การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6321
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/01
คำถามอย่างย่อ
มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
คำถาม
สลามค่ะ ปัจจุบันนี้ดิฉันอายุยี่สิบเจ็ดปีและได้สมรสเมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว ดิฉันรักสามีมาก แต่ล่าสุดเพิ่งจะประสบปัญหาเนื่องจากไม่ว่าดิฉันจะพยายามปรนนิบัติเขาเท่าใด แต่ก็ยังไม่เพียงพอเสียที ดิฉันเข้าใจว่าไม่ควรจะตำหนิพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของสามี หรืออาจจะต้องปิดปากเงียบแม้ในเวลาที่โกรธเขา ต้องเก็บความอัดอั้นอีกทั้งเสแสร้งอารมณ์ดีให้เขาเห็นเสมอ ดิฉันไม่ทราบจริงๆว่าจะต้องทำอย่างไร กรุณาช่วยแนะนำหน่อยค่ะ เพราะไม่รู้จะไปพึ่งใครแล้วจริงๆ ขอบคุณค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ
บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น
บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา
เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ
เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ
 

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในคำถามของคุณมีจุดเด่นหนึ่งที่น่าประทับใจก็คือ คุณสองคนรักกันและคุณเองก็พยายามที่จะเป็นภรรยาที่ดีที่สุดสำหรับสามี สมควรอย่างยิ่งที่จะเน้นสองข้อนี้ให้มาก เพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในประเด็นความไม่เข้าใจกันในหลายๆเรื่อง อย่างไรก็ดี เพื่อจะได้คำตอบที่แม่นยำยิ่งขึ้น ควรไขปริศนาต่อไปนี้เป็นอันดับแรก

หนึ่ง. เบื้องต้นจะต้องทราบว่าจะเป็นคู่ครองที่ดีได้อย่างไร?
สอง. สิ่งใดคือคุณสมบัติของคู่ครองที่ดีในมุมมองอิสลาม?
สาม. สิ่งที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่อง แท้ที่จริงแล้วเป็นจุดบกพร่องหรือไม่?
สี่. ในกรณีที่เป็นจุดบกพร่อง เราจะแจ้งให้ฝ่ายตรงข้ามทราบได้หรือไม่? มีเงื่อนไขอย่างไร?

เราจะร่วมกันไขปริศนาข้างต้นไปพร้อมๆกัน
หนึ่ง. อิสลามและบรรดาผู้รู้ทางศาสนาของเราสอนว่า ชีวิตคู่ควรจะต้องอบอวลไปด้วยความรักไคร่กลมเกลียวและความจริงใจ มิไช่คละคลุ้งไปด้วยความเย่อหยิ่งทรนง ด้วยเหตุนี้เอง หากสามีภรรยาสามารถประคองความรักความเข้าใจต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น อย่างไรก็ดี ควรคำนึงเสมอว่าการบริหารกิจการครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี (แต่มิไช่เพราะภรรยามีสถานะด้อยกว่า) โดยสมาชิกครอบครัวสามารถจะช่วยเสริมคุณภาพชีวิตได้ด้วยข้อคิดข้างต้น

สอง. คำตอบของปริศนานี้มีการนำเสนอแล้วในระเบียน “คุณสมบัติของคู่ครองที่ดี”คำถามที่ ในเว็บไซต์นี้

สาม. เกี่ยวกับการวินิจฉัยจุดบกพร่องนั้น เบื้องต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นจุดบกพร่องในแง่ใด ในแง่ศาสนา หรือในแง่ของสังคมและขนบธรรมเนียม หรือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว สองมุมมองแรกจะต้องขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญศาสนาหรือนักสังคมวิทยา อย่างไรก็ดี แม้เราจะยอมรับว่าพฤติกรรมบางอย่างถือเป็นจุดบกพร่องได้โดยไม่ต้องสงสัย แต่ส่วนใหญ่มักจะมิได้เป็นเช่นนั้น หลายครั้งหลายคราที่เราถือว่าพฤติกรรมบางอย่างเป็นจุดบกพร่องทั้งที่ในความเป็นจริงไม่จัดว่าเป็นจุดบกพร่อง[1]

ข้อคิดส่งท้าย
สมมุติว่าเราเห็นพฤติกรรมอันเป็นจุดบกพร่องจริงๆ ถามว่าเราสามารถจะบอกให้เขารับรู้ โดยไม่จำเป็นจะต้องคำนึงเรื่องกาลเทศะไช่หรือไม่?
บ่อยครั้งที่เราตักเตือนด้วยความห่วยใย แต่เนื่องจากปราศจากความรอบคอบในแง่ของกาลเทศะจึงไม่บังเกิดผลอย่างที่มุ่งหวังหรืออาจจะส่งผลเสียได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือวิธีเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งจะทำให้ทราบว่าควรจะตักเตือนด้วยคำพูดใดจึงจะเหมาะสมและน่ารับฟัง ที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างทางบุคลิกและขีดความอดทนของแต่ละคนด้วย

เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน แน่นอนว่ายังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด เมื่อนั้นจึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันต่ออีกฝ่าย

ท้ายนี้ขอมอบฮะดีษที่น่าสนใจจากท่านอิมามอลี(อ.)ดังต่อไปนี้
ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวสั่งเสียแก่ท่านอิมามฮะซัน(อ.)ไว้ว่า “โอ้ลูกพ่อ จงเปรียบตนเองกับผู้อื่น เมื่อลูกคาดหวังสิ่งใดก็จงคาดหวังให้ประสพแด่ผู้อื่นด้วย หากรังเกียจสิ่งใดก็จงอย่าประพฤติต่อผู้อื่นเช่นนั้น จงอย่ากดขี่ดังที่เธอเองก็ไม่อยากถูกกดขี่ จงทำดีดังที่อยากให้ผู้อื่นทำดีกับเธอ จงรังเกียจพฤติกรรมที่เธอไม่ประสงค์จะเห็นผู้อื่นกระทำ จงพอใจพฤติกรรมที่เธอพอใจให้เกิดแก่ตนเอง จงอย่าพูดในสิ่งที่เธอไม่รู้ จงพูดแต่สิ่งที่รู้ และจงอย่าพูดในสิ่งที่ไม่ประสงค์จะได้ยินผู้อื่นพูดกับเธอ”[2]

 

 


[1] เกี่ยวกับเรื่องนี้โปรดศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขของการกำชับสู่ความดีและห้ามปรามสู่ความชั่ว ทางเราได้คัดมาจากตำราประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก) เล่ม 2 หน้า 765 ภาคเสริมของอายะตุลลอฮ์โฆลเพฆอนีและอายะฯศอฟีดังต่อไปนี้

เงื่อนไขของการกำชับความดีหรือปรามความชั่วมีห้าประการดังนี้
หนึ่ง. ผู้กระทำการนี้จะต้องทราบเกี่ยวกับความดีและความชั่วเป็นอย่างดี และมั่นใจว่าความดีความชั่วนั้นๆเป็นข้อบังคับ และแน่ใจว่าพิจารณาไม่ผิดพลาด
สอง. คาดว่าการรณรงค์หรือห้ามปรามดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผล แต่หากมองว่าเป็นไปไม่ได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องกระทำ
สาม. มั่นใจว่าผู้กระทำผิดมีเจตนาจะกระทำผิดต่อไป  แต่หากเห็นว่าผู้กระทำผิดมีท่าทีสำนึกผิดและไม่กระทำซ้ำ ถือว่าไม่จำเป็นต้องกำชับหรือห้ามปราม
สี่. มั่นใจว่าไม่มีข้อยกเว้นใดๆในการงดกระทำความดีหรือประกอบกรรมชั่ว แต่ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเชื่อมั่นโดยสเน่หาว่ามิได้กระทำผิด ถือว่าไม่จำเป็นต้องกำชับตักเตือน อันหมายรวมถึงกรณีที่ผู้กระทำผิดทุกกรณีที่กระทำไปโดยมีเหตุจำเป็น อนึ่ง การตักเตือนผู้ไม่รู้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องกระทำ
ห้า. การกำชับตักเตือนจะต้องไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียและอันตรายที่จะตามมา และหากสันนิษฐานว่าจะเป็นเช่นนั้น ถือว่าไม่จำเป็นต้องกำชับตักเตือน

[2] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 72,หน้า 29,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6886 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้นำทองใหม่(รูปพรรณ)ไปแลกเปลี่ยนกับทองเก่าที่มีน้ำหนักมากกว่า?
    9518 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/23
    กุรอานและฮะดีษห้ามปรามธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยอย่างชัดเจนโดยได้อธิบายเหตุผลไว้อย่างสังเขปอาทิเช่นทำลายช่องทางการกู้ยืมเป็นการขูดรีดผู้เดือดร้อนและเป็นเหตุให้สูญเสียการลงทุนในด้านที่สังคมขาดแคลนเหตุผลข้างต้นล้วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมทั้งสิ้นส่วนดอกเบี้ยประเภทซื้อขายแลกเปลี่ยนนั้นเราไม่พบเหตุผลใดๆทั้งในกุรอานและฮะดีษทำให้เราไม่อาจจะทราบถึงเหตุผลได้อย่างไรก็ดีเรายังต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ท่านนบีและบรรดาอิมามกล่าวไว้แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีเหตุผลหรือปรัชญาใดๆแฝงอยู่ในเรื่องนี้ ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานเกี่ยวกับเหตุผลของการห้ามดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนว่าอาจเป็นเพราะธุรกรรมดังกล่าวจะถูกใช้เป็นช่องทางหลบเลี่ยงดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมหรือกล่าวได้ว่าดอกเบี้ยประเภทแลกเปลี่ยนคือประตูไปสู่ดอกเบี้ยประเภทกู้ยืมนั่นเอง ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12912 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    7310 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7775 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6596 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    7097 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    7048 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13820 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    7370 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60422 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57992 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42524 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39814 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39173 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34285 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28333 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28255 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26126 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...