Please Wait
6794
อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา
ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการว่า : »และเราไม่ได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นความจริง และแท้จริงวันฟื้นคืนชีพ [กิยามะฮฺ] จะมีมาอย่างแน่นอน (ทุกคนจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ) ดังนั้น เจ้าจงอภัยด้วยการอภัยที่ดี (แล้วจงอย่าประณามความไม่รู้ของพวกเขา) แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้าง พระผู้ทรงรอบรู้ และโดยแน่นอน เราได้ประทานแก่เจ้าเจ็ดอายาต (บทฟาติฮะฮฺ) ที่ถูกอ่านทวนซ้ำ และอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่«[1]
จุดประสงค์คำว่า »ฮัก« ในโองการที่กล่าวว่า «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلَّا بِالْحَق»، คือความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำว่า บาฏิล หรือเท็จไม่เป็นความจริง, ด้วยคำอธิบายดังกล่าวจะเห็นว่าชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินถูกสร้างขึ้นมาโดยมิได้แยกไปจากความจริง, ทว่าทั้งหมดเหล่านั้นคือความสำคัญของความจริง ภายหลังจากการสร้างสุดท้าย ซึ่งในไม่ช้านี้ทั้งหมดจะกลับไปสู่วาระสุดท้ายนั้น, เนื่องจากถ้าหากไม่มีบั้นปลายหรือการสิ้นสุดในการสร้างแล้วละก็, ทุกสิ่งก็จะกลายเป็นเท็จและไร้สาระ[2] ฉะนั้น โองการจึงได้กล่าวต่อไปอีกว่า : «وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ» แท้จริงวันฟื้นคืนชีพจะมีมาอย่างแน่นอน เป็นเหตุผลที่บ่งบอกอย่างชัดเจนถึงข้ออ้าง, เนื่องจากเป็นการอธิบายให้เห็นว่าการสร้างนี้มีเป้าหมายอย่างแน่นอน[3] อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีคำสั่งแก่ศาสนทูตของพระองค์ว่า จงแสดงความรักความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา : และจงอภัยในความผิดบาปของเขา, ด้วยการอภัยที่ดี ดังกล่าวว่า:[4] «فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَمِيلَ» เนื่องจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) นั้นทราบดีถึงเหตุผลอันชัดแจ้งในบทบาทของ ผู้ที่หน้าที่เชิญชวนและประกาศสาส์น, และเพื่อการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับรากฐานความเชื่อในเรื่อง พระผู้ทรงสร้าง และวันฟื้นคืนชีพให้เกิดในหัวใจของประชาชน, ไม่จำเป็นต้องอาศัยความรุนแรงแต่อย่างใด, เนื่องจากเหตุผลและวิทยปัญญานั้นอยู่กับนบีอยู่แล้ว, นอกจากนั้นความรุนแรงต่อบรรดาพวกที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจจะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความรุนแรงและความอคติมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ[5]
คำว่า “อัซซอฟฮะ” ตามหลักแล้วหมายถึง ด้าน หรือการวางทับบนสิ่งหนึ่ง[6] เหมือนกับด้านข้างของใบหน้า ด้วยเหตุนี้ คำว่า “ฟะอัซฟะฮฺ” จึงหมายถึง “การไม่ใส่ใจหรือการอภัย” และเนื่องจากการปล่อยวางและไม่ใส่ใจจากบางสิ่ง บางครั้งก็เกิดจากการไม่สนใจต่อสิ่งนั้น หรือการโกรธเคือง หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน, บางครั้งก็เกิดจากการอภัยและอโหสิกรรมให้, ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอาน โองการข้างต้นจึงได้กล่าวโดยฉับพลันในคำพูดต่อมาว่า “ญะมีล” (สายงาม) เป็นการอธิบายให้เห็นว่าความหมายที่สอง (อภัย) นั้นเหมาะสมกว่า[7]
รายงานฮะดีซ จากท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวอธิบายถึงการตัฟซีรโองการข้างต้นว่า : »จุดประสงค์, หมายถึงการอภัยโดยไม่มีการถือโทษ หรือการลงทัณฑ์ หรือการประณามใดๆ ทั้งสิ้น«[8]
ประโยคที่กล่าวว่า «فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَمِيلَ» จงอภัยด้วยการอภัยที่ดี นี้ เป็นการแยกให้ห่างไปจากเรื่องก่อนหน้านี้ ซึ่งโดย ปกติ ฟาอ์ ตัฟรีอ์ จะให้ความหมายในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว : ขณะที่การสร้างโลกถูกสร้างขึ้นมาโดยสัจจริง ซึ่งจะมีวันหนึ่งที่พวกเขาถูกสอบสวนในวันนั้น, ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลต่อการมุสา การเย้ยหยัน และการดูถูกของพวกเขาอีกต่อไป จงอภัยให้พวกเขาเถิด[9]
ส่วนประโยคที่กล่าวว่า «إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلَّاقُ الْعَلِيمُ»، แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้าง ซึ่งตามความเป็นจริงอยู่ในฐานะของเหตุผลที่ยืนยันถึงความจำเป็นในการอภัย การอโหสิกรรม และปล่อยวางโดยดี[10] และบุคคลที่มีคำสั่งให้ยกโทษให้คือ, อัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าซึ่งบริบาล สร้างสรรค์ และทรงรอบรู้ยิ่ง พระองค์ทรงรู้ดีว่าการอภัยนั้นมีผลต่อจิตวิญญาณ ต่อบุคคล สร้างแรงดึงดูดใจ และความก้าวหน้าต่อสังคมมากน้อยเพียงใด, ฉะนั้น คำสั่งที่ให้เจ้าอภัยจึงมิใช่ภารกิจหนักหนาแต่อย่างใดทั้งสิ้น[11]
ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด[12] เนื่องจากเราได้ให้ ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและอัลกุรอานอันยิ่งใหญ่แก่เจ้า ตรัสว่า «وَ لَقَدْ ءَاتَيْنَاكَ سَبْعًا مِّنَ الْمَثَانىِ وَ الْقُرْءَانَ الْعَظِيمَ»
จุดประสงค์ของ เจ็ดโองการหมายถึงอะไร, โปรดศึกษาได้จากหัวข้อ “ปรัชญาการตั้งชื่อบทฟาติฮะฮฺว่า ซับบะอะ มะษานียฺ” คำถามที่ 1910 (ไซต์ : 3298)
[1] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 85-87 กล่าวว่า :
: «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلاَّ بِالْحَقِّ وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَميلَ، إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلاَّقُ الْعَليمُ، وَ لَقَدْ آتَيْناكَ سَبْعاً مِنَ الْمَثانی وَ الْقُرْآنَ الْعَظيمَ»
[2] เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ, อัลมีซานฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 12, หน้า 188, ตัฟตัรอินเตชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 5, ปี1417
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม
[4] มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร,ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 127, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1374.
[5] อ้างแล้วเล่มเดิม
[6] วัตถุประสงค์ดังกล่าว, มุฮัมมัด บินมุกัรร็อม, ลิซานุลอาหรับ, เล่ม 2, หน้า 512, คำว่า (อัซซอฟฮะ) ดารุซอเดร, พิมพ์ครั้งที่ 3, เบรูต, ปี 1414, รอฆิบเอซฟาฮานียฺ, ฮุซัยนี บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าโดย, ซอฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 486, ดารุลอิลม์ อัดดารุชชามียะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ดะมิชก์, เบรูต, ปี 1412, กุเรชีย์, ซัยยิด อะลี อักบัร, กอมูซ กุรอาน, เล่ม 4, หน้า 131, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1371.
[7] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 127, 128.
[8] เชคซะดูก, อุยูนนุลอัคบาร อัรริฎอ (อ.), ค้นคว้าโดย ลาญะวาดดียฺ, มุฮฺดียฺ, เล่ม 1, หน้า 294, พิมพ์ที่ฌะฮอน, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1378,อะรูซีย์ ญะวีซียฺ, อับดุล อะลี บิน ญุมอะฮฺ, ตัฟซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ, ค้นคว้าโดย, เราะซูลลียฺ มะฮัลลาตตีย์, ซัยยิดฮาชิม, เล่ม 3, หน้า 27, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กุม, ปี 1415.
[9] อัลมีซาน ฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 12, หน้า 190.
[10] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 128.
[11] กะรออะตียฺ, มุฮฺซิน, ตัฟซีรนูร, เล่ม 6, หน้า 352, สำนักพิมพ์ ฟัรฮังกี บทเรียนจากอัลกุรอาน, เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 11, ปี 1383.
[12] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 129.