การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11918
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/21
คำถามอย่างย่อ
การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
คำถาม
อัลกุรอาน ถูกรวบรวมขึ้นด้วยความเห็นชอบของเหล่าเซาะฮาบะฮฺ หรือว่าถูกรวบรวมขึ้นตามความเห็นชอบ โดยสมบูรณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านอุษมาน มิได้ใช้สถานภาพทางการเมือง นำเอาโองการที่มีความขัดแย้งกัน รวบรวมไว้ในโองการที่ว่าด้วยเรื่องหลักปฏิบัติดอกหรือ? การจัดพิมพ์อัลกุรอานไปตามการประทานลงมา ถือว่าเป็นบิดอะฮฺหรือไม่? ถ้าไม่เป็นบิดอะฮฺ แล้วเป็นเพราะสาเหตุอันใดสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านจึงไม่จัดพิมพ์อัลกุรอาน ไปตามการประทานลงมาอย่างถูกต้อง? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือ ทั้งที่ทุกวันนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล ซึ่งอย่างน้อยที่สุดรัฐอิสลามสามารถสร้างความเข้าใจ และขจัดความไม่เข้าใจ ปัญหาด้านศาสนา และนิกาย แก่คนอื่น หรือรัฐอิสลามเสนอตัวแก้ไขสิ่งที่เซาะฮาบะฮฺได้กระทำไว้ โดยการอ้างอิงถึงประวัตศาสตร์การประทานโองการลงมา ภายใต้นิยามที่ว่าอัลกุรอานกับต้นฉบับใหม่ ที่ตรงตามการประทานลงมาในสมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
คำตอบโดยสังเขป
ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
การรวบรวมอัลกุรอานถูกระทำใน 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนของการจัดระเบียบ และการจัดวางโองการต่างๆ ไว้เคียงข้างกัน จึงทำให้เกิดบท (ซูเราะฮฺ) ต่างๆ ขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยคำสั่งของท่าน ซึ่งสถานที่แต่ของละโองการท่านศาสดาเป็นผู้กำหนด
2. ขั้นที่สองคือการรวมรวมต้นฉบับต่างๆ  และจำนวนหน้าที่ถุกบันทึกแยกกันไว้ โดยนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมเป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกกระทำขึ้นในสมัยของท่านอบูบักรฺ
3.ขั้นตอนที่สามคือ การรวบรวมอัลกุรอานทั้งเล่ม โดยนำเอาต้นฉบับที่บันทึกไว้ในทีต่างๆ ซึ่งการนำเอาต้นฉบับเหล่านั้นมารวมกัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และความแตกต่างในการอ่าน ซึ่งขั้นตอนนี้ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน[1]
คำอธิบาย
ภายหลังการวะฟาดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) การรวบรวมอัลกุรอาน ได้ถูกกระทำอย่างเป็นทางการ โดยคำสั่งของท่านอบุบักรฺ เคาะลิฟะฮฺที่ 1 โดยความช่วยเหลือของท่าน “ซัยดฺ บิน ษาบิต” ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ในฐานะที่รู้จักอัลกุรอาน มากกว่าใครทั้งสิ้นท่านได้เรียบเรียงต้นฉบับอัลกุราอนขึ้น ประกอบกับอิสลาม ได้ขยายตัวกว้างราวทศวรรษที่ 30 ฮิจญฺเราะฮฺศักราช ประชาชนจำนวนมากมายได้หลั่งไหลเข้ารับอิสลาม และพวกเขาต้องการมีคัมภีร์ไว้ศึกษา จนเป็นสาเหตุทำให้ต้องมีคัมภีร์ไว้ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และวิชาการ จึงเป็นที่มาของการจัดทำกุรอานเป็นรูปเล่ม จากต้นฉบับที่เชื่อถือไว้ จากท้องที่ต่าง ๆ จากตำราอ้างอิงทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก อ้างถึงความแตกต่างกันในการอ่าน ที่ปรากฎอยู่ในหมู่มุสลิมทั้งหลาย ซึ่งกล่าวว่ารากเหง้าของความขัดแย้ง กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกแยกกัน[2]
การเสนอให้มีการอ่านและการรวมอัลกุรอาน เป็นเล่มเดียวกันเสนอโดย “ฮุดัยฟะฮฺ” ซึ่งท่านอุษมานก็มีความเห็นพร้องต้องกัน ถึงความจำเป็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้เอง ท่านเคาะลิฟะฮฺ ที่สามจึงได้ขอคำปรึกษาหารือจากเหล่าเซาะฮาบะฮฺ ซึ่งทั้งหมดก็เห็นดีเห็นงามถึงความจำเป็นดังกล่าว แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะความยากลำบากเพียงใดก็ตาม ท่านอุษมานได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมากลุ่มหนึ่งจำนวน 4 คน ประกอบด้วย ท่านซัยดฺ บิน ษาบิต อับดุลลอฮฺ อิบนุ ซุบัยร์ สะอีด บิน อาศ และอับดุรเราะฮฺมาน บิน ฮาริษ แต่หลังจากนั้นกลุ่มดังกล่าวได้ขยายตัวเป็น 12 คน  ซึ่งเคาะลิฟะฮฺ ได้มีคำสั่งแก่พวกเขาว่า เนื่องจากอัลกุรอาน ถูกประทานลงมาด้วยภาษากุเรช ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงเขียนด้วยภาษากุเรช
กลุ่มที่ประสงค์ต้องการทำให้อัลกุรอาน เป็นฉบับเดียวกันถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อราวปีฮิจญฺเราะฮฺที่ 25 การดำเนินการครั้งแรกได้รับคำสั่งจากท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้สั่งให้รวบรวมอัลกุรอาน จากต้นฉบับที่บันทึกไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในแคว้นอิสลามสมัยนั้น
ในขั้นตอนนี้ หลังจากอัลกุรอานได้ถูกรวบรวมเป็นฉบับเดียวกันแล้ว ก็ถูกส่งไปยังมะดีนะฮฺ หลังจากนั้นท่านเคาะลิฟะฮฺได้สั่งให้ทำลายต้นฉบับเดิมทิ้งเสีย หรือโยนไปต้มในน้ำเดือด ด้วยเหตุนี้นี้เองท่านอุษมานจึงได้รับฉายาว่า “ฮัรรอกุลมะซอฮิบ” หมายถึงผู้เผาต้นฉบับทิ้ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดส่งต้นฉบับที่รวบรวมแล้ว ไปยังสถานที่และศูนย์กลางสำคัญ ขณะที่ส่งต้นฉบับไปยังหัวเมืองต่างๆ นั้น ท่านเคาะลิฟะฮฺ ได้จัดส่งนักกอรีไปด้วย เพื่อให้เขาอ่านกุรอานให้ประชาชนได้รับฟัง[3]
บรรดานักประวัติศาสตร์ได้นับจำนวน ต้นฉบับที่ถูกจัดทำขึ้น และถูกจัดส่งไปยังหัวเมืองต่างๆ ในครั้งนี้ แตกต่างกัน “อิบนุ อบีดาวูด” กล่าวว่ามีจำนวน 6 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ มักกะฮฺ กูฟะฮฺ บัศเราะฮฺ ชาม บะฮฺเรน และเยเมน และถูกเก็บรักษาไว้ในมะดีนะฮฺ เล่มหนึ่ง ซึ่งเรียกต้นฉบับนั้นว่า “อัม” หรือ “อิมาม” ท่านยะอฺกูบียฺ บันทึกไว้ในหนังสือของท่าน โดยเพิ่มต้นฉบับเข้าไปอีก 2 เล่ม ซึ่งถูกส่งไปยังอียิปต์ และอัลญะซีเราะฮฺ  ส่วนต้นฉบับที่ถูกส่งไปยังเมืองต่างๆ นั้น ได้ถูกส่งไปยังศูนย์กลาง และถูกเก็บรักษาอยู่ที่นัน นอกจากนั้นยังมีต้นฉบับอื่นๆ อีกที่คัดลอกไปจากต้นฉบับดังกล่าว เพื่อให้ทั่วถึงและสะดวกสำหรับประชาชน[4]
การเรียงตามต้นฉบับของอุษมาน ก็คือการเรียงดังกุรอานในปัจจุบัน ซึ่งเหมือนการเรียงอยู่ในต้นฉบับต่างๆ ของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกับต้นฉบับของ อบี บิน กะอับ ซึงในสมัยนั้นการเขียนลายมือ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีของชนอาหรับในยุคนั้น ฉะนั้น การจดบันทึกจึงปราจาคสระและวรรยุกต์[5]
ส่วนผู้รู้ฝ่ายชีอะฮฺ มีความเชื่อว่าอัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราในปัจจุบัน ก็คืออัลกุรอานสมบูรณ์และครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้นฉบับของอุษมานก็คือ อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือของเราเล่มปัจจุบัน ซึ่งปราศจากการแก้ไขเพิ่มเติม การสังคายนา และการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าในชวงเวลาเดียวกันท่านอิมามอะลี (อ.) จะบันทึกอัลกุรอานไว้ด้วยตัวของท่านเอง โดยบันทึกไปตามการประทานลงมาอย่างเป็นระเบียบก้ตาม แต่ทว่าอัลกุรอานเล่มที่มีอยู่เดิมนี้ ก็ได้รับการรับรองและการยืนยันจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ทุกท่าน ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นอันใดทั้งสิ้น ที่เราต้องจัดพิมพ์อัลกุรอานอีกเล่มหนึ่ง โดยพิมพ์เรียงไปตามวาระการถูกประทานลงมา แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นบิดอะฮฺก็ตาม เนื่องจากว่า “บิดอะฮฺ” หมายถึง การนำสิ่งต่างๆ เข้ามาในศาสนา ซึ่งสิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แน่นอนว่า การกระทำดังกล่าวเป็น ฮะรอม และบรรดาอิมามของชีอะฮฺ ก็ชี้ให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว
ชายคนหนึ่งอ่านและกล่าวเกี่ยวกับอัลกุรอาน ต่อหน้าท่านอิมามซอดิก (อ.) แต่ต่างไปจากที่ประชาชนอ่านและเข้าใจทั่วไป ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “เจ้าอย่าอ่านคำนี้เช่นนี้อีก แต่เจ้าจงอ่านเหมือนที่ทั่วไปอ่าน”[6]
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แสดงเห็นชอบด้วยกับการที่จะรวบรวม ต้นฉบับอัลกุรอานไว้ในเล่มเดียวกัน ท่านอิบนุอบีดาวูด รายงานจากท่านซูอิด บิน ฆ็อฟละฮฺว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่า อุษมานมิได้กระทำสิ่งใดเกี่ยวกับอัลกุรอานเลย เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับคำปรึกษาหารือแล้ว”[7]
อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าหากการสั่งให้รวบรวมต้นฉบับ ต้นมาถึงฉัน ฉันก็คงต้องทำเฉกเช่นที่อุษมานได้กระทำ”[8]
สรุปสิ่งที่กล่าวมา ตามประวัติการรวบรวมอัลกุรอาน ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือผู้กำหนดว่า โองการไหนควรจะอยู่ที่ใด มิใช่ความเห็นชอบ หรือความพอใจของเซาะฮาบะฮฺแต่อย่างใด กล่าวคือทุกโองการที่ประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับเองว่าควรจัดวางไว้ตรงที่ใด และอัลกุรอานที่อยู่ในมือของเราปัจจุบันนี้ก็คือ อัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักกอรี และนักท่องจำอัลกุรอานกลุ่มใหญ่ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานเล่มปัจจุบัน ได้รับการยอมรับจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ดังนั้น ไม่สามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอานเล่มนี้ ถูกรวบรวมขึ้นตามความพอใจของท่านอุษมาน เพื่อว่าท่านจะได้สามารถกำหนดสถานที่ของโองการตามความพอใจได้

[1]ชากีรีน ฮะมี ริฎอ กุรอานเชนอซี หน้า 19 ดัฟตัรนัชรฺ มะอาริฟ, พิมพ์ครั้งที่ 7 1386
[2] ดัรซ์ นอเมะฮฺ อุลูมกุรอานี ฮุซัยนฺ ญะวาด ออรอซเตะฮฺ หน้า 198, สำนักพิมพ์ ดัฟตัร ตับลีฆอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 203
[4] ออมูเซซ อุลูมกุรอาน ฉบับแปล อัตตัมฮีม ฟี อุลูมิลกุรอาน, มุฮัมมัด ฮาด มะอฺริฟัต ผู้แปล อบูมุฮัมมัด วะกีลี เล่ม 1, หน้า 425, สำนักพิมพ์ มัรกัซ จอพ วะ นัชรฺ ซอเซมอน ตับลีฆอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1371
[5] อ้างแล้ว เล่ม 1, หน้า 433
[6] อ้างแล้ว เล่ม 1 หน้า 416
[7] อัลอิตติกอน ฟี อุลูม กุรอาน, ญะลาลุดดีน ซุยูฏี เล่ม 1 หน้า 170 สำนักพิมพ์ อัซรียะฮฺ พิมพ์ที่เบรุต ปี ฮ.ศ. 1408
[8] มุฮัมมัด อิบนุ มะฮฺมูด แต่ถูกรู้จักกันในนามของ อิบนุ ญะซะรียฺ, อันนัชรฺ ฟิล กะรออาต อัลอะชะเราะ,เล่ม 1 หน้า 8, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอะละมียะฮฺ พิมพ์ เบรูต
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8780 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    6285 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    7282 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    6063 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7639 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8747 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    17063 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • ความเชื่อคืออะไร
    17534 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7161 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    7085 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57517 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42183 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38928 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33982 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28000 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27933 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27769 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25766 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...