Please Wait
12748
โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย
คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา.
คำว่า “บุรูจญฺ” เป็นพหูพจน์ของคำว่า “บุรจญ์” หมายถึงปราสาทหรือคอหอยที่สูงตระหว่าน และโดยทั่วไปแล้วจะใช้สร้างมุมทั้งสี่ที่เป็นปราสาท เพื่อเสริมรากฐานให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อจะได้ใช้คอหอยเหล่านั้นคอยสังเกตหรือจัดการศัตรู และขับไล่พวกเขาออกไป, ซึ่งความหมายหลักของคำๆ นี้คือ การปรากฏภายนอก และ «التبرّج بالزینة» หมายถึงการแสดงสิ่งประดับ[1] ทำนองเดียวกันคำๆ นี้หมายถึงทุกสิ่งที่พบและปรากฏ, ถ้าหากส่วนใหญ่ใช้เป็นสิ่งประดับปราสาทราชวัง, ก็เพราะว่าปราสาทราชวัง ในสายตาของผู้มองเห็นนั้นเป็นลักษณะที่ปรากฏเห็นได้อย่างชัดเจน[2] และความหมายนี้เองที่เป็นวัตถุประสงค์ของโองการที่ว่า : «وَ لَقَدْ جَعَلْنا فِی السَّماءِ بُرُوجاً وَ زَيَّنَّاها لِلنَّاظِرِينَ ...» แน่นอน เราให้มีหมู่ดวงดาวในท้องฟ้า และเราได้ประดับให้สวยงามแก่บรรดาผู้เฝ้ามอง[3]
หรือในโองการที่กล่าวว่า «وَ السَّماءِ ذاتِ الْبُرُوج»، ขอสาบานต่อท้องฟ้าที่ถูกปกปักษ์รักษา[4] ด้วยสิ่งประดับ (ดวงตะวันและดวงเดือน)[5]
ด้วยเหตุนี้เอง, โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย[6] แน่นอน นักตัฟซีรบางคน อธิบายความหมายของ «بُروج» บุรูจญ์ ว่าหมายถึง 12 จักราศีตามความหมายของวิชาดาราศาสตร์[7]
โองการที่ว่า [8]«أَيْنَما تَكُونُوا يُدْرِكْكُمُ الْمَوْتُ وَ لَوْ كُنْتُمْ فی بُرُوجٍ مُشَيَّدَة»، ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเพียงอุปไมยหรือตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งอัลกุรอานต้องการนำเอา ตัวอย่างมาแสดง เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นเป็นสื่อในการปกป้องมนุษย์ให้พ้นจาก ความทุกข์ยากและความเสี่ยงจากอันตราย ในความหมายก็คือ ความตาย คือชะตาชีวิตของทุกตน ซึ่งจะไม่มีผู้ใดรอดพ้นความตายไปได้, แม้ว่าเขาจะหนีไปอยู่ในหอคอย หรือป้อมปราการที่สูงตระหว่านแข็งแรงที่สุดก็ตาม[9] ไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้แม้แต่ป้อมปรากการที่มั่นคงแข็งแรง ก็ไม่อาจปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นความตายไปได้, ซึ่งเหตุผลของสิ่งนี้ชัดเจนอยู่แล้ว, เนื่องจาก ความตาย นั้นตรงกันข้ามกับสิ่งที่มนุษย์คิดเสมอ และไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือมนุษย์ในภายนอกได้ ทว่าโดยปกติแล้วจะเกิดจากภายในของมนุษย์, เนื่องจากศักยภาพต่างๆ และอุปกรณ์ทั้งหลายในตัวมนุษย์ ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ตามจะถูกจำกัดให้แคบลง, และวันหนึ่งก็ต้องพบกับความสิ้นสุด, แน่นอน ความตายที่มิได้ไปตามธรรมชาติ จะเกิดจากภายนอกแล้วมาสู่มนุษย์ ขณะที่ความตายตามธรรมชาติจะเกิดจากภายในร่างกายมนุษย์, ด้วยเหตุนี้ แม้ป้อมปราการที่สูงตระหว่านแข็งแรง ก็ไม่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งนั้นได้ ถูกต้องที่ว่า บางครั้งป้อมปราการที่แข็งแรง อาจปกป้องให้รอดพ้นจากความตายจากภายนอก ที่มิได้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่หลังจากนั้นไม่นานความตายตามธรรมชาติ ก็จะมุ่งมาหาเข้า[10]
สรุปก็คือ คำๆ นี้ถูกใช้ทั้งในความหมายเดิม หมายถึง ปราสาท หอคอย และป้อมปราการที่แข็งแรง ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา
[1] เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน, อัลมีซาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, แปลโดย, มูซาวี, ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร, เล่ม 5, หน้า 6, ตัฟตัรอินติชารอต อิสลามมี, กุม, ปี 1374 (ค.ศ. 1995)
[2] อ้างแล้ว, เล่ม 20, หน้า 413.
[3] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺ,16
[4] ตัฟซีร อัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 20, หน้า 413.
[5] เฏาะรีฮียฺ, ฟัครุรดีน, มัจญฺมะอุล บะฮฺเรน, ค้นคว้าและตรวจทานโดย,ฮุซัยนี, ซัยยิดอะฮฺมัด, เล่ม 2, หน้า 276, สำนักพิมพ์ กิตาบโฟรูชี มุรตะฎอ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ปี ฮ.ศซ 1416
[6] อ้างแล้ว, เล่ม 12, หน้า 202, มัจญฺมะอุล บะฮฺเรน, เล่ม 2, หน้า 276.
[7] อาลูซีย์, ซัยยิดมะฮฺมูด, รูฮุลมะอานียฺ ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน อัลอะซีม, ค้นคว้าโดย,อุฏ็อยยะฮฺ, อะลี อับดุลบารียฺ, เล่ม 15, หน้า 294, ดารุลกุตุบ อัลอะลัมมียะฮฺ, เบรูต, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี ฮ.ศ. 1415
[8] อัลกุรอาน บทนิซาอฺ, 78 กล่าวว่า . ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเธออยู่ ความตายก็ย่อมถึงพวกเธอ และแม้ว่าพวกเธอจะอยู่ในป้อมปราการอันสูงตระหง่านก็ตาม
[9] ตัฟซีร อัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม5 หน้า 6.
[10] มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 19, ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1374 (ค.ศ. 1995)