Please Wait
7335
กลุ่มฮะดีซจากหนังสือ บิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็น ดาอิเราะตุลมะอาริฟ ฉบับใหญ่ของชีอะฮฺ ซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่น ตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆ อีก
บางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือ บิฮารุลอันวาร คือ :
เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน มีความครอบคลุมเหนือหัวข้อต่างๆ, กล่าวถึงสาส์นต่างๆ อันเป็นเอกเทศในกลุ่มฮะดีซ, ใช้ประโยชน์ทั้งจากแหล่งที่หาง่าย และต้นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขแช้ว,อธิบายฮะดีซต่างๆ
แน่นอน ทั้งหมดเหล่านี้มิได้หมายความว่า รายงานทั้งหมดที่มีอยู่ในตำราเล่มนี้,จะได้รับการยอมรับทั้งหมด หรือมิต้องมีการตรวจสอบสายรายงานและเนื้อหาสาระอีกต่อไป
หนังสือบิฮารุลอันวาร อัลญามิอะฮฺ ลิดุรเราะริ อัคบาร อัลอะอิมตุลอัฏฮาร, หมายถึงทะเลแห่งรัศมี,ที่ได้เลือกสรรฮะดีซของอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์.
หนังสือฮะดีซชุดนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นหนังสือชุดที่สำคัญที่สุดจากบรรดาผลงานทั้งหลายของ อัลลามะฮฺ มุฮัมมัด บากิร มัจญิลิซซียฺ และยังถือว่าเป็นแหล่งอ้างอิงฮะดีซที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺอีกด้วย ซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาส่วนใหญ่ของศาสนาเอาไว้ เช่น ตัฟซีรกุรอาน,ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และอื่นๆ อีกมากมาย
ก) ความพิเศษต่างๆ
บางส่วนที่เป็นความพิเศษที่สำคัญที่สุดของหนังสือ บิฮารุลอันวาร คือ :
1.จัดวางอย่างมีระบบ : ตำราฮะดีซชุดนี้ถือได้ว่าเป็นแก่นอันมั่นคง ลุ่มลึก และครอบคลุมฮะดีซส่วนใหญ่ของชีอะฮฺ ซึ่งรายงานหนังสือฮะดีซต่างๆ ได้ถูกจัดไว้อย่างสมบูรณ์และเป็นระบบที่สุด
2. ทุกหมวดหมู่จะเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน : อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ ได้นำเอาโองการที่เหมาะสมกับหมวดหมู่และหัวข้อ มากล่าวเอาไว้ตอนเริ่มต้นหมวด หลังจากนั้น ถ้าโองการต้องอาศัยการอรรถาธิบาย, ท่านจะนำเอาทัศนะของนักตัฟซีรมากล่าวไว้ด้วย หลังจากนั้นจึงกล่าวเสนอรายงานฮะดีซประจำหมวด
3. ความครอบคลุมของหนังสือบิฮารุลอันวารที่มีต่อหัวข้อต่างๆ : การวิเคราะห์หัวข้อต่างๆ และรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังบิฮาร นั้นแสดงให้เห็นว่า หนังสือชุดนี้ได้ครอบคลุมปัญหาต่างๆ ของศาสนาเอาไว้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าไม่มีหัวข้อใดในอิสลาม (ในยุคสมัยของท่าน) ที่มิได้ถูกกล่าวถึงไว้ ท่านอัลลามะฮฺ ได้กล่าวถึงประเด็นเหล่านั้นพร้อมกับรวบรวมรายงานฮะดีซกำกับไว้ด้วย
4.มีการกล่าวสาส์นต่างๆ อันเป็นเอกเทศไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร : ท่านอัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ ขณะที่กล่าววิภาษต่างๆ แล้ว ในตำราชุดนี้บางครั้งถ้าได้เผชิญกับหนังสือ หรือสาส์น และเนื่องจากท่านอัลลามะฮฺ ให้ความสำคัญต่อสาส์นเหล่านั้น และสาส์นก็มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ หนังสือบิฮาร กำลังวิภาษถึง ท่านจะนำเอาสาส์นนั้นกล่าวไว้ในหมวดเฉพาะโดยสมบูรณ์ เช่น, สาส์นของท่านอิมามฮาดี (อ.) ที่ได้ตอบข้อสงสัยเรื่อง การบังคับและการปล่อยวาง, หรือริซาละตุลฮุกูกของท่านอิมามซัจญาด (อ.) , เตาฮีด มุฟัฎฎอล, และ ...
5.ใช้ประโยชน์จากแหล่งอ้างอิงที่พบน้อยและต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขแล้ว : หนึ่งในคุณค่าของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ ท่านอัลลามะฮฺมีหนังสืออยู่ในครอบครองจำนวนมากมาย ซึ่งบางเล่มสูญหายไปแล้วและมิได้ตกทอดมาถึงมือเรา, ด้วยเหตุนี้เอง, อัลลามะฮฺจึงได้รวบรวมรายงานของหนังสือเล่มนี้ด้วยศักยภาพมากมายที่อยู่ในมือท่าน, ท่านได้นำเอารายงานเหล่านั้นมาจากหนังสือที่ดีและเชื่อถือได้มากที่สุด แน่นอน ถ้าท่านไม่รวบรวมเอารายงานเหล่านั้นเอาไว้ ป่านฉะนี้เราคงไม่มีรายงานใดๆ เอาไว้อ้างอิงอีกต่อไป
6.อธิบายฮะดีซต่างๆ : ท่านอัลลามะฮฺได้อธิบายคำศัพท์ใหม่ๆ และยาก ซึ่งโอกาสน้อยที่จะพบเจอคำศัพท์เหล่านั้น พร้อมกับอธิบายตัวบทฮะดีซเอาไว้หลังจากได้บันทึกแล้ว, ท่านอัลลามะฮฺได้ใช้ประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงความหมายของคำศัพท์, หนังสือฟิกฮฺ, ตัพซีร, เทววิทยา, ประวัติศาสตร์, จริยศาสตร์, และอื่นๆ อีก เพื่ออธิบายรายงานเหล่านั้น ซึ่งคำอธิบายฮะดีซเหล่านั้นเองถือว่าเป็น ความพิเศษอันเฉพาะสำหรับมุอฺญิมฮะดีซชุดนี้.
7.การรายงานสายสืบและตำราอ้างอิงในทุกๆ หมวดหมู่ : อีกหนึ่งในความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ ท่านอัลลามะฮฺ จะรวบรวมฮะดีซที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละหัวข้อเอาไว้เป็นจำนวนมาก, เพื่อเป็นประโยชน์และง่ายต่อการค้นคว้าของนักค้นคว้าทั้งหลาย อีกทั้งนักค้นคว้ายังสามารถจำแนกแยกแยะได้ทันทีว่ารายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับใด[1]
8.ที่อยู่ของแหล่งอ้างอิงต่างๆ ของรายงานฮะดีซได้ถูกกล่าวซ้ำ : อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ,จะกล่าวถึงรายฮะดีซที่ซ้ำกัน โดยจะให้ที่อยู่ของแหล่งอ้างถึงแหล่งเดียวกัน หรือจากหลายแหล่งอ้างอิงเอาไว้ นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงสายรายงานต่างๆ หรือเนื้อหาของรายงานที่คล้ายเหมือนกันไว้ในหนังสือต่างๆ อีกด้วย
ข) คำวิจารณ์
หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญฺลิซคือ การรวบรวมรายงานต่างๆ เอาไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการสูญหายไปจากมือ, และเพื่อให้วิธีการนี้เป็นสื่อสำหรับการสืบทอดมรดกทางฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺ ไปสู่อนุชนรุ่นต่อๆ ไป, และเป็นธรรมชาติที่ว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ ย่อมมีข้อบกพร่องหรือจุดที่อ่อนแออยู่ด้วย และแน่นอน ผลงานชิ้นนี้นอกจากจะเป็นผลงานของมนุษย์แล้ว ก็ยังเหมือนกับการงานอื่นๆ ของมนุษย์ที่ว่ายังมีข้อผิดพลาดอยู่, ซึ่งบรรดานักปราชญ์และผู้อาวุโสทางศาสนาของเราทุกคนก็ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ผลงานของท่านไม่มีข้อบกพร่องหรือไม่มีความผิดพลาดแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม, นักปราชญ์บางคนก็ถือว่าการมีรายงานที่อ่อนแอและเชื่อถือไม่ได้, ความไม่เพียงพอ หรือความผิดพลาดบางประการในการอธิบายความหมายของอัลลามะฮฺ คือจุดอ่อนและเป็นข้อบกพร่องของหนังสือชุดนี้ พวกเขาเชื่อว่าคำอธิบายต่างๆ ที่อัลลามะฮฺได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความฮะดีซ ได้ถูกเขียนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้เองกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดคุณค่าของหนังสือชุดนี้ และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความผิดพลาดขึ้น[2]
การกล่าวรายงานซ้ำในหนังสือชุดนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอของหนังสือบิฮาร, แน่นอน ด้วยการพิจารณาเนื้อความและประโยคของอัลลามะฮฺ สามารถเข้าใจได้ทันที่ว่า ท่านมีเจตนาในการกล่าวซ้ำ แต่มีปัจจัยต่างๆ อีก เนื่องจากความขัดแย้งที่มีอยู่ในสายรายงานและเนื้อความของฮะดีซ หรือความสัมพันธ์ของฮะดีซบทหนึ่งกับหนึ่งหรือสองหัวข้อที่แตกต่างกัน เหล่านี้ก็กลายเป็นสาเหตุของการกล่าวซ้ำด้วยเช่นกัน
กล่าวกันว่าบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องกล่าวซ้ำ เพื่อเป็นระเบียบในการจัดหัวข้อของฮะดีซ ดังเช่นที่กล่าวไปแล้วว่า อัลลามะฮฺมัจญฺลิซ ได้จัดรวบรวมฮะดีซไว้อย่างมีระบบ ท่านได้จัดแบ่งหมวดหมู่ฮะดีซของเป็นหัวข้อต่างๆ จากจุดนี้เองจึงทำให้บางรายงานมีการบันทึกซ้ำเอาไว้ ดังนั้น ผู้เขียนต้องการหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ บางครั้งก็ตัดรายงานออกไป และจะกล่าวไว้ในหมวดที่เกี่ยวข้องและมีความเหมาะสมกัน หรือบางครั้งก็บันทึกรายงานไว้เต็มรูปแบบสำหรับทุกหัวข้อที่กล่าวซ้ำ สิ่งนี้ทำให้หนังสือชุดนี้มีความหนามากมายหลายเล่ม สร้างความยากลำบากแก่ผู้ค้นคว้าทั้งหลาย
ท่านอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ ทราบเป็นอย่างดีว่าถ้าหากตัดทอนรายงานฮะดีซบางบท จะทำให้สัญลักษณ์สูญหายไป ดังนั้น เมื่อมีการตัดทอนฮะดีซสัญลักษณ์ต่างๆ ย่อมสูญหายไปแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอัลลามะฮฺบางครั้งได้รวบรวมฮะดีซไว้ในที่เดียวกัน หรือบางครั้งในหมวดอื่นได้อ้างเฉพาะบางส่วนของรายงานที่เหมาะสมกับหัวข้อเท่านั้น ซึ่งการกล่าวเฉพาะจุดนั้น ทำให้ฮะดีซในหมวดหมู่นั้นถูกกล่าวถึงทั้งหมด ซึ่งเท่ากับเป็นการขจัดปัญหาเรื่องการสูญหายของสัญลักษณ์