795 (ไซต์ : 854) การอิจญฺติฮาดในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซ
คำถามที่ 4932 (ไซต์ : 5182 ) แนวคิดในการขยายสำนักคิด
[1] ซุบฮานียฺ, ญะอฺฟัร, ตารีคฟิกฮฺ อัลอิสลามี วะอัดวาริฮี, หน้า 14, มุอัซซะซะฮฺ อิมามซอดิก (อ.), กุม, 1427
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม
[3] นักวิชาการฝ่ายซุนนียฺบางคน เช่น มุฮัมมัดอะลี ซิยาซียฺ อะลี มันซูร มิซรียฺ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจำนวนหลายตอนด้วยกัน (ตารีค อัลฟิกฮุล อิสลามี วะอัดวาเราะฮู, หน้า 100.