การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6356
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18423 รหัสสำเนา 21628
คำถามอย่างย่อ
มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
คำถาม
มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยไม่ได้ระบุจำนวน ฮะดีษหลายบทให้ข้อยุติที่แตกต่างกัน อาทิเช่นกล่าวว่า ส่วนหนึ่งในทีนี้คือเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะอัลลอฮ์ตรัสว่า فَخُذْ أَرْبَعَةً مِّنَ الطَّیْرِ… ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 260 บางฮะดีษกล่าวว่าส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด เนื่องจากพระองค์ตรัสว่า لَهَا سَبْعَةُ أَبْوَابٍ لِّکُلِّ بَابٍ مِّنْهُمْ جُزْءٌ مَّقْسُومٌ ซูเราะฮ์อัลฮิจร์ ในเมื่อมีหลายทัศนะเช่นนี้ แล้วเราจะสรุปจำนวนของ “ส่วนหนึ่ง” ได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมาย จึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. ในอดีต เจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆ บ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วน บ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วน ฉะนั้น จะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่
2. ทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่าก็คือ ควรปฏิบัติตามฮะดีษกลุ่มเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะบรรทัดฐานเบื้องต้นก็คือการที่ทรัพย์สินยังคงอยู่ในครอบครองของทายาท กล่าวคือ ควรวางสมมุติฐานไว้ที่ภาวะที่ทายาทไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจ่ายเพิ่มในที่นี้ก็หมายถึงส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มจากเศษหนึ่งส่วนสิบในกรณีที่ทำตามฮะดีษที่ระบุถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด
3. การที่ถือว่าฮะดีษกลุ่มแรกเป็นภาคบังคับ ส่วนฮะดีษกลุ่มที่สองหมายถึงภาคมุสตะฮับ กล่าวคือส่วนหนึ่งในที่นี้ให้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอันเป็นภาคบังคับ แต่มุสตะฮับสำหรับทายาทที่จะใช้จ่ายเศษหนึ่งส่วนเจ็ดของทรัพย์สินตามพินัยกรรม เนื่องด้วยความแตกต่างทางนัยยะของฮะดีษสองกลุ่ม

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับมรดกทรัพย์สินเนื่องจากใช้คำที่คลุมเครือ อาทิเช่นพินัยกรรมที่ระบุให้แบ่งทรัพย์สินหนึ่งส่วนไปใช้ในการกุศล โดยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์สินเลยนั้น ตามหลักแล้ว ควรถือว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะเสมือนมิได้กระทำไว้ และให้พิจารณาไปตามบทบัญญัติว่าด้วยมรดก ทั้งนี้ก็เพราะพินัยกรรมประเภทดังกล่าวไม่สามารถสื่อถึงเจตจำนงของผู้พูดได้เลยในเชิงวจนะภาษา

อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีฮะดีษที่น่าเชื่อถือช่วยอธิบายความคลุมเครือข้างต้น จึงจำเป็นต้องยึดตามนั้นเป็นหลัก[1] ต่อข้อสงสัยที่ว่าหากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นจะแบ่งทรัพย์สินตามเป้าประสงค์ของผู้ตายในสัดส่วนเท่าใดนั้น ฮะดีษชุดนี้แบ่งออกเป็นสองชุดความหมายดังต่อไปนี้

ฮะดีษชุดแรกระบุว่าทรัพย์ส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบ กล่าวคือจะต้องมอบเศษหนึ่งส่วนสิบของทรัพย์สินให้แก่ผู้ที่พินัยกรรมระบุไว้
มีผู้ถามอิมามศอดิก(.)เกี่ยวกับผู้ที่ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ท่านตอบว่านั่นหมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอุละมาอ์หลายวินิจฉัยว่าวาญิบให้จ่ายเศษหนึ่งส่วนสิบในกรณีดังกล่าวโดยยึดตามฮะดีษลักษณะนี้[2]

ฮะดีษชุดที่สองระบุว่าทรัพย์สินส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด ตามเนื้อหาของฮะดีษต่อไปนี้: มุฮัมมัด บิน อลี บิน มะฮ์บู้บ รายงานจากอะฮ์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อบีนัศร์ บะซันฏี เล่าว่า ฉันถามอิมามกาซิม(.)ถึงกรณีของผู้ที่ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ท่านอิมามตอบว่า นั่นหมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงตรัสว่าขุมนรกมีประตูเจ็ดบาน และชาวนรกถูกแบ่งเป็นส่วนๆในแต่ละบาน[3] [4]ฉะนั้น ชาวนรกจึงแบ่งออกเป็นเจ็ดกลุ่ม ซึ่งตามสำนวนของโองการนี้ แต่ละกลุ่มเรียกว่าญุซอ์”(ส่วน)
บางท่านยึดตามฮะดีษประเภทนี้ จึงวินิจฉัยว่าจะต้องแบ่งเศษหนึ่งส่วนเจ็ด[5]

จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมาย เบื้องต้นจึงอาจมองได้ว่าเป็นการหักล้างกันเอง แต่อุละมาบางท่านเสนอวิธีผนวกฮะดีษสองกลุ่มดังต่อไปนี้

1. ในอดีต เจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆ บ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วน บ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วน ฉะนั้น จะต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์สินตามที่ผู้ตายเคยแบ่งไว้ขณะมีชีวิตอยู่[6]

2. ทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่าก็คือ ควรปฏิบัติตามฮะดีษกลุ่มเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะบรรทัดฐานเบื้องต้นก็คือการที่ทรัพย์สินยังคงอยู่ในครอบครองของทายาท กล่าวคือ ควรวางสมมุติฐานไว้ที่ภาวะที่ทายาทไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจ่ายเพิ่มนี้ก็คือส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีที่ทำตามฮะดีษที่ระบุถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ดที่ต้องแบ่งออกจากมรดก[7]
3. การที่ถือว่าฮะดีษกลุ่มแรกเป็นภาคบังคับ ส่วนฮะดีษกลุ่มที่สองหมายถึงภาคมุสตะฮับ กล่าวคือส่วนหนึ่งในที่นี้ให้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอันเป็นภาคบังคับ แต่มุสตะฮับสำหรับทายาทที่จะใช้จ่ายเศษหนึ่งส่วนเจ็ดของทรัพย์สินตามพินัยกรรม เนื่องด้วยความแตกต่างทางนัยยะของฮะดีษสองกลุ่ม[8]

อย่างไรก็ดี ควรคำนึงว่าในกรณีที่ผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์แก่ผู้อื่นเกินกว่าเศษหนึ่งส่วนสามของมรดก ส่วนเกินดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อทายาทเห็นด้วยเท่านั้น[9]
อนึ่ง ท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี ได้ตอบข้อสงสัยดังกล่าวไว้ดังนี้
พินัยกรรมมอบทรัพย์สินแก่ผู้อื่นจะมีผลต่อเมื่อทำไว้ไม่เกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินของมัยยิต ส่วนการแบ่งสัดส่วนตามพินัยกรรมที่คลุมเครือก็ขึ้นอยู่กับความมั่นใจ แม้ว่าควรจะแบ่งให้มากเท่าที่จะสันนิษฐานได้

 



[1] มูซะวี, บุจนูรดี, ซัยยิดฮะซัน, อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 291,สำนักพิมพ์อัลฮาดี, กุม อิหร่าน,ครั้งแรก, ..1419

[2] ชู้ชตะรี, มุฮัมมัด ตะกี, อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 230,ร้านหนังสือเศาะดู้ก,เตหราน,ครั้งแรก,..1406

[3] อัลฮิจร์,44

[4] ฏูซี,อบูญะฟัร,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม,เล่ม 9,หน้า 209, ฮะดีษที่ 828, ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน อิหร่าน,ครั้งที่สี่,..1407

[5] อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 233

[6] กุมี,เศาะดู้ก,มุฮัมมัด บิน อลี บิน บาบะวัยฮ์,มันลายะฮ์ฏุรุฮุ้ลฟะกีฮ์, แปล:ฆ็อฟฟารี,อลีอักบัร, เล่ม 6,หน้า 50,เศาะดู้ก,เตหราน,ครั้งแรก,..1409

[7] ฮิลลี, มิกด้าด บิน อับดุลลอฮ์, กันซุ้ลอิรฟาน ฟี ฟิกฮิ้ลกุรอาน, แปล: บัคชอเยชี,อับดุรเราะฮีม อะกีกี,เล่ม 2,หน้า 585,กุม อิหร่าน,ครั้งแรก และ อามิลี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ตัรฮีนี, อัซซุบดะตุลฟิกฮียะฮ์ ฟีชัรฮิร ร็อวเฎาะตุ้ลบะฮียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 38,สำนักพิมพ์ดารุลฟิกฮ์,กุม อิหร่าน,ครั้งที่สี่,..1427

[8] อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 233

[9] โคมัยนี, ซัยยิดรูฮุ้ลลอฮ์ มูซะวี,ประมวลปัญหาศาสนา (อิมามโคมัยนี),หน้า 578,ปัญหาที่ 2589,พิมพ์ครั้งแรก,..1426

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    8840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9468 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7317 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    6044 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6665 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษระบุว่า การปัสสาวะอย่างไม่ระวังจะทำให้ถูกบีบอัดในมิติแห่งบัรซัค กรุณาอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ
    6840 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในตำราฮะดีษมีบางรายงานระบุว่าท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “จงระมัดระวังในการชำระปัสสาวะเถิดเพราะการลงโทษส่วนใหญ่ในสุสานเกิดจากการปัสสาวะ”[1] ท่านอิมามศอดิกก็เคยกล่าวว่า “การลงทัณฑ์ในสุสานส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากปัสสาวะ”[2]อย่างไรก็ดีต้องชี้แจงเกี่ยวกับปรัชญาของอะห์กามว่าถึงแม้ฮุกุ่มทุกประเภทจะอิงคุณและโทษในฐานะที่เป็นเหตุผลก็ตามแต่เป็นเรื่องยากที่จะสามารถแจกแจงเหตุและผลของฮุก่มแต่ละข้ออย่างละเอียดละออได้ที่สุดแล้วก็ทำได้เพียงแจกแจ้งทีละข้อซึ่งหลักเกณฑ์ที่ว่าสามารถครอบคลุมส่วนใหญ่เท่านั้นมิไช่ทั้งหมดจึงทำให้อาจจะมีข้อยกเว้นบางกรณี[3]ประเด็นการไม่ระมัดระวังนะญิสของปัสสาวะนั้นสติปัญญาของคนเราเข้าใจได้เพียงระดับที่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะทำลายน้ำนมาซอันเป็นเงื่อนไขของอิบาดะฮ์อย่างเช่นการนมาซ แต่ไม่อาจจะเข้าถึงสัมพันธภาพเชิงเหตุและผลระหว่างการปัสสาวะอย่างไม่ระวังกับการถูกลงโทษในสุสานได้อย่างไรก็ตามสติปัญญายอมรับในภาพรวมว่าการกระทำของมนุษย์จะส่งผลถึงโลกนี้และโลกหน้า[1]บิฮารุลอันว้าร,เล่ม
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8650 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    7809 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7334 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6474 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60047 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42134 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39207 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38874 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33941 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27957 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27874 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27687 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25708 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...