การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9771
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1752 รหัสสำเนา 13585
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
คำถาม
ปรัชญาของการมีชัยฏอน ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่หลงผิด ดื้อรั้น และทำให้ผู้อื่นหลงทางคืออะไร และเพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอนขึ้นมา?
คำตอบโดยสังเขป

ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้น อยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวน

ประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้าม ด้วยเหตุผลนี้เอง การสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงาม มิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใด ทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประการแรก:อัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงสร้างชัยฏอนให้เป็นชัยฏอนเช่นที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุผลที่ว่าชัยฏอนได้แสดงความเคารพภักดีอัลลอฮฺ (ซบ.) มาอย่างยาวนาน (6 พันปี)[1] เป็นผู้อยู่ร่วมชั้นเดียวกันกับมวลมะลาอิกะฮฺทั้งหลาย เป็นผู้ดำรงการอิบาดะฮฺ แต่หลังจากนั้นตนได้เลือกสรรด้วยตัวเองตามการดื้อรั้นและอวดดี จึงกลายเป็นผู้หยิ่งผยองและหลงผิดออกไป และออกห่างจากความเมตตาของอัลลอฮฺ (ซบ.)

ประการที่สอง : การมีอยู่ของชัยฏอนไม่ได้สร้างความเสียหายอันใดแก่กลุ่มชนที่มีศรัทธามั่น และบุคคลที่ต้องการแสวงหาความสัจจริง ทว่าชัยฏอนเป็นสื่อในการพัฒนาสร้างความก้าวหน้าแก่พวกเขาเสียด้วยซ้ำไป เนื่องจากความก้าวหน้าและการพัฒนาและความสมบูรณ์ จะอยู่ท่ามกลางความแตกต่างและสิ่งตรงข้ามเสมอ[2]

บทบาทของชัยฏอนบนโลกนี้คือ การเชิญชวน กล่าวคือชัยฏอนเพียงแค่เอ่ยปากเชิญมนุษย์ทั้งหลายในหลงผิด และระหนไปจากความจริง ทั้งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ทรงประทานอำนาจให้ชัยฏอนมีเหนือมนุษย์เลย เพื่อที่ว่าชัยฏอนจะได้ควบคลุมมนุษย์ได้ อัลกุรอาน กล่าวว่า

«ان لیس له سلطان علی الذین آمنوا و علی ربهم یتوکلون»

แท้จริงชัยฏอนไม่มีอำนาจใด  เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย (การงาน) ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา[3]

ด้วยเหตุผลนี้เอง ครั้นเมื่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพได้มาถึง สัญญาต่างๆ ของชัยฏอนที่ได้ทำให้พวกเขาหลงทาง เมื่อได้เผชิญหน้ากันแล้ว ชัยฏอนจะเย้ยหยันมนุษย์และกล่าวว่า

«... و ما کان لی علیکم من سلطان الاّ ان دعوتکم...»

ฉันไม่มีอำนาจใด  เหนือพวกท่าน นอกจากฉันได้เรียกร้องพวกท่าน[4]

การสั่งสอนตักเตือนของอัลกุรอาน เหมือนกับได้สำทับอยู่เสมอว่า บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและระหนไปจากความจริง เพียงแค่เอ่ยปากเชิญมนุษย์เท่านั้นเอง ชัยฏอนไม่เคยบีบบังคับมนุษย์ให้กระทำหรือบังคับให้ระหนไปจากความจริงแต่อย่างใด แต่เนื่องจากมนุษย์นั้นอยู่ระหว่างสองคำเชิญ คำเชิญหนึ่งมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) และอีกคำเชิญหนึ่งมาจากชัยฏอน และมนุษย์นั่นเองที่ได้เลือกหนึ่งในสองคำเชิญชวนนั้น ด้วยเจตนารมณ์เสรีของตน ซึ่งบุคคลที่ได้ตอบรับคำเชิญของชัยฏอนด้วยเจตนารมณ์และความประสงค์ของตน และมอบให้ชัยฏอนเป็นแบบอย่างของตัวเอง อีกทั้งได้เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของชัยฏอน แน่นอน ชัยฏอนจะมีอำนาจเหนือพวกเขา และจะโน้มนำพวกเขาไปสู่วิบากกรรมและความหายนะทั้งหลาย อัลกุรอานกล่าวว่า

«انما سلطانه علی الذین یتولونه...»

แท้จริงอำนาจของชัยฏอนจะมีเหนือบรรดาผู้เป็นมิตรกับตน[5] 

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ กรุณาศึกษาได้จากดัชนีเหล่านี้

ชัยฏอนกับความตาย คำถาม 398 (ไซต์ 849) เสียงโอดครวญของชัยฏอน คำถาม 762 (ไซต์ 805)



[1]  นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 234 กอซิอะฮฺ 

[2]  บิสตูนนีย์ มุฮัมมัด การรู้จักชัยฏอน จากมุมมองของอัลกุรอาน หน้า 17

[3] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ โองการ 99

[4] อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม โองการ 22

[5] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ โองการ 100

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? อิสลามมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่าอย่างไร?
    12100 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    ถูกต้องบทบัญญัติเกี่ยวกับ การแต่งงานกับทาส, การเป็นมะฮฺรัมกับทาส, สัญญาซื้อขาย (ข้อตกลงที่จะปล่อยทาสเป็นไท) และ ...ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน, การมีทาสได้รับการยืนยันว่ามีจริงในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต้นยุคอิสลาม แต่จำเป็นต้องกล่าวว่าอิสลามมีโปรแกรมที่ละเอียดอ่อน และมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท ซึ่งบั้นปลายสุดท้ายของทั้งหมดเหล่านั้นคือ การได้รับอิสรภาพเป็นไททั้งสิ้น ดังนั้นการเผชิญหน้าของอิสลามกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้: 1-อิสลามมิเคยเริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส 2-อิสลามถือว่าปัญหาชะตากรรม และความเจ็บปวดใจของทาสในอดีตที่ผ่านมาคือ ปัญหาความล้าหลังอันยิ่งใหญ่ของสังคม 3-อิสลามได้วางโครงการที่ละเอียดอ่อน เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นไท, เนื่องจากครึ่งหนึ่งของพลเมืองในสมัยก่อนเป็นทาสทั้งสิ้น, พวกเขาไม่มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพการงาน, ไม่มีปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป.ถ้าหากอิสลามได้มีคำสั่งต่อสาธารณชนว่าให้ทั้งหมดปล่อยทาสให้เป็นไท, ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะต้องสูญเสียชีวิต หรือไม่ชนส่วนใหญ่ก็จะต้องว่างงานไร้อาชีพ หิวโหย ถูกกีดกัน และพวกเขาต้องได้รับแรงกดดันจนกระทั่งเข้าทำร้ายและโจมตีในทุกที่ การประจัญบาน การนองเลือด และการทำลายกฎระเบียบของสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามได้วางแผนการไว้อย่างละเอียด เพื่อดึงดูดสังคมให้ทาสเหล่านี้ได้รับอิสรภาพ และเป็นไทไปที่ละน้อย ซึ่งแผนการดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ...
  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6637 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12381 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • สายรายงานของฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่ระบุให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทเศาะฮี้ห์หรือไม่? และสี่สิบบทนี้หมายถึงฮะดีษประเภทใด?
    8558 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/18
    ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่มเนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบทอาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบทอัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4]และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบทโดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรมในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วยทั้งนี้ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะแต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าอัลลามะฮ์มัจลิซีเชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้นมีระดับขั้นที่แตกต่างกันซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้: หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษอย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำหรือสมุดหรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษฯลฯสอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้งหรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษสาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ
  • กรุณาอธิบายวิธีปฏิบัติและผลบุญของนมาซฆุฟัยละฮ์
    5805 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/03/07
    คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์ นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์: وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى‏ فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน
  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    12956 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    6005 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7628 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
    9557 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือเรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ"وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ
  • ในทัศนะของอิสลาม ชาวฮินดูถือว่าเป็นนะญิสหรือไม่ และจะต้องออกห่างพวกเขาหรือไม่?
    7655 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    บรรดามัรญะอ์ได้ฟัตวาว่ากาฟิรเป็นนะญิสและจะต้องหลีกเลี่ยงความเปียกชื้นจากพวกเขาท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “กาฟิรคือผู้ที่ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือตั้งภาคีต่อพระเจ้าหรือไม่ยอมรับในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) เขาผู้นั้นถือเป็นนะญิส

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57515 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42180 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39322 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38928 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33982 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28000 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27932 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27767 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25764 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...