การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7545
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2579 รหัสสำเนา 14714
คำถามอย่างย่อ
บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
คำถาม
บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

สื่อมีความหมายกว้างมาก ซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่ง หรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อ ขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลาย บรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆ แน่นอนถ้าปราศจากปัจจัย สื่อ และสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอน ที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้า หรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์ อัลกุรอานหลายโองการ และรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้ และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้น มนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับคำตอบในเรื่องนี้, อันดับแรกต้องทำความเข้าใจกับความหมายของ สื่อ เสียก่อน

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฎาะบาอีกล่าวไว้ในตัฟซีร อัลมีซาน เกี่ยวกับโองการที่ว่า :

"یا ایها الذین آمنوا اتقوا الله و ابتغوا الیه الوسیلة"

โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์[1] ซึ่งในการอธิบายถึงสื่อ  อัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า :แก่นแท้ของคำว่าสื่อ  อัลลอฮฺ,คือการใส่ใจในแนวทางของอัลลอฮฺ. ในลักษณะที่ว่า ประการแรก : จงถวิลหาความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติของพระองค์ ประการที่สอง : จงแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์ ประการที่สาม : พยายามค้นหาแนวทางการปฏิบัติสิ่งที่เป็นมุสตะฮับ ... เนื่องจากวะซีละฮฺคือการติดต่อสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง และการสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ซึ่งเป็นนามธรรม ปราศจากสถานที่และกายภาพ, เป็นการสร้างสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณเพื่อค้นหาสายสัมพันธ์ ระหว่างพระผู้อภิบาลกับปวงบ่าว และอีกด้านระหว่างบ่าวกับพระเจ้าไม่มีสายสัมพันธ์อันใดทั้งสิ้น เว้นเสียแต่ความต่ำต้อยด้อยค่าและความเป็นบ่าว, แน่นอน ด้วยสื่อของการแสดงความเคารพภักดี ทำให้แก่นแท้ของการแสดงความเคารพภักดีบังเกิดขึ้นในตัวเอง และพบว่าตนเป็นผู้ยากไร้และอนาถา  เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ ดังนั้น สื่อที่โองการกล่าวถึงก็คือความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เอง[2]

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ตอนอธิบายโองการดังกล่าวข้างต้นกล่าวถึงความหมายของ วะซีละฮฺ ว่า : วะซีละฮฺ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง กล่าวคือครอบคลุมทุกภารกิจการงาน หรือทุกสิ่งอันเป็นสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งสำคัญที่สุดของสื่อเหล่านั้นคือ อีมานต่อพระผู้อภิบาลและศาสดา (ซ็อล ) การญิฮาดและอิบาดะฮฺ เฉกเช่น นมาซ, บริจาคทานบังคับ,ศีลอด, อัจญฺ การสร้างสายสัมพันธ์กับเครือญาติ การบริจาคในหนทางของอัลลอฮฺ ซึงครอบคลุมทั้งการบริจาคที่เปิดเผยและปิดบัง ตลอดจนทุกการงานที่ดี ...ทำนองเดียวกันการชะฟาอะฮฺของบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ บ่าวผู้เป็นกัลป์ญาณชนของอัลลอฮฺ ตามที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้ใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาล, และอยู่ในความหมายอันกว้างของการตะวัซซุลด้วย. ทำนองเดียวกันการปฏิบัติตามเราะซูลและบรรดาอิมาม การเจริญรอยตามแนวทางของพวกท่าน, เนื่องจากทั้งหมดเหล่านี้คือสาเหตุทำให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) แม้กระทั่งการสาบานต่ออัลลอฮฺ ตำแหน่งของศาสดา อิมาม บ่าวผู้บริสุทธิ์ และฯลฯ[3]

ดังนั้น วัตถุประสงค์ของอัลกุรอานจากคำว่า สื่อหรือการตะวัซซุลของบรรดาผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว ให้ยึดมั่นกับสื่อเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ก็คือความหมายตามกล่าวมา

อัลกุรอาน นอกจากโองการที่กล่าวแล้ว, โองการที 97 บทยูซุฟกล่าวว่า : พี่น้องของยูซุฟได้ขอร้องบิดา (ยะอฺกูบ) ให้ขอลุกแก่โทษแก่พวกเขากล่าวว่า โอ้ พ่อของเรา โปรดขออภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา แท้จริง เราเป็นผู้ผิด

อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ กล่าวถึงการขออภัยโทษของศาสดาอิบรอฮีม (.) ให้แก่บิดาของท่าน ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า บทบาทของดุอาอฺของบรรดาศาสดา (.) ในการขออภัยโทษให้แก่บุคคลอื่น[4]

รายงานจำนวนมากมายจากสายรายงานทั้งชีอะฮฺและซุนนียฺ,กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการตะวัซซุล.

หนังสือวะฟาอุลวะฟาเขียนโดยซัมฮูดี (ซุนนีย) กล่าวว่า : การขอความช่วยเหลือและชะฟาอะฮฺจากท่านศาสดา (ซ็อล ) จากตำแหน่งและบุคลิกภาพของท่าน, หรือก่อนการสร้างท่านเป็นสิ่งอนุญาตทั้งสิ้น ตลอดจนหลังการกำเนิดและก่อนการจากไปของท่าน หรือหลังจากการจากไป, ในโลกบัรซัคและในวันฟื้นคืนชีพ[5] หรือหลังจากประโยคต่างๆ,รายงานกล่าวถึงการตะวัซซุลของศาสดาอาดัม (.) ที่มีไปยังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) รายงานจากอุมัร บิน คัฏฏ็อบว่า : อาดัมได้วอนขอต่ออัลลฮฺ (ซบ.) จากความรู้ที่ว่าในอนาคตจะมีการสร้างศาสดาอิสลามขึ้นมาว่า :

"یا رب اسئلک بحق محمد (ص) لما غفرت لی"

โอ้ พระผู้อภิบาลฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ ด้วยสิทธิของมุฮัมมัด ขอทรงโปรดอภัยแก่ฉันเถิด[6] รายงานบทอื่นจากซุนนีย์ที่บันทึกไว้ เช่น นะซาอียฺและติรมิซียฺกล่าวว่า : มีชายตาบอดคนหนึ่งได้ขอให้ท่านศาสดา (ซ็อล ) ดุอาอฺแก่เขาเพื่อการชะฟาะฮฺอาการป่วยไข้, ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้สั่งให้เขาดุอาอฺเช่นนี้ว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ฉันขอวิงวอนต่อพระองค์ และขอมุ่งสู่พระองค์ ผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา, โอ้ มุฮัมมัด  เบื้องพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของฉัน ฉันขอมุ่งยังท่าน โปรดทำให้ดุอาอฺของฉันถูกยอมรับ โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้นบีเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่ฉัน[7]

บัยฮะกียฺ กล่าวว่า ช่วงยุคสมัยการปกครองของเคาะลิฟะฮฺที่ 2, มีความแห้งแล้งมากประมาณเกือบ 2 ปี ท่านบิลาลพร้อมกับเซาะฮาบะฮฺ ท่านอื่นได้เดินทางไปยังหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ) แล้วกล่าวว่า : โอ้ ยาเราะซูลลัลลอฮฺ โปรดขอฝนให้แก่ประชาชาติของท่านด้วย เนื่องจากความ (แห้งแล้ง) กำลังจะคร่าชีวิตพวกเรา ...[8]

แต่เป็นเพราะสาเหตุใด เราจึงต้องการสื่อด้วย ? คำตอบคือ โลกใบนี้ดำรงอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมวลมนุษย์ไปสู่ความพัฒนาและความสมบูรณ์ ซึ่งความต้องการของมนุษย์นั้นบางครั้งสัมฤทธิผลด้วย ปัจจัยอันเป็นวัตถุและบางครั้งก็ด้วยสาเหตุอื่นที่มิใช่วัตถุ

ตามความเป็นจริงแล้ว สื่อต่างๆ มีบทบาทต่อสาเหตุปัจจัยในการสร้างความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺทั้งสิ้น, เนื่องจากความเมตตาอันเหลือของพระองค์, เช่น การชี้นำทาง, การอภัยโทษ และ ...เช่นเดียวกันบนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะพระองค์ได้ประทานแก่มนุษย์ ประกอบกับความประสงค์ที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาของพระองค์ ที่ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้นซึ่งทั้งหมดได้มาถึงมนุษย์ด้วยหนทางแห่งสาเหตุปัจจัยอันเฉพาะ และสาเหตุที่ระบุเอาไว้แล้ว.ด้วยเหตุนี้เอง, ดังที่ปรากฏในโลกของวัตถุ,จะเห็นว่าคำถามเหล่านี้ไร้สาระ : เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงให้โลกสว่างไสวด้วยแสงอาทิตย์? เพราะเหตุใดความกระหายของมนุษย์จึงถูกขจัดด้วยการดื่มน้ำ? เพราะเหตุใดตนจึงไม่ตอบสนองความต้องการของตน และของสรรพสิ่งอื่น โดยปราศจากสื่อเหล่านี้เล่า? ในโลกของจิตวิญญาณเช่นกันไม่สามารถกล่าวได้ว่า เพราะเหตุใดอัลลอฮฺจึงไม่ให้การอภัยโทษ ความใกล้ชิด และการชี้น้ำครอบคลุมปวงบ่าว โดยปราศจากสื่อเล่า? อย่างไรก็ตามดั่งเช่นที่ทราบกันดีว่า พืชถ้าปราศน้ำ ดิน ปุ๋ย อากาศ และแสงสว่างแล้วละก็ไม่สามารถเจริญงอกงามไปสู่ความสมบูรณ์ได้, มนุษย์ก็เช่นเดียวกันถ้าปราศจาการช่วยเหลือจากสื่ออันเป็นความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าแล้ว,เขาก็ไม่อาจไปถึงยังเป้าหมายอันเป็นที่ยอมรับได้

ชะฮีด มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า : การงานของพระเจ้า, มีระบบและระเบียบ ถ้าหากใครไม่ต้องการใส่ใจกับระบบการสร้างสรรค์ เขาก็จะหลงทาง. ด้วยสาเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงชี้นำทางบรรดาผู้กระทำผิดทั้งหลายว่า จงไปบ้านของท่านศาสดา (ซ็อล ) และนอกจากจะขอการอภัยโทษแล้ว ก็จงขอร้องให้ท่านศาสดาช่วยวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกตนด้วย อัลกุรอานกล่าวว่า[9] : และแม้นว่าพวกเขา ขณะที่อธรรมต่อตนเอง ได้มาหาเธอ แล้วขออภัยโทษต่ออัลออหฺ และศาสนทูตก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขาด้วยแล้ว แน่นอน พวกเขาก็ย่อมพบว่า อัลลอฮฺนั้นคือพระผู้ทรงอภัยโทษ พระผู้ทรงปรานีเสมอ[10] [11]

เนื่องจากการใส่ใจต่อแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งโองการและรายงานต่างๆ (ซุนนะฮฺ) ได้เน้นย้ำเอาไว้อย่างมากมายถึงเรื่องสือ, การตะวัซซุลกับสื่อต่างๆ ในการอภัยโทษและสร้างความใกล้ชิด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา! พึงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด (อย่าฝ่าฝืน) และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์[12]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ได้กล่าวถึงบทบาทอันกว้างไกลของผู้ให้ชะฟาะฮฺ ในบทวิพากเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ว่า ตามความเป็นจริงแล้วบุคคลที่ตะวัซซุล,ไปยังผู้ให้ชะฟาอะฮฺเนื่องจากพลังของตนฝ่ายเดียวไม่เพียงพอต่อการไปถึงยังเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ ตนจึงได้ผสมผสานพลังของตนเข้ากับพลังของผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนพลังให้มากขึ้น,และได้รับในสิ่งที่ปรารถนา,ในลักษณะที่ว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นโดยใช้พลังงานของตนเพียงอย่างเดียว,จะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้, เนื่องจากพลังงานของตนฝ่ายเดียวไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ และไม่ยั้งยืน...ดังนั้นชะฟาะฮฺจึงเป็นสื่อหนึ่งเพื่อความสมบูรณ์ของสาเหตุ...[13]

จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญสองสามประเด็นในตอนท้าย :

1.แม้ว่าความต้องการด้านวัตถุปัจจัยของมนุษย์ได้บรรลุผล เนื่องจากสาเหตุทางวัตถุ,แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ดุอาอฺ การตะวัซซุล จะไม่มีบทบาทสำคัญในการสมปรารถนาด้านวัตถุ, สาเหตุทางจิตวิญญาณบางครั้งเป็นสาเหตุแห่งการสร้างสรรค์ และบางครั้งก็ให้ประโยชน์ล้นเหลือ,กล่าวคือบางครั้งผลอาจเกิดจากสาเหตุของวัตถุ,แต่การที่จะให้ผลเหล่านั้นบังเกิดขึ้นมันมาจากดุอาอฺ และ ...และบางครั้งดุอาอฺก็เป็นตัวลบล้างผลทางวัตถุ, เช่น ไฟจำเป็นต้องลุกไหม้,แต่เนื่องจากลมแรงทำให้ไฟไม่ติด อย่างไรก็ตามสาเหตุหลักที่แท้จริงคือ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงสามารถให้ยาบังเกิดผล,พร้อมกับให้สาเหตุทางจิตวิญญาณสมจริง

2.วัตถุประสงค์ของการตะวัซซุลกับนบี (ซ็อล ) บรรดาอิมาม (.) หรือหมู่มิตรของอัลลอฮฺในการเป็นสื่อ ก็เนื่องจากตำแหน่งและฐานันดรอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา  อัลลอฮฺ ซึ่งตามความเป็นจริงเท่ากับได้ใช้ตำแหน่งความใกล้ชิดของพวกเขา เพื่อให้พวกเราได้ใกล้ชิดกับพระองค์เนื่องจากตำแหน่งของพวกเขา[14]



[1] อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ,35

[2] ตัฟซีร อัลมีซาน,ฉบับแปล, เล่ม 5, หน้า 535

[3] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 4, หน้า 364-367

[4] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 114

[5] วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 3, หน้า 1371, คัดลอกมาจากตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4 หน้า 367

[6] อ้างแล้วเล่มเดิม

[7] "اللهم انی اسئلک و اتوجه الیک بنبیک محمد نبی الرحمة، یا محمد انی توجهک بک الی ربی فی حاجتی لتقضی لی اللهم شفعه فی"

วะฟาอุลวะฟาอฺ, เล่ม 2, หน้า 1372

[8] "یا رسول الله استسق لامتک فانهم قدهلکوا..."،อัตตะวัซซุล อิลา ฮะกีเกาะติลตะวัซซุล,หน้า 329, คัดลอกมาจากเล่มเดิม, หน้า 368-369

[9] "ولو انهم اذظلموا انفسهم جاؤوک فاستغفروا الله و استغفر لهم الرسول لوجدو الله تواباً رحیماً"

[10] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ,64

[11] มัจญฺมูอฺ ออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรี, เล่ม 1, หน้า 264

[12] อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ,35

[13] ตัฟซีรอันมีซาน,ฉบับแปล,เล่ม 1 หน้า 239,240, เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม โปรดพิจารณาหัวข้อ, ความพยายามและบทบาทของมันในการกำหนดชะตาชีวิตในปรโลก, คำถามที่ 280

[14] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ,เล่ม 4, หน้า 167-172, ตัฟซีรมีซาน, เล่ม 1, หน้า 239-246

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...