การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
24481
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2557/10/06
คำถามอย่างย่อ
ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
คำถาม
คำปฏิญาณตน ตอนเริ่มต้นอะซาน ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
คำตอบโดยสังเขป
คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ คือการผนวกสองประโยคเข้าด้วยกันคือ คำปฏิญาณประโยคแรกคือ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะเจาะจงและคู่ควรยิ่งแก่การเคารพภักดี สำหรับองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ส่วนคำปฏิญาณที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และปฏิญาณว่า ท่านนะบีมุฮัมมัดคือ ศาสนทูตแห่งอิสลาม มิได้พิสูจน์การเป็นศาสนทูตคู่ควรแก่ท่านนะบี ด้วยเหตุนี้ ชะฮาดัตแรก จึงเป็นเน้นอันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์ ประโยคจึงเริ่มต้นด้วย “การปฏิเสธ” ลานะฟีญินซฺ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า “อิลาฮะ” ซึ่งถือว่าเป็นคำนามที่เป็นนักกิเราะฮฺ (มิได้ระบุเจาะจง) แน่นอน บริบทของการปฏิเสธนี้ ให้ประโยชน์ในแง่รวมทั้งหมด โดยปฏิเสธพระเจ้าที่มีทั้งหมดบนโลก และปฏิเสธการมีส่วนร่วมในความเป็นพระเจ้า ของพระเจ้าที่แท้จริง ดังนั้น การที่กล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด “นอกจาก” อิลลา นั่นเป็นจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงพิสูจน์ด้วยประโยคที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮฺ” เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ และประกาศให้เห็นว่า นอกจากอัลลอฮฺแล้ว ไม่มีผู้ใดคู่ควรต่อการเคารพภักดี แต่สำหรับชะฮาดัตที่สอง จุดประสงค์ต้องการพิสูจน์ให้เห็น การเป็นศาสนทูตอิสลามของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ซึ่งมิได้จำกัดเฉพาะอยู่แค่ท่านศาสดาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงพิสูจน์ด้วยประโยคบอกเล่าธรรมดา เพื่อชี้ให้เห็นถึงการเป็นศาสดาของท่านเท่านั้น
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
ชะฮาดะตัยนฺ ในการปฏิญาณตนผนวกด้วยสองประโยค[1] ซึ่งคำปฏิญาณประโยคแรก[2] เป็นการพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียงของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่คู่ควรต่อการเคารพภักดี และเป็นผูอภิบาลโลกนี้ ส่วนชะฮาดัตที่สอง[3] ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมิได้จำกัดการเป็นศาสทูตไว้แค่ท่านศาสดาเท่านั้นย ด้วยเหตุนี้เอง คำปฏิญาณ ประโยคแรก เท่านั้นที่เฉพาะเจาะจงเพียงแค่อัลลอฮฺ[4] จึงเริ่มต้นประโยคด้วย “ลานะฟีญินซ” เพื่อว่าคำต่อไปคือ “อิลาฮะ” ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นคำนามที่ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจง ดังนั้น ในบริบทของการปฏิเสธดังกล่าว จึงส่งผลให้เห็นถึงการปฏิเสธที่เป็นส่วนมรวมทั้งหลาย นั่นคือ พระเจ้าทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้ หรือเทพเจ้าที่คิดว่ามีส่วนร่วมในการบริบาลของพระเจ้า จึงถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น ด้วยประโยค “อิลลา” ที่เรียกว่า “อิลลา ฮัซรียะฮฺ” นั่นหมายถึง ความคู่ควรเหมาะสมในการเคาพภักดีนั้นมีอยู่ใน อัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว และเพื่อประกาศให้รู้ว่าพระองค์ไม่หุ้นส่วนอันใดทั้งสิ้นในการบริบาล ดังนั้น ในประโยคจึงปฏิเสธด้วยคำว่า “อิลลัลลอฮฺ” นอกจากอัลลอฮฺ บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียว เป็นการจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาล หรือคู่ควรแก่การแสดงความเคารพภักดีนอกจากพระองค์เท่านั้น[5]
ส่วนประโยคที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เนื่องจากเป้าหมายคือ ต้องการพิสูจน์ให้เห็นถึง การเป็นศาสนทูตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งมิได้จำกัดหรือระบุเจาะสำหรับศาสดาเท่านั้น[6] ด้วยเหตุนี้ รูปประโยคจึงไม่ได้ใช้ในลักษณะของ การปฏิเสธและพิสูจน์ ดังนั้น จึงใช้ประโยคในลักษณะของการบอกเล่า เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า การเป็นศาสนทูตนั้นสำหรับท่านศาสดา และศาสดาคนอื่นๆ ด้วย
คำว่า “ลาอิลาฮะ อัลลัลลอฮฺ” ถือเป็นสโลแกนในการเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย แม้แต่ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เองก็เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ประกาศเชิญชวนนั้น ท่านได้ประกาศเชิญชวนประชาชนไปสู่ การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว กล่าวว่า «قولوا لا اله‏ الّا اللَّه‏ تفلحوا» “จงประกาศเถิด ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จ”
คำกล่าวที่กล่าวว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญ 3 ประการดังนี้
1) การบ่งบอกที่ตรงกัน กับความเป็นหนึ่งเดียว ในการแสดงความเคารพภักดี และปฏิเสธเทพเจ้าทั้งหมด นอกจากอัลลอฮฺ
2) การบ่งบอกอันจำเป็น ที่มีต่อประเภทต่างของความเป็นหนึ่งเดียว เช่น ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตัน พระลักษณะ การกระทำ และทฤษฎี
3) การบ่งบอกอันเฉพาะ ที่มีต่อการยืนในสิ่งที่ท่านศาสนทูต ได้นำมาประกาศสั่งสอน หมายถึงหลังจากปฏิญาณถึงความเป็นหนึ่งเดียว และการคู่ควรแก่เคารพภักดีของพระเจ้าแล้ว จำเป็นต้องเชื่อฟังคำพูดของพระองค์ ในการประทานศาสดาลงมาประกาศสั่งสอน ประทานคัมภีร์ แต่งตั้งตัวแทนเพื่อรักษาศาสนาและคำสอน พร้อมทั้งจัดวางกฎระเบียบ[7]
มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องเชื่อทั้งสามการบ่งบอกดังกล่าวนี้ ซึ่งนอกจากความเชื่อทางจิตใจแล้ว ยังต้องมีการแสดงออกทางการปฏิบัติด้วย เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความจริใจ และความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อระดับของเตาฮีดทั้งหลาย[8]
บางทีอาจเกิดคำถามในความคิดของมนุษย์ว่า การเชิญชวนไปสู่การแสดงความเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว คือรากเหง้าหนึ่งของการพิสูจน์ในการมีอยู่ของพระผู้อภิบาล ดังนั้น เบื้องต้นต้องพิสูจน์ก่อนว่า โลกนี้มีพระเจ้าผู้ทรงบริบาลดูแลอยู่จริง หลังจากนั้นจึงค่อยพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ เนื่องจาก บรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า ก่อนที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าแก่ประชาชน ได้เชิญชวนประชาชนไปสู่การเคารพภักดีพระองค์ ทั้งที่ยังไม่รูว้าพระองค์มีอยู่จริงหรือไม่
คำตอบสำหรับความสงสัยนี้ ต้องกล่าวว่า ตามความเป็นจริงแล้ว การมีอยู่ของพระผู้อภิบาล คือ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกคน โดยที่ไม่จำต้องอาศัยการสั่งสอน หรือการเชิญชวนของศาสดา  แม้กระทั่งการยอมรับการเชิญชวนของศาสดา ที่เชิญชวนไปสู่พระเจ้าองค์เดียว ในฐานะผู้ทรงรังสรรค์ และทรงเป็นผู้อภิบาลโลก พร้อมกับปฏิเสธเทพเจ้าหลากหลาย เหล่านี้ล้วนเป็นสัญชาติญาณที่ซ๋อนอยู่ในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์[9] ถ้าหากว่าธรรมชาติการมีอยู่ของพระเจ้า มิได้ฝังอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์แล้วละก็  บรรดาศาสทูตแห่งพระเจ้าก็จะต้องเผชิญปัญหา ยากกว่านี้อีกหลายเท่าในการเชิญชวนมนุษย์ ทว่าแม้แต่การเผยแผ่ของท่านก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เหมือนดังที่เป็นอยู่ก็เป็นไปได้
พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร การถึงการแสวงหาพระเจ้าของมนุษย์ อันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน โองการกล่าวแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า ..
«فَأَقِمْ وَجْهَکَ لِلدِّینِ حَنیفاً فِطْرَتَ اللَّهِ الَّتی‏ فَطَرَ النَّاسَ عَلَیْها لا تَبْدیلَ لِخَلْقِ اللَّهِ ذلِکَ الدِّینُ الْقَیِّمُ وَ لکِنَّ أَکْثَرَ النَّاسِ لا یَعْلَمُونَ»؛
“ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาอันเที่ยงธรรม [ปฏิบัติตาม]ธรรมชาติของอัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มิมีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของอัลลอฮฺ นั่นคือศาสนาอันเที่ยงตรง แต่ส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้”[10]
คำว่า “ฟิตรัต” ในภาษาอาหรับถือว่าเป็น อิสมิมัซดัร ในที่นี้หมายถึงการซ่อน หรือการตกลงเรื่องการรู้จักพระเจ้า โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้หยั่งลึกอยู่ในสัญชาติญาณของมนุษย์ ซึ่งคำอธิบายของมันในแง่ของหลักความศรัทธา จริยธรรม ความเชื่อด้วยจิตใจ และการปฏิบัติ รวมอยู่ใน ดีนฮะนีฟา อันได้แก่อิสลามนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร จึงเน้นย้ำถึงเรื่องความจำเป็นในหลักศรัทธา และโครงสร้างของศาสนาอิสลาม พร้อมกันนั้น พระองคยังทรงมีบัญชาบัญชาโดยตรงกับท่านศาสดา ให้สั่งสอนเชิญชวนประชาติ ไปสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรม อันได้แก่อิสลาม เพื่อว่าธรรมชาติดั้งเดิมนี้ของมนุษย์ จะได้ตื่นตัวขึ้นมาและเชื่อฟังปฏิบัติตาม คำสอนของอัลกุรอาน และศาสนา และเวลานั้นมนุษย์จะได้พบกับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตน อีกทั้งยังได้รับความสุขความเจรญิที่แท้จริงที่สิ่งนั้นกำลังรอคอยเขาอยู่[11]
 

[1] أَشْهَدُ أَنْ‏ لَا إِلَهَ‏ إِلَّا اللَّهُ - أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّه‏.
[2] أَشْهَدُ أَنْ‏ لَا إِلَهَ‏ إِلَّا اللَّهُ‏ُ‏.
[3] أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّه‏.
[4] لَا إِلَهَ‏.
[5] ดะอาซ ฮะมีดาน กอซิม อิอ์รอบุลกุรอาน อัลกะรีม เล่ม 3 หน้า 20 ดารุลมุนีร และดารุลฟารอบี ดามัสกัส พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1425
[6] เนื่องจากเรามิได้มีศาสดาเฉพาะศาสดามุฮัมมัดเท่านั้น ทว่าศาสดาคนอื่นเช่น ศาสดานูฮฺ อิบรอฮีม มูซา อีซา และ ...ล้วนจัดว่าเป็นศาสดาของพระเจ้าท้งสิ้น ดังนั้น การเป็นศาสนทูตจึงไม่ได้จำกัดแค่ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เท่านั้น
[7] ฏ็อยยิบ อับดุล ฮุเซน อัฏฏ็อยยิบ อัลบะยาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 11, หน้า 143, 141, อิสลาม เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 2, 1378
[8] อ้างแล้วเล่มเดิม
[9] กุลัยนี มุฮัมมัด ยะอฺกูบ  ฮุซัยนี ฮัมเมดอนนี นะญัฟฟี มุฮัมมัด เดะรัคชอน คัดลอก และวิเคราะห็มาจากอุซูลกาฟีย์ เล่ม 1, หน้า 176 สำนักพิมพ์ อิลมียะฮฺ กุม พิมพ์ครั้งแรก 1363
[10] อัลกุรอาน บทโรม 30
[11] ซัยนี ฮัมเมดอนนี ซัยยิดฮุเซน อันวารเดะรัคชอน ผู้ตรวจทาน มุอัมมัด บะฮฺบูดี มุฮัมมัดบากิร เล่ม 12 หน้า 419 ร้านขายหนังสือ ละฎีฟฟี เตหะรานี พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1404
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    11130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8073 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7630 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    8358 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    9029 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    6159 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11771 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    8084 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6957 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6860 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60183 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42262 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39469 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38986 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28054 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28039 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27877 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25861 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...