การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6543
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1283 รหัสสำเนา 16554
คำถามอย่างย่อ
การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
คำถาม
การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่น เพื่อบำบัดกามารมณ์ สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์ เสริมพัฒนาการของมนุษย์ ความร่มเย็น และระงับกิเลสตัณหา ฯลฯ
ในปริทรรศน์ของอิสลาม การสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนา
ในเชิงสังคม การสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้ ความผาสุกของคนรุ่นหลังจึงขึ้นอยู่กับครอบครัวอย่างชัดเจน
พระผู้สร้างได้บันดาลให้เกิดความรักฉันสามีภรรยาและความรักฉันบุพการีและบุตรธิดา ทั้งนี้ก็เพื่อให้กำเนิด ปกปักษ์รักษา และอบรมสั่งสอนชนรุ่นหลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมนุษยธรรมและจิตสำนึกต่อสังคมจะเกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมของบ้าน และความอบอุ่นที่พ่อและแม่มอบให้ลูกตามธรรมชาติจะส่งผลให้จิตวิญญาณของเด็กอ่อนโยน

แต่นักวิชาการคริสเตียนบางคนกลับมีความเชื่อที่ว่า การสมรสจะเป็นบ่อเกิดของความเสื่อมเสียในสังคม ส่วนบางกลุ่มยอมรับการสมรสอย่างไม่มีทางเลือก เนื่องจากต้องการคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์

คำตอบเชิงรายละเอียด

แม้การสมรสจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสุขสมทางเพศ แต่ก็ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิและเป็นอิบาดัตในมุมมองของอิสลาม
หนึ่งในเหตุผลของภาวะดังกล่าวก็คือ การสมรสนับเป็นก้าวแรกของการข้ามผ่านการปรนเปรอตนเองไปสู่การเสียสละให้ผู้อื่น ก่อนสมรสทุกคนเคยชินกับตัวฉันและเพื่อฉันแต่เมื่อสมรสแล้ว ก็ทำให้สามารถฝ่ากรอบความคิดดังกล่าวออกไปได้ โดยการมีผู้อื่นมาเคียงข้างและมีคุณค่าต่อเรา

หากสังเกตุจะพบว่าความเสื่อมทรามของสังคมปัจจุบันนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว นั่นเพราะพ่อแม่ก็ปล่อยปละละเลยบุตรหลาน ลูกๆไม่ให้เกียรติพ่อแม่ ความผูกพันระหว่างสามีภรรยานับวันจะขาดสะบั้นลง
อีกแง่มุมหนึ่ง อิสลามมองว่าการสมรสคือปัจจัยในการดำรงชีวิตอยู่ในศีลธรรม ท่านนบี(..)กล่าวแก่เซด บิน ฮาริษะฮ์ว่าจงสมรสเถิด เพื่อเธอจะดำรงอยู่ในศีลธรรมจรรยา[1] และอีกฮะดีษกล่าวว่าจงหาคู่ครองให้บุตรหลานเถิด เพื่อมารยาทของพวกเขาจะดีขึ้น ปัจจัยยังชีพจะกว้างขวางยิ่งขึ้น และความเป็นชายชาตรีจะเพิ่มมากขึ้น[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่าน(..)กล่าวแก่สตรีนางหนึ่งที่ตั้งใจว่าจะไม่แต่งงานเด็ดขาดว่าการสมรสจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการรักนวลสงวนตัว[3]

การสมรสจะช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจ ดังที่กุรอานกล่าวว่าสัญลักษณ์หนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงสร้างคู่ครองเสมือนสูเจ้าเพื่อบังเกิดความสงบ และทรงบันดาลให้เกิดความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้า[4]
อิสลามถือว่ากามารมณ์เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานแก่มนุษย์เพื่อรองรับสถาบันครอบครัว อันเป็นหลักประกันการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์
เมื่อพิจารณาจากหน้าประวัติศาสตร์จะพบว่า ไม่มีสัญชาตญาณใดที่เป็นจุดอ่อนสำหรับมนุษย์และส่อเค้าจะพลุ่งพล่านยิ่งไปกว่ากามารมณ์ ตรงนี้เองที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ต้องควบคุมสัญชาตญาณนี้อย่างเข้มงวดเพียงใด

และเนื่องจากกามารมณ์เป็นบ่อเกิดของภัยคุกคามต่างๆต่อสังคมมนุษย์ นักวิชาการจึงพยายามหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้
บางสำนักคิดเช่น พุทธศาสนา ศาสนามานี และแนวคิดของเลโอ ตอลสตอย เชื่อว่าจะต้องหยุดกามารมณ์เพื่อให้มนุษย์พ้นจากภัยคุกคาม โดยให้เหตุผลว่ากามารมณ์มักจะโน้มนำสู่ความต่ำทราม และเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมต่างๆ
เบอร์ทรานด์ รัสเซิ้ล ปรัชญาเมธีร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงด้านสังคมเคยกล่าวไว้ว่าแนวคิดต้านกามารมณ์มีปรากฏตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งจะมีอิทธิพลโดยเฉพาะในดินแดนที่คริสตศาสนาหรือพุทธศาสนาได้รับความนิยมเซอร์ ทาร์ค ได้ยกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดที่เชื่อว่าเพศสัมพันธ์คละคลุ้งไปด้วยความสามานย์
ความเชื่อที่ว่าเพศหญิงคือตัวการแห่งความหายนะได้แพร่จากเปอร์เซียโบราณสู่ดินแดนทางตะวันออก ซึ่งก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่าเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องสกปรก ความคิดดังกล่าวเมื่อได้รับการปรับปรุงเล็กน้อยก็ตรงกับทัศนคติของคริสตจักรนั่นเอง ทัศนคติเชิงลบดังกล่าวกำราบจิตใต้สำนึกของคนจำนวนมากให้ต้องหวาดผวา นักจิตวิเคราะห์หลายท่านเชื่อว่าทัศนคติเช่นนี้ก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิตได้

อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าไม่ควรปิดกั้นกามารมณ์ไม่ว่าจะกรณีใด เพื่อไม่ให้เกิดความพลุ่งพล่านอันนำไปสู่อาชญากรรมในสังคม การปฏิบัติตามทัศนคติเช่นนี้ทำให้ประชาคมตะวันตกจมปลักอยู่ในความต่ำทราม โดยที่ศาสนาคริสต์เหลือความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

ท่ามกลางสองขั้วความสุดโต่งนี้ อิสลามเชื่อว่ากามารมณ์มิไช่สิ่งเลวร้ายโดยสิ้นเชิงที่จะต้องกำราบให้หมดไป แต่ก็ไม่ควรปล่อยอิสระ ทางออกก็คือจะต้องควบคุมให้อยู่ในทำนองคลองธรรม และจะต้องอยู่ใต้อาณัติของมนุษย์ มิไช่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ โดยอิสลามเชื่อว่าวิธีบำบัดกามารมณ์ที่ถูกต้องตามธรรมชาติก็คือ การสมรส
ทีนี้เราจะมาดูกันว่าคริสตศาสนาในฐานะที่ไม่เห็นด้วยกับการสนองกามารมณ์ จะมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการสมรส
มีความเป็นไปได้ที่ทัศนคติเชิงลบของคริสตจักรเกี่ยวกับการบำบัดความไคร่ เกิดจากการตีความสถานะโสดของพระเยซู โดยถือว่าพระเยซูครองโสดก็เพราะเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งต่ำทราม ด้วยเหตุนี้เองที่นักบุญและบาทหลวงคริสต์(หลายนิกาย)เชื่อว่าการไม่แตะต้องอิสตรีตลอดชีวิตถือเป็นเงื่อนไขสำหรับพัฒนาการทางจิตวิญญาณ ซึ่งโป๊ปก็ได้รับเลือกจากบุคคลเหล่านี้เท่านั้น

การครองโสดของบาทหลวงและพระคาร์ดินัลทำให้เริ่มเกิดทัศนคติที่ว่าสตรีเป็นเพศแห่งราคะและการเย้ายวนและถือเป็นซาตานขั้นเบื้องต้น โดยทั่วไปแล้วบุรุษเพศจะไม่ทำบาป แต่เพราะการยั่วยวนของอิสตรีจึงทำให้บุรุษเพศกระทำบาป คนกลุ่มนี้เล่าเรื่องนบีอาดัมกับพระนางเฮาวาว่า จริงๆแล้วซาตานไม่อาจจะยุแหย่อาดัมได้ จึงได้เกลี้ยกล่อมอีฟก่อน แล้วให้อีฟเกลี้ยกล่อมอาดีมอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้นซาตานตัวจริงจะหลอกล่อสตรี แล้วให้สตรีหลอกล่อบุรุษ แต่คัมภีร์อัลกุรอานได้สวนทัศนคติเช่นนี้ โดยมิได้ถือว่าเพศใดเป็นหลักและอีกเพศเป็นเสมือนกาฝาก ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานปรารภว่าเราได้บัญชาแก่ทั้งสองว่าเธอทั้งสองจงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้และยังกล่าวอีกว่าชัยฏอนได้หลอกลวงเขาทั้งสองมิได้กล่าวว่าหลอกลวงสตรีหนึ่งและนางหลอกลวงสามีอีกทอดหนี่ง นบีอาดัมพลาดพลั้งหลงเชื่อชัยฏอนเท่าๆกับที่พระนางเฮาวาหลงเชื่อ และอาจเป็นเพราะต้องการพิทักษ์สถานะของสตรีเพศกระมังที่กุรอานนับว่าท่านหญิงมัรยัมเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ยิ่งใหญ่

คริสตจักรอนุมัติให้สมรสได้ก็เนื่องจากต้องคงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในขณะที่อิสลามถือว่าการสมรสคือจารีตของศาสดา โดยเชื่อว่าหากผู้ใดทำการสมรส ถือว่าครึ่งหนึ่งของศาสนาของเขาได้รับการเติมเต็มแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่มีโอกาสสมรสก็ให้สำรวมตนเพื่อควบคุมกามารมณ์ไปก่อน
ท้ายนี้ขอนำเสนอฮะดีษที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ท่านอิมามริฎอ(.)กล่าวว่าหากแม้ไม่มีคำสั่งให้ผู้คนต้องสมรสกัน เพียงพอแล้วที่คุณานุประโยชน์ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้สำหรับการนี้จะโน้มนำผู้มีความคิดให้แสวงหาการสมรส”(อย่างเช่นคุณประโยชน์ด้านสังคมอาทิเช่นการกระชับสัมพันธ์กับผู้อื่น)
ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงหาคู่ครองให้ชายโสดเถิด เพื่อมารยาทของพวกเขาจะดีขึ้น ปัจจัยยังชีพจะกว้างขวางยิ่งขึ้น และความเป็นชายชาตรีจะเพิ่มมากขึ้น[5]
มีหญิงคนหนึ่งกล่าวต่อท่านอิมามศอดิก(.)ว่า ดิฉันเป็นหญิงที่สละแล้วซึ่งโลกย์ ท่านอิมามถามว่า เธอหมายความว่าอย่างไร? นางตอบว่า ดิฉันไม่คิดจะแต่งงาน อิมามถามว่า เพราะอะไรหรือ? นางตอบว่า เพราะดิฉันหวังจะได้รับผลบุญ อิมามกล่าวว่า จงกลับไปเถิด หากการครองโสดถือเป็นความประเสริฐแล้วล่ะก็ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ที่มีความประเสริฐเหนือสตรีทั้งมวลย่อมจะปฏิบัติเช่นนี้ก่อนเธอเป็นแน่!
มีรายงานจากท่านนบี(..)ว่า ประตูแห่งฟากฟ้าจะเปิดกว้างในสี่เวลา 1. ขณะฝนตก 2. ขณะที่บุตรมองใบหน้าบิดา 3. ขณะที่ประตูกะอ์บะฮ์เปิดออก 4. ขณะที่มีการอักด์สมรส[6]
ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่านมาซเพียงสองร่อกะอัตของชายที่มีภรรยาเหนือกว่านมาซของชายโสดกว่าเจ็ดสิบร่อกะอัต[7]
มีฮะดีษระบุว่า ผู้ใดไม่ยอมสมรสเนื่องจากกลัวความยากจน แสดงว่าเขาดูแคลนพระองค์ เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า หาก(ชาย)เป็นผู้ยากไร้ พระองค์จะทรงประทานความโปรดปรานแก่เขาให้สมปรารถนา[8]
ฮะดีษมากมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่อิสลามจะไม่รังเกียจการสมรสเท่านั้น แต่ยังรณรงค์ให้กระทำในฐานะที่เป็นมุสตะฮับ(ซุนนัต)

อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าอิสลามจะอนุมัติให้สมรสโดยไม่พิจารณาความเหมาะสมใดๆเลย เนื่องจากสังคมที่ดีย่อมเกิดจากครอบครัวที่ดี และครอบครัวที่ดีย่อมเกิดจากการสมรสที่เหมาะสมและตั้งอยู่บนการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเท่านั้น[9]
กล่าวคือ อิสลามได้นำเสนอมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่ดีเยี่ยมแก่เรา โดยได้ประมวลคุณลักษณะที่คู่ครองพึงมีไว้ซึ่งจะขอนำเสนอโดยสังเขปดังนี้
1. ควรมีศรัทธาที่แท้จริง เนื่องจากผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับพระเจ้าย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า
2. ควรมีจรรยามารยาทในชีวิต เพื่อเพิ่มความสุขและความชื่นฉ่ำใจแก่สมาชิกครอบครัว มีฮะดีษระบุว่าการมีคู่ครองที่นิสัยดุร้ายจะทำให้บุคคลแก่กว่าวัย
3. ควรมีครอบครัวที่ดีและเหมาะสม ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงหลีกเลี่ยงต้นกล้าที่งอกเงยจากกองขยะ อันหมายถึงสตรีเลอโฉมที่เติบโตในครอบครัวที่ไม่ดีและกุรอานระบุว่า เราได้สร้างบุรุษและสตรีเพื่อกันและกัน และเป็นแหล่งพักพิงอันสงบของกันและกัน และถือว่าสตรีถือเป็นสิ่งดีๆในชีวิตบุรุษเพศ
4. ไม่ควรกำหนดมะฮัรมากเกินไป ท่านนบี(..)กล่าวว่าสตรีที่ประเสริฐสุดในประชาชาติของฉันคือสตรีที่เลอโฉมกว่าแต่ตกมะฮัรน้อยกว่า
5. ไม่ควรเน้นพิธีรีตองที่ไม่จำเป็น หรือมีการรื่นเริงเกินขอบเขต อันจะทำให้ประตูแห่งความพิโรธของพระองค์จะเปิดออกแก่คู่สมรสแทนความโปรดปราน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็อาจทำให้ชีวิตคู่อาจไม่ได้รับความราบรื่นในอนาคต

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือต่อไปนี้
1. จริยธรรมทางเพศในอิสลามและโลกอรับ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี
2. การแต่งงานในทัศนะอิสลาม,แปลโดยอะห์มัด ญันนะตี
3. ท่านหญิงซะฮ์รอ, ฟัฎลุลลอฮ์ โคมพอนี



[1] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี,เล่ม 20,หน้า 35

[2] บิอารุ้ลอันว้าร,มุฮัมมัดบากิร มัจลิซี,เล่ม 103,หน้า 222

[3] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เชคฮุร อามิลี,เล่ม 20,หน้า 166

[4] ซูเราะฮ์ อัรรูม, 21
و من آیاته ان خلق لکم من انفسکم ازواجا لتسکنوا الیها و جعل بینکم مودة و رحمة ان فی ذلک ‏لآیات لقوم ‏یتفکرون

[5] อันนะวาดิร,รอวันดี,หน้า 36

[6] บิอารุ้ลอันว้าร,เล่ม 100,หน้า 221, หมวด 1 کراهة العزوبة و الحث على...

[7] อ้างแล้ว

[8] อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 331

[9] ดู: บทความ: ความสำคัญของการสมรสในทัศนะอิสลามและศึกษาเปรียบเทียบกับทัศนคติของคริสเตียน,พู้รซัยยิดี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ภารกิจของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) หลังจากปรากฏกายแล้วคืออะไร? แล้วเป็นไปได้ไหมที่ท่านจะถูกทำชะฮาดัตโดยน้ำมือของสตรีชราที่มีนวดเครา?
    6315 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้จัดตั้งทั้งด้านวัตถุปัจจัยและด้านคุณธรรมมโนธรรมเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งความยุติธรรมขึ้นมาปกครองโลกซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดบนโลกนี้ ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมเกียรติและคุณค่าของความเป็นมนุษย์พร้อมกับเรียกร้องไปสู่ความปลอดภัยชีวิตมนุษย์จะกลายเป็นชีวิตแห่งพระเจ้าในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    8196 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7505 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    8143 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...
  • ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
    9438 دین و فرهنگ 2555/09/29
    ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป ...
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42344 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    10913 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • ความต่างกิจกรรมของวิญญาณขณะนอนหลับ และสลบคืออะไร?
    16478 ปรัชญาอิสลาม 2555/09/29
    รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณขณะตื่นนอน กับการปฏิสัมพันธ์ขณะนอนหลับนั้นมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ตามคำสอนของอิสลามจึงได้เรียกการนอนหลับว่า เป็นพี่น้องของความตาย วิทยาศาสตร์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับร่างกายขณะนอนหลับ แต่สามารถค้นพบการเปลี่ยนแปลงและปฏิกิริยาบางอย่างทางร่างกายขณะนอนหลับได้ บนพื้นฐานของการค้นคว้านั้นและการทำสอบพบว่ามนุษย์มีการนอนหลับในสองระดับ ด้วยนามว่า REM และ Non REM ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยปกติแล้วการความฝันที่มักเกิดในระดับของ Non REM เกิดจากการหลับลึกซึ่งจะไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เฉพาะการนอนหลับในระ REM เท่านั้นที่จะคงอยู่ในความทรงจำ ส่วนการสลบหมดสติเกิดจากการเบี่ยงเบนของวิญญาณ และเป็นการหลับที่ลุ่มลึกมาก ทำให้เขาไม่มีความทรงจำอันใดหลงเหลืออยู่ ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับมัสญิดญัมกะรอนและสาเหตุของการก่อตั้งมัสญิดแห่งนี้
    7357 ประวัติสถานที่ 2554/08/08
    มัสญิดญัมกะรอนหนึ่งคือในสถานที่ศักดิสิทธิและเป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุมประมาณ๖กิโลเมตรมัสญิดแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมื่อประมาณ๑๐๐๐ปีที่แล้วโดยคำสั่งของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างได้รับคำสั่งดังกล่าวในขณะตื่น (ไม่ใช่ในฝัน) ซึ่งความเมตตาและสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ได้ปรากฎณสถานที่แห่งนี้อีกทั้งเป็นสถานที่นัดหมายสำหรับผู้ที่รอคอยการมาของท่านและมีความรักต่อท่านมัรฮูมมิรซาฮูเซนนูรีได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งมัสญิดญัมกะรอนโดยอ้างอิงจากเชคฟาฏิลฮะซันบินฮะซันกุมี (อยู่ยุคสมัยเดียวกับเชคศอดูก) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองกุม”[1] จากหนังสือ “มูนิซุลฮะซีนฟีมะอ์ริฟะติลฮักวัลยะกีน”[2] ว่า:[3]เชคอะฟีฟศอและฮ์ฮะซันบินมุซลิฮ์ยัมกะรอนีได้กล่าวว่า: ในคือวันพุธที่๑๗เดือนรอมฏอนปี๓๙๓ฮ. ฉันได้นอนอยู่ในบ้านทันใดนั้นได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งมาที่ประตูบ้านของฉันและได้ปลุกฉันและได้กล่าวกับฉันว่าจงลุกขึ้นและทำตามความต้องการของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งท่านได้เรียกหาท่านอยู่พวกเขาได้พาฉันมาสถานที่หนึ่งซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนั้นได้กลายมาเป็นมัสญิดญัมกะรอนแล้วท่านอิมามมะฮ์ดีได้เรียกชื่อของฉันและได้กล่าวว่า: “ไปบอกกับฮะซันบินมุสลิมว่า “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันบริสุทธ์ที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและให้สถานที่แห่งนี้มีความบริสุทธ์เจ้าได้ยึดครองสถานที่แห่งนี้...ดังนั้นท่านได้กล่าวว่า: จงบอกประชาชนว่าให้รักและหวงแหนสถานที่แห่งนี้”[4]อายาตุลลอฮ์อัลอุซมามัรอะชีนะญะฟีได้กล่าวยอมรับความศักดิ์สิทธิของมัสญิดญัมกะรอนว่า: ชีอะฮ์ทั่วไปให้ความสำคัญต่อมัสญิดอันศักดิ์สิทธ์แห่งนี้ตั้งแต่สมัยของการเร้นกายระยะแรกของท่านอิมามมะฮ์ดีจนถึงปัจจุบันซึ่งกินระยะเวลาถึงพันสองร้อยสองปีท่านเชคผู้สูงส่งมัรฮูมศอดูกได้กล่าวในหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “มูนิซุลฮะซีน” ซึ่งฉันยังไม่ได้อ่านเองทว่ามัรฮูมฮัจยีมิรซาฮุเซนนูรีซึ่งเป็นอาจารย์ของฉันได้เล่าจากหนังสือเล่มนั้นว่าอุลามาอ์และนักวิชาการชั้นนำของชีอะอ์ให้ความเคารพมัสญิดแห่งนี้กันถ้วนหน้าและสิ่งมหัศจรรย์มากมายได้ปรากฏในมัสญิดญัมกะรอนแห่งนี้
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    12391 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60250 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57752 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42344 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39564 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39023 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34112 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28116 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28091 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25949 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...