การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7416
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11465 รหัสสำเนา 19927
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
คำถาม
ต้องการทราบว่า ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า 6 คน

รายชื่อเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ประกอบด้วย

1.ท่านหญิงชะฮฺริบานู, 2.ท่านหญิงลัยลา, 3. ภรรยาท่านหนึ่งที่มาจากชนเผ่า เกาะฎออียะฮฺ, ซึ่งเธอได้เสียชีวิตไปตั้งแต่สมัยที่ท่านอิมามยังมีชีวิตอยู่, 4. ท่านหญิงรุบาบ, 5.ท่านหญิงอุมมุอิสฮาก,

ภรรยาคนเดียวของท่านอิมาม (.) ที่อยู่ในเหตุการณ์กัรบะลาอฺอย่างแน่นอน คือ, ท่านหญิงรุบาบมารดาของอะลี อัซฆัร, ซึ่งหลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺแล้วเธอได้ถูกจับเป็นเชลย และถูกส่งตัวไปยังมะดีนะฮฺ, ส่วนท่านหญิงชะฮฺริบานูกับท่านหญิงลัยลานั้น ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าทั้งสองท่านได้อยู่ในกัรบะลาอฺหรือไม่.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ปัญหาดังกล่าวนี้สามารถพิจารณ์ได้ใน 2 ประเด็น   :

) จำนวนภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .)

) อธิบายสถานภาพเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .)

นักประวัติศาสตร์ผู้อาวุโสส่วนใหญ่   เช่น   ท่านเชคมุฟีดได้บันทึกไว้ในหนังสือ   เอรชาด   ของท่านว่าจำนวนภรรยาของท่านอิมมฮุซัยนฺ ( .) มีทั้งสิ้น 5 คน   ประด้วย   :

1. ท่านหญิงชะฮฺริบานู , 2. ท่านหญิงลัยลา , 3. ภรรยาท่านหนึ่งที่มาจากชนเผ่า   เกาะฎออียะฮฺ , 4. ท่านหญิงรุบาบ , 5. ท่านหญิงอุมมุอิสฮาก , [1]

ส่วนสถานภาพของเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ  

ตามประวัติศาสตร์สภาพชีวิตของเหล่าภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) การเข้าร่วมในเหตุการณ์กัรบะลาอฺ   และหลังจากนั้น , มิได้มีบันทึกอยู่ในตำราทางประวัติศาสตร์   หรือในตำราอ้างอิงอื่นมากเท่าใดนัก , แต่จะของกล่าวในลักษณะกว้างๆ   ทั่วไปจากสถานภาพชีวิตของท่านเหล่านั้น

1. ท่านหญิงชะฮฺริบานู   : ท่านหญิงเป็นมารดาของท่านอิมามซัจญาด ( .) เกี่ยวกับสถานที่ถือกำเนิดและเชื้อชาติเดิมของท่านนั้นมีความขัดแย้งกันอยู่มาก , บางกลุ่มกล่าวว่านามชื่อของท่านหญิงคือ   เจ้าหญิง , ราชินี , ชะฮฺริบานู , และชะฮฺริบานูวียะฮฺ . ดังนั้น   ตามคำกล่าวของคนกลุ่มนี้จะเห็นว่าท่านหญิงคือ   ธิดาของ   Yazdegerd มหาจักรพรรดิองค์ที่ 3 ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง จักรวรรดิซาสซานิยะห์   ซึ่งมีรายงานที่กล่าวว่าหลังจากคลอดท่านอิมามซัจญาด ( .) แล้วเธอไม่สะบายอย่างหนักและเสียชีวิตในเวลาต่อมา [2]

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้จาก   หัวข้อการแต่งงานของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) กับท่านหญิงชะฮฺริบานู , คำตอบลำดับที่   19870 (ไซต์ : 19220)

2. ท่านหญิงลัยลา : มารดาของท่าน   อะลีอักบัร ( .) ซึ่งการเข้าร่วมเหตุการณ์กัรบะลาอฺและเหตุการณ์หลังจากนั้น   สำหรับท่านหญิงแล้วยังมีความเคลือบแคลงอยู่   ดังนั้นเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้   ศึกษาได้จากหัวข้อการปรากฏตัวของท่านหญิงลัยลามารดาของอะลีอักบัรในกัรบะลา , คำตอบลำดับที่   11901 ( ไซต์ : 11671)

3. ภรรยาท่านหนึ่งจากชนเผ่า   เกาะฎออียะฮฺ

4. ท่านหญิงอุมมุอิสฮาก : บุตรีของฏ็อลฮะฮฺ   บิน   อุบัยดิลลาฮฺ : เธอมาจากเผ่าตัยยิม   เธอเป็นมารดาของฟาฏิมะฮฺบุตรีของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ซึ่งมิได้อยู่ในเหตุการณ์กัรบะลาอฺ

5.   ท่านหญิงรุบาบ   : ตามคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์   ท่านหญิงรุบาบ , บุตรีของอัมเราะอุลเกส   บุตรของอะดีย์ , เธอเป็นภรรยาท่านหนึ่งของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) และเป็นมารดาของสุกัยนะฮฺ   และอะลีอัซฆัร ( อับดุลลอฮฺ ) เธอได้ร่วมเดินทางไปกัรบะลาอฺ   และถูกจับเป็นเชลยไปยังเมืองชาม , หลังจากนั้นถูกส่งตัวไปกลับไปยังมะดีนะฮฺ   เธอได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) เป็นเวลานานถึง 1 ปี   เธอได้แต่งบทกวีเกี่ยวกับท่านอิมามฮุซัยนฺ   มีผู้ร่ำรวยและเป็นผู้อาวุโสมีหน้าทีตาชาวกุเรชหลายคนได้สู่ขอเธอแต่งงาน   แต่เธอปฏิเสธทั้งหมดโดยไม่พร้อมจะแต่งงานกับชายใดอีก   เธอได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมาม ( .) และร่ำไห้อยู่นาน   เธอไม่เคยเข้าไปอยู่ในร่มเลย   และเป็นเพราะความเสียใจและความทุกข์ทรมานใจที่ได้รับจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺ   และการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) หนึ่งปีหลังจากนั้น ( ปีฮ . . 62) เธอได้อำลาจากโลกไป [3]

ตัวอย่างบทกวีของท่านหญิงรุบาบ   ที่กล่าวถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ซึ่งเธอได้เริ่มต้นเช่นนี้ว่า   :

انّ الذى کانَ نورا یُستَضاءُ به             فى کَربلاء قتیل غیرُ مَدفونِ‏

سِبطُ النبىّ جَزاکَ اللّه صالِحة             عَنّا و جُنّبتَ خُسرانَ المَوازین...

ผู้ซึ่งส่งประกายรัศมีอันเจิดจรัส   ถูกสังหาร     แผ่นดินกัรบะลาอฺโดยมิได้ถูกฝังร่าง

โอ้   หลานรักของท่านศาสดา   อัลลอฮฺทรงประสงค์จากเราให้ท่านเป็นรางวัลของความดี   และให้ความเสียหายห่างไกลไปจากท่าน [4]

สำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ได้มีการกล่าวถึงภรรยาคนอื่นของท่านไว้ด้วย   ซึ่งเธอกำลังตั้งครรภ์บุตรคนหนึ่งของท่านอิมาม ( .) นามว่า มุฮฺซิน แต่นางได้แท้งบุตรเสียก่อนในบริเวณใกล้ๆ   กับเมือง   ฮะลับ   ในสถานที่หนึ่งนามว่า   เญาชัน   ซึ่งเป็นบริเวณที่มีแร่ธาตุทองแดงมากเป็นพิเศษ , และอาจเป็นไปได้ว่าภรรยาคนนี้ของท่านอาจเป็นภรรยาคนหนึ่งซึ่งเราได้อธิบายไปแล้ว , ฮัมมะวีย์   ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลบุลดาล ว่า   : เญาชันคือ   ภูเขาหนึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมืองฮะลับ , เมื่อเชลยแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ ( .) ได้ถูกต้อนผ่านบริเวณนั้น   ภรรยาของท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่   ได้ขอน้ำและอาหารจากพวกเขา   แต่พวกเขากล่าวคำพูดไม่ดีกับเธอ   และขัดขวางไม่ให้น้ำและอาหารแก่เธอ , หลังจากนั้นภรรยาของพวกเขาได้สาปแช่งพวกเขา   และแผ่นดินก็สูญสิ้นแร่ธาตุ , และสถานที่นั้นก็กลายมีชื่อเรียกว่า   สถานที่แท้ง   หรือ   มัชฮะดุดดะกะฮฺ [5]



[1]   เชคมุฟีด , มุฮัมมัด   บุตรของมุฮัมมัด   บุตรของนุอฺมาน , เอรชาด , เล่ม 2, หน้า 135, สัมมนาอัตรชิวประวัติเชคมุฟีด , กุม , . . 1413

[2]   รอวันดี , กุฎบุดดีน , อัลเคาะรอญิอฺ   วัลบะรอญิฮฺ , เล่ม 2, หน้า 750, สถาบันอิมามมะฮฺดียฺ ( .), กุม , ปีฮ . . 1409

[3]   อิบนุ   อะซีร , อิซซุดดีน , อัลกามิล , เล่ม 4, หน้า 88, ดารุลซอดิร , เบรูต , ปีฮ . . 1385.

[4]   ซัยยิด   มุฮฺซิน   อะมีน , เล่ม 6, หน้า 449, ดารุลตะอารีฟ , เบรูต , ปีฮ . . 1406.

[5]   ฮะมะวีย , ยากูต , มุอฺญิมบุลดาล , เล่ม 2, หน้า 186, ดารุลซอดิร , เบรูต , . . 1995.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    9160 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    9169 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9488 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    8161 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8722 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    6253 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
    13836 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    “เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำและแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    21039 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8991 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
    11202 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/29
    สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60067 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57445 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42145 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39233 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38893 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33953 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27967 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27886 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27709 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25724 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...