การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7687
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/15
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
คำถาม
มนุษย์สามารถเป็นบ่าวได้เฉพาะแต่อัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์ตรัสว่า : »จงนมัสการเฉพาะอัลลอฮฺเท่านั้น« แล้วเป็นเพราะสาเหตุใด ชีอะฮฺจึงตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) อับดุซซะฮฺรอ อับดุลอิมาม และ...? ทำไมบรรดาอิมามจึงตั้งชื่อบุตรว่า อับดุลอะลี อับดุซซะฮฺรอ? ถูกต้องแล้วหรือหลังจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ชะฮีดไปแล้ว และเราได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า อับดุลฮุซัยนฺ หมายถึงคนรับใช้ของฮุซัยนฺ ซึ่งคำว่า คอดิม หมายถึงคนจัดเตรียมนำน้ำและอาหาร และรับใช้ และสิ่งนี้เข้ากับสติปัญญาหรือที่ว่า บุคคลหนึ่งได้นำเอาน้ำและอาหารไปให้ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แล้วน้ำทำวุฏูอฺได้ถูกเตรียมไว้สำหรับเขาในหลุมฝังศพ เพื่อจะได้กล่าวว่า เขาคือคนรับใช้ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)?
คำตอบโดยสังเขป

1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ

2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ

3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ

4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, เนื่องจากการตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ ในความหมายว่า ภักดีคือเป็นบ่าวทาสรับใช้ ส่อไปในทางของการตั้งภาคีย่อมได้รับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺ แน่นอน

5.ชื่อเหล่านี้มิได้มีกล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์แต่อย่างใด นอกจากนั้นคำแนะนำของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ ได้แนะนำให้ตั้งชือว่า อะลี ฮะซัน และฮุซัยนฺ มุฮัมมัด หรืออับดุรเราะฮฺมานมากกว่า

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ[1] (ในอีกที่หนึ่งคำว่า อาบิด หมายถึงผู้รับใช้) ตามหลักภาษาอาหรับแล้ว ความหมายทั้งสองนี้ ถือเป็นความหมายที่ดีและได้รับการยอมรับ เช่น อัลกุรอาน ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการใช้ภาษาอาหรับ ซึ่งได้ใช้ทั้งสองความหมาย

ก. ความหมายแรก: «یا ایها الناس اعبدوا ربکم الذی خلقکم...»[2]

หรือโองการกล่าวว่า [3]«قال انی عبدالله آتانی الکتاب...»

ทั้งสองโองการนี้จะสังเกตเห็นว่า อัลลอฮฺทรงถือว่าการแสดงความเคารพภักดี คู่ควรและเหมาะสมเฉพาะพระองค์เท่านั้น

ข. ความหมายที่สอง : « ضرب الله مثلاً عبداً مملوکاً لایقدر علی شیء...»[4]

โองการนี้กล่าวถึงความอ่อนแอของเทวรูปเมื่ออยู่ต่ออำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระผู้อภิบาล โดยเปรียบเทียบว่า บ่าวของข้าที่ไร้ความสามารถและอ่อนแอเมื่ออยู่ต่อหน้าบุรุษที่มีอิสระ ซึ่งมากด้วยทรัพย์สิน และเขาได้บริจาคแก่คนยากจน

ความสูงส่งและความมีเกียรติยิ่งของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นสาเหตุสำคัญทำให้บรรดามุสลิม (ชีอะฮฺ) มีความปิติและยกย่องในความสูงศักดิ์ของท่านเหล่านั้น พวกเขาจึงแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความรัก และความผูกพันของพวกเขาที่มีต่อบรรดาอิมาม ดังนั้น การตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ และ ...หรือตั้งตามภาษาฟาร์ซียฺว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามริฎอ และ... ก็เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความรักและความผูกพันที่มีต่อครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งหลาย

แต่สำหรับคำตอบที่ว่า ภายหลังจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ชะฮีดแล้ว มีวัตถุประสงค์อะไรในการตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ ขอตอบว่า : หนึ่งเนื่องจากการับใช้และการบริการหรือการยอมตนเป็นบ่าวของบรรดาอิมามมะอฺซูม มิได้เป็นความจำเป็นสำหรับโลกนี้, ทว่าการรำลึกถึงท่านเหล่านั้น การให้เกียรติ การยึดมั่นอยู่กับแนวทางหรือแบบอย่างของท่าน, กี่มากน้อยแล้วที่มีผู้รับใช้อิมามต่างกาลเวลา มีเกียรติและมีความประเสริฐยิ่งกว่าบ่าว ที่รับใช้ชีวิตทางโลกในยุคสมัยที่ท่านอิมามมีชีวิตอยู่เสียด้วยซ้ำไป. สอง การเป็นชะฮีดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) เฉพาะร่างกายเท่านั้นที่สูญสิ้นไป, แต่จิตวิญญาณอันสูงส่งของท่านยังมีชีวิตอยู่เสมอ ดังที่เราได้อ่านในบทซิยาเราะฮฺบรรดาอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ว่า

«و اشهد انک تسمع کلامی و ترد سلامی» หมายถึงท่านได้ยินเสียงอ่านของเรา และตอบรับสลามของเรา[5] ดังนั้น ผู้เป็นนายของพวกเขายังมีชีวิตอยู่เสมอ แม้จะไม่มีกายแต่มิได้ตายจากไปไหน เพื่อว่าบ่าวเหล่านี้จะได้ถอดถอนมือออกจากพวกเขา, ทว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ ท่านเหล่านั้นมองเห็นและล่วงรู้ถึงการกระทำของเราตลอดเวลา. สาม การรับใช้ของบุคคลหนึ่งที่มีต่อแขกผู้มาเยี่ยมเยือนสถานฝังศพของบรรดาอิมาม ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าอิมามจะจากไปแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ฉะนั้น บุคคลที่ได้รับใช้บรรดาผู้มาเยี่ยมเยือนสถานฝังศพบรรดาอิมามในทุกรูปแบบ ผู้รับใช้นั้นก็จะเป็นบ่าวหรือคนรับใช้ของท่านอิมามเสมอไป

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ คำว่า อุบูดียะฮฺ หมายถึงการแสดงความเคารพภักดี, การแสดงความนอบน้อมถ่อมตน และการเชือ่ฟังปฏิบัติตาม ต่อผู้เป็นนายหรือผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือเรา, นั่นคือ อัลลอฮฺพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน ดั่งที่กล่าวไว้ในโองการแรกว่า (โอ้ บรรดาปวงมนุษย์เอ๋ย) ด้วยเหตุนี้ จะพบว่าปรัชญาของการแสดงความเคารพภักดีคือ บุคคลนั้น ต้องมีความคู่ควร เหมาะสม เพราะอิบาดะฮฺนั้นเป็นอมัลเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลผู้ซึ่ง หนึ่ง ได้สร้างเรามา, สอง อบรมสั่งสอนและให้การเลี้ยงดูเรา, ดังนั้น ถ้าหากวัตถุประสงค์ของบุคคลในการตั้งชื่อตามที่กล่าวมาในความหมายแรกของ อับดฺ (การแสดงความภักดี) ถือว่าออกนอกอิสลามและความศรัทธา และเป็นชิริก

ด้วยเหตุนี้เอง ในสังคมที่คาดว่าจะมีการใส่ร้ายหรือคิดไปในแง่ไม่ดี บรรดาอิมาม (อ.) จึงได้แนะนำชื่อที่ดีกว่าไว้เป็นจำนวนมาก เช่น รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : »กล่าวกับผู้รายงานว่า เธอจงตั้งชื่อบุตรหลานของเธอเมื่อฟังแล้วบ่งบอกให้เห็นว่าเขาเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ เช่น อับดุรเราะฮฺมาน«[6] ทำนองเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านได้แนะนำให้ตั้งชื่อบุตรว่า “มุฮัมมัด”[7] หรือเป็นที่ทราบกันดีท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ตั้งชื่อบุตรชายทั้งสามคนของท่านว่า “อะลี”[8]

เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และหนังสือริญาลเข้าใจได้กว่า นามชื่อเช่น อับดุลอะอฺลา อับดุลมะญีด อัลดุสสลาม และ..ได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก[9] ส่วนนามชื่อ เช่น อับดุลฮุซัยนฺ หรือนามที่คล้ายคลึงกันนี้ในสมัยก่อนมิได้รับความนิยมมากเท่าใดนัก, และมิเคยปรากฏในหนังสือริญาลแต่อย่างใด, แต่หลังจากทั้งหมดได้ทราบถึงเกียรติยศ และฐานันดรอันสูงศักดิ์ของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และเมื่อสังคมมีความเสรีในด้านการอภิปราย และบรรยายสาระของศาสนา ประชาชนจึงมีความประสงค์ที่เผยความรัก และความผูกพันของตนที่มีต่อบรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานของตนตามชื่อของบรรดาอิมามเหล่านั้น

สรุป :

สิ่งที่สามารถสรุปได้ตรงนี้คือ นามชื่อเช่น อับดุลริฎอ อับดุลอะลี และ ..เป็นการเผยให้เห็นถึงความรักและความเตรียมพร้อมการรับใช้บรรดาอิมาม, เป็นการประกาศว่าทุกย่างก้าวจะเจริญรอยตามบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม และถ้านามชื่อเหล่านั้นได้ถูกตั้งขึ้นในที่ๆ ซึ่งไม่เกรงว่าจะนำไปสู่ชิริกแล้ว ถือว่าไม่เป็นไร, แม้ว่าจะสามารถเลือกนามชื่อที่ดีกว่าซึ่งได้รับการแนะนำจากบรรดาอิมามไว้ก็ตาม แต่ถ้าไม่ต้องการตกเป็นเป้าโจมตีของผู้ที่ชอบหาข้ออ้าง หรือข้อตำหนิแล้วละก็ดีกว่าให้หลีกเลี่ยงนามชื่อเหล่านี้

 

 


[1] ความหมายแรก «ان العامة اجتمعوا علی تفرقه مابین عبادالله والعبید المملوکین» มะกอยีซ อัลลุเฆาะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 205.

[2]»โอ้ มนุษย์เอ๋ย จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้า« บทบะเกาะเราะฮฺ, 21

[3]» กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ« บทมัรยัม, 30.

[4]»อัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์ถึงบ่าวผู้เป็นทาสคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีอำนาจในสิ่งใด« บทอันนะฮฺลุ, 75.

[5] ซิยาเราะฮฺอิมามริฎอ (อ.) มะฟาตีฮุลญินาน.

[6] วะซาอิล อัชชีอะฮฺ, เล่ม 7, หน้า 125.

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม

[8] อะลีอักบัร, อะลีเอาซัต, และอะลีอัซฆัร.

[9] มุอฺญิมษะกอต, เล่ม 9, หน้า 255-356, เล่ม 10 และ 11

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    8840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9468 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7317 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    6044 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6665 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษระบุว่า การปัสสาวะอย่างไม่ระวังจะทำให้ถูกบีบอัดในมิติแห่งบัรซัค กรุณาอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ
    6840 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในตำราฮะดีษมีบางรายงานระบุว่าท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “จงระมัดระวังในการชำระปัสสาวะเถิดเพราะการลงโทษส่วนใหญ่ในสุสานเกิดจากการปัสสาวะ”[1] ท่านอิมามศอดิกก็เคยกล่าวว่า “การลงทัณฑ์ในสุสานส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากปัสสาวะ”[2]อย่างไรก็ดีต้องชี้แจงเกี่ยวกับปรัชญาของอะห์กามว่าถึงแม้ฮุกุ่มทุกประเภทจะอิงคุณและโทษในฐานะที่เป็นเหตุผลก็ตามแต่เป็นเรื่องยากที่จะสามารถแจกแจงเหตุและผลของฮุก่มแต่ละข้ออย่างละเอียดละออได้ที่สุดแล้วก็ทำได้เพียงแจกแจ้งทีละข้อซึ่งหลักเกณฑ์ที่ว่าสามารถครอบคลุมส่วนใหญ่เท่านั้นมิไช่ทั้งหมดจึงทำให้อาจจะมีข้อยกเว้นบางกรณี[3]ประเด็นการไม่ระมัดระวังนะญิสของปัสสาวะนั้นสติปัญญาของคนเราเข้าใจได้เพียงระดับที่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะทำลายน้ำนมาซอันเป็นเงื่อนไขของอิบาดะฮ์อย่างเช่นการนมาซ แต่ไม่อาจจะเข้าถึงสัมพันธภาพเชิงเหตุและผลระหว่างการปัสสาวะอย่างไม่ระวังกับการถูกลงโทษในสุสานได้อย่างไรก็ตามสติปัญญายอมรับในภาพรวมว่าการกระทำของมนุษย์จะส่งผลถึงโลกนี้และโลกหน้า[1]บิฮารุลอันว้าร,เล่ม
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8650 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    7809 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7334 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6474 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60047 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42134 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39207 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38874 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33941 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27957 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27874 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27687 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25708 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...