การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
18278
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/08/27
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1017 รหัสสำเนา 13584
คำถามอย่างย่อ
การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
คำถาม
การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
คำตอบโดยสังเขป

การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอน และเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้ว จะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่า ค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือ ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน และการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ได้เกิดขึ้นประมาณ 56 วัน หลังการแต่งตั้งท่านศาสดาอย่างเป็นทางการ

 

ความพิเศษของการประทานทยอยอัลกุรอานลงมา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นมีอยู่ 2 ทัศนะที่มีความสำคัญมากกว่าทัศนะอื่น กล่าวคือ

 

1- - การประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ได้เริ่มต้นใกล้ๆ กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) จนกระทั่งสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา ซึ่งทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับเดือน กุมภาพันธ์ .. 610 และได้อำลาจากโลกไปเมื่อวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี .. ที่ 11

 

2 - - ช่วงเวลาใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) นั้น ได้มีโองการสองสามโองการถูกประทานลงมา แต่การประทานแบบทยอยลงมาในรูปแบบของคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ได้เริ่มต้นอย่างจริงจังหลังจากการแต่งตั้งศาสดาผ่านพ้นไปแล้ว 3 ปี โดยเริ่มต้นจำคำคืนแห่งอานุภาพไปจนสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา

 

ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าหากพิจารณาถึงยุคสมัยปัจจุบันที่เรามีชีวิตอยู่ สามารถคำนวณได้เองนับตั้งแต่ปีแรกที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้ว 

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นเกี่ยวกับการประทานลงมาในคราวเดียวกันนั้น เรารู้ได้เพียงว่าถูกประทานลงมาในค่ำคืนอานุภาพ[1] และจากการที่อัลกุรอานกล่าวว่า[2] เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา ขณะที่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ก็อยู่ในเดือนรอมฎอน

 

แต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพเป็นค่ำคืนใดในเดือนรอมฏอนนั้น ไม่มีผู้ใดรู้ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นคืนใด ซึ่งจะเห็นว่มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้[3] แต่มีความเป็นไปได้จากทัศนะที่มีอยู่นี้จะเห็นว่า ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฏอนเป็นค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้น มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากรายงานฮะดีซและอัลกุรอานหลายโองการได้สนับสนุนแนวคิดนี้[4]

 

แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีสิ่งใดระบุได้ชัดเจนว่า ปีใดหรือที่สิ่งนี้ได้เกิดขึ้น แต่สามารถกล่าวได้เพียงว่า แม้ว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนี้จะเป็นค่ำคืนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาแล้ว ยังเป็นค่ำคืนแห่งการขึ้นมิอฺรอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ) อีกด้วย เนื่องจากอัลกุรอานนั้นบันทึกอยู่ในเลาฮุนมะฟูซ  พระผู้อภิบาล[5] มนุษย์ตราบที่ยังไม่ได้ขึ้นมิอ์รอจญ์ เขาก็จะไม่ได้รับอัลกุรอานที่บันทึกอยู่ในแผ่นบันทึก  พระผู้อภิบาล[6] จากตรงนี้เข้าใจได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น อยู่ในช่วงเวลาที่ท่านศาสดาได้ไปถึงยังระดับดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ถูกประทานในปีแรกของการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา กล่าวคือประมาณ 56 วันหลังจากหลังการแต่งตั้ง

 

จำนวนดังกล่าวได้คำนวณจากวันแห่งการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งตรงกับวันที่ 27 เดือนเราะญับ และค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ตรงกับวันที่ 23 เดือนรอมฏอน และโดยประมาณแล้วเดือนหนึ่งมี 30 วัน ดังนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดขึ้นหลังจาก 56 วันผ่านไปแล้ว

 

ความพิเศษของการประทานแบบทยอยลงมานั้น[7] ใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา แต่เนี่องจากมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับวันแต่งตั้งท่านศาสดา[8] ทำให้วันนี้แตกต่างกันไปด้วย

 

ทัศนะทั่วไปที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเมื่อวันจันทร์ ที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับวันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี .. 610[9] ในเวลานั้นอัลกุรอาน 5 โองการแรกของบทอัลอะลัก ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ) [10] หลังจากนั้นอัลกุรอานโองการอื่นๆ ก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ตราบจนสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งรวมระยะเวลาได้ประมาณ 23 ปีเต็ม

 

บางกลุ่มมีความเชื่อว่า ช่วงเวลาของการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) กับช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ในฐานะที่เป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้นมีความแตกต่างกัน ตามทัศนะของพวกเขาแม้ว่าในช่วงแรกของการแต่งตั้งจะมีอัลกุรอานถูกประทานลงมา 5 โองการก็ตาม แต่ในช่วงนั้นท่านศาสดาไม่มีหน้าที่เผยแพร่ต่อหน้าสาธารณชน ท่านมีหน้าที่เชิญชวนแบบลับๆ แต่หลังจากเวลาผ่านพ้นไปประมาณ 3 ปี ได้มีบัญชาให้ท่านเชิญชวนแบบเปิดเผยต่อสาธารณชน[11] นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นไปอัลกุรอาน ในฐานะคัมภีร์แห่งฟากฟ้าก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ดังนั้น แม้ว่าการแต่งตั้งท่านศาสดาให้เป็นศาสดาได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนเราะญับก็ตาม แต่อัลกุรอานได้ทยอยประทานลงมาหลังจากนั้น 3 ปีไปแล้ว ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ ของเดือนรอมฏอนเป็นต้นไป[12]

 

ทัศนะที่สนับสนุนทัศนะดังกล่าวนี้คือ รายงานฮะดีซที่กล่าวว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานคือ 23 ปี[13] ด้วยเหตุผลนี้เองทัศนะและความเชื่อ[14] ที่ว่าช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอาน แบบทยอยลงมาในฐานะของคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้น ได้เริ่มต้นจริงในปีที่ 4 ของการได้รับการแต่งตั้ง กล่าวคือ ประมาณ 3 ปีกับ 56 วันหลังการแต่งตั้งและยาวนานไปจนถึงการสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี .. ที่ 11

 

สรุป ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ตรงกับปี .. ที่ 1431 นับตั้งแต่การอพยพครั้งแรก และรวมกับอีก 13 ปีก่อนการอพยพ ถ้าสมมุติว่าถือตามทัศนะแรก โองการแรกที่ได้ประทานลงมาก็ประมาณ 1440 กว่าปีของปีฮิจญ์เราะศักราช แต่ถ้าถือตามทัศนะที่สอง โองการแรกที่ถูกประทานลงมาตราบจนถึงปัจจุบัน ก็ประมาณ 1437 กว่าปี

 

จากรายงานของนักประวัติศาสตร์บางคน ช่วงเวลาของการแต่งตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี .. ที่ 610 และนับตั้งแต่บัดนั้นจวบจนถึงปัจจุบันคือ .. 2012 เราสามารถคำนวณนับได้ด้วยตัวเองว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานโองการแรก จวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกี่ปีแล้ว 

 

 

[1] อัลกุรอาน บทดุคอน โองการ 3 บทก็อดร์ โองการ 1 สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จาก ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 130-134 เล่ม 2 หน้า 14 -23 เล่ม 13 หน้า 220-221

[2]  อัลกุรอาน บทบะเกาะฮฺ 185 กล่าวว่า เดือนรอมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นการชี้นำสำหรับ มนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับการชี้นำนั้น

[3]  ตารีคฏ็อบรีย์ เล่ม 2 หน้า 300 ซีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 236,239, 240 อายะตุลลอฮฺ มะอฺริฟัต อัตตัมฮีด ฟีอุลูมิลกุรอาน หน้า 100,129,อายะตุลลอฮฺ คูอีย์ อับบะยาน เล่ม 1 หน้า 244, มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 9 หน้า 61, เล่ม 10 หน้า 518, 520, ตารีคอบิลฟิดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115, ตารีคยะอฺกูบบีย์ เล่ม 2 หน้า 17, เชคฏูซีย์ อัตติบยาน เล่ม 9 หน้า 224 มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรีย์ ญามิอุลบะยาน เล่ม 25 หน้า 107 และ 108, ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 29

[4]  วะซาอิลุชชีอะฮฺ หมวด 32 อะฮฺกามเดือนรอมฏอน เล่ม 7 หน้า 262 ฮะดีซที่ 16, คิซอลซะดูก เล่ม 2 หน้า 102 มุฮัมมัดบากิร ฮุจญฺตีย์ ประวัติอัลกุรอาน หน้า 38 - 62

[5]  อัลกุรอาน บทซุครุฟ โองการ 4 แท้จริงอัลกุรอานนั้นอยู่ในกระดานที่ถูกพิทักษ์  เรา คือสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยปรัชญา

[6]  อายะตุลลอฮฺ ญะวาดีย์ ตัฟซีรเมาฎูอีย์ เล่ม 3 หน้า 153- 139

[7]  อัลกุรอาน บทอัสรอ โองการ 106, บทฟุรกอน โองการ 32, บท มุฮัมมัด โองการ 20, บทเตาบะฮฺ โองการ 127, สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมโปรดศึกษาได้จากตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 14 - 23

[8]  ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 17 ตารีค อัลเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 280, 281 ตารีคอบิลฟะดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115

[9]  ประวัติอัลกุรอาน หน้า 36, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 189, ฮะดีซที่ 21 ฟุรูคกาฟีย์ เล่ม 4 หน้า 149 ฮะดีซที่ 1 และ 2 วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 7 หน้า 329 หมวดที่ 15 บาบศีลอดมุสตะฮับ ซีเราะตุลฮะละบี เล่ม 1 หน้า 238 อัตตัมฮีด ฟี อุลูมมิลกุรอาน หน้า 100 - 107

[10] บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 206 ฮะดีซ 36

[11]  อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 94, ตัฟซีรกุมมี หน้า 533, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 53 ฮะดีซที่ 7 หน้า 179 ฮะดีซที่ 10 หน้า 177 ฮะดีซที่ 4 หน้า 193 ฮะดีซที่ 29 ตารีคยะอ์กูบีย์ เล่ม 1 หน้า 343, อัซซีเราะฮฺ อิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 280, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 40 เชคฏูซีย์ อัลฆัยบะฮฺ หน้า 217

[12]  มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 2 หน้า 276 อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40 ตัฟซีรกะบีร อิมามรอซีย์ เล่ม 5 หน้า 85, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 150 เชคมุฟีด ชัรฮฺอะกออิด ซะดูก หน้า 58, ซัยยิดมุรตะฎอ ฟี ญะวาบิลมะซาอิล อัฏรอบิซิยาติล อัซซาละซะฮฺ หน้า 403 - 405

[13]  อุซูลกาฟีย์ เล่ม 2 หน้า 628 ฮะดีซที่ 6 ตัฟซีรอะยาชีย์ เล่ม 1 หน้า 80 ฮะดีซที่ 184, ซะดูก อัลอิอ์ติกอดาต หน้า 101, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 250, ฮะดีซที่ 3 และหน้า 253, อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40,45 ตัฟซีรชุบัร หน้า 350, มุสตัดร็อกอัลฮากิม เล่ม 2 หน้า 610, อัสบาบุลนุซูล หน้า 3 อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 3 หน้า 4 ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 18

 

[14]  สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จากหนังสือ อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลกุรอาน หน้า 100 - 129

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5747 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6934 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    20197 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
    13795 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    “เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำและแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9426 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6667 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    8754 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
    13524 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงามความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา ...
  • หากว่าหลังจากที่เราตายไป อัลลอฮ์อนุญาตให้กลับสู่โลกนี้อีกครั้ง เราจะปรับปรุงตนได้หรือไม่?
    6332 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/04
    อันดับแรกต้องเรียนว่าการกลับสู่โลกนี้ตามใจชอบนั้นจะทำลายระบบระเบียบของโลกนี้อีกทั้งยังทำให้ภารกิจของบรรดานบีหมดความหมายไปโดยสิ้นเชิงสอง, สมมติว่าคนที่ทำบาปได้กลับสู่โลกนี้ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะปรับปรุงตัวได้หรือไม่ทั้งนี้ก็เนื่องจากโลกนี้ก็ยังเหมือนเดิมและกิเลสตัณหาของผู้ตายก็มิได้อันตรธานหายไปดังจะเห็นได้ว่าหลายครั้งหลายหนที่คนเราได้เห็นอุทาหรณ์สอนใจว่าโลกนี้ไร้แก่นสารแต่ก็ยังไม่วายจะหลงใหลครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเหตุให้พวกเขาทำบาปเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขชั่ววูบในโลกนี้ ...
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6429 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60032 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42127 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39190 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38855 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33928 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27950 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27863 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27665 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25690 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...