Please Wait
6828
หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบี ก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาต อัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุข ท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผอง และแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียว อัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครอง ท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซน บิน อลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”
อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูม อะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี ในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้าย และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วย
ทัศนะของอิบนิ อะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่ง ดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซัน อัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี 255 ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”
นอกจากนี้ อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรม และเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์.
ชื่อจริงของมุฮ์ยิดดีน อะเราะบี ก็คือ มุฮัมมัด บิน อลี บิน อะฮ์มัด บิน อับดุลลอฮ์ ฮาตัม ฏออี ซึ่งมีสมญานามว่า มุฮ์ยิดดีน. เป็นนักวิชาการมุสลิมที่มีผลงานมากมาย และมีความโดดเด่นที่สุดในแวดวงอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) ผลงานส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิรฟาน ภวังค์ และประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ นอกจากนี้ยังมีผลงานเกี่ยวกับวิชาฮะดีษ, ตัฟซีร, จริยวัตร, ฟิกเกาะฮ์, เคมี, วิชาญัฟร์, ดาราศาสตร์, บัญชี, ไวยากรณ์อรับ ซึ่งจนถึงปัจจุบันค้นพบแล้วกว่า 500 ผลงาน[1]
ด้วยความเชี่ยวชาญในสหวิทยาการนี้เอง ทำให้เขาได้รับการยกย่องและเป็นที่สนอกสนใจของเหล่านักวิชาการศาสนาทุกยุคสมัย
ชะฮีด อายะตุลลอฮ์ กอฎี บันทึกไว้ในเชิงอรรถของหนังสือ“อะนีสุ้ล มุวะฮิดีน”ว่า อุละมาทั้งในสายชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเห็นเกี่ยวกับอิบนิอะเราะบีสามประเภทด้วยกัน กลุ่มหนึ่งอย่างเช่น อัลลามะฮ์ ตัฟตาซานีได้ฟันธงว่าเขาตกศาสนาไปแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเขาเป็นวลีระดับสูงของอัลลอฮ์ และยกย่องให้เป็นอาริฟผู้สมบูรณ์ และเป็นนักวินิจฉัยศาสนาชั้นแนวหน้า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าเขาเป็นวลีของอัลลอฮ์ก็จริง แต่ได้สั่งห้ามไม่ให้อ่านตำราที่เขาประพันธ์ขึ้น”[2]
อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี ได้ให้ทัศนะไว้ว่า“นับตั้งแต่อิบนิอะเราะบีเริ่มมีชื่อเสียง ผู้เชี่ยวชาญด้านสาขามัซฮับก็มักจะตัดสินเกี่ยวกับแนวคิดของเขาด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน บ้างก็ยกย่องเขาให้เป็นผู้ปราศจากความผิดพลาด บ้างก็ก่นด่าประณามเขาว่าเป็นกาฟิร[3]
ชะฮีด มุเฏาะฮะรี กล่าวว่า“มุฮ์ยิดดีน อะเราะบี เป็นชาวอันดาลูเซีย(สเปนยุคมุสลิม) และชาวอันดาลูเซียในยุคนั้นไม่ไช่ซุนหนี่ธรรมดา แต่มีความอาฆาตพยาบาทต่อชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าอุละมาอ์ซุนหนี่ที่อาฆาตมาดร้ายชีอะฮ์ส่วนใหญ่เป็นชาวอันดาลูเซีย เป็นไปได้ว่าในดินแดนนี้คงจะไม่มีชีอะฮ์อาศัยอยู่เลย หรืออาจจะมีจำนวนน้อย อิบนิอะเราะบีถือกำเนิดและใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ แต่ด้วยความนิยมในแนวทางอิรฟานและตะเซาวุฟ จึงทำให้เขาเชื่อมั่นว่า โลกนี้จะไม่มีวันปราศจากวะลีผู้เป็นข้อพิสูจน์ของอัลลอฮ์เด็ดขาด ซึ่งก็ตรงกับความเชื่อของชีอะฮ์ นอกจากนี้เขายังลำดับรายชื่อบรรดาอิมามและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ส.) จนถึงท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยเขาอ้างว่าได้มีโอกาสพบกับท่านในราวๆปีฮ.ศ.ที่หกร้อย [4]
อัลลามะฮ์ ฮะซันซอเดะฮ์ ออโมลี กล่าวว่า“อิบนิอะเราะบีเขียนไว้ในหนังสือ อัดดุรรุ้ลมักนูน วัสสิรรุ้ล มักตูม ว่าภายหลังท่านนบี(ซ.ล.) เนื้อหาเชิงลึกของกุรอานสถิต ณ ท่านอลี(อ.) หลังจากนั้นเขาได้ลำดับรายชื่ออิมามทีละท่านจนกระทั่งถึงท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)[5]
นอกจากนี้ อิบนิอะเราะบียังพรรณาถึงคุณสมบัติของวะลียุลลอฮ์ท่านสุดท้ายไว้ในหนังสือ“อุนะกออุ มัฆริบ ฟีค็อตมิล เอาลิยาอิ วะชัมซิ้ล มัฆริบ” ซึ่งหากพิจารณาแล้ว ก็คงไม่พบผู้ใดมีคุณสมบัติเหล่านี้นอกจากอิมามมะฮ์ดี(อ.) ผู้เป็นอิมามท่านที่สิบสองของชีอะฮ์ เขายังได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวว่า“ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าอิมามมะฮ์ดีสืบเชื้อสายจากท่านนบี(ซ.ล.)”[6]
อิบนิอะเราะบียังกล่าวไว้ในบทที่ 366 (ว่าด้วยกัลญาณมิตรและเหล่ามุขมนตรีของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนที่ขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุข ท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผอง และแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียว อัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะได้ขึ้นปกครอง ท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซน บิน อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”
อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูม อะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี ในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้าย และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วย[7]
ทัศนะของอิบนิ อะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่ง ดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซัน อัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี 255 ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”[8]
นอกจากนี้ อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรม และเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์.[9]
อย่างไรก็ดี ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์มักจะอ้างอิงผลงานของอิบนิอะเราะบีในข้อเขียนของตนบ่อยครั้ง อาทิเช่น อัลลามะฮ์ อะมีนี ได้นำเสนอฮะดีษของท่านนบีที่ว่า“ฉันคือนครแห่งศาสตรา และอลีคือประตูนคร”โดยอ้างจากหนังสือ “อัดดุรรุ้ลมักนูน”ของอิบนิอะเราะบี[10]
[1] ดู: มุฮ์ยิดดีน อิบนุ อะเราะบี,หน้า 572-576.
[2] อะนีซุ้ลมุวะฮิดีน,อ.มะฮ์ดี นะรอกี,หน้า 170.
[3] สุรเสียงแห่งเตาฮี้ด,อ.ญะวาดี ออโมลี,หน้า 83,84.
[4] รวมผลงานชะฮีดมุเฏาะฮะรี,เล่ม 4,หน้า 944.
[5] สนทนาธรรมกับอ.ฮะซัน ซอเดะฮ์ ออโมลี,มุฮัมมัด บะดีอี,หน้า 202.
[6] ฮิดายะตุ้ลอุมัม,อิบนิอะเราะบี,หน้า 25(บทนำ).
[7] ตัฟซีร ฟาติฮะตุ้ลกิตาบ,บทนำโดยซัยยิดญะลาลุดดีน ออชทิยอนี
[8] ฮิดายะตุ้ลอุมัม,หน้า 25.
[9] ฟุตูฮาต อัลมักกียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 50-66.
[10] อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 6,หน้า 93.