การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6388
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18144 รหัสสำเนา 22531
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
คำถาม
ฮัมมาดะฮ์ที่อยู่ในยุคแรกของอิสลามเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1]

ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ฮัมมาดะฮ์คือบุตรีของอบีเราะญาอ์ มิไช่บุตรีของเราะญาอ์ ฉะนั้น ชื่อบิดาของนางจึงไม่ตรงกับตำราริญ้าลของทั้งนะญาชีและเชคฏูซี ดังที่ชื่อพี่ชายของนางก็ไม่ตรงกับตำราทั้งสองเล่มดังกล่าว เพราะน่าจะเป็น “ฮัมมาดะฮ์บุตรีของอบูเราะญาอ์” น้องสาวของ“ซิยาดบุตรของอบูเราะญาอ์” แต่เนื่องจากการที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านสายรายงานท่านใดระบุว่าบิดาของอบูอุบัยดะฮ์ชื่ออบูเราะญาอ์ จึงสันนิษฐานว่า ฮัมมาดะฮ์และอบูอุบัยดะฮ์อาจจะเป็นพี่น้องร่วมมารดากันเท่านั้น

คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

 

 


[1] ดู: สารานุกรมอัลอิมามคูอี,มุอ์ญัม อัรริญาลิลฮะดีษ,เล่ม 22,หน้า 188,สถาบันอิห์ยาอ์ อาษาริล อิมามิลคูอี,ฮ.ศ.1417

[2] ดู: อามิลี,มุห์ซิน อมีน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์,เล่ม 6,หน้า 224,ดารุตตะอารุฟ,เบรุต,ฮ.ศ.1406

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    6834 برخی صحابیان 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    3569 استغفار و توبه 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    7344 มรดก 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    6469 ازدواج، خانواده، طلاق و 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    5921 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...
  • ใครคือผู้ฝังร่ายอันบริสุทธ์ของอิมามฮุเซน (อ.)
    6376 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    บรรดาผู้รู้มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันออกไปแต่ทัศนะที่สอดคล้องกับริวายะฮ์และตำราทางประวัติศาสตร์ก็คือทัศนะที่ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีนบุตรชายของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เป็นผู้ฝังศพของท่านณแผ่นดินกัรบะลากล่าวคือ  ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ล่องหนจากคุกของอิบนิซิยาดในกูฟะฮ์มายังกัรบาลาโดยใช้พลังเร้นลับเพื่อมาทำการฝังศพท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้เป็นบิดาของท่านและบรรดาชะฮีดเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ที่ว่า“ไม่มีใครสามารถอาบน้ำศพห่อกะฝั่นและฝังอิมามมะอ์ศูมได้นอกจากจะต้องเป็นอิมามมะอ์ศูมเช่นกัน”อิมามริฏอ (อ.) ได้กล่าวขณะถกปัญหากับบุตรของอาบูฮัมซะฮ์ว่า“จงตอบฉันว่าฮุเซนบินอลี (อ.) เป็นอิมามหรือไม่? เขาตอบว่า“แน่นอนอยู่แล้ว” อิมามได้กล่าวว่า“แล้วใครเป็นผู้ฝังศพของท่าน?”เขาได้กล่าวว่า“อลีบินฮุเซน (อ.)” อิมามได้ถามต่อว่า“ในเวลานั้นอลีบินฮุเซน (อ.) อยู่ที่ไหน?” เขาตอบว่า“อยู่ที่กูฟะฮ์และเป็นเชลยที่ถูกบุตรของซิยาดควบคุมตัวอยู่แต่ท่านได้ลอบเดินทางยังกัรบาลาโดยที่ทหารที่เฝ้าเวรยามไม่รู้ตัว  ท่านได้ทำการฝังร่างของบิดาหลังจากนั้นจึงได้กลับมายังคุกเช่นเดิมอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่าผู้ที่มอบอำนาจพิเศษแก่อลีบินฮุเซน (อ.) เพื่อให้สามารถเดินทางไปฝังบิดาของท่านที่กัรบะลาพระองค์ย่อมสามารถช่วยให้ฉันล่องหนไปยังแบกแดดเพื่อห่อกะฝั่นและฝังบิดาได้เช่นกันทั้งๆที่ในขณะนั้นฉันไม่ได้ถูกจองจำและไม่ได้ตกเป็นเชลยของใคร[1]ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงเนื้อหาฮะดิษดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) คือผู้ที่ฝังศพบิดาด้วยตัวของท่านเอง
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    4767 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    7866 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6201 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    5793 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57238 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    54938 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40298 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37388 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    35969 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32348 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26664 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26022 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25858 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24109 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...