การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6106
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/29
คำถามอย่างย่อ
เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นๆ?
คำถาม
เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นคืออะไร? เพราะเหตุใดมุฮัมมัดจึงเป็นผู้ถูกเลือกสรรของพระเจ้า และเป็นบ่าวที่ดีที่สุด? แล้วประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาก่อนการประสูติของท่านด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

บนพื้นฐานของเหตุผลทั่วไปแห่งสภาวะการเป็นศาสดา คือ การชี้นำมวลมนุษยชาติ, พระองค์จึงเลือกสรรประชาชาติบางคนจากหมู่พวกเขาในฐานะของแบบอย่าง, เพื่อเป็นตัวแทนและเป็นผู้ชี้นำทาง แน่นอนการเลือกสรรนี้มิได้ปราศจากเหตุผล

คำอธิบาย ศักยภาพในการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคนแล้ว เพียงแต่ว่ามิใช่มนุษย์ทุกคนจะไปถึงขั้นนั้นได้, มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่มีศักยภาพพอ และด้วยการอิบาดะฮฺทำให้เขาได้ไปถึงยังตำแหน่งของการเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน และพวกเขาจะไม่กระทำความผิดตามเจตนารมณ์เสรีของตน, อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ถึงสภาพของพวกเขาทั้งก่อนการสร้างในรูปแบบภายนอก และทรงรอบรู้ถึงสภาพและความประพฤติของพวกเขาเป็นอย่างดี, การตอบแทนผลรางวัลแก่การงานของพวกเขา, พระองค์ทรงเลือก มอบสาส์น และความคู่ควรการเป็นผู้นำสังคมแก่พวกเขา, ดังนั้น ความเร้นลับในการเลือกสรรจึงวางอยู่บน 2 เหตุผล กล่าวคือ

1.การแสดงความเคารพสมบูรณ์ของหมู่มิตรของพระเจ้าที่มีต่อพระองค์

2.ความเมตตาและความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ที่มีต่อหมู่มิตรของพระองค์

สรุป ความเมตตาการุณย์ของพระเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากว่า หนึ่ง : วางอยู่บนศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา และสอง : การมอบความเมตตานี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นความเมตตาประเภทหนึ่งที่มีต่อปวงบ่าวทุกคน เพื่อการชี้นำทางพวกเขา, ซึ่งวางอยู่บนวิทยปัญญาและความยุติธรรม.

คำตอบเชิงรายละเอียด

บนเหตุผลทั่วไปของการเป็นศาสดา, อัลลอฮฺทรงเลือกสรรประชาชาติบางคนในหมู่พวกเขา ให้เป็นแบบอย่างและเป็นผู้ช้ำนำแก่พวกเขา ซึ่งบรรดาผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรนั้นมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มีความรู้ และความบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้เอง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบรรดาศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ต่างได้รับความการุณย์พิเศษจากพระเจ้า ทว่าความการุณย์พิเศษที่พระองค์ทรงมอบให้นี้เกิดจากศักยภาพ ความดีงาม และความปรารถนาของบรรดาผู้บริสุทธิ์, กล่าวคือ อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ด้วยวิทยปัญญาอันสมบูรณ์และนิรันดร์ของพระองค์ว่า มีบางกลุ่มชนจากปวงบ่าวทั้งหลายมีศักยภาพเหนือกว่าบุคคลอื่น และเป็นผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์โดยจริงใจและบริสุทธิ์ใจยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงเลือกพวกเขาจากหมู่ประชาชาติทั้งหลาย และทรงมอบความเมตตาพิเศษตลอดจนรางวัลแก่พวกเขา และพระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเขาจะไปถึงยังตำแหน่งของผู้บริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยความรู้ และความปรารถนาของตนเอง เพื่อว่าจะได้ประสบความสำเร็จในการชี้นำทาง และเป็นที่เชื่อถือและมั่นใจสำหรับบุคคลอื่น

อัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้บ่งชี้ถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะขอหยิบยกมาอธิบายบางส่วน ดังนี้, อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : และจากพวกเขา เราได้ตั้งให้พวกเขาเป็นผู้นำ เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง (แก่ประชาชน) ตามคําบัญชาของเรา เนื่องจากพวกเขามีความอดทนและมีความเชื่อมั่นต่อโองการทั้งหลายของเรา.[1]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : แน่นอน อัลลอฮฺ ทรงเลือกสรรมนุษย์จากบุตรหลานของอาดัม ทรงทำให้การถือกำเนิดและร่างกายของพวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ แล้วทรงปกป้องพวกเขาไว้ในไขสันหลังของบุรุษ และรังไข่ของสตรี มิใชเป็นเพราะว่าอัลลอฮฺทรงปรารถนาจึงเป็นเช่นนั้น, ทว่าอัลลอฮฺ ทรงทราบดียิ่งนับตั้งแต่เริ่มสร้างว่า พวกเขาจะเชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ พวกเขาจะแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์เสมอ โดยพวกเขาจะไม่ตั้งภาคีเทียบเทียมพระองค์ [แม้แต่ภาคีชนิดเบาบางที่สุด] ดังนั้น พวกเขาจึงถูกประทานลงมาจากพระเจ้า เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ และเป็นผู้มีเกียรติอันสูงส่ง ณ พระองค์[2]

ตอนเริ่มแรกของดุอาอฺ นุดบะฮฺ กล่าวว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ขอขอบคุณพระองค์, พระองค์ทรงวางเงื่อนไขกับพวกเขา (หมู่มิตรของพระองค์) ว่า จงอย่าลุ่มหลงต่อความสวยงาม และตำแหน่งทางโลก จงอย่าคิดถึงตำแหน่งใด นอกจากความใกล้ชิดต่อพระองค์ และพวกเขาก็ได้ยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ และพระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข พระองค์จึงทรงยอมรับพวกเขา และให้พวกเขาเป็นผู้ใกล้ชิดต่อพระองค์ ด้วยความดีงามเหล่านี้นั่นเอง พระองค์จึงทรงประทานมลาอิกะฮฺลงมายังพวกเขา และทรงยกเกียรติยศของพวกเขาด้วยวะฮฺยูของพระองค์ และพวกเขาได้อ่านความรู้อันไร้พรมแดนจำกัดของพระองค์[3]

สรุป ศักยภาพการเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ ได้ถูกบรรจุอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เพียงแต่ใช่ว่าทุกคนจะไปถึงยังตำแหน่งนั้น[4] การเลือกบรรดาศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) สืบเนื่องจากการได้รับประโยชน์อย่างความสมบูรณ์แบบของพวกเขา จากศักยภาพต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงมอบให้ในวิถีของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า และอัลลอฮฺ ทรงรอบรู้สิ่งนี้ด้วยความรู้นิรันดร์ของพระองค์ กล่าวคือ พระองค์ทรงทราบเป็นอย่างดีว่ากลุ่มชนเหล่านี้ จะใช้ศักยภาพและความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ไปในหนทางของพระองค์ พระองค์จึงทรงตอบแทนพวกเขา ด้วยการมอบความการุณย์อันเฉพาะพิเศษ กล่าวคือ ตำแหน่งการเป็นศาสดาและอิมามแก่พวกเขา

อย่างไรก็ตาม, การประทานความการุณย์พิเศษจากอัลลอฮฺ วางอยู่บนความเหมาะสมของบุคคล, ด้วยเหตุนี้ บางคนมิได้อยู่ในขอบข่ายของความการุณย์ดังกล่าว ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า การมีศักยภาพดังกล่าวมิได้เป็นความเหมาะสมสำหรับพวกเขา และพวกเขาก็ไม่รู้ถึงคุณค่าเหล่านั้นด้วย

จะกล่าวถึงตัวอย่างสองสามประการจากอัลลอฮฺ เพื่อเราจะได้รู้ว่าปวงบ่าวบางคนได้รับความประเสริฐเหล่านั้น แต่เนื่องจากการนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ดี ความการุณย์เหล่านั้นได้กลายเป็นการลงโทษพวกเขาในบัดดล. การมอบความการุณย์พิเศษจากอัลลอฮฺ แก่ปวงบ่าวบางคนที่บริสุทธิ์มิได้ปราศจากวิทยปัญญา เนื่องจาก อัลลอฮฺผู้ทรงรอบรู้เหตุการณ์ ทรงรู้ดีว่าจะมอบสาส์นของพระองค์แก่ผู้ใด และผู้ใดมีศักยภาพพอสำหรับการรับสาส์นั้น

อัลลอฮฺ ตรัสถึงบ่าวบางคนจากหมู่ชนของมูซา (อ.) ซึ่งตามรายงานเรียกเขาว่า บิลอิลม์ ตรัสว่า : เราได้ยกย่องปวงบ่าวบางคน, และเราได้ให้รางวัลอันเฉพาะแก่เขา นอกจากนั้นยังมอบเกียรติยศแก่เขา [แน่อน มิใช่ตำแหน่งนบีหรือศาสดา] แต่เขากลับนำเอาความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ไปเป็นทาสรับใช้อำนาจฝ่ายต่ำของตน และใช้สิ่งนั้นไปในหนทางไม่ดี และเนื่องด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ดีนั่นเอง ไม่เพียงแต่เขาจะไม่ได้รับการยกย่องอีกต่อไป ทว่าเขายังต่ำต้อยยิ่งกว่าสุนัขเสียอีก[5]

เมื่อพิจารณาสิ่งที่กล่าวมา,จะได้คำตอบชัดเจนจากคำถามที่ว่า การเลือกสรรศาสดานั้น เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาก่อนการถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้หรือไม่? เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า มาตรฐานคือการงานบนโลกนี้, ดังเช่นความหมายของรายงานหนึ่ง เหมือนที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวไว้ว่า : อัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาแก่เหล่าสหายฝ่ายขวาว่า จงโดดเข้าไปในกองเพลิงเถิด พวกเขาได้ตอบรับ และกระโดดเข้าไปในกองเพลิง ส่วนเหล่าสหายฝ่ายเหนือดื้อดึง และไม่ยอมกระโดดเข้ากองเพลิง[6] ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์ของบุคคล ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตนด้วยการเลือกสรรและเจตนารมณ์เสรี พวกเขาได้ก้าวไปสู่การเป็นสหายฝ่ายขวา หรือฝ่ายเหนือ ซึ่งธาตุแท้ของพวกเขาได้ถูกแสดงให้เห็นตั้งแต่ก่อนที่จะลงมายังโลกมนุษย์

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามความประเสริฐและความดีกว่า ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) เมื่อเทียบกับบุคคลอื่นเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้ว, ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : เมื่ออัลลอฮฺ ทรงเริ่มการสร้างสรรค์สรรพสิ่ง พระองค์ทรงให้สิ่งเหล่านั้นปรากฏอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ และถามพวกเขาว่า ใครคือพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า? มีบุคคลหนึ่งได้ตอบโดยกล่าวว่า พระองค์คือพระผู้อภิบาลของพวกเรา, บุคคลนั้นคือ ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) อิมามอะลี และบรรดาอิมามท่านอื่นๆ (อ.) ดังนั้น อัลลอฮฺ จึงทรงมอบให้พวกเขาเป็นผู้รับผิดชอบความรู้และศาสนา[7]

หรือในบางรายงานท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : »อัลลอฮฺทรงสร้างฉัน อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ 7000 ปี ก่อนที่จะสร้างโลกนี้«[8] ซึ่งวัตถุประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ การสร้างประกายรัศมีและความเร้นลับด้านจิตวิญญาณ มิใช่หมายถึงการสร้างด้านกายภาพและร่างกาย ซึ่งต้องอาศัยกาลเวลาและสถานที่ สรุปก็คือ ความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) คือ วางอยู่บนพื้นฐานของศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา สอง : การให้ความการุณย์พิเศษนี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นความโปรดปรานชนิดหนึ่ง ที่ทรงมอบแก่ปวงบ่าวทุกคน เพื่อการชี้นำทางพวกเขา, และสิ่งนั้นวางอยู่บนวิทยปัญญาและความยุติธรรม.

 


[1] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ, 24.

[2] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 10, หน้า 170.

[3] ซีดีวิชาการ พะรัซเซมอน

[4] อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, พิช เนยอซฮอเยะ มุดีรียัต อิสลามมี, หน้า 56

[5] อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, ดัรพัรทูร วิลายะฮฺ, หน้า 56.

[6] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 5, หน้า 241.

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 224

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม, เล่ม 54, หน้า 43.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
    7922 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    8311 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9548 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8406 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8134 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11602 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7669 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • ผู้มีญุนุบที่ได้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ สามารถเข้ามัสยิดได้หรือไม่?
    6972 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ผู้ที่มีญุนุบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถทำตะญัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นหลังจากที่ได้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่แล้วก็สามารถเข้าไปในมัสยิดเพื่อร่วมทำนมาซญะมาอัตหรือฟังบรรยายธรรมได้ท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า: “ผลพวงทางด้านชาริอะฮ์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่จะมีในกรณีการทำการตะยัมมุมทดแทนเช่นกันนอกจากกรณีการตะยัมมุมทดแทนด้วยเหตุผลที่จะหมดเวลานมาซมัรญะอ์ท่านอื่นๆก็มีทัศนะนี้เช่นเดียวกัน
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    6272 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    8070 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60158 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57620 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42241 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39436 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38972 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34029 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28039 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28019 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27854 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25840 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...