การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7516
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17054 รหัสสำเนา 19935
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
คำถาม
สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวางเรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ), อิมามซัจญาดและอิมามซอดิก (.),ท่านเชคซะดูกได้บันทึกบันทึกรายงานนี้ไว้ในหนังสือ อุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ แต่ท่านได้บันทึกเรื่องราวไว้อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงในคำตอบโดยละเอียด.ผู้ที่ให้การความสนใจเฝ้าสังเกตว่าเรื่องราวนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ท่านอิมามริฎอ (.) ได้ชะฮีดไปประมาณ 2- 3 ปี ดังที่กล่าวไปแล้วว่า, เรื่องเล่าคล้ายๆ กันได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของอิมามมะอฺซูมท่านอื่น แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นด้วยเหมือนกัน คือ เชคซะดูกได้เชื่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่รายงานเรื่องเล่านี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึ่งในฉายานามอันลือชื่อของท่านอิมามริฎอ (.) คือ ซึ่งสาเหตุของการตั้งฉายานามนี้แก่ท่านอิมาม (.) มีที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์โดยกล่าวสรุปได้เชนนี้ว่า :

นักล่าสัตว์กลางทะเลทรายได้ตั้งใจออกล่ากวาง แล้วเขาได้มองเห็นกวางเหยื่อตัวน้อยของเขาตั้งแต่ไกลแล้ว เขาจึงได้ไล่ล่ามาติดๆ สุดท้ายกวางตัวนั้นได้เข้าไปซ่อนอยู่ในผ้าคุมของท่านอิมามริฎอ (.) ที่เผอิญอยู่บริเวณนั้นพอดี นักล่าสัตว์ได้ตรงเข้าไปเพื่อขอกวางจากท่านอิมามริฎอ (.) แต่ท่านอิมามได้ขอร้องเขาว่าให้ปล่อยกวางไปเถิด, นักล่าสัตว์คนนั้นไม่ยอมเพราะเขาถือว่ากวางนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขา และเขาก็ล่าอย่างถูกต้องตามหลักชัรอียฺด้วย, เขาจึงได้อ้างหลักการเพื่อขอกวางจากท่านอิมามริฎอ (.), ท่านอิมาม (.) ได้ขอไถ่กวางตัวนั้นด้วยราคาค่อนข้างแพงกว่าราคากวาง, และพร้อมที่จะจ่ายจำนวนเงินดังกล่าวด้วยเพื่อจะไถ่กวางให้เป็นอิสระ, แต่นักล่าสัตว์คนนั้นไม่ยอมรับ เขากล่าวขึ้นว่า : ขอสาบานด้วยพระนามอัลลอฮฺว่า, ฉันต้องการกวางตัวนี้เพราะเป็นสิทธิของฉัน และไม่ต้องการสิ่งอื่นใดเป็นการแลกเปลี่ยนด้วย ... เวลานั้นกวางได้กล่าวกับท่านอิมามริฎอ (.) ว่า ฉันมีลูกที่ต้องดูแลให้นมอีกสองตัว กำลังหิวและดวงตาของเจ้าสองตัวนั้นก็ยังมองไม่เห็น ขอให้ฉันไปให้นมลูกให้อิ่มเสียก่อนได้ไหม ซึ่งสาเหตุที่ฉันวิ่งหนีเขาก็เพราะเรื่องนี้นั่นเอง ดังนั้น ฉันยากให้ท่านช่วยเป็นผู้คำประกันฉันกับนักล่าคนนี้ด้วย และขออนุญาตให้ฉันไปให้นมลูกก่อน หลังจากนั้นฉันจะมายอมจำนนกับเขาได้หรือไม่

ท่านอิมามริฎอ (.) ได้เป็นผู้ค้ำประกันกวางตัวนั้นต่อนักล่าสัตว์ โดยยอมมอบตัวเองเป็นตัวประกันอยู่ในความดูแลของนักล่าสัตว์, กวางได้รีบไปและรีกกลับมาอย่างเร่งด่วนและยอมมอบตัวเองต่อนักล่าสัตว์, เมื่อนักล่าสัตว์ได้เห็นความซื่อสัตย์ของกวางที่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนั้น, เขาได้เปลี่ยนใจและเวลานั้นเขาเพิ่งจะเข้าใจว่าตัวประกันของเขาคือ อะลี บุตรของมูซา อัรริฎอ (.) เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้รีบปล่อยกวางอย่างรวดเร็ว แล้วรีบจุมพิตมือและเท้าของท่านอิมามริฎอ (.) ทันที เขาได้วอนขออภัยจากท่านอิมาม, ท่านอิมาม (.) ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งแก่เขา และสัญญาว่าเขาจะได้รับชะฟาอะฮฺจากท่านตาของท่านในวันฟื้นคืนชีพ ท่านได้ทำให้นักล่าสัตว์คนนั้นดีใจเป็นอย่างยิ่งและเขาก็ได้ลาจากไป, กวางเมื่อได้รับอิสรภาพแล้วก็ดีใจจึงได้ขออนุญาตท่านอิมามกลับไปยังลูกของมัน

เกี่ยวกับเรื่องเล่านี้มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่สองสามประเด็นกล่าวคือ :

1.แม้ว่าเรื่องเล่าดังกล่าวนี้มิได้มีกล่าวไว้ในตำราเชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺก็ตาม, แต่มีเรื่องเล่าอื่นที่คล้ายคลึงกับเรื่องเล่านี้ ซึ่งเป็นที่โจษขานกันในฝ่ายซุนนียฺ, เกี่ยวกับปาฏิหาริย์หนึ่งโดยพาดพิงไปถึงท่านศาสดา (ซ็อล ),[1] ท่านอิมามซัจญาด (.)[2] และท่านอิมามซอดิก (.)[3]

2.ท่านเชคซะดูก ได้บันทึกเรื่องเล่านี้ไว้ในหนังสือ อัลอุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ (.) โดยบันทึกเรื่องเล่าไว้เช่นนี้ว่า :

อบุลฟัฏล์ มุฮัมมัด บินอะฮฺมัน บิน อิสมาอีล สะลีฏียฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินจากฮากิม รอซีย์ สหายของท่านญะอฺฟัร อะตะบีย์ ซึ่งเขาได้พูดว่า ฉันได้ถูกส่งตัวไปจาก อบูญะอฺฟัร ในฐานะของผู้ถือสาส์น ไปยังอบูมันซูร บิน อับดุลเราะซาก, และวันพฤหัสฉันได้ขอลาเขาเพื่อไปซิยารัตท่านอิมามริฎอ (.), เขาได้ตอบฉันว่า สิ่งที่ได้เกิดในมัชฮัดใกล้กับหลุมฝังศพของอิมามริฎอ ซึ่งได้เกิดกับฉันนั้น ฉันจะเล่าให้เธอฟัง : วันหนึ่งขณะที่ฉันยังเป็นวัยรุ่นอยู่นั้น ฉันไม่เคยมีความคิดดีๆ เกี่ยวกับผู้ที่รักใคร่และหลงใหลมัชฮัดเลย ในระหว่างทางฉันชอบปล้นสะดม ทรัพย์สินผู้เดินทางมาซิยารัตมัชฮัด,ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เงินทอง จดหมาย หรือเงินทำบุญของพวกเขา, แต่มาในวันหนึ่งฉันได้ออกไปล่าสัตว์ข้างนอก ฉันได้เห็นเสื้อชีต้าตัวหนึ่งกำลังวิ่งไล่ล่ากวางตัวน้อย และฉันก็วิ่งตามไป จนในที่สุดกวางตัวนั้นได้ไปหลบอยู่ข้างๆ ผนังหนึ่ง ซึ่งเสื้อชีต้าก็ยืนอยู่ตรงหน้ามัน แต่ไม่ได้เข้าไปใกล้หรือทำอันตรายกวางแต่อย่างใด ฉันพยายามทำเพื่อจะให้เสือชีต้าเข้าไปใกล้กวางตัวนั้น, แต่มันก็ไม่เข้าไปใกล้กวางและไม่กระดุกกระดิกไปไหนด้วย, แต่เมื่อกวางค่อยๆ ขยับหายพ้นไปจากผนัง เสือชีต้าก็มิได้ไล่ล่าอีกต่อไป, แต่การที่กวางได้เข้าไปหลบที่ผนัง, เสือชีต้าได้กลับออกมา จนกระทั่งกวางได้หายเข้าไปในซอก, ซึ่งภายในผนังนั้นพบว่ามีหลุมฝังศพอยู่ และฉันได้เดินเข้าไปป้อมยาม[4] ถามเขาว่า : ท่านเห็นกวางตัวหนึ่งที่เพิ่งจะเดินผ่านป้อมยามไปหรอไม่? พวกเขากล่าวว่า : พวกเราไม่เคยเห็นกวางเลย.

เวลานั้นฉันได้กลับไปตรงบริเวณที่กวางเดินเข้าไปฉันได้เห็นมูลและรอยปัสสาวะของกวาง, แต่กลับมองไม่เห็นตัวกวาง, หลังจากนั้นฉันได้สัญญาต่อพระเจ้าว่าหลังจากนี้ต่อไป ฉันจะไม่ปล้นสะดมผู้เดินทางมาซิยารัตอีก แต่ฉันจะประพฤติดีกับพวกเขาทุกคน หลังจากนั้นเรื่อยมา,เมื่อใดก็ตามที่ฉันประสบกับอุปสรรคปัญหาความยุ่งยาก หรือประสบทุกข์ในชีวิต, ฉันจะไปมัชฮัด, เพื่อซิยารัตและวอนขอสิ่งที่เป็นความยุ่งยาก ตลอดจนความต้องการอื่นๆ จากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบรับและขจัดความทุกข์ยากเหล่านั้นให้พ้นไปจากฉัน ฉันได้วอนขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า ขอพระองค์โปรดประทานบุตรชายแก่ฉัน, และแล้วพระองค์ก็ประทานบุตรชายให้ฉัน, แต่ต่อมาเมื่อบุตรชายของฉันได้เติบโตเป็นหนุ่มแล้ว เขาก็ได้ตายจากฉันไป, ฉันได้ย้อนกลับไปมัชฮัดอีกครั้งหนึ่ง และวอนขอบุตรชายต่ออัลลอฮฺ เหมือนเดิม และพระองค์ทรงเมตตาให้บุตรชายแก่ฉันอีกคนหนึ่ง,และฉันไม่เคยขอสิ่งใดจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วจะไม่ได้รับการตอบสนองจากพระองค์เลย และเหล่านี้คือสิ่งที่ตัวฉันได้ประสบในมัชฮัด นับว่าเป็นความสิริมงคลของมัชฮัด ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดสำหรับฉันมาก และฉันก็เชื่อถือต่อสิ่งเหล่านี้[5]

ผู้สนใจได้ให้การสังเกตเรื่องเล่านี้และพบว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากท่านอิมามริฎอ (.) ได้ชะฮีดไปแล้วสองสามปี และดังที่กล่าวไปแล้ว, ว่ามีเรื่องเล่าทำนองคล้ายๆ กันนี้ที่เกิดกับบรรดาอิมามมะอฺซูม (.) มากมาย, แน่นอน การกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ถือว่าจำเป็นด้วยเหมือนกัน คือ เชคซะดูกได้เชื่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่รายงานเรื่องเล่านี้.



[1] เฏาะบัรซียฺ, ฟัฎลิบนิฮะซัน, อิอฺลามุลวะรอ, หน้า 25,ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน.

[2] กุฏบุดดีน รอวันดี, อัลเคาะรออิจญฺ วัลญะรออิจญฺ, เล่ม 1 หน้า 261, สถาบันอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) กุม ปี ฮ.ศ.1409.

[3] เซาะฟาร,มุฮัมมัด บุตรของฮะซัน,บะซออิรุดดะเราะญาต, หน้า 349, ห้องสมุดอายะตุลลอฮฺมัรอะชียฺ, กุม ปี ฮ.ศ. 1404.

[4] คำว่า “รุบาฏ” ความหมายเดิมหมายถึง บริเวณเก็บดูแลม้า หรือเรียกอีกอย่างว่า คอกม้า เพื่อรักษาม้าเหล่านั้นไว้ออกศึกสงคราม หรือหมายถึงพรมแดนรักษาเขตของมุสลิม, แต่ต่อมาได้นำคำนี้ไปใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น หมายถึงจุดพักของกองคาราวานที่เดินทางมา หรือสถานปฏิบัติตนของพวกซูฟียฺ

[5] เชคซะดูก, อุยูนุลอัคบาร อัรริฎอ, เล่ม 2 หน้า 285, เฌะฮอน, ปี ฮ.ศ. 1378.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    6515 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6063 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    6188 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26156 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7289 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    6571 เทววิทยาใหม่ 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • จะพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ได้อย่างไร?
    5670 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/20
    อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลังตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบจากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรงถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาลวิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติและไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    6442 شخصیت های شیعی 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    10737 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะฝันเห็นท่านเราะซูล(ซ.ล.)
    10563 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    ในหนังสือมะฟาตีฮุลญินาน(เล่มสมบูรณ์)มีซิเกรและอะมั้ลที่ทำให้สามารถฝันเห็นเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ได้อย่างไรก็ดีวิธีเหล่านี้ไม่อาจจะเป็นมูลเหตุสมบูรณ์ที่ทำให้สามารถฝันเห็นบุคคลที่เราต้องการเสมอไปกล่าวคือไม่ไช่ว่าทุกคนจะสามารถฝันเห็นท่านศาสดาด้วยอะมั้ลเหล่านี้ได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากทักษะดังกล่าวจำเป็นต้องควบคู่กับการหยุดทำบาปและปฏิบัติศาสนกิจภาคบังคับอย่างเคร่งครัดตลอดจนต้องมีจิตใจอันบริสุทธิเพียงพอเสียก่อน. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57905 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55413 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40669 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37594 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36513 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32639 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26830 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26389 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26156 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24297 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...