การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7281
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1123 รหัสสำเนา 15611
คำถามอย่างย่อ
เรื่องอุปโลกน์“เฆาะรอนี้ก”มีที่มาที่ไปอย่างไร?
คำถาม
กรุณาชี้แจงเกี่ยวกับโองการเฆาะรอนี้ก ที่กล่าวกันว่านบี(ซ.ล.)เสียรู้ชัยฏอนโดยการชมเชยรูปเจว็ด หากไม่มีหลักฐานอ้างอิง แล้วเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

เรื่องเล่าเฆาะรอนี้กอุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี ซึ่งหวังจะลดทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและท่านนบี(..)ลง เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่ง ท่านนบีกำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์อยู่ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงชื่อรูปเจว็ดที่ว่า
أَ فَرَءَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى‏ وَ مَنَوةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرَى (นะอูซุบิลลาฮ์) ชัยฏอนได้กระซิบกระซาบให้ท่านนบี(..)กล่าวต่อไปว่า
تلک الغرانیق العلى، و ان شفاعتهن لترتجى ซึ่งแปลว่ารูปเจว็ดเหล่านี้เปรียบประดุจวิหคงามสูงส่ง ซึ่งการช่วยเหลือของรูปเคารพเหล่านี้เป็นที่ปรารถนาเมื่อจบประโยคนี้ ท่านนบี(..)ได้ก้มลงสุญูด และเหล่ามุชริกีนก็สุญูดตาม กระทั่งญิบรออีลได้แจ้งว่าสองประโยคข้างต้นมิไช่กุรอาน แต่เป็นการกระซิบกระซาบของชัยฏอน
เบาะแสต่างๆพิสูจน์แล้วว่าฮะดีษที่เล่าเหตุการณ์นี้เป็นฮะดีษที่อุปโลกน์ขึ้น เป็นเหตุให้นักวิชาการมุสลิมไม่ว่าสายชีอะฮ์หรือซุนหนี่ปฏิเสธฮะดีษบทนี้ โดยถือว่าเป็นผลงานอุปโลกน์ของเหล่านักกุฮะดีษ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับนิยายปรัมปราเฆาะรอนี้กนั้น มีฮะดีษพิศดารบทหนึ่งในตำราของพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ โดยรายงานจากอิบนิอับบาสว่าขณะที่ท่านนบี(..)กำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์จนกระทั่งถึงโองการที่มีชื่อของเจว็ดที่ว่า أَ فَرَءَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى‏ وَ مَنَوةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرَى (สูเจ้าแลเห็นรูปเจว็ดล้าตและอุซซาและมะน้าต(เป็นธิดาของพระเจ้า)หรืออย่างไร?)[1] เมื่อถึงวรรคนี้ ชัยฏอนได้สะกดให้ท่านนบีเปล่งประโยคอีกสองประโยค นั่นคือ تلک الغرانیق العلى، و ان شفاعتهن لترتجى (รูปเจว็ดเหล่านี้คือเหล่าวิหคงามที่สูงส่ง และการช่วยเหลือของรูปเคารพเหล่านี้ล้วนเป็นที่ปรารถนา)[2] เมื่อได้ยินเช่นนี้ เหล่ากาเฟรมุชริกีนพากันดีใจโดยกล่าวว่าก่อนหน้านี้มุฮัมมัดไม่เคยพูดถึงเทพเจ้าของเราในแง่ดีเลยทันใดนั้น ท่านนบีได้ก้มลงสุญูด และเหล่ามุชริกีนก็สุญูดตามท่าน แต่ญิบรออีลได้รุดมาแจ้งแก่ท่านนบีว่าสองโอการสุดท้ายนั้น ฉันมิได้นำมา ทว่าเป็นการสะกดของชัยฏอน ในขณะนี้เอง โองการ
وَ ما أَرْسَلْنا مِنْ قَبْلِکَ مِنْ رَسُولٍ وَ لا نَبِیٍّ ... ก็ได้ประทานลงมาเพื่อปรามาสท่านนบีและผู้ศรัทธา[3]

แม้ศัตรูอิสลามจะถือโอกาสโหมกระแสเกี่ยวกับฮะดีษนี้เพื่อหวังสกัดกั้นการเติบโตของอิสลาม แต่หากพิจารณาไห้ดีจะพบเบาะแสที่ชี้ชัดว่าฮะดีษนี้ถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี เพื่อจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและวจนะของท่านนบี(..) เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:
1. 
นักวิชาการลงความเห็นว่าฮะดีษนี้มีสายรายงานอ่อนและไม่น่าเชื่อถือ และพิสูจน์ไม่ได้ว่ารายงานโดยอิบนิอับบาส ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษอย่างมุฮัมมัด บิน อิสฮ้ากได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ และถือว่าฮะดีษดังกล่าวอุปโลกน์ขึ้นโดยพวกไม่เชื่อในพระเจ้า[4]

2. ฮะดีษมากมายกล่าวถึงเหตุของการประทานซูเราะฮ์นี้ ตลอดจนเหตุการณ์สุญูดของท่านนบี(..)และเศาะฮาบะฮ์ แต่ไม่มีรายงานใดกล่าวถึงเรื่องเท็จเฆาะรอนี้กเลย แสดงว่าข้อครหานี้ถูกเพิ่มเติมในภายหลัง[5]

3. โองการแรกๆของซูเราะฮ์นี้ปฏิเสธนิยายปรัมปรานี้โดยสิ้นเชิง ดังที่กล่าวว่าเขา(ท่านนบี(..))ไม่พูดโดยอารมณ์ (คำพูดของท่าน)มิไช่สิ่งใดเว้นแต่เป็นวิวรณ์[6] โองการนี้จะสอดคล้องกับนิยายเฆาะรอนี้กได้อย่างไร?

4. โองการต่อจากชื่อรูปเจว็ดล้วนประณามการนับถือเจว็ดเหล่านี้ โดยถือว่าเจว็ดเหล่านี้เป็นเพียงจินตนาการอันไร้สาระของมนุษย์ ซึ่งไม่สามารถให้ประโยชน์ใดๆได้เลย กุรอานกล่าวว่านามเหล่านี้ สูเจ้าและบรรพบุรุษเป็นผู้ตั้งให้รูปเจว็ดเหล่านี้เอง ทั้งที่อัลลอฮ์มิได้กล่าวถึงชื่อ(รูปเจว็ด)เหล่านี้แต่อย่างใด พวกเขาคล้อยตามอารมณ์ไฝ่ต่ำและจินตนาการอันไร้สาระ ทั้งที่อัลลอฮ์ประทานทางนำแก่พวกเขาแล้ว![7]
เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีโองการที่ชมเชยรูปเจว็ดก่อนหน้าโองการที่ตำหนิพฤติกรรมนี้อย่างแข็งกร้าว  ยิ่งไปกว่านั้น อัลลอฮ์ทรงรับประกันว่าจะพิทักษ์กุรอานจากการบิดเบือน ความเฉไฉ และการสูญสลาย ดังที่มีโองการกล่าวว่าแท้จริงเราคือผู้ประทานกุรอาน และแน่แท้ เราคือผู้พิทักษ์กุรอานอย่างไม่ต้องสงสัย[8]

5. ท่านนบีต่อสู้กับปรากฏการณ์บูชารูปเจว็ดอย่างต่อเนื่องและไม่ย่อท้อ นับตั้งแต่แรกเริ่มจวบจนลมหายใจสุดท้าย ในทางปฏิบัติแล้ว ท่านไม่เคยแสดงท่าทีอ่อนข้อต่อการเคารพรูปเจว็ดแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ฉะนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านจะพูดประโยคที่ไร้สาระเหล่านี้

6. แม้ต่างศาสนิกจะไม่ยอมรับว่าท่านนบี (..) คือศาสดา แต่อย่างน้อยก็ยอมรับว่าท่านในฐานะปราชญ์ผู้ทรงปัญญา ที่สามารถเอาชนะอุปสรรคนานัปการด้วยปัญญาอันเลอเลิศ คนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ กอปรกับการที่มีคำขวัญว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ และมุ่งมั่นคัดค้านการบูชารูปเจว็ดทุกประเภท เป็นไปได้อย่างไรที่จะผละจากอุดมการณ์หลักของตน และยกย่องเทิดทูนรูปเจว็ดเยี่ยงนี้

จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าฮะดีษนี้ถูกอุปโลกน์โดยศัตรูผู้เบาปัญญา ที่หาโอกาสบั่นทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและวจนะท่านนบี(..)  แต่นักวิชาการมุสลิมทั่วไปไม่ว่าจะฝ่ายชีอะฮ์หรือซุนหนี่ล้วนปฏิเสธนิยายเรื่องนี้ และถือว่าเป็นนิยายที่นักกุฮะดีษอุปโลกน์ขึ้น[9]
อย่างไรก็ดี มีนักอรรถธิบายบางท่าน ได้ชี้แจงเกี่ยวกับฮะดีษดังกล่าว(ในกรณีสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของรายงานบทนี้ได้)ว่า โดยทั่วไปแล้ว ท่านนบีจะอัญเชิญกุรอานอย่างช้าๆพร้อมกับไคร่ครวญ บางครั้งท่านก็จะเว้นวรรคชั่วครู่ระหว่างโองการ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์จนถึงโองการ أَ فَرَأَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى وَ مَناةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرى‏ พลันเหล่ามุชริกีนมักกะฮ์ผู้มีนิสัยดุจซาตานได้กล่าวแทรกขึ้นมาว่า
تلک الغرانیق العلى و ان شفاعتهن لترتجى เพื่อขัดจังหวะท่านนบี และยังหวังจะทำให้ผู้ฟังสับสน อย่างไรก็ดี โองการต่อมาได้ประณามการบูชารูปเจว็ดอย่างเผ็ดร้อน[10]

เมื่อสามารถปฏิเสธหรือชี้แจงนิยายดังกล่าวได้ การที่บางคนพยายามอธิบายว่า ท่านนบีต้องการอะลุ่มอล่วยแก่กาฟิรมุชริกีนมักกะฮ์เพื่อที่จะดึงดูดและเผยแผ่สัจธรรมนั้น ถือเป็นทัศนะที่ผิดมหันต์ อันแสดงว่าคนเหล่านี้ไม่เคยรู้จักท่าทีของท่านนบีที่มีต่อการเคารพบูชารูปเจว็ด หรือไม่เคยได้ยินเรื่องราวที่กาฟิรมุชริกีนพร้อมจะปรนเปรอความร่ำรวยแก่ท่านนบี แต่ท่านก็ไม่แยแสและยังยืนยันจะต่อสู้ต่อไป หรืออาจทราบดีแต่แสร้งเป็นไม่รู้[11]



[1] อันนัจม์, 19,20.

[2] เฆาะรอนี้ก เป็นพหูพจน์ของ ฆุรนู้ก หมายถึงนกน้ำชนิดหนึ่งที่มีทั้งประเภทสีขาวหรือดำ แต่ก็ยังมีความหมายอื่นๆเช่นกัน

[3] ตัฟซีรอัลมีซานอธิบายถึงอายะฮ์ดังกล่าว โดยระบุว่าฮะดีษนี้บันทึกโดยเหล่าฮาฟิซฮะดีษชาวซุนหนี่ อาทิเช่น อิบนิ ฮะญัร

[4] ตัฟซี้ร กะบี้ร,ฟัครุร รอซี,เล่ม 23,หน้า 50.

[5] อ้างแล้ว

[6] อันนัจม์, 3,4, وَ ما یَنْطِقُ عَنِ الْهَوى‏ إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْیٌ یُوحى

[7] อันนัจม์, 23, إِنْ هِیَ إِلَّا أَسْماءٌ سَمَّیْتُمُوها أَنْتُمْ وَ آباؤُکُمْ ما أَنْزَلَ اللَّهُ بِها مِنْ سُلْطانٍ إِنْ یَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَ ما تَهْوَى الْأَنْفُسُ وَ لَقَدْ جاءَهُمْ مِنْ رَبِّهِمُ الْهُدى‏

[8] อัลฮิจร์, 9, إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّکْرَ وَ إِنَّا لَهُ لَحافِظُونَ

[9] มัจมะอุ้ลบะยาน,ตัฟซีรกะบี้ร,ตัฟซีรฟีซิลาลของกุรฏุบี,ตัฟซีรอัศศอฟี,รูฮุ้ลมะอานี,อัลมีซาน และตัฟซีรอื่นๆที่อรรถาธิบายโองการดังกล่าว

[10] ตัฟซี้รกุรฏุบี,เล่ม 7,หน้า 4474. และตัฟซี้รมัจมะอุ้ลบะยานได้ถือเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่ง

[11] อ้างถึงใน.ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 14,หน้า142-145.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากมุมหนึ่งของพรหมเปื้อนนะญิส, การนมาซบนพรหมนั้นจะมีปัญหาหรือไม่ หรือเฉพาะบริเวณที่เปื้อนนะญิสเท่านั้นมีปัญหา? เสื้อเปื้อนเลือดและหลังจากซักออกแล้ว,ยังมีคราบสีเลือดตกค้างอยู่, สามารถใส่นมาซได้หรือไม่?
    18402 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    1. หนึ่งในเงื่อนไขของสถานที่นมาซคือ ถ้าหากสถานที่นมาซนะญิส ในลักษณะที่ว่าความเปียกชื้นนั้นไม่ซึมเปียกเสื้อผ้า หรือร่างกาย, แต่บริเวณที่เอาหน้าผากลงซัจญฺดะฮฺนั้น, ถ้าหากนะญิสและถึงแม้ว่าจะแห้ง นมาซบาฏิล และอิฮฺติยาฏมุสตะฮับ สถานที่นมาซจะต้องไม่เปรอะเปื้อนนะญิส[1] ด้วยเหตุนี้, การนมาซบนพรหมที่เปื้อนนะญิสด้วยเงื่อนไขตามกล่าวมา จึงถือว่า ไม่เป็นไร. 2.ทุกสิ่งที่เปื้อนนะญิส ตราบที่นะญิสยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปถือว่าไม่สะอาด. แต่ถ้ายังมีกลิ่น หรือสีนะญิสตกค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร. ฉะนั้น ถ้าหากซักรอยเลือดออกจากเสื้อแล้ว ตามขบวนการกำจัดนะญิส แต่ยังมีคราบสีเลือดหลงเหลืออยู่, ถือว่าสะอาด[2] ฉะนั้น, ถ้าเสื้อนะญิสเนื่องจากเปื้อนเลือด, และได้ซักแล้วตามขั้นตอน, แต่ยังมีคราบสีเลือดค้างอยู่ ถือว่าไม่เป็นไร และสามารถใส่เสื้อนั้นนมาซได้
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    6005 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
    5920 ปรัชญาของศาสนา 2555/06/11
    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน ...
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8937 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6776 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    6014 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8809 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    7415 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
    9522 دین و فرهنگ 2555/09/29
    ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป ...
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    7176 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60364 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57913 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42463 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39738 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39118 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34221 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28264 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28191 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26070 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...