การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7665
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/16
คำถามอย่างย่อ
การลงโทษชาวบนีอิสรออีลข้อหาบูชาลูกวัวเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ความผิดหรือไม่?
คำถาม
: โองการที่ 53 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน แท้จริงพวกท่านได้อยุติธรรมแก่ตัวของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านได้ยึดถึอลูกวัวตัวนั้น (เป็นที่เคารพสักการะ) ดังนั้นจงกลับสู่พระผู้บังเกิดของพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าพวกท่านกันเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน ณ พระผู้บังเกิดของพวกท่าน ภายหลังพระองค์ก็ได้ทรงอภัยโทษแก่พวกท่าน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” ควรคำนึงให้ดีว่าการเข่นฆ่ากันเองถือเป็นการชดเชยความเขลาที่โองการนี้ระบุว่าเป็นการชดเชยที่ดีที่สุดกระนั้นหรือ? ดังที่อัลลอฮ์ได้ขอให้บนีอิสรออีลได้กระทำเช่นนี้
คำตอบโดยสังเขป

นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ “1. สิ่งนี้เป็นบททดสอบ และเมื่อพวกเขาได้เตาบะฮ์และสำนึกผิดแล้ว สิ่งนี้ก็ได้ถูกยกเลิก 2. ความหมายของการฆ่าในที่นี้คือการตัดกิเลศและแรงยั่วยุของชัยตอน 3. ความหมายของการฆ่าในโองการนี้ คือการฆ่าจริง ๆ กล่าวคือจะต้องฆ่ากันเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือทั้งหมดของประเด็นต่อไปนี้ก็เป็นได้: ก. ชำระจิตใจชาวบนีอิสรออีลให้ผ่องแผ้วจากการตั้งภาคี ข. ยับยั้งไม่ให้บาปใหญ่หลวงเช่นนี้อีก ค. ต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการหันเหจากหลักเตาฮีด และการหันไปสู่การกราบไหว้เจว็ด อย่างใดก็ตาม การรับการลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดก็ถือว่าคุ้มค่าหากแลกกับการหลุดพ้นจากไฟนรก

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน แท้จริงพวกท่านได้อยุติธรรมแก่ตัวของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านได้ยึดถึอลูกวัวตัวนั้น (เป็นที่เคารพสักการะ) ดังนั้นจงกลับสู่พระผู้บังเกิดของพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าตัวของพวกของท่านเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน ณ พระผู้บังเกิดของพวกท่าน ภายหลังพระองค์ก็ได้ทรงอภัยโทษแก่พวกท่าน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” [1]

  1. นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ ประกาศิตในโองการนี้ถือเป็นบททดสอบอย่างหนึ่ง เฉกเช่นพระบัญชาที่มีแก่นบีอิบรอฮีม (อ.) ที่ระบุให้เชือดพลีนบีอิสมาอีล (อ.) ซึ่งก่อนที่นบีอิสมาอีล (อ.) จะถูกฆ่าได้มีโองการประทานมาว่า “แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตาม(ที่เห็นใน)ฝันแล้ว”[2] ในกรณีของนบีมูซา (อ.) อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็ได้กล่าวไว้ว่า “จงหวลคืนสู่พระผู้บังเกิดของพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าตัวของพวกท่านเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน” แต่ก่อนที่พระบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ พระองค์ได้ถือว่าการฆ่าบางส่วนถือเป็นการฆ่าทั้งหมดแล้ว และได้ตอบรับเตาบะฮ์ของพวกเขา[3]
  2. การฆ่าในโองการดังกล่าวหมายถึงการตัดกิเลศและการยั่วยุของชัยตอน โองการนี้ต้องการจะสื่อให้เห็นว่า จงตัดกิเลศของตนและยับยั้งการยั่วยุของชัยตอน และจงยอมรับความเป็นเอกะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์[4]
  3. การฆ่าในโองการนี้หมายถึงการฆ่าในรูบแบบที่แท้จริง กล่าวคือจงปลิดชีพกันและกัน[5] เนื่องจากการถูกฆ่าในโลกนี้ดีกว่าสำหรับสูเจ้า

กลุ่มที่เชื่อว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ต้องการสื่อถึงการฆ่าในรูปแบบที่แท้จริงนั้น ได้กล่าวถึงปราชญาของพระบัญชาดังกล่าวไว้บางประการซึ่งเราจะขอหยิบยกมา ณ ที่นี้บางประการ

  1. การฆ่านี้จะเป็นการชำระล้างบนีอิสรออีลจากการตั้งภาคีและชีริก และจะทำให้พวกเขาเข้าสู่ชีวิตที่นิรันดร์ และความผาสุกอย่างแท้จริง[6]
  2. การเข่นฆ่ามนุษย์ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดและเป็นฮะรอม แต่บางครั้งเมื่อคำนึงถึงความจำเป็น ถือเป็นการดีและจะกลายเป็นสิ่งที่เป็นวาญิบ ซึ่งความจำเป็นบางประการของสังคมและศาสนาสามารถเปลี่ยนกฏเกณฑ์ดังกล่าวได้ กรณีของบนีอิสรออีลก็เช่นกัน เนื่องจากการฆ่ากันเองในหมู่พวกเขาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หลาบจำไม่กระทำบาปอันใหญ่หลวงนี้อีก จึงทำให้กลายเป็นสิ่งที่เหมาะควรแก่เหตุ[7]
  3. การสักการะบูชารูปปั้นลูกวัวของซามิรีไม่ใช่เรื่องที่ผ่อนปรนได้  เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้เห็นอภินิหารของอัลลอฮ์ที่สำแดงโดยศาสดามูซา(อ.)กับตาของตนเอง แต่กลับลืมเรื่องราวเหล่านี้ โดยเมื่อศาสนทูตของพวกเขาได้ปลีกตัวไปในระยะเวลาสั้น ๆ พวกเขาละทิ้งหลักการแห่งเตาฮีดและศาสนาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กลายเป็นผู้ที่บูชาเจว็ด  หากประเด็นนี้ไม่ถูกถอนรากถอนโคนจากความคิดของพวกเขาแล้ว ภัยอันตรายต่างๆก็จะบังเกิดขึ้น  บุคคลเหล่านี้จะฉวยโอกาสทำลายล้างศาสนาและคำภีร์ของท่านนบีมูซาโดยเฉพาะหลังจากที่ท่านเสียชีวิต ศาสนาของท่านจะตกอยู่ในอันตรายในไม่ช้า  ฉะนั้น ในที่นี้จึงต้องใช้ความรุนแรง โดยไม่ควรโอนอ่อนผ่อนตามคำขออภัยโทษเพียงลมปาก ด้วยเหตุนี้เองที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงสั่งให้มีการลงโทษอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ของเหล่าศาสนทูต คำบัญชาดังกล่าวก็คือการสั่งให้กลับตัวกลับใจสู่เตาฮีด พร้อมทั้งสั่งให้มีการประหารผู้กระทำผิดจำนวนมากด้วยวิธีเฉพาะ (สังหารกันเอง)

ความรุนแรงของการลงโทษดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากการหันเหออกจากหลักความเชื่อของเตาฮีดแห่งพระองค์ และหันมาบูชาเจว็ด ซึ่งมิใช่เรื่องธรรมดาที่จะผ่อนปรนกันง่ายๆโดยเฉพาะหลังจากที่พวกเขาได้เห็นมุอฺญิซาตที่กระจ่างชัดและความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.)แล้ว  แท้ที่จริงหลักการทั้งหมดของทุกๆศาสนาแห่งฟากฟ้านั้นสามารถสรุปในหลักการของความเชื่อในเรื่องความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า(เตาฮีด)ได้  หากหลักการแห่งเตาฮีดนี้สั่นคลอน ก็เท่ากับว่าหลักการอื่นๆของศาสนาจะพลอยเสียหายไปด้วยเช่นกัน  หากการบูชาลูกวัวถือเป็นเรื่องหลัก ประเด็นนี้อาจจะกลายเป็นจารีตประเพณีสำหรับคนรุ่นหลังก็ได้  โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นแล้วว่าประชาชาติอิสรออีลเป็นกลุ่มชนที่มีความดื้อรั้นเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นควรที่จะลงโทษด้วยบทลงโทษที่จะทำให้ตราตรึงในสำนึกของผู้คนทุกยุคสมัย เพื่อมิให้ผู้ใดริอ่านบูชาเจว็ด   โองการที่ว่า
  ذلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ عِنْدَ بارِئِكُم (สิ่งนั้น – การฆาตกรรมกันเอง - เป็นสิ่งดีกว่า ณ พระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้า)  อาจบ่งชี้ถึงความหมายดังกล่าว[8]

สุดท้ายนี้ จำเป็นต้องชี้แจงว่า การลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดในโลกดุนยา ไม่อาจจะเทียบได้กับการลงโทษสถานเบาที่สุดในโลกหน้า  ด้วยเหตุนี้ หากผู้ใดสามารถอดทนต่อบทลงโทษในโลกนี้เพื่อนำพาตนเองพ้นจากการลงโทษและความยากลำบากทั้งหลายในโลกนี้เพื่อแลกกับความทรมานและยากลำบากในโลกหน้าแล้ว ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง  และเราเชื่อว่าการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้าในโลกดุนยา ถือเป็นการชดใช้กรรมสำหรับความผิดบาปของบุคคลที่เตาบะฮฺด้วยจิตใจที่มั่นคง

กรุณาพิจารณาฮะดีษที่ว่า

“ มีการจับกุมขโมยกลุ่มหนึ่งและนำตัวมาพบกับท่านอิมามอาลี(อ.) ท่านสั่งให้ตัดมือขโมยเหล่านั้น และหลังจากนั้นพวกเขาก็ได้พาผู้ต้องหาไปยังสถานที่ที่เหมาะสมแห่งหนึ่ง ท่านสั่งให้มีการรักษาบาดแผลจากการถูกตัดมือ และหลังจากนั้นก็ได้เลี้ยงอาหารพวกเขาด้วยอาหารที่เอร็ดอร่อยอย่างเช่นเนื้อ และน้ำผึ้ง โดยได้กล่าวแก่พวกเขาว่า  โอ้บรรดาผู้กระทำผิดทั้งหลาย  ตอนนี้มือทั้งหลายของพวกท่านนั้นได้ล่วงหน้าเข้าไปในนรกแล้ว หากพวกท่านเตาบะฮฺ และพระองค์ก็ทรงรู้ว่าท่านนั้นมีความสัจจริงในการเตาบะฮฺนี้ มือของพวกท่านก็จะถูกนำกลับมาจากไฟนรกและจะเข้าสู่สรวงสวรรค์พร้อมกับพวกท่าน  หากไม่เป็นเช่นนั้น มือที่ถูกตัดเหล่านั้นจะดึงพวกท่านลงไปในขุมนรกพร้อมกับ[9]

เกี่ยวกับผู้ที่ถูกสังหารในหมู่ประชาชาติอิสรออีลนั้น มีความเป็นไปได้อยู่ 2 ประการด้วยกันดังนี้

1.พวกเขาได้สำนึกผิดและเตาบะฮ์ ในกรณีนี้พวกเขาจะได้เข้าสู่สวรรค์อย่างนิรันดร์ ซึ่งการที่เราได้อดทนจากความทุกข์ทรมารเพื่อที่จะไปถึงสิ่งๆนี้นั้น มันมีค่ายิ่งนัก

2.หรือไม่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ในความเชื่อเดิมๆที่ผิดพลาด เมื่อพิจารณาถึงการที่พวกเขาเคยประจักษ์ถึงอภินิหารต่างๆ การลงโทษประหารชีวิตถือว่าน้อยนิด

 


[1] บะเกาะเราะฮ์, 54, :" وَ إِذْ قَالَ مُوسىَ‏ لِقَوْمِهِ يَاقَوْمِ إِنَّكُمْ ظَلَمْتُمْ أَنفُسَكُم بِاتخَِّاذِكُمُ الْعِجْلَ فَتُوبُواْ إِلىَ‏ بَارِئكُمْ فَاقْتُلُواْ أَنفُسَكُمْ ذَالِكُمْ خَيرٌْ لَّكُمْ عِندَ بَارِئكُمْ فَتَابَ عَلَيْكُمْ  إِنَّهُ هُوَ التَّوَّابُ الرَّحِيم‏"

[2] ศอฟฟาต, 105, " يا إِبْراهِيمُ قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيا"

[3] มูซาวี ฮะเมดอนี, ซัยยิดมูฮัมหมัดบากิร, แปลอัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 288, สำนักพิมพ์ อิสลามี ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน เฮาซะฮ์ อิลมียะฮ์ กุม, 1374, พิมพ์ครั้งที่ 5

[4] คาชานี, มุลลาฟัตฮุลลอฮ์, ตัฟซีร มินฮาจุศศอดิกีน ฟี อิลซามุล มุคอลิฟีน, เล่ม 1, หน้า 192, สำนักพิมพ์ร้านหนังสือมุฮัมหมัดฮาซัน อะละมี, เตหะราน, ปีที่พิมพ์ 1336

[5] ตัฟซีร มินฮาจุศศอดิกีน ฟี อิลซามุล มุคอลิฟีน, เล่ม 1, หน้า 192

[6] ตัฟซีร มินฮาจุศศอดิกีน ฟี อิลซามุล มุคอลิฟีน, เล่ม 1, หน้า 192

[7] แปลมัจมะอุลบะยาน ฟีย์ตัฟซีริล กุรอาน, เล่ม 1, หน้า 179, วิจัยโดย ริฏอ เซทูเดฮ์, สำนักพิมพ์ ฟะรอฮอนีย์, เตหะราน, 1360, พิมพ์ครั้งที่

[8] มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซีรเนมูเนฮ์, เล่ม, หน้า256, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหะราน, 1374, พิมพ์ครั้งที่ 1

[9] คุลัยนี, มูฮัมหมัด บินยะอ์กูบ, กาฟี, เล่ม 7, หน้า 266, ฮะดีษที่ 31, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหะราน, 1365 ส.ค.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การสักร่างกายถือว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    5886 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/09
     คำตอบของอายาตุลลอฮ์มะฮ์ดีฮาดาวีเตหะรานี“หากไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอีกทั้งไม่ทำให้ภาพพจน์ของบุคคลดังกล่าวตกต่ำลงถือว่าไม่เป็นไรคำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด ...
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    24498 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10091 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)
  • สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด เป็นจำนวนเท่าไหร่? ทุกวันนี้ค่าเงินดีนารและดิรฮัม, เทียบเท่ากี่ดอลลาร์?
    7560 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ค่าเงินดิรฮัมและดีนาร เป็นค่าเงินสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และอิมามมะอฺซูม (อ.) ซึ่งปัจจุบันภารกิจด้านชัรอียฺและกฎหมายก็ยังใช้อยู่ และปัจจุบันบางภารกิจยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่ ดีนาร, คือเหรียญซึ่งทำจากทองคำ ส่วนดิรฮัมทำด้วยเงิน, ดังนั้น ถ้ารู้น้ำหนักทองหรือเงินที่ใช้ทำเหรียญ ดินาร และดิรฮัม ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงราคาปัจจุบันของเหรียญทั้งสองทันที, ปกติดินารชัรอียฺ ประมาณ 4/42 กรัม แต่ทัศนะของบางคนกล่าวว่า 4/46 กรัม[1] ดังนั้น ถ้าคิดเทียบอัตราค่าทองและเงินในปัจจุบัน ก็สามารถกำหนดราคาทองคำและเงิน โดยคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับภารกิจบางอย่าง ซึ่งอยู่ในฐานะของ สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด จำเป็นต้องจ่ายออกไปเป็นดิรฮัมและดินาร ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกรณีดังนี้ : 1.ถ้าหากผู้ตายเป็นชาย เป็นมุสลิม ...
  • การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
    13129 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/09
    ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน” สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป ...
  • นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
    5356 ปรัชญาของศาสนา 2555/06/11
    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน ...
  • ชาวสวรรค์และชาวนรกมีอายุราวๆกี่ปี?
    15422 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    ความเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามอายุขัยถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้ ทว่าในโลกหน้าโดยเฉพาะในสวรรค์ เราไม่อาจจะมโนภาพว่ามนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในลักษณะที่บางกลุ่มเป็นเด็ก บางกลุ่มอยู่ในวัยกลางคน บางกลุ่มเป็นคนชราได้ แม้สมมุติว่าเราจะเชื่อว่าโลกหน้ายังเป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ความแตกต่างในแง่อายุขัยอย่างที่เราเคยชินในโลกนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในโลกหน้าอย่างแน่นอน มีฮะดีษระบุว่าผู้ที่จะเข้าสรวงสวรรค์จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีรูปลักษณ์อันงดงาม یدخلون الجنة شبابا منورین و قال إن أهل الجنة جرد مرد مکحلون
  • ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
    6236 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า "كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛ “อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ] ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14047 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6280 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...