การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11623
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7889 รหัสสำเนา 19924
คำถามอย่างย่อ
ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
คำถาม
อัลกุรอาน โองการ 217 บทบะเกาะเราะฮฺ กล่าวว่า : โอ้ ศาสดา ถ้าพวกเขาถามเธอเกี่ยวกับการสู้รบในเดือนต้องห้าม จงกล่าวเถิดว่า "การสู้รบ ในเดือนนั้นเป็นบาปใหญ่หลวง แต่การขัดขวางให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ การปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกันอัลมัสญิดอัลฮะรอม ตลอดจนการขับไล่ชาว อัลมัสญิด อัลฮะรอม ออกไปนั้น เป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮฺ และการก่อกวนนั้นเป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าสังหาร และพวกเขาจะยังคงต่อสู้สูเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้สูเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของสูเจ้า...ความหมายของโองการดังกล่าวนี้คือ ภายใน 4 เดือนต้องห้ามนี้ จะครอบคลุมพวกอาหรับที่ชอบสู้รบกัน หรือชอบล่าล้างผลาญกันด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆ ของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้าม การทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม, และเราะญับ) เท่านั้น ทว่ายังได้มีบทลงโทษอันแสนสาหัสได้อีกด้วย เพื่อป้องกันมิให้คนใดคนหนึ่งคิดถึงเรื่องการทำสงครามกันเดือนนี้ จนทั่งถึงขั้นที่ว่าอัลกุรอานโองการที่ถูกถามถึงนั้น, ได้ระบุชัดเจนว่าการทำสงครามกันในเดือนต้องห้าม ถือว่าเป็นบาปใหญ่ด้วยซ้ำไป นอกจากนั้นการสังหารผู้อื่นโดยไม่เจตนายังต้องจ่ายสินไหมชดเชยเป็นสองเท่าด้วย, ทั้งหมดเหล่านี้คือเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า อิสลามได้ให้ความสำคัญและให้ความเคารพต่อเดือนต้องห้ามทั้งสี่, การห้ามทำสงครามในเดือนต้องห้ามทั้งสี่นั้น ก็เพื่อให้ทั้งหมดให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อเดือนเหล่านี้, แต่ในที่ซึ่งบางคนได้ใช้ประโยชน์จากการที่ชาวมุสลิมให้เกียรติต่อเดือนเหล่านี้ และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนโดยจับอาวุธยุทโธปกรณ์ เข้าห้ำหั่นมุสลิม, อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ชาวมุสลิมยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู, ป้องกันการรุกรานและการกดขี่ข่มเหงของพวกเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

วัตถุประสงค์ของเดือนต้องห้ามต่างๆ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดเป็นวาญิบสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนต้องใส่ใจในความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้ นับตั้งแต่ยุคสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล (.) เป็นต้นมา การต่อสู้และการสงครามในเดือนต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการต้องห้ามเอาไว้, ซึ่งแบบฉบับดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยการมาของอิสลาม กระนั้นในหมู่ชนอาหรับก็ยังให้เกียรติเดือนเหล่านี้ ทุกคนยังยึดถือปฏิบัติตามและให้ความเคารพด้วยดีตลอดมา, อัลกุรอานเองได้เน้นย้ำประหนึ่งลงนามกำกับความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้เอาไว้ด้วยเช่นกัน, ดังที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : แท้จริงจํานวนเดือน  อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นที่ต้องห้าม นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้น สูเจ้าจงอย่าฉ้อฉลตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น และจงต่อสู้บรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้กับพวกเจ้าทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นร่วมกับบรรดาผู้มีความสำรวมตนเสมอ[1]

เดือนต้องห้าม (ฮะรอม) ทั้งสี่ได้แก่ เดือนซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม, และเราะญับ. ซึ่งความต้องห้ามของเดือนเหล่านี้วางอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาและคุณประโยชน์มากมาย ซึ่งในประเด็นนี้อาจเป็นเพราะว่าเป็นไปได้ที่การสงครามจะสิ้นสุดลงด้วยตัวของมัน เนื่องจากนักสงครามทั้งหลายมีเวลาพอที่จะคิดใคร่ครวญ, และเชิญชวนประชาชนไปสู่ความสันติและความสงบมั่น, นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่จะประกอบพิธีฮัจญฺ, ทำการค้าขาย และอื่นๆ ... อีกมากมาย

อิสลามนั้นไม่เพียงแต่ไม่อนุญาตให้ทำสงครามกันในเดือนต้องห้ามทั้งสี่เท่านั้น ทว่ายังได้ระบุการลงโทษอย่างหนักไว้ด้วย เพื่อให้บุคคลได้คิดใคร่ครวญในปัญหาอื่นในเดือนเหล่านี้ สมองของพวกเขาจะได้ไม่หมกมุ่นอยู่กับการสงครามและการสู้รบเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งว่าโองการที่ถูกถามถึงกล่าวว่าการทำสงครามในเดือนนี้ถือเป็นบาปใหญ่[2] หรือแม้แต่การสังหารผู้อื่นโดยมิได้เจตนา ก็ต้องจ่ายสินไหมทดแทนมากเป็นสองเท่า[3]

แต่เนื่องจาก มุชริกชาวมักกะฮฺ มีความคิดที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือในเดือนต้องห้ามมุสิลมต่างให้เกียรติและเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้ พวกเขาจึงคิดที่จะบุกโจมตีมุสลิม (เนื่องจากพวกเขาคิดว่า,ในเดือนต่างๆ เหล่านี้ชาวมุสลิมคงจะไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยอย่างแน่นอน) อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาว่า : เดือนที่ต้องห้ามนั้น ก็ด้วยเดือนที่ต้องห้าม[4] กล่าวคือถ้าหากศัตรูได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนนี้ หรือไม่ให้เกียรติโดยบุกโจมตีพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงลุกขึ้นต่อสู้กับพวกเขาเถิดเนื่องจากในความศักดิ์สิทธิ์นั้นย่อมมีการลงโทษ[5]

ด้วยเหตุนี้เอง แม้ว่าอิสลาม,ได้ยึดถือแบบฉบับการห้ามทำสงครามกันในเดือนต่างๆ ที่ต้องห้าม (ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยท่านศาสดาอิบรอฮีมในหมู่ชนอาหรับสมัยนั้น) ก็ตาม, “แต่เนื่องจากว่าบรรดามุชริกพยายามใช้ประโยชน์ในทางไม่ดีเกี่ยวกับเดือนเหล่านี้ ทั้งที่กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการยกเว้นเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้ว อัลกุรอานกล่าวว่าจริงอยู่แม้ว่าการทำสงครามต้องห้ามจะเป็นความสำคัญและจำเป็นยิ่ง แต่การขัดขวางให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ การปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกันอัลมัสญิดอัลฮะรอม ตลอดจนการขับไล่ชาว อัลมัสญิด อัลฮะรอม ออกไปนั้น เป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่า  ที่อัลลอฮฺ[6]

หลังจากนั้น ทรงตรัสเพิ่มเติมว่า : และการก่อกวนนั้นเป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าสังหาร

เนื่องจากว่า การก่อกวนนั้นถือเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย และอาชญากรรมนี้ยังมีผลกระทบกับจิตวิญญาณและความศรัทธาของมนุษย์ และหลังจากนั้นยังดำเนินต่อไปอีก ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวมุสลิมจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอของการโฆษณาชวนเชื่อผิดๆ ของบรรดามุชริก เนื่องจากและพวกเขาจะยังคงต่อสู้สูเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้สูเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของสูเจ้าดังนั้น จงยืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงกับพวกเขา, และจงอย่าใส่ใจคำหยุแย่ของพวกเขาเกี่ยวกับเดือนฮะรอม[7]

การให้เกียรติและให้ความเคารพต่อเดือนต่างๆ ที่ฮะรอมสำหรับบุคคลที่ให้เกียรติและรับรู้ถึงความสำคัญของเดือนเหล่านี้ แต่ส่วนบุคคลที่ไม่ให้เกียรติ หรือทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของมัสญิดฮะรอม หรือไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องให้เกียรติและให้ความเคารพพวกเขาอีกต่อไป หรือแม้แต่ต้องทำสงครามกับพวกเขาก็จำเป็นต้องทำ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ไม่คิดทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้อีกต่อไป[8]

 



[1] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ 36 กล่าวว่า :

إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِندَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِى کِتَـبِ اللَّهِ یَوْمَ خَلَقَ السَّمَـوَ تِ وَالأَرْضَ مِنْهَآ أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ ذَ لِکَ الدِّینُ الْقَیِّمُ فَلاَ تَظْـلِمُوا فِیهِنَّ أَنفُسَکُمْ وَقَـتِلُوا الْمُشْرِکِینَ کَآفَّةً کَمَا یُقَـتِلُونَکُمْ کَآفَّةً وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ مَعَ الْمُتَّقِینَ "

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 217.

[3] ฏูซีย์, ตะฮฺซีบบุลอะฮฺกาม, เล่ม 10, หน้า 215, เตหะราน : ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, ปี .. 1365, ฮะดีซลำดับที่ 16 หมวดการสังหารชีวิตในเดือนต้องห้าม 

الْحُسَیْنُ بْنُ سَعِیدٍ عَنْ فَضَالَةَ بْنِ أَیُّوبَ عَنْ کُلَیْبِ بْنِ مُعَاوِیَةَ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ (ع) یَقُولُ مَنْ قَتَلَ فِی شَهْرٍ حَرَامٍ فَعَلَیْهِ دِیَةٌ وَ ثُلُثٌ ...

[4] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 194.

[5] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ 31, 32.

[6] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 217.

[7] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 2 หน้า 111, 112, 113.

[8] อันวารุลเอรฟาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 3, หน้า 557.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5547 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    8667 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นหัวข้อหนึ่งในหลักมะฮ์ดะวียัตหรือไม่?
    5860 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    การปรากฏกายชั้นศุฆรอเป็นสำนวนที่เกี่ยวโยงกับการเร้นกายขั้นศุฆรอ ซึ่งต้องการจะสื่อว่า ในเมื่อท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เคยมีการเร้นกายขั้นศุฆรอ(เล็ก)ก่อนการเร้นกายขั้นกุบรอ(ใหญ่) ก็ย่อมจะมีการปรากฏกายชั้นศุฆรอก่อนจะปรากฏกายขั้นกุบรอระดับโลกเช่นกัน อนึ่ง สำนวนดังกล่าวไม่มีพื้นเพจากฮะดีษใดๆ ...
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    11714 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13039 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7160 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    9721 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5279 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6536 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • ฮะดีษที่ว่า “วันที่มุสลิมจะจำแนกเป็น 73 จำพวกจะมาถึง” เชื่อถือได้หรือไม่?
    12566 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษชุด“การแตกแยกของอุมมะฮ์”มีบันทึกในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตามสายรายงานที่หลากหลายเนื้อหาของฮะดีษเหล่านี้ล้วนระบุถึงการที่มุสลิมจำแนกเป็นกลุ่มก้อนภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งถือเป็นเอกฉันท์ในแง่ความหมายส่วนในแง่สายรายงานก็มีฮะดีษที่เศาะฮี้ห์และสายรายงานเลิศอย่างน้อยหนึ่งบท ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38395 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38390 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...