การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6916
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1315 รหัสสำเนา 17662
คำถามอย่างย่อ
ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
คำถาม
ได้ยินว่านมาซหรือดุอาบางประเภทมีผลบุญเทียบเท่าการเป็นชะฮีดก็ดี การทำฮัจย์ก็ดี หรือการปล่อยทาสก็ดี เหล่านี้สอดคล้องกับความยุติธรรมของพระองค์หรือไม่? และได้คำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการกระทำกับผลบุญบ้างหรือเปล่า?
คำตอบโดยสังเขป

การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมา มิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใด เพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสม ก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดี เนื่องจาก
. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึง มิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใด ซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วย เนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ ดังที่เรามักเปรียบเปรยสิ่งมีค่ากับทองคำ
. ฮะดีษเหล่านี้มิได้หมายรวมถึงภาวะที่ฮัจย์ หรือญิฮาด ฯลฯ เป็นวาญิบ
. ในการวัดความสำคัญ ไม่ควรใช้ปริมาณ หรือความยากง่ายในเชิงกายภาพเป็นมาตรฐานเสมอไป แต่ต้องคำนึงว่าเจตนา ระดับความนอบน้อม ขีดศรัทธาและความเชื่อ ล้วนมีผลต่อระดับผลบุญมากกว่าปัจจัยข้างต้นเสียอีก ฉะนั้น หากอิบาดะฮ์ใดมีคุณลักษณะเด่นดังกล่าวก็ย่อมสามารถนำมาเทียบผลบุญของพิธีฮัจย์หรือการเป็นชะฮีดได้
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงว่าดุอาหรือบทซิยารัตต่างๆนั้น อุดมไปด้วยสารธรรมคำสอนทางศาสนาซึ่งย่อมมีผลต่อความศรัทธาของผู้อ่าน จึงอาจมีคุณค่ามากกว่าการกระทำอื่นๆที่มิได้มีลักษณะเฉพาะดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้วในยามสงบไร้ศึกสงคราม หรือนอกเทศกาลฮัจย์ คนเรามักจะประสบกับอารมณ์ไฝ่ต่ำและการลวงล่อของชัยฏอนบ่อยเป็นพิเศษ และเนื่องจากมนุษย์มักจะโน้มเอียงไปตามกิเลส ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เลือกที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยนมาซ บทดุอา หรือบทซิยารัต แทนการบำเรอกิเลสตัณหา บุคคลผู้นี้ย่อมต้องเพ่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งอาจมีผลบุญมากกว่าคนทั่วไปที่ประกอบพิธีฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาดเสียด้วยซ้ำ

แต่หากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ต้องเรียนว่าในประเด็นนี้ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้ใด เพราะแม้สมมุติว่าอัลลอฮ์ประทานผลบุญมากเกินไป นั่นก็ยังไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิของมนุษย์คนใดอยู่ดี เนื่องจากการประทานผลบุญถือเป็นเมตตาธรรมของพระองค์ หาไช่สิทธิของบ่าวแต่อย่างใด

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ก็จะทราบว่าผลบุญสอดคล้องกับการกระทำทุกประการ
1. ผลบุญจากอัลลอฮ์หาไช่เป็นสิทธิของบ่าวที่ต้องได้รับ แต่เป็นเมตตาธรรมที่พระองค์ประทานตามความเหมาะสมในแง่พฤติกรรมและศักยภาพที่มนุษย์มีในโลกดุนยา[1]
โดยปกติแล้ว มนุษย์ไม่มีสิทธิเรียกร้องผลบุญใดๆจากอัลลอฮ์(หากพระองค์ไม่ได้สัญญา) ทั้งนี้ก็เพราะทุกความดีที่มนุษย์ทำ ล้วนกระทำด้วยศักยภาพที่พระองค์ประทานให้ทั้งสิ้น แต่พระองค์เลือกที่จะสัญญาว่าจะประทานผลบุญแก่มนุษย์ก็เพราะทรงมีเมตตาธรรมและวิทยปัญญา ฉะนั้น เมตตาธรรมอันล้นพ้นของพระองค์ก็คือมาตรวัดพิกัดผลบุญสำหรับทุกความดีที่มนุษย์กระทำ หาไช่ความยากลำบาก หรือระยะเวลา หรือตัวแปรอื่นๆไม่ ด้วยเหตุนี้ ปริมาณเนี้ยะมัตและผลบุญต่างๆที่พระองค์จะทรงประทานให้ จึงมิได้ขัดต่อหลักความยุติธรรมของพระองค์แต่อย่างใด เนื่องจากพระองค์มิได้ละเมิดสิทธิของผู้ใด ซ้ำยังเป็นการประทานที่เกินสิทธิของมนุษย์อีกด้วย

2. การที่ดุอาหรือการซิยารัตจะมีผลบุญมากมายมหาศาลได้นั้น ต้องมีปัจจัยต่อไปนี้อย่างครบถ้วนเสียก่อน
. ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาครบถ้วนเสียก่อน: ฉะนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ต้องประกอบพิธีฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาดแต่กลับเลือกทำนมาซหรือดุอาแทนนั้น แทนที่จะได้รับผลบุญ เขากลับจะต้อง
ประสบกับการลงทัณฑ์อะซาบของพระองค์อีกด้วย
. มีสำนึกทางศาสนาและความบริสุทธิใจอย่างเต็มเปี่ยม: ดังที่มีฮะดีษมากมายระบุว่าเงื่อนไขของการได้รับผลบุญมหาศาลของซิยารัตบางบทคือการมีสำนึกทางศาสนา[2] ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า"มนุษย์จะฟื้นคืนชีพตามแต่เจตนาของแต่ละคน"[3] จากจุดนี้ทำให้ทราบว่าบรรทัดฐานของการตอบแทนผลบุญมิไช่ความยากง่ายของอิบาดะฮ์ แต่เป็น"เหนียต"หรือเจตนาเท่านั้นที่จะมีผลต่อผลบุญมากกว่าความยากง่ายและปริมาณของอิบาดะฮ์แต่ละประเภท

การเพ่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ทางศาสนานั้น ยากลำบากไม่แพ้การต่อสู้ญิฮาด หรืออาจจะยากกว่าด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้เองที่เราเห็นผู้คนมากมายเข้าร่วมต่อสู้ญิฮาดหรือร่วมประกอบพิธีฮัจย์ แต่น้อยคนนักที่จะพิชิตยอดเขาแห่งจิตสำนึกอันผ่องแผ้วทางศาสนาได้ มีฮะดีษหลายบทที่รณรงค์ให้สาวกของท่านซิยารัตบรรดาอิมาม โดยเฉพาะอิมามริฎอ(.)[4] ซึ่งเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้บอกแก่เราว่าการซิยารัตมีผลบุญสองประเภทโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของการซิยารัต จึงเข้าใจได้ว่าผลบุญการซิยารัตของแต่ละคนมิได้เท่ากันเสมอไป ผลบุญที่ฮะดีษระบุไว้จึงเป็นการระบุถึงพิกัดสูงสุดของผลบุญ แต่มิได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับแม้จะมีสภาพจิตใจที่แตกต่างกัน

3. บทดุอาและซิยารัตมากมายมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่สารธรรมคำสอนของอิสลาม: บรรดาอิมาม(.)เองก็ใช้ดุอาและซิยารัตในการนำเสนอหลักธรรมแก่สังคมเนื่องจากบางสถานการณ์ไม่อาจใช้วิธีอื่นได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การพิทักษ์รักษาดุอาและซิยารัตเหล่านี้ก็ถือเป็นการพิทักษ์รักษาหลักญิฮาด พิธีฮัจย์ ตลอดจนชะรีอัตและคำสอนอิสลามโดยรวม และหลักธรรม(ในดุอา)เหล่านี้แหล่ะ ที่ช่วยรณรงค์ให้ผู้คนเดินทางไปทำฮัจย์หรือต่อสู้ญิฮาด

4. โดยทั่วไปแล้วในยามสงบไร้ศึกสงคราม หรือนอกเทศกาลฮัจย์ คนเรามักจะประสบกับการลวงล่อของอารมณ์ไฝ่ต่ำและชัยฏอนบ่อยเป็นพิเศษ และเนื่องจากมนุษย์มักจะโน้มเอียงไปตามกิเลส ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เลือกที่จะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยนมาซ บทดุอา หรือบทซิยารัต แทนการบำเรอกิเลสตัณหา บุคคลผู้นี้ย่อมต้องมีจิตสำนึกอันบริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยม ดังที่ท่านนบี(..)กล่าวแก่เหล่าสาวกที่กลับจากสมรภูมิรบอันดุเดือดว่า"ขอชมเชยผู้ที่กลับจากญิฮาดเล็ก ซึ่งกำลังมุ่งหน้าสู่ญิฮาดใหญ่" เหล่าสาวกเอ่ยถามว่าญิฮาดใหญ่คืออะไร ท่านตอบว่า"การญิฮาดกับกิเลสตนเอง"[5]
เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่บรรดาอิมาม(.)เล่าถึงผลบุญมหาศาลของดุอา ซิยารัต หรือนมาซบางประเภทนั้น ก็เพื่อต้องการจะฟื้นฟูศีลธรรมภาคสังคมให้พ้นจากบ่วงกิเลสที่ทำให้มนุษย์เกลือกกลั้วในความต่ำทรามทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และเพื่อส่งเสริมมนุษย์ให้โบยบินในท้องฟ้าแห่งศีลธรรมจรรยา

อย่างไรก็ดี ฮะดีษที่ระบุผลบุญเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์บางประเภทเป็นพิเศษ หาได้มีจุดประสงค์จะลดทอนคุณค่าของญิฮาดหรือพิธีฮัจย์แต่อย่างใด ซ้ำยังสามารถกล่าวได้ว่าฮะดีษเหล่านี้กำลังส่งเสริมญิฮาดหรือพิธีฮัจย์ทางอ้อมอีกด้วย เนื่องจากได้ใช้ญิฮาดหรือฮัจย์เป็นมาตรวัดคุณค่าของอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ เสมือนที่เรามักจะเปรียบสิ่งมีค่ากับทองคำบริสุทธิ์



[1] ดู: ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า361

[2] มันลายะห์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 2,หน้า 583

[3] ตะฮ์ซีบุ้ลอะห์กาม,เล่ม 6,หน้า 135

[4] อัลกาฟีย์,เล่ม 4,หน้า 585

[5] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 15,หน้า 161

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14764 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7127 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
    7407 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือเหตุผลทางสติปัญญาที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหาต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้นแน่นอนทั้งอัลกุรอาน
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6661 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • เกี่ยวกับวิลายะฮฺที่มีเหนือมุอฺมิน ซึ่งอยู่ในอำนาจของอะอิมมะฮฺ, ท่านมีทัศนะอย่างไร?
    5651 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/23
    คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) มีรายละเอียดดังนี้ :บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) มีวิลายะฮฺทั้งวิลายะฮฺตักวีนีและตัชรีอียฺเหนือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แต่การปฏิบัติวิลายะฮฺขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ...
  • อัลกุรอาน บทใดขณะประทานลงมามีมลาอิกะฮฺ จำนวน 70,000 ท่าน รายล้อมอยู่?
    8503 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตามรายงานที่บันทึกไว้, สิ่งที่กล่าวมาเป็นความพิเศษเฉพาะบทอันอาม ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : บทอันอามมีประโยคคล้ายกัน ซึ่งได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน, ขณะที่มีมลาอิกะฮฺจำนวน 70,000 ท่าน ห้อมล้อมและแบกอัลกุรอาน บทนี้เอาไว้ จนกระทั่งไปนำอัลกุรอานบทนี้มาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังนั้น จงให้เกียรติและแสดงความเคารพอัลกุรอาน บทนี้ให้มากเถิด เนื่องจากในบทนี้มีพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวซ้ำถึง 70 ครั้ง และถ้าหากประชาชนทราบถึงความยิ่งใหญ่และความจริงของบทนี้ เขาจะไม่มีวันปล่อยอัลกุรอานบทนี้ไป[1] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด.
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12545 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8128 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7313 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    19827 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59437 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56880 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41701 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38461 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38451 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33484 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27562 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27276 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27178 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25251 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...