การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11971
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/28
 
รหัสในเว็บไซต์ fa898 รหัสสำเนา 14814
หมวดหมู่ ปรัชญาอิสลาม
คำถามอย่างย่อ
อะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงบุคคลกลุ่มใด?
คำถาม
อะฮ์ลุลบัยต์คือใคร?
คำตอบโดยสังเขป

คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอาน ฮะดีษ และวิชาเทววิทยาอิสลาม อันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(..) ความหมายนี้มีอยู่ในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์ 33 ซูเราะฮ์ อะห์ซาบ).
นักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมด และฝ่ายซุนหนี่บางส่วนแสดงทัศนะฟันธงว่า โองการดังกล่าวประทานมาเพื่อกรณีของชาวผ้าคลุม อันหมายถึงตัวท่านนบี ท่านอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน. อะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้จึงหมายถึงบุคคลเหล่านี้ (อ้างจากฮะดีษที่รายงานจากอิมามอลี อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน อิมามซัยนุลอาบิดีน และอิมามท่านอื่นๆ รวมทั้งที่รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์ อาอิชะฮ์ อบูสะอี้ดคุดรี อิบนุอับบาส ฯลฯ)
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ระบุว่า อะฮ์ลุลบัยต์หมายรวมถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดี(.)ด้วยเช่นกัน.

คำตอบเชิงรายละเอียด

อะฮ์ลุลบัยต์เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอาน ฮะดีษ และวิชาเทววิทยาอิสลามอันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(..) ความหมายนี้ปรากฏในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์ 33 ซูเราะฮ์ อะห์ซาบ) “انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت و یطهرکم تطهیرا” (แท้จริง อัลลอฮ์ต้องการเพียงขจัดมลทินจากสูเจ้า(โอ้)อะฮ์ลุลบัยต์ และชำระสูเจ้าให้สะอาด)
รากศัพท์คำว่าอะฮ์ลุนหมายถึงความคุ้นเคยและใกล้ชิด[1] ส่วนคำว่าบัยตุนแปลว่าสถานที่พำนักและค้างแรม[2]. อะฮ์ลุลบัยต์ตามความหมายทั่วไปแปลว่าเครือญาติใกล้ชิด[3] แต่ก็อาจกินความหมายรวมไปถึงทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในแง่สายเลือด ศาสนา ที่อยู่ มาตุภูมิ ฯลฯ ได้เช่นกัน[4]

แต่ในมุมวิชาการแล้ว ทั้งนักเทววิทยาอิสลาม นักรายงานฮะดีษ และนักอรรถาธิบายกุรอาน ต่างใช้คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์เพื่อสื่อความหมายเฉพาะทาง เนื่องจากทราบดีว่ามีฮะดีษมากมายจากท่านนบี(..)และบรรดาอิมามที่ขยายความคำนี้ ทำให้ทราบว่ามีความหมายอันจำกัด

ส่วนคำดังกล่าวควรจะจำกัดความหมายเฉพาะบุคคลกลุ่มใดนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ
1. นักตัฟซีร(อรรถาธิบายกุรอาน)ฝ่ายซุนหนี่บางท่านเชื่อว่า อายะฮ์นี้กล่าวถึงภรรยานบีเท่านั้น เนื่องจากประโยคแวดล้อมล้วนกล่าวถึงภรรยานบีทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่สนับสนุนความหมายนี้ซึ่งรายงานจากอิบนิอับบาส โดยมีอิกริมะฮ์ มุกอติล และอิบนิ ญุบัยร์เป็นผู้รายงาน เรื่องมีอยู่ว่า อิกริมะฮ์ป่าวร้องทั่วทั้งตลาดว่าอะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงภรรยานบีเท่านั้น ใครคัดค้านขอให้มาสาบานสาปแช่งกับฉัน[5]

แต่ยังมีนักตัฟซีรฝ่ายซุนหนี่บางส่วน และฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมดโต้แย้งทัศนะดังกล่าวว่า หากอะฮ์ลุลบัยต์ที่กล่าวในโองการนี้จำกัดเฉพาะภรรยานบีจริง สรรพนามในโองการนี้ก็ควรที่จะคงรูปเป็นพหูพจน์เพศหญิงต่อไป และควรเป็นعنکن و یطهرکنมิไช่عنکم و یطهرکمซึ่งอยู่ในรูปพหูพจน์เพศชายดังที่อายะฮ์กล่าวไว้.
ส่วนฮะดีษที่อ้างมาเพื่อสนับสนุนก็ยังมีข้อเคลือบแคลงอยู่ อบูฮัยยาน ฆ็อรนาฏี(ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่)ยังตั้งข้อสงสัยถึงการเชื่อมโยงถึงอิบนิ อับบาส. อิบนิกะษี้รกล่าวว่า หากฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อเพียงว่า ภรรยานบีเป็นสาเหตุของการประทานโองการดังกล่าว เราก็ถือว่าถูกต้อง แต่หากจะอ้างว่าฮะดีษนี้เจาะจงว่า กลุ่มภรรยานบีเท่านั้นที่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ เราถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีฮะดีษมากมายหักล้างความคิดเช่นนี้.[6]
อย่างไรก็ดี คำพูดของอิบนิกะษี้รที่ว่าภรรยานบีคือสาเหตุของการประทานโองการนี้ก็ยังไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากคำพูดนี้ขัดต่อเบาะแสแวดล้อมของโองการดังกล่าว และยังขัดต่อฮะดีษอีกหลายบทที่ตนเองให้การยอมรับ.

2. นักตัฟซีรซุนหนี่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า อะฮ์ลุลบัยต์ในอายะฮ์นี้ หมายถึงภรรยานบี(..) รวมทั้งท่านอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยน์(.)[7] ทว่าผู้นำเสนอทัศนะนี้มิได้เสนอฮะดีษใดๆเพื่อสนับสนุน.

3. นักตัฟซีรบางท่านเชื่อว่า สำนวนในโองการดังกล่าวเป็นสำนวนเชิงกว้าง ซึ่งหมายรวมถึงสมาชิกครอบครัวท่านนบี(..)ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภรรยาหรือบุตรหลาน หรือแม้กระทั่งทาสและทาสีที่เคยรับใช้ท่าน ษะอ์ละบีอ้างว่า คำดังกล่าวครอบคลุมถึงบนีฮาชิมทุกคนหรือไม่ก็เฉพาะผู้ศรัทธาที่เป็นบนีฮาชิม[8] ทัศนะนี้ก็มิได้อ้างอิงหลักฐานใดๆเช่นกัน.

4. นักตัฟซีรอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า อะฮ์ลุลบัยต์อาจจะหมายถึงบุคคลที่ไม่อนุญาตให้รับเศาะดะเกาะฮ์ ทัศนะนี้อ้างอิงฮะดีษจาก เซด บินอัรก็อมที่มีผู้ถามเขาว่า อะฮ์ลุลบัยต์นบี(..)มีใครบ้าง? หมายรวมถึงภรรยานบีหรือไม่? เซดตอบว่า แม้ว่าโดยปกติ ภรรยาจะนับเป็นอะฮ์ลุลบัยต์(ผู้ใกล้ชิด) แต่อะฮ์ลุลบัยต์นบีนั้น หมายถึงบุคคลที่ไม่อนุญาตให้รับเศาะดะเกาะฮ์ อันหมายถึงลูกหลานอลี(.) ลูกหลานอะกี้ล ลูกหลานญะฟัร และลูกหลานอับบาส[9]อย่างไรก็ดี ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่อย่างอบุลฟุตู้ห์ รอซี เชื่อว่าทัศนะดังกล่าวไม่แข็งแรงพอ.

5. นักตัฟซีรฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมด และฝ่ายซุนหนี่ไม่น้อยเชื่อว่าโองการนี้ประทานในกรณีของท่านนบี อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน และถือว่าคำว่าอะฮ์ลุลบัยต์มีความหมายเจาะจงบุคคลเหล่านี้เท่านั้น ทั้งนี้โดยอ้างอิงพยานหลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะฮะดีษมากมายที่รายงานจากท่านนบี อิมามอลี อิมามฮะซันและอิมาฮุเซน อิมามซัยนุลอาบิดีน และอิมามท่านอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีอุมมุสะลามะฮ์ อาอิชะฮ์ อบูสะอี้ดคุ้ดรี อิบนิอับบาส และศ่อฮาบะฮ์ท่านอื่นๆรายงานด้วยเช่นกัน

หากเชื่อตามนี้ สิ่งที่ยังเป็นที่สงสัยก็คือ เป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮ์จะกล่าวเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับภรรยานบี ท่ามกลางประโยคที่กำลังตักเตือนภรรยานบีอยู่? สามารถตอบได้ดังนี้
1. เชคฏอบัรซีตอบว่า นี่ไม่ไช่กรณีเดียวที่พบว่าโองการต่างๆที่แม้จะเรียงต่อกันแต่กลับกล่าวคนละประเด็น มีกรณีเช่นนี้มากมายในกุรอาน นอกจากนี้ยังพบได้ในกาพย์โคลงกลอนของนักกวีอรับมากมาย[10]
2. อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี ตอบเสริมไว้ว่า ไม่มีหลักฐานใดพิสูจน์ว่าโองการ
 انما یرید الله لیذهب عنکم الرجس اهل البیت و یطهرکم تطهیراًนั้น ประทานมาในคราวเดียวกันกับโองการข้างเคียง ตรงกันข้าม มีฮะดีษยืนยันว่าโองการนี้ประทานลงมาโดยเอกเทศ แต่ในภายหลังได้รับการจัดให้อยู่ในแวดล้อมของโองการเกี่ยวกับภรรยานบีโดยคำสั่งนบีเอง หรือโดยทัศนะผู้รวบรวมกุรอานภายหลังนบี[11]
3. ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์นำเสนอคำตอบที่สามไว้ว่า เหตุที่โองการดังกล่าวอยู่ในแวดล้อมของโองการภรรยานบีก็เพราะ อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะกำชับให้กลุ่มภรรยานบีคำนึงเสมอว่า พวกนางอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกบางส่วนเป็นผู้ปราศจากบาป ฉะนั้น ควรจะต้องระมัดระวังอากัปกิริยาให้มากกว่าผู้อื่น เพราะเมื่อมีสถานะเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ปราศจากบาปแล้ว อัลลอฮ์และเหล่าผู้ศรัทธาย่อมจับตาพวกนางเป็นพิเศษ อันส่งผลให้มีภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น[12]

ส่วนฮะดีษที่กล่าวถึงสาเหตุของการประทานโองการดังกล่าวนั้นมีมากมาย จำแนกตามเนื้อหาได้ดังนี้
1. กลุ่มฮะดีษที่ระบุชัดเจนว่า บุคคลทั้งห้าที่ได้เอ่ยนามมาแล้วคืออะฮ์ลุลบัยต์และเป็นบุคคลที่โองการกล่าวถึง[13]
2. 
กลุ่มฮะดีษที่มีเนื้อหาสนับสนุนฮะดีษกิซาอ์ เช่นฮะดีษที่รายงานโดยอบูสะอี้ดคุดรี อนัสบินมาลิก อิบนิอับบาส อบุลฮัมรออ์ อบูบัรซะฮ์
ที่กล่าวว่า ท่านนบีกล่าวคำว่าالسلام علیکم اهل البیت و رحمة الله و برکاته، الصلاة یرحمکم اللهและอัญเชิญโองการตัฏฮี้รหน้าบ้านท่านอิมามอลี(.)ก่อนนมาซซุบฮิ(บางรายงานกล่าวว่าทุกเวลานมาซ)เป็นประจำตลอดระยะเวลาสี่สิบวัน หรือหกเดือน หรือเก้าเดือน(ตามสำนวนรายงาน)[14]
หนังสือชะเราะฮ์อิห์กอกุ้ลฮักก์[15] ได้รวบรวมแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องนี้กว่าแปดสิบแห่ง แน่นอนว่าแหล่งอ้างอิงฝ่ายชีอะฮ์ย่อมมีมากกว่านี้[16]
ฉะนั้น จากฮะดีษที่ยกมาทั้งหมด ทำให้มั่นใจได้ว่าอะฮ์ลุลบัยต์ที่กล่าวถึงในโองการ 33 ซูเราะฮ์อะห์ซาบ หมายถึงท่านนบี(..) อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)

นอกจากนี้ คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์ยังหมายรวมถึงอิมามท่านอื่นๆ นับจากอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดีด้วยเช่นกัน
อบูสะอี้ดคุดรีรายงานฮะดีษท่านนบีว่า ฉันขอฝากฝังสองสิ่งสำคัญไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดังสายเชือกที่ขึงจากฟากฟ้าสู่ผืนดิน และอีกประการคืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกันตราบวันกิยามะฮ์[17]
อบูซัร ฆิฟารี รายงานฮะดีษท่านนบีว่าอุปมาอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันเปรียบดังสำเภาแห่งนู้ห์ ใครที่โดยสารจะปลอดภัย และใครเมินเฉยจะจมน้ำ[18]
อิมามอลี(.)รายงานฮะดีษท่านนบีว่าฉันขอฝากฝังสองสิ่งสำคัญไว้กับพวกท่าน คัมภีร์ของอัลลอฮ์และอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่แยกกันจวบจนกิยามะฮ์(ประดุจสองนิ้วจรดกัน)” ญาบิรเอ่ยถามว่าใครเล่าคืออะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน?” ท่านนบีตอบว่าอลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน ฮุซัยน์ และบรรดาอิมามจากลูกหลานของฮุซัยน์จวบจนวันกิยามะฮ์[19]
อิมามอลี(.)เล่าว่า ฉันอยู่ในบ้านของอุมมุสะลามะฮ์กับท่านนบี(..)กระทั่งโองการانما یرید اللّه لیذهب عنکم الرجس اهل البیت ประทานลงมา ท่านนบีกล่าวกับฉันว่าโองการนี้กล่าวถึงเธอและลูกๆของเธอ ฮะซันและฮุซัยน์ ตลอดจนบรรดาอิมามลูกหลานของเธอที่จะถือกำเนิดฉันเอ่ยถามว่า โอ้เราะซูลุลลอฮ์ ภายหลังจากท่านจะมีอิมามกี่คนหรือ? ท่านตอบว่าฮะซันจะเป็นอิมามต่อจากเธอ จากนั้นฮุซัยน์ จากนั้นอลีบุตรของฮุซัยน์ จากนั้นมุฮัมมัดบุตรอลี จากนั้นญะฟัรบุตรมุฮัมมัด จากนั้นมูซาบุตรญะฟัร จากนั้นอลีบุตรมูซา จากนั้นมุฮัมมัดบุตรอลี จากนั้นอลีบุตรมุฮัมมัด จากนั้นฮะซันบุตรอลี จากนั้น ผู้เป็นบทพิสูจน์(อัลฮุจญะฮ์)บุตรฮะซัน นามเหล่านี้จารึกไว้  เบื้องอะร็อชของอัลลอฮ์ และฉันเคยทูลถามพระองค์ว่านามเหล่านี้เป็นใคร? พระองค์ทรงตอบว่า เหล่านี้คือบรรดาอิมามภายหลังจากเจ้า พวกเขาบริสุทธิและศัตรูของพวกเขาล้วนถูกสาปแช่ง[20]
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าอิมามสิบสองท่านของชีอะฮ์ก็คืออะฮ์ลุลบัยต์นั่นเอง โดยที่อิมามศอดิก(.)และอิมามท่านอื่นๆก็ระบุชัดเจนว่าตนเองเป็นสมาชิกอะฮ์ลุลบัยต์เช่นกัน[21]

กล่าวได้ว่า เหตุผลที่กุรอานเน้นย้ำถึงสถานภาพอันสูงส่งของอะฮ์ลุลบัยต์นั้น ก็เพื่อให้ผู้ศรัทธาก้าวตามแนวทางของพวกเขา เพื่อให้บรรลุทางนำแห่งจิตวิญญาณ(เพราะจุดประสงค์หลักของกุรอานคือการนำทางมนุษย์الم ذلک الکتاب لاریب فیه هدی للمتقین[22])  จากการที่บรรดาอิมามชีอะฮ์ถือเป็นผู้นำทางสำหรับประชาชาติอิสลาม จึงทำให้พวกเขาได้รับการรวมไว้ในสถานภาพแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อท่านนบี(..)ในฐานะที่ผู้อธิบายกุรอาน ต้องการจะกล่าวถึงตำแหน่งผู้นำภายหลังจากท่านเมื่อใด ท่านจะใช้คำว่าอะฮ์ลุลบัยต์เสมอ.


เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม เชิญอ่าน
อะฮ์ลุลบัยต์นบี(..), คำถามที่833,1249
บทบาทและเป้าหมายของอะฮ์ลุลบัยต์(.), คำถามที่900.



[1] ฟะยูมี,มิศบาฮุ้ลมุนี้ร,หน้า 28.

[2] อ้างแล้ว,หน้า 68.

[3] อ้างแล้ว.

[4] รอฆิบ อิศฟะฮานี,มุฟร่อด้าต อัลฟาซุลกุรอาน,หน้า 29.

[5] ฏอบะรี,ญามิอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซี้ริลกุรอาน,เล่ม 22,หน้า 7.

[6] อิบนุกะษี้ร,ตัฟซีริลกุรอานิลอะซีม,เล่ม 5,หน้า 452-453.

[7] ฟัครุรอซี,ตัฟซี้ร กะบี้ร,เล่ม 25,หน้า 209 และ บัยฎอวี,อันว้ารุตตันซี้ล วะอัสร้อรุตตะอ์วีล,เล่ม 4,หน้า 163. และ อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 232.

[8] กุรฏุบี,อัลญามิอุ้ลอะห์กามิลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 183. และ อาลูซี,รูฮุลมะอานี,เล่ม 22,หน้า 14.

[9] อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 231-232.

[10] ฏอบัรซี,มัจมะอุ้ลบะยาน,เล่ม 7,หน้า 560.

[11] อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี,อัลมีซาน,เล่ม 16,หน้า 312. และ ฟัครุรอซี,ตัฟซี้ร กะบี้ร,เล่ม 25,หน้า 209. และ บัยฎอวี,อันว้ารุตตันซี้ล วะอัสร้อรุตตะอ์วีล,เล่ม 4,หน้า 163. และ อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 232. และ กุรฏุบี,อัลญามิอุ้ลอะห์กามิลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 183. และ อาลูซี,รูฮุลมะอานี,เล่ม 22,หน้า 14. และ ฏอบัรซี,มัจมะอุ้ลบะยาน,เล่ม 7,หน้า 560. และ อบูฮัยยาน,อัลบะฮ์รุลมุฮี้ฏ ฟิตตัฟซี้ร,เล่ม 7,หน้า 231-232.

[12] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์,เล่ม17 ,หน้า 295.

[13] บุคอรี,อัตตารี้ค,เล่ม 2,หน้า 69-70. และ ติรมิซี,สุนัน,เล่ม 5,หน้า 663. และ ฏอบะรี,ญามิอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซี้ริลกุรอาน,เล่ม 22,หน้า 6-7. และ กุรฏุบี,อัลญามิอุ้ลอะห์กามิลกุรอาน,เล่ม 14,หน้า 183. และ อัลฮากิม,อัลมุสตัดร้อก,เล่ม 2,หน้า 416:3146.

[14] ฏอบะรี,ญามิอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซี้ริลกุรอาน,เล่ม 22,หน้า 5-6. และ บุคอรี,อัลกุนา,หน้า 25-26. และ อะห์มัดบินฮัมบัล,อัลมุสนัด,เล่ม 3,หน้า 259. และ ฮัสกานี,ชะวาฮิดุตตันซี้ล,เล่ม2,หน้า 11-15. และ สุยูฏี,ดุรรุลมันษู้ร,เล่ม 6,หน้า 606-607.

[15] มัรอะชี,ชะเราะฮ์ อิห์กอกุ้ลฮักก์,เล่ม 2,หน้า 502,647, และ เล่ม 9,หน้า2,91.

[16] ส่วนหนึ่งของข้อเขียนนี้ได้ข้อมูลจากหนังสือแนะนำอะฮ์ลุลบัยต์ เขียนโดยอลี อะลอโมโรดัชที,หน้า 301-308.

[17] ติรมิซี,สุนัน,เล่ม 5,หน้า 663. บทว่าด้วยความประเสริฐของอะฮ์ลุลบัยต์นบี ฮะดีษที่ 3788.

[18] อัลฮากิม,อัลมุสตัดร้อก,เล่ม 3,หน้า 150. และ ซะฮะบี,มีซานุ้ลอิอ์ติด้าล,เล่ม 1,หน้า 224.

[19] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 23,หน้า 147.

[20] อ้างแล้ว.เล่ม 36,หน้า 336 ฮะดีษที่ 199.

[21] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 349,ฮะดีษที่ 6.

[22] ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์1,2.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...