การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9866
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11624 รหัสสำเนา 21050
คำถามอย่างย่อ
การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
คำถาม
เราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการดำรงชีวิต และใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ,การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่า เราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือ เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ "وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ หมายถึงอะไร? อิบาดะฮฺ คือการแสดงตนเป็นบ่าวต่ออัลลอฮฺ หมายถึงภารกิจเหล่านี้เองที่เราได้กระทำอยู่ทุกวัน หรือแม้แต่ภารกิจขั้นธรรมดาที่สุดที่ได้กระทำทุกวัน เช่น การกิน การดื่ม สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นอิบาดะฮฺเพื่อพระเจ้าได้. การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺหมายถึง การที่มนุษย์ได้กระทำภารกิจบางอย่าง ซึ่งงานเหล่านี้เองหรืองานประจำวันที่ได้กระทำโดยตั้งเจตนา หรือกระทำลงไปตามเงื่อนไขทางศาสนา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ถ้าหากศึกษาอัลกุรอาน และถามอัลกุรอานว่า เราถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือ..

 "وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด เว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ[1] อิบาดะฮฺคืออะไร? บางครั้งกาลเวลาของเราในมุมมองหนึ่งมีความจำกัดสำหรับการมองคำว่า อิบาดะฮฺ และคิดว่า อิบาดะฮฺ เองก็มีความจำกัดด้วยเหมือนกัน และมีแนวทางเฉพาะสำหรับตน, เช่น นมาซ, ศีลอด, ฮัจญฺ, และ ...แน่นอน สิ่งที่กล่าวมาคือ อิบาดะฮฺแท้จริง, แต่คำถามมีอยู่ว่า แล้วมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสิ่งเหล่านี้เท่านั้นหรือ และเฉพาะแนวทางนี้เท่านั้น? บางที่อาจคิดว่าการมีชีวิตอย่างนี้ ช่างเป็นชีวิตที่มีความจำกัดสิ้นดีและคับแคบด้วย แต่ถ้าหากเราอธิบายความหมายของคำว่าอิบาดะฮฺได้อย่างถูกต้อง และสร้างความเข้าใจกับคำๆ นี้ให้มากยิ่งขึ้น เราก็จะเห็นว่า อิบาดะฮฺ หมายถึงการแสดงความเคารพภักดีต่อพรเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีกับพระองค์ ซึ่งซ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ใน หนังสือปรัชญาของท่านนามว่าอัสฟารว่า อิบาดะฮฺ ของแต่ละคนขึ้นอยู่ขนาดของการรู้จักและความเข้าใจของเขา ที่มีต่ออัลลอฮฺ, หมายถึงระหว่างการอิบาดะฮฺของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้า, คือการสร้างสายสัมพันธ์โดยตรงกับพระองค์ ดังนั้น เมื่อมนุษย์เข้าใจและรู้จักอัลลอฮฺมากเท่าไหร่ การอิบาดะฮฺของเขาก็จะลุ่มลึกยิ่งกว่า และกว้างมากกว่าไปถึงขั้นที่ว่า อิสลามต้องการเขา, อิสลามต้องการอะไรจากเราหรือ? อิสลามต้องการชีวิตที่แห้งแล้งปราศจากจิตวิญญาณจากเรากระนั้นหรือ? เรานมาซเพียงอย่างเดียว, ถือศีลอด, หรือกล่าวซิกรุลลอฮฺ, และขอดุอาอฺเท่านั้น, อิสลามต้องการเฉพาะสิ่งเหล่านี้จากเราเท่านั้นหรือ? และไม่ต้องการภารกิจหรือการกระทำอื่นใดจากเราอีกกระนั้นหรือ?

แน่นอน มิใช่อย่างที่กล่าวมาอย่างแน่นอน, ถามว่าวิถีชีวิตของมะอฺซูม (.) มีเพียงเท่านี้หรือ? ท่านอิมามอะลี (.) บุตรของอบูฏอลิบ ได้อ่านดุอาอฺตั้งแต่เช้าจรดเย็นกระนั้นหรือ? หรือว่าท่านนมาซเพียงอย่างเดียว? หรือเฉพาะกล่าวซิกรุลลอฮฺเท่านั้น? กระทำเฉพาะเพียงเท่านี้ มิได้กระทำอย่างอื่นอีกใช่ไหม? แน่นอน มันมิได้เป็นเพียงเท่านี้. ท่านอิมามอะลี (.) บุตรของอบูฏอลิบ คือบุรุษ์แห่งการเมอง, บุรุษแห่งสงคราม, บุรุษแห่งความรู้, บุรุษแห่งงาน , บุคคลที่ได้กระทำงานถึงขนาดนั้น ท่านขุดบ่อน้ำเอง, ซ่อมทางน้ำ ดูแลทางเดิน นำน้ำไปแจกจ่าย, ท่านมิได้นั่งซิกรุลลอฮฺเพียงอย่างเดียว,ดังนั้น แล้วอิบาดะฮฺของอะลีอยู่ตรงไหนหรือ? อิบาดะฮฺของอะลี (.) เฉพาะช่วงเวลาที่ท่านอ่านดุอาอฺโกเมลเท่านั้นหรือ? อิบาดะฮฺอะลี (.) เฉพาะช่วงเวลา เช่น ขณะนมาซเท่านั้นหรือ? นมาซซึ่งท่านได้มุ่งมั่นเฉพาะอัลลอฮฺ (ซบ.) ถึงขนาดที่ว่าสามารถดึงลูกธนูที่ปักอยู่ที่ขาของท่านออกโดยไม่รู้ตัว. มิใช่เช่นนั้นหรอก ทว่าอะลี (.) แม้กระทั่งช่วงเวลาขุดบ่อน้ำ ท่านก็อิบาดะฮฺ. ขณะกำลังทำสงครามท่านก็อิบาดะฮฺ, ดังคำกล่าวของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ที่ว่า :

"لضربة علیّ یوم الخندق افضل من عبادة الثقلین".

การฟันของอะลีในวันคอนดักนั้น ประเสริฐยิ่งกว่าการอิบาดะฮฺอันหนักอึ้งทั้งสอง[2] การตีความดังกล่าวนี้ มิได้หมายความว่าการฟันของท่านอิมามอะลี บุตรของอบูฏอลิบในวันนั้น จะยิ่งใหญ่และสูงส่งกว่าการอิบาดะฮฺของมนุษย์และญิน ทว่าตัวท่านคืออิบาดะฮฺ, หมายถึงการดำรงชีวิตทั้งหมดของมนุษย์คือ อิบาดะฮฺ, ด้วยเหตุนี้, ถ้าเรากลับไปสู่คำถามเก่าอีกครั้งหนึ่งที่ว่า การมีชีวิตเยี่ยงอัลลอฮฺหมายถึงอะไร? คำตอบก็คือ ภารกิจการงานต่างๆ ที่เราได้กระทำในแต่ละวัน แม้กระทั่งงานในระดับธรรมดาที่สุด เช่น การกิน การดื่ม, สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นอิบาดะฮฺได้, อาจมีคนถามว่าเป็นไปได้อย่างไร?

คำตอบ ก็คือช่วงเวลาที่เราต้องการจะกิน, เราได้ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์และระเบียบของการกิน, หมายถึงเรากินทุกสิ่งทุกอย่างได้หรือ, แน่นอน ทรัพย์ที่ฮะรอมเราไม่สามารถรับประทานได้. อาหารบางประเภทที่อิสลามได้ห้ามรับประทาน เราก็ไม่อาจรับประทานสิ่งเหล่านั้นได้, และถ้าเราได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น เราได้พยายามรับประทานเฉพาะทรัพย์สินที่ฮะลาล อาหารที่เรารับประทานเราได้เนียต (ตั้งเจตนา) ว่า เพื่อเราจะได้มีพลัง และจะได้สามารถปฏิบัติงานได้ และงานที่เราได้กระทำลงไปนั้น เพื่อต้องการให้ปมเงื่อนของงานได้เปิดออกเพื่อประชาชนคนอื่น เพื่อว่าเราจะได้สามารถช่วยเหลือพี่น้องของเรา พี่สาวน้องสาว บุตรหลาน ภรรยา เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงานของเราได้ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยกระดับจิตวิญญาณให้สูงส่ง, เราได้ทำงานเพื่อหวังว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่หนึ่ง, ดังนั้น การรับประทานโดยมีจุดมุ่งหมายอย่างนี้จึงถือว่าเป็น อิบาดะฮฺ, และการนอนหลับของเราก็จะเป็นอิบาดะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ชีวิตของเราจะมีอีกความหมายหนึ่ง, มีเรื่องเล่าหนึ่งกล่าวว่า ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ) อยู่ในมัสญิด ท่านได้กล่าวว่า ถ้าหากพวกเธอต้องการเห็นชาวสวรรค์จงดูเถิดว่า บุคคลแรกที่ก้าวเท้าเข้ามาในมัสญิด, เขาคือชาวสวรรค์ ขณะนั้นมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งต้องการอยากจะทราบอย่างยิ่งว่า ชาวสวรรค์มีคุณสมบัติอย่างไร? และแล้วเขาได้เห็นชายชราคนหนึ่งเดินเข้ามาในมัสญิด เขาได้พยายามพิจารณาลักษณะท่าทางของชายชราคนนั้น ก็เห็นว่าชายชราคนนั้นมิได้กระทำสิ่งใดเป็นพิเศษ, เขาจึงพูดว่า ชายคนนี้คงต้องทำอะไรเป็นพิเศษในบ้านของเขาอย่างแน่นอน เขาจึงได้เป็นชาวสวรรค์, เด็กหนุ่มคนนั้นได้เดินสะกดรอยตามชายชราคนนั้นออกไปจนกระทั่งไปถึงบ้านเขา, ชายชราได้เข้าบ้าน, ชายหนุ่มจึงคิดว่าเขาไม่สามารถมองเห็นพฤติกรรมของชายชราภายในบ้านได้, จึงได้ตัดสินใจเคาะประตู, แล้วกล่าวว่าฉันเป็นผู้เดินทาง คืนนี้ฉันขอค้างแรมที่บ้านของท่าน, ชายชราคนนั้นกล่าวว่า เชิญตามสบาย, ชายหนุ่มยังเฝ้าคอยดูพฤติกรรมของชายชราด้วยความระมัดระวัง แต่เขาก็ยังไม่เห็นการกระทำพิเศษอันใดจากชายคนนั้น, ชายหนุ่มจึงคิดว่า สิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้ตีความนั้น เขาต้องกระทำอะไรบางอย่างแน่นอน, เมื่อถึงเวลานอนเขาก็คิดว่า ชายคนนั้นคงกระทำอิบาดะฮฺในช่วงดึกอย่างมากมายแน่นอน เขาจึงไม่ได้นอนหลับเพื่อจะได้รอดูว่าชายชราเมื่อตื่นขึ้นมาเขาจะทำอะไรเป็นพิเศษ, เขาก็เห็นว่าชายชราได้นอนหลับและตื่นขึ้นนมาซซุบฮฺตามปกติ, ชายหนุ่มได้หาข้ออ้างมาอ้างเพื่อจะได้เฝ้าดูพฤติกรรมของชายชราต่อไปอีกสักสองสามวัน, สุดท้ายเขาก็ได้เข้าไปหาชายชราคนนั้นและกล่าวเล่าเรื่องให้ฟังว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้กล่าวถึงท่านว่าเช่นนี้ ฉันจึงตามท่านมาเพื่อสังเกตดูว่าท่านได้ทำอะไรจึงได้เป็นชาวสวรรค์ แต่ฉันก็มิได้เห็นภารกิจอันใดเป็นการเฉพาะจากท่านเลย ดังนั้น ท่านได้ทำสิ่งใดหรือ?

ชายชรากล่าวว่า : ฉันเองก็ไม่รู้ตัวเองว่าเป็นชาวสวรรค์หรือเปล่า, แต่ฉันก็ไม่เคยทำสิ่งใดเป็นพิเศษดอก. เพียงแต่ว่าทุกสิ่งที่ฉันได้กระทำฉันได้ทำไปเพื่ออัลลอฮฺ สิ่งที่ฉันกระทำลงไป ฉันพยายามที่จะไม่ทำสิ่งที่ขัดแย้งคำสอนเท่านั้นเอง

และมีเพียงเท่านี้หรือ, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า ท่านเป็นชาวสวรรค์, มันมีเพียงเท่านี้หรือ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺนั้นหมายถึง ทุกสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำลงไป หรือภารกิจประจำที่ได้กระทำอยู่ทุกวัน ถ้าหากได้ตั้งเจตนาอย่างถูกต้อง ได้กระทำลงไปโดยพึงระวังรักษากฎเกณฑ์ของศาสนา เวลานั้น เขาจะเห็นว่าสีสันและกลิ่นของชีวิตได้เปลี่ยนไป ซึ่งจะพบว่าผลกระทบของชีวิตได้เปลี่ยนไปด้วย, คำพูดที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำที่ว่า จงทำให้ชีวิตของท่านมีบะเราะกัตเถิด นั่นหมายถึงว่า เราได้ดำเนินชีวิตไปตามคำกล่าวที่ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ได้กล่าวเสมอว่า พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติตามฮะดีซที่กล่าวว่า ..

  "مَنْ أَخْلَصَ لِلَّهِ أَرْبَعِینَ یَوْماً فَجَّرَ اللَّهُ یَنَابِیعَ الْحِکْمَةِ مِنْ قَلْبِهِ عَلَى لِسَانِهِ"[3]

จงปฏิบัติการงานเถิด ภายใน 40 วัน จงทำงานเพื่ออัลลอฮฺสักอย่างหนึ่ง, ถ้าหากว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น พวกเธอจงสาปแช่งฉัน[4]หมายถึงวาฉันมีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่า พวกเธอคงกระทำเช่นนั้นจริง ด้วยเหตุนี้ เราก็สามารถทดลองดูได้ เพื่อว่าชีวิตของเราจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี อินชาอัลลอฮฺ



[1] อัลกุรอาน บทซารียาต, 59.

[2] ซัยยิด บิน ฏอวูส, อิกบาลลุลอะอฺมาล, หน้า 467, ดารุลกุตุบ อิสลามียะฮฺ, เตหะราน, 1367

[3] บุคคลใดก็ตามได้ปฏิบัติงาน 40 วันด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺทรงเปิดประตูแห่งวิทยปัญญาจากใจของเขา ให้ถ่ายทอดมาทางลิ้นมัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 67, หน้า 249, สถาบัน อัลวะฟาอ์ เบรูต- เลบานอน ปี .. 1404

[4] การตีความของอายะตุลลอฮฺ อามีนนีซึ่งได้เล่ามาจากคำพูดของอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอียฺ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7524 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    6388 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
    9788 تاريخ بزرگان 2555/09/29
    อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ ท่านเคฎ ไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวในฐานะของ "عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً" “แล้วทั้งสองได้พบบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้จากเราให้แก่เขา”[i] โองการสาธยายถึงฐานะภาพความเป็นบ่าว และความรู้อันเฉพาะของเขา,และอยู่ในฐานะของครูของมูซา บิน อิมรอน ซึ่งรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำถึงชายผู้มีความรู้นี้คือ เคฎ นั่นเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้มีความรู้ และได้รับความโปรดโปรานอันเฉพาะจากพระผู้อภิบาล นอกจากนั้นท่านยังล่วงรู้ในระบบกฎเกณฑ์การสร้างสรรค์โลก ความเร้นลับบางประการ และในด้านหนึ่งเป็นครูของศาสดามูซา บิน อิมรอน แม้ว่ามูซาจะมีความรู้เหนือพวกเขาอยู่หลายด้านก็ตาม บางส่วนของรายงาน และคำอรรถาธิบายโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าเขามีฐานะเป็นนะบี และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกส่งมา ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเพื่อประชาชาติของเขา เพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว การเป็นศาสดา ...
  • การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
    9865 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือเรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ"وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    9122 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    7162 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7716 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
    21726 อัล-กุรอาน 2553/10/21
    วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัสหรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    7288 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7732 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60530 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58115 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42651 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40018 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39267 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34389 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28452 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28376 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28296 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26233 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...