การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8224
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2484 รหัสสำเนา 18989
คำถามอย่างย่อ
เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
คำถาม
เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
คำตอบโดยสังเขป

ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึง มิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่นการตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้าไม่มีการอภัยอย่างแน่นอน หรือความผิดบางอย่าง เช่น สิทธิของมนุษย์ด้วยกัน (ฮักกุลนาซ) ย่อมไม่ได้รับการอภัยให้ด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนของคนอื่น, ทว่าต้องมีการทดแทนหรือการขอความเห็นใจ หรือขออภัยจากเจ้าของสิทธินั้น เพื่อเป็นบทนำไปสู่การอภัยต่อไป

ผู้กระทำความผิด บางครั้งได้กระทำผิดไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ซึ่งหลังจากสำนึกผิดและลุแก่โทษแล้วยังมีความหวังว่าจะได้รับการอภัย และบางครั้งผู้กระทำผิดได้กระทำผิดเพราะความพลั้งเผลอ ซึ่งต้องอาศัยการทดแทนความผิด.ซึ่งการทดแทนความผิดและมรรคผลนั้นผู้กระทำผิดอาจกระทำด้วยตัวเอง หรือบุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน

แน่นอน มนุษย์นั้นไม่มีสิทธิได้รับสิ่งใดเกินความพยายามและกำลังสามารถของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคกับความการุณย์และความเมตตาของพระเจ้าแต่อย่างใด, เพราะพระองค์จะประทานความโปรดปรานแก่บุคคลที่มีความคู่ควรเท่านั้น. จริงๆ แล้วสิทธิคือประเด็นนี้ ส่วนความเมตตาของพระเจ้าก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

การทำความดี ดุอาอฺ การวิงวอนขออภัย และการชะฟาอะฮฺ มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งไร้สาระแต่อย่างใด, ซึ่งในมุมหนึ่งถือว่าเป็นผลงานของบุคคลด้วยเหมือนกัน, เช่น ชะฟาอะฮฺนั้นต้องขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม และการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ตามความเป็นจริงแล้วผู้ที่จะรับชะฟาอะฮฺต้องมีคุณสมบัติ และมีศักยภาพเพียงพอต่อการรับ. ดังเช่นพืชและต้นไม้ต่างๆ ถ้าปราศจากการเอาใจใส่ดูแลไม่ให้น้ำอย่างเพียงพอแล้ว ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ได้,แต่ต้องมีศักยภาพและความสามารถในการเจริญเติบโตด้วยตัวเองเสียก่อน เพื่อว่าน้ำและแสงแดดและ ... จะได้มีประโยชน์กับตัวเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับความชัดเจนในคำตอบโปรดพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ :

1.ผู้กระทำความผิดทุกคนมี 2 ด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งคือการหลงลืมและการไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของอัลลอฮฺ) ส่วนอีกด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกับตัวของผู้กระทำผิดและบุคคลอื่นในสังคม (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของคนอื่นและผู้กระทำผิด)[1]

2.ผู้กระทำความผิดไม่เท่าเทียมกัน ถ้าหากพิจารณาไปตามความขัดแย้งของกาลเวลา สถานที่ ความแตกต่างในความผิดที่กระทำ และบุคลิกภาพของผู้กระทำผิด, แน่นอน แต่ละคนมีความแตกต่างกัน การลงโทษก็ต้องมีความแตกต่างกันด้วย เช่น อัลกุรอาน กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ) ไว้ โดยกล่าวว่า :โอ้ บรรดาภริยาของนบี! พวกเจ้าคนใดนำความชั่วอย่างชัดแจ้งมา การลงโทษจะถูกเพิ่มให้แก่นางเป็นสองเท่า ในการนั้นเป็นการง่ายดายแก่อัลลฮฺ[2] หรือรายงานจากท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวว่า :บุคคลใดกระทำความผิดอย่างเปิดเผย หรือเผยแพร่ความผิดเขาจะได้รับความต่ำทรามที่สุด แต่บุคคลใดปกปิดความผิดเอาไว้เขาจะได้รับการอภัย[3]

3.ในการแบ่งประเภทหนึ่งกล่าวว่า ความผิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทสิทธิของอัลลอฮฺ และสิทธิของมนุษย์ซึ่งรายงานกล่าวว่า :อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยความผิดที่เป็นฮักกุนนาซ (สิทธิของคนอื่น), เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะอโหสิกรรมให้ด้วยตัวเอง[4]ด้วยเหตุนี้ ความผิดประเภทนี้ไม่อาจลบล้างได้ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโดยผู้กระทำความผิด หรือคนอื่นกระทำให้ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม, นั่นหมายความว่าความผิดเหล่านี้ไม่อาจได้รับการอภัยได้ เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะเป็นผู้อภัยด้วยตัวเอง เช่น บุคลลหนึ่งได้ทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ตราบที่เจ้าของยังไม่อภัยให้, อัลลอฮฺก็จะไม่อภัยให้เขาเด็ดขาด

4.ความผิดได้ถูกแบ่งเป็นความผิดเล็กและความผิดใหญ่, ความผิดใหญ่ได้แก่ความผิดซึ่งในทัศนะอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งอัลกุรอานได้เตือนสำทับและสั่งห้ามเอาไว้โดยสิ้นเชิง, อีกทั้งได้สัญญาการลงโทษเอาไว้ในไฟนรกเอาไว้, เช่น การผิดประเวณี, การสังหารชีวิตบริสุทธิ์, การกินดอกเบี้ย, และ .... ดังที่รายงานได้กล่าวสำทับไว้เช่นกัน[5] แต่ความผิดเล็กหมายถึงความผิดที่ได้ถูกห้ามเอาไว้ ซึ่งเป็นความผิดประเภทเดียวที่อัลกุรอานได้สัญญาว่าจะอภัยให้ โดยกล่าวว่า : “หากสูเจ้าปลีกตัวออกจากบรรดาบาปมหันต์ ที่สูเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างบรรดาเหล่าความผิดเล็กๆ ของสูเจ้าออกจากสูเจ้า และเราจะให้สูเจ้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ[6]

ตามคำสอนของโองการข้างต้นกล่าวว่า การหลีกเลี่ยงจากการทำความผิดใหญ่, ความผิดเล็กๆ น้อยก็จะได้รับการอภัย. แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าบางครั้งก็อยู่ในเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง, เช่น ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ต้องไม่เปลี่ยนเป็นความผิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับได้ออกนอกสัญญาของพระเจ้าไปแล้ว[7]

5.ในการแบ่งอีกประเภทหนึ่ง สามารถแบ่งผู้กระทำความผิดไว้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

.กลุ่มชนที่กระทำความผิดด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลังจากนั้นได้สำนึกผิดอยู่ในช่วงของการทดแทน และขอลุแก่โทษ ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขาอย่างแน่นอน[8]

.กลุ่มชนที่กระทำความผิดทั้งๆ ที่รู้ และหลังจากนั้นก็ไม่สำนึกผิด แน่นอน การอภัยของพระองค์จะไม่ครอบคลุมถึงเขาเด็ดขาด

จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นที่ประจักษ์ว่า การอภัยในความผิดต่างๆ โดยพระเจ้า หรือการเปลี่ยนแปลงผู้กระทำความผิด เฉพาะความผิดที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาเอาไว้ว่าจะทรงอภัยให้[9]

แต่ถ้าบุคคลนั้นตลอดอายุขัยของตนอยู่กับการทำความผิดหรือระหกระเหินท่ามกลางความหลงผิด, ดังนั้น ความผิดของเขาจะหมดไปด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโทษของบุคคลอื่นได้อย่างไร? หรือชะตาชีวิตของเขาในปรโลกจะได้รับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จำเป็นต้องกล่าวว่า ผู้กระทำผิดที่จมปรักอยู่กับการกระทำผิดนั้นมิได้เป็นเช่นนี้ทุกคน และเป็นไปไม่ได้ที่ความผิดของพวกเขาจะได้รับการอภัย หรือเปลี่ยนแปลงไปเพราะดุอาอฺหรือการวิงวอนของคนอื่น, ใช่แล้ว เกี่ยวกับผู้กระทำความผิดที่ละเมิดกระทำความผิดลงไป อัลลอฮฺ ทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขา นี่เป็นความหวังว่าแม้แต่ดุอาอฺและความวิงวอนของคนอื่น พวกเขาก็จะได้รับการอภัยด้วย, เนื่องจากอัลกุรอานได้กล่าวว่าความดีงาม จะขจัดความไม่ดี (ความผิด) ให้หมดไป[10] ดังเช่นผู้กระทำความผิดถ้าหากในชีวิตของเขาได้กระทำความดี ซึ่งการกระทำความดีตามความหมายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาว่าจะลบล้างความผิดและผลของความผิดให้แก่เขา, ขณะที่ถ้าหากบุคคลอื่นได้กระทำความดี และได้อุทิศความดีงามแก่ผู้กระทำความผิด แน่นอน การกระทำเช่นนี้จะเป็นสาเหตุทำให้ความผิดต่างๆ ของเขาถูกลบล้าง

มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวว่า : เมื่อบุคคลหนึ่งได้ตายจากโลกนี้ไป และบุคคลอื่น (เช่นบุตรและธิดา) ได้กระทำความดี เช่น นมาซ, ถือศีลอด, ฮัจญฺ, บริจาคทาน, ซื้อความเป็นไทให้แก่ปวงบ่าว, และ ....โดยอุทิศผลบุญของงานดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ แน่นอน ผลบุญและรางวัลของการกระทำดังกล่าวนี้จะตกไปถึงเขา[11]

แน่นอน เมื่อผลบุญของการกระทำความดีของคนอื่นที่ได้อุทิศให้แก่ผู้กระทำความผิด, ไปถึงผู้ตาย ถ้าหากเป็นผลบุญที่สามารถทดแทนผลที่ไม่ดีของความผิดของผู้ตายได้ ความผิดของเขาย่อมได้รับการทดแทน และนี่คือความยุติธรรมของพระเจ้าที่บุคคลอื่นได้ทำความดีในสิทธิ์ของผู้กระทำความผิด ซึ่งความผิดนั้นอยู่ในระดับชั้นของความดีดังกล่าว ความผิดนั้นย่อมได้รับการอภัยอย่างแน่นอน, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงเปิดหนทางดังกล่าวโดยผ่านพระวจนะของท่านศาสดา (ซ็อล )[12]

ประหนึ่งกฎเกณฑ์บนโลกนี้ ถ้าหากผู้ใดได้กระทำสิ่งที่ขัดกฎหมาย และสร้างความเสียหายแก่คนอื่น ถ้าหากคู่กรณียอมจ่ายค่าชดเชยเป็นการตอบแทน, ย่อมสร้างความพอใจแก่ผู้เสียหายได้ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจเขาย่อมได้รับการลงโทษ. ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องแปลกใจและไม่มีคำถามเลยว่า ความผิดของผู้กระทำผิดที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้ถูกลบล้างด้วยการทำความดีของบุคคลอื่นได้อย่างไร

ใช่แล้ว ถ้าหากผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้กระทำความผิดไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากให้ผู้กระทำความดีทั้งโลกทำความดี และอุทิศความดีแก่เขา ความดีเหล่านั้นก็ไม่อาจทดแทนความผิดที่เขาได้กระทำไว้ได้, ในกรณีนี้ถือว่าความผิดของเขาไม่อาจทดแทนได้ด้วยการทำความดีของบุคคลอื่น, ทว่าความผิดของเขาย่อมได้รับการลดหย่อน ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงลดหย่อนการลงโทษแก่เขาอย่างแน่นอน[13]

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยุติธรรมและทรงปรีชาญาณเสมอ พระองค์จะไม่อธรรมปวงบ่าวแม้เล็กเท่าองค์ผลธุลีก็ตาม, พระองค์จะไม่ทรงละเลยการงานของมนุษย์ พระองค์จะไม่ทรงทำลายผลรางวัลของการทำความดีของปวงบ่าว เป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงอภัยให้แก่บางคน ซึ่งในทัศนะของเราบุคคลนั้นสมควรได้รับการลงโทษอันแสนสาหัสจากพระองค์ก็ตาม (เนื่องจากเราไม่ได้รับรู้ถึงการงานทั้งหมดและความประพฤติของเขา), แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้ทรงปรีชาญาณและทรงรอบรู้ทุกสิ่งซึ่งเรานั้นไม่รู้, ดังนั้น ต้องยอมรับว่าการอภัยของพระองค์สืบเนื่องมาจากการทำความดีของเขา พระองค์ทรงรู้แต่เราไม่รู้

อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าดุอาอฺที่บริสุทธิ์ใจ การวิงวอนขออภัยในความผิดต่ออัลลอฮฺ สำหรับบุคคลอื่นก็เนื่องจากมีมรรคผลที่ดี และเป็นการทำความดี ซึ่งบุคคลอื่นได้กระทำในสิทธิของตน ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นแล้วบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความดีงามอันใดในชีวิตของเขา และตลอดอายุขัยของเขามากไปด้วยการทำความผิด, ก็จะไม่มีผู้ใดขอดุอาอฺด้วยความจริงใจให้เขาแน่นอน, แม้แต่บุตรและธิดาหรือเครือญาติชั้นของเขา, ถ้าหากพวกเขาเป็นคนไม่ดีดุอาอฺของเขาย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ถ้าพวกเขาเป็นคนดีและไม่ใจจืดใจดำที่จะดุอาอฺ และวิงวอนขออภัยโทษแก่เขา แน่นอน ดุอาอฺของเขาย่อมถูกตอบรับอย่างแน่นอน

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้ตอบคำถามโองการที่กล่าวถึงเรื่องชะฟาอะฮฺ เช่น โองการ 21, บทฏูร ที่กล่าวว่า : และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขาขณะที่เขาไม่เคยขวนขวายในหนทางดังกล่าวเลย, หรือสิ่งที่รายงานได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อใดก็ตามถ้าบุคคลหนึ่งได้กระทำความดี,ผลของความดีเหล่านั้นจะตกไปถึงลูกหลานของเขา, ดังนั้น รายงานดังกล่าวนี้กับโองการข้างต้นจะสามารถรวมกันได้ไหม ซึ่งผลประโยชน์ของแต่ละคนในวันฟื้นคืนชีพ ขึ้นอยู่การขวนขวายของเขา

อัลกุรอานกล่าวว่า : ไม่มีบุคคลใดจะได้รับสิ่งใดมากเกินการขวนขวายพยายามของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใดที่ว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ผู้ที่มีความเหมาะสม ด้วยความเมตตาและความการุณย์ของพระองค์. สิทธิคือประเด็นหนึ่ง ส่วนเรื่องความเมตตาการุณย์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ดังที่ ความดีงามบางครั้งได้รับการตอบแทนผลรางวัลเป็น 10 เท่าตัว บางครั้งก็เป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าของความดี

อย่างไรก็ตาม การชะฟาอะฮฺ มิได้ถูกให้โดยปราศจากการตรวจสอบแต่อย่างใด, ซึ่งชะฟาอะฮฺก็ต้องอาศัยความพยายามและการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างจิตด้านในกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺด้วย[14]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวอธิบายเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : ถ้าหากบุคคลหนึ่งต้องการไปให้ถึงยังผลบุญ แต่ไม่ได้จัดเตรียมเหตุของผลบุญเอาไว้ แต่ไม่ได้ต่อต้านหน้าที่เพียงแต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน, ขณะที่ตรงนี้เขาได้ตะวัซซุลไปยังชะฟาอะฮฺ ซึ่งผลของชะฟาอะฮฺจะเกิดหรือไม่ตรงประเด็นนี้เอง, แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปที่ว่า, สำหรับบางคนไม่มีคุณสมบัติที่จะไปถึงความสมบูรณ์ตามกล่าวเลยแม้แต่นิดเดียว เช่น สามัญชนคนหนึ่งต้องการเป็นผู้รู้สูงสุดด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...