Please Wait
8381
ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น.
การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ.
การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ที่จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกับการแต่งงานนั้น ซึ่งเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ต้องวางอยู่บนข้อตกลงและความรับผิดชอบ เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ปวงปราชญ์ผู้มีสติปัญญาในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ เช่น การดำเนินธุรกิจการค้าจะใช้วิธีการ อ่านอักดฺ ซึ่งจะไม่ยุติเพียงแค่ความพอใจของสองฝ่าย และไม่ยอมรับการยินยอมของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ข้อสัญญา และความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งนั้นสัมฤทธิ์ผล ปวงปราชญ์เชื่อมั่นว่า ข้อสัญญาต่างๆ เหล่านั้นจะบรรลุข้อตกลง และสัมฤทธิ์ผลภายในกรอบของการอ่านอักดฺเท่านั้น.
เบื้องต้นจำเป็นต้องกล่าวถึงความสำคัญ และมรรคผลของการแต่งงานในทัศนะของอิสลามเสียก่อน:
ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น :เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, และปกป้องศาสนาของมนุษย์.
อัลกุรอาน, กล่าวถึงเรื่องแต่งงานว่า : และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครอง ให้แก่สูเจ้าจากตัวตนของสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้มีความสุขสำราญอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้า แท้จริงในการนี้แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ[1].ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : โดยหลักการของอิสลามแล้ว ไม่มีรากฐานใดถูกจัดตั้งไว้เยี่ยงการแต่งงาน อันเป็นที่พึงพอพระทัยยิ่ง ณ อัลลอฮฺ[2]
การแต่งงานทั้งสองแบบ (ถาวรและมุตอะฮฺ) ต้องอ่านอักดฺทั้งสิ้น
คำว่า «عقد» ตามความหมายของคำ หมายถึง <ข้อผูกมัด> แต่ในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองคน หรือสองกลุ่มให้เกิดขึ้น บนพื้นฐานของข้อตกลงต่างๆ สำหรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งได้กำหนดให้เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองนั้น[3] อัลกุรอาน เช่น โองการที่กล่าวว่า (يـا اَيُّهـَا الَّذيـنَ امـَنـُوا اَوْفـُوا بـِالْعـُقـُودِ...) โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! จงรักษาบรรดาสัญญาให้ครบถ้วนเถิด[4] การปฏิบัติตามข้อตกลงที่ถูกต้อง และสัญญามนุษย์ถือเป็น วาญิบ สำหรับปวงผู้มีศรัทธาทั้งหลาย.
วิธีการอ่าน อักดฺ แต่ละประเภทนั้นจะมีรูปแบบของคำพูด อันเป็นคำเฉพาะที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา เช่น
<อักดฺนิกาห์> หมายถึงการเสนอข้อสัญญาอยู่ร่วมกันระหว่าง ภรรยากับสามี ซึ่งสิ่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขนั้นไม่ว่าจะเป็น สิทธิ ข้องตกลง และความรับผิดชอบต่างๆ ของทั้งสองฝ่าย จะปรากฏตามมาด้วย
แต่การที่กล่าวว่า มีความจำเป็นอะไรที่ต้องอ่าน อักดฺ ด้วย จำเป็นต้องกล่าวว่า :
ปวงปราชญ์ผู้มีสติปัญญาในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ เช่น การดำเนินธุรกิจการค้าจะใช้วิธีการ อ่านอักดฺ ซึ่งจะไม่ยุติเพียงแค่ความพอใจของสองฝ่าย และไม่ยอมรับการยินยอมของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ข้อสัญญา และความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งนั้นสัมฤทธิ์ผล ปวงปราชญ์เชื่อมั่นว่า ข้อสัญญาต่างๆ เหล่านั้นจะบรรลุข้อตกลง และสัมฤทธิ์ผลภายในกรอบของการอ่านอักดฺเท่านั้น.
ด้วยเหตุนี้เอง, จะเห็นว่าการแต่งงานเป็นภารกิจที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งเป็นการเสนอของสัญญาแน่นอนว่า ต้องวางอยู่บนกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ อันเฉพาะเจาะจงพิเศษ เช่น หนึ่งในเงื่อนไขพิเศษเหล่านั้นได้แก่ การอ่านอักดฺนิกาห์ ด้วยคำพูดอันเฉพาะที่กำหนดโดยอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งในฐานะของผู้วางกฎระเบียบชัรอียฺ (ซึ่งมีกล่าวอยู่ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ แล้ว)[5] การยินยอมของทั้งสองฝ่ายแม้ว่าจะเป็นเงื่อนไขจำเป็นก็ตาม แต่การยินยอมเพียงอย่างเดียวถือว่ายังไม่เพียงพอ ทว่าต้องมีเงื่อนไขอย่างอื่นประกอบด้วย
เกี่ยวกับความสำคัญของการใช้คำอ่านอักดฺนิกาห์ จำเป็นต้องกล่าวว่า : หลังจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนด อักดฺนิกาหฺ ด้วยคำพูดอันเฉพาะเจาะจง (เสนอและตอบรับ) เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงานแล้ว ตามความเป็นจริงด้วยการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมกับการกล่าวคำพูดอันเฉพาะ ซึ่งจะเปลี่ยนคำพูดที่แห้งแล้งและไร้จิตวิญญาณ ให้กลายเป็นความน่าเชื่อถือและมีคุณค่าขึ้นมาทันที และกลายเป็นสาเหตุศักดิ์สิทธิ์สำหรับการสร้างความเป็นสามีภรรยา ระหว่างมนุษย์สองคน (ชายกับหญิง) ซึ่งเดิมเป็นคนแปลกหน้าและเป็นนามะฮฺรัมกัน. ฉะนั้น การอ่านอักดฺนิกาห์ ด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะ (ความประสงค์ในการแต่งงาน, ความจริงใจ และ ...) ซึ่งอนิจสงค์และมรรคผลอันจำเริญยิ่งที่จะติดตามมา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดเพียงสี่คำเท่านั้น เพื่อว่าจะได้มีบุคคลกล่าวได้ว่า คำพูดสี่คำนั้นมีมรรคผลอะไร, ทว่าการกล่าวคำอ่านอักดฺ เป็นส่วนหนึ่งของการอ่านอักดฺนิกาห์, การยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่าย, ถ้าปราศจากการอ่านอักดฺ, หรือการแต่งงานที่ปราศจากการอ่านอักดฺ, อ่านเป็นประโยคที่เขียนไว้ หรือสัญลักษณ์ ถือว่าไม่เพียงพอ. ยกเว้นคนใบ้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมอบตัวแทนในการอ่านอักดฺนิกาห์ ดังนั้น ในกรณีนี้เพียงแค่ใช้สัญลักษณ์ หรือเขียนประโยคอักดฺนิกาห์ แทนคำพูดในการอ่านอักดฺ ถือว่าใช้ได้[6]
[1] (وَ مـِنْ آيـاتـِهِ اَنْ خـَلَقَ لَكـُمْ مـِنْ اَنـْفـُسـِكـُمْ اَزْواجـاً لِتـَسـْكـُنـُوا اِلَيـْهـا وَ جـَعـَلَ بـَيْنَكُمْ مَوَدَّةًوَ رَحْمَةً)บทโรม, โองการ 21.
[2] (ما بُنِىَ بِناءٌ فِى الاْسْلامِ اَحَبَّ اِلَى اللّهِ عَزَّوَجَلَّ مِنَ التَّزْويجِ)วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 20, หน้า 14
[3] ฟังฮังก์ มะอาริฟอิสลามมี, มุฟเราะดอต อัลฟาซ กุรอาน, หมวดคำว่า (عقد)
[4] บทมาอิดะฮฺ, โองการ 1.
[5] โปรดดูจากคำถามข้อที่ 1238 (ไซต์ : 1225) (เงื่อนไขการแต่งงานชั่วคราว)
[6] ตะฮฺรีรุลวะซีลอะฮฺ, หน้า 246, (บุคคลที่เป็นใบ้ จะปฏิบัติการอ่านอักดฺแต่งงานด้วยการใช้สัญลักษณ์)