Please Wait
6551
อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลัง ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบ จากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรง ถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาล วิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติ และไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)โดยลำพัง
การพิสูจน์ตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)นับเป็นหัวข้อสำคัญในหลักอิมามัตเชิงบุคคล ซึ่งไม่อาจจะพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางปัญญา ทว่าต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางกุรอานและฮะดีษ ตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่านั้น จึงจะสามารถพิสูจน์ว่า ท่านอิมามอลี(อ.)คือผู้นำและเคาะลีฟะฮ์ภายหลังนบี(ซ.ล.)
ก. หลักฐานทางกุรอาน
มีโองการกุรอานมากมายที่เมื่อพิจารณาร่วมกับฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)ที่อธิบายถึงเหตุของการประทานโองการเหล่านี้ ก็จะสามารถพิสูจน์ความเป็นผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)ได้ อาทิเช่น โองการตับลี้ฆ โองการวิลายะฮ์ โองการอุลิ้ลอัมร์ โองการศอดิกีน ฯลฯ ซึ่งจะนำเรียนและอธิบายในรายละเอียดคำตอบต่อไป.
ข. หลักฐานทางฮะดีษ
มีหลักฐานมากมายจากตำราอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่ระบุว่า ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ว่า“อลีคือตัวแทนภายหลังจากฉัน หลังจากเขาก็สืบต่อโดยหลานรักของฉัน ฮะซันและฮุเซน และอิมาม(ผู้นำ)อีกเก้าท่านล้วนสืบเชื้อสายจากฮุเซน” นอกจากนี้ยังมีฮะดีษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ฮะดีษเยามุดด้าร ฮะดีษมันซิละฮ์ ฮะดีษเฆาะดีรคุม และฮะดีษษะเกาะลัยน์ รวมทั้งฮะดีษที่นบี(ซ.ล.)กล่าวว่า“จะมีเคาะลีฟะฮ์สิบสองคนภายหลังจากฉัน และอิสลามจะได้รับการเทิดเกียรติโดยพวกเขา”
อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณและละเว้นจากกิเลศทุกประการ ทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลัง ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบ จากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรง ถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาล วิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติ และไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)โดยลำพัง จนถึงตรงนี้เราสามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญาว่า จะต้องมีอิมาม(ผู้นำ)ผู้รู้แจ้งเห็นจริง สืบทอดต่อจากท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกยุคสมัย เพื่อชี้นำประชาชาติและธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนา ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิม
ทว่าการพิสูจน์ตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)ถือเป็นหัวข้อสำคัญในหลักอิมามัตเชิงเจาะจงบุคคล ซึ่งไม่อาจจะพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางสติปัญญา เพราะสติปัญญาพิสูจน์ได้เฉพาะความจำเป็นต้องมีผู้นำทุกยุคสมัย[1] แต่หากต้องการพิสูจน์ว่า ท่านอิมามอลี(อ.)คือผู้นำและเคาะลีฟะฮ์ภายหลังนบี(ซ.ล.) จะต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางกุรอานและฮะดีษ ตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
เราจะขอหยิบยกหลักฐานที่อ้างอิงกุรอานและฮะดีษ เพื่อพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(ซ.ล.)ดังต่อไปนี้
ก. หลักฐานจากกุรอาน:
มีโองการกุรอานมากมายที่พิสูจน์ถึงตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) อย่างไรก็ดี นัยยะของโองการเหล่านี้[2]ต้องได้รับการพิจารณาควบคู่กับฮะดีษที่อธิบายเหตุที่ประทานโองการเหล่านี้ลงมา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นฮะดีษที่มีสายรายงานน่าเชื่อถือสำหรับทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ดังจะนำเสนอบางโองการดังต่อไปนี้[3]
1. โองการตับลี้ฆ: “โอ้ศาสนทูตเอ๋ย จงเผยแผ่สิ่งที่ประทานมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า หากแม้นเจ้าไม่เผยแผ่ ประหนึ่งว่าเจ้ามิได้ปฏิบัติภารกิจใดของพระองค์เลย พระองค์จะทรงปกปักษ์เจ้าจากผู้คน และพระองค์จะไม่ทรงนำทางฝูงชนผู้ปฏิเสธ”[4]
พระองค์ทรงกำชับอย่างหนักแน่นให้ท่านนบี(ซ.ล.)เผยแผ่สาส์นของพระองค์ให้จงได้ และจากรายงานทางประวัติศาสตร์ หลังจากโองการนี้ประทานลงมา ท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นผู้สืบทอดภายหลังจากท่าน ด้วยวาทะประวัติศาสตร์ที่ว่า “ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้นำของเขา อลีก็เป็นผู้นำของเขาเช่นกัน”[5]
2. โองการวิลายะฮ์: “ผู้นำของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และร่อซูล(ซ.ล.) และผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และจ่ายทานขณะโค้งรุกู้อ์” [6]
นักฮะดีษและนักอรรถาธิบายกุรอานหลายท่านเชื่อว่าโองการดังกล่าวประทานลงมาในเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับท่านอลี(อ.)[7]
สุยูฏี ปราชญ์ฝ่ายซุนหนี่ที่มีชื่อเสียง กล่าวไว้ในหนังสือ อัดดุรรุ้ลมันษู้ร โดยรายงานจากอิบนิ อับบาสว่า “ขณะที่อลี(อ.)อยู่ในท่าโค้งรุกู้อ์นมาซ มีผู้ขัดสนคนหนึ่งเดินเข้ามาเพื่อขอบริจาค ท่านได้มอบแหวนให้ขณะนมาซ เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ถามผู้ขัดสนว่า ใครให้แหวนวงนี้แก่เธอ? เขาชี้ไปที่อลี(อ.)พร้อมกับกล่าวว่า ชายคนที่กำลังโค้งรุกู้อ์นั่นขอรับ” หลังจากนั้น โองการดังกล่าวก็ประทานลงมา[8]
นอกจากนี้ ผู้รู้สายซุนหนี่ท่านอื่นๆ อาทิเช่น วาฮิดี[9] และซะมัคชะรี[10] ก็ได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับยืนยันว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับท่านอลี(อ.)
ฟัครุร รอซี รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน สะลามว่า“เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ฉันกล่าวกับท่านนบี(ซ.ล.)ว่า กระผมเห็นกับตาว่าอลี(อ.)ได้บริจาคแหวนแก่ยาจกในขณะกำลังโค้งรุกู้อ์ และด้วยเนื้อหาของโองการนี้ เราจึงยอมรับภาวะผู้นำของเขา!” นอกจากนี้ ฟัครุร รอซี ยังรายงานฮะดีษจากท่านอบูซัรเกี่ยวกับโองการนี้ไว้เช่นกัน.[11]
ฏอบะรีก็ได้รายงานฮะดีษที่เกี่ยวกับโองการนี้ไว้หลายบทด้วยกัน ซึ่งฮะดีษส่วนใหญ่ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า “โองการนี้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอลี(อ.)”[12]
อัลลามะฮ์ อะมีนี ได้นำเสนอฮะดีษที่ยืนยันว่าโองการดังกล่าวประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)โดยอ้างอิงจากตำราฮะดีษที่มีชื่อเสียงของฝ่ายซุนหนี่กว่ายี่สิบเล่ม โดยระบุรายละเอียดที่มาของแต่ละฮะดีษ[13]
อนึ่ง เนื้อหาของโองการนี้ระบุชัดเจนว่าภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)นั้น สืบทอดมาจากภาวะผู้นำของอัลลอฮ์และท่านนบี(ซ.ล.)
3. โองการอุลิ้ลอัมร์: “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงภักดีต่ออัลลอฮ์ และจงภักดีต่อร่อซู้ล และอุลิ้ลอัมร์(ผู้นำ)ในหมู่สูเจ้า”[14]
นักวิชาการหลายท่าน[15]ให้ความเห็นว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับท่านอลี(อ.)
อาทิเช่น ฮากิม ฮัสกานี (นักตัฟซี้ร(อรรถาธิบายกุรอาน)ฝ่ายซุนหนี่ที่มีชื่อเสียง) ได้รายงานฮะดีษห้าบทเกี่ยวกับโองการนี้ โดยทั้งหมดได้ระบุว่า อุลิ้ลอัมร์ ในที่นี้ก็คือ ท่านอลี(อ.)[16]
ส่วนตัฟซี้ร อัลบะห์รุ้ลมุฮี้ฏ ประพันธ์โดย อบู ฮัยยาน อันดาลูซี มัฆริบี ได้แจกแจงความเห็นต่างๆเกี่ยวกับคำว่าอุลิ้ลอัมร์ โดยได้นำเสนอความเห็นของมุกอติล มัยมูน และกัลบี (นักตัฟซี้ร) ที่ระบุไว้ว่าอุลิ้ลอัมร์หมายถึงบรรดาอิมามจากเชื้อสายนบี(ซ.ล.)[17]
อบูบักร์ บิน มุอ์มิน ชีรอซี (ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่)ได้กล่าวไว้ในข้อเขียน“อัลเอี้ยะติก้อด”โดยรายงานจากอิบนิ อับบาสว่า โองการข้างต้นประทานลงมาในกรณีของท่านอลี(อ.)[18]
เกร็ดความรู้ในจุดนี้ก็คือ โองการดังกล่าวมีเนื้อหาที่ประสานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมิได้กล่าวคำว่า “จงภักดี...”