Please Wait
8817
คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่
ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม
วิลายะฮฺ ฮากิม มีรากที่มาเก่าแก่ที่สุด ซึ่งจะเห็นกระทบทางด้านบทบัญญัติได้เป็นอย่างดี, ธรรมชาติของบทบัญญัติอิสลาม และสาส์นอันยิ่งใหญ่ ที่อยู่เคียงข้างเหตุผลอื่นอีกจำนวนมากมาย อันเป็นสาเหตุทำให้ประเด็นดังกล่าวเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งในบทบัญญัติที่มีการกล่าวอ้างถึง
ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม
คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่[1]
ฮากิมคือใคร?
ฮากิมทุกคนมีอำนาจนี้อยู่ในมือหรือไม่ ในฐานะที่เป็นมุสลิมและได้ปกครองเหนือบรรดามุสลิมทั้งหลาย, เขาสามารถมีอำนาจนี้ไว้ในครอบครองได้หรือไม่? หรือวัตถุประสงค์คือ บุคคลหนึ่งมีความรู้ความสามารถและเข้าใจบทบัญญัติอิสลาม ทั้งปัญหาด้านการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติในอิสลามเป็นอย่างดี และมีความสันทัดพิเศษบนพื้นฐานปัญหาเหล่านั้น?
ในหนังสือ “กฎเกณฑ์ทางบทบัญญัติ” หลังจากได้ค้นคว้าอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความหมายของ ฮากิม ทั้งในรายงาน และคำพูดของบรรดานักปราชญ์แล้ว ได้เขียนว่า เมื่อพิจารณาประเด็นข้างเคียงในการนำคำว่า ฮากิม ไปใช่ในบทบัญญัติ ทำให้เข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของคำๆ นี้ในที่นี้หมายถึง “ฟะกีฮฺ ญามิอุล ชะรออิฏ” ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่พิพากษาตัดสินแล้ว ยังต้องเป็นทนาย และมีหน้าที่ตรวจสอบในความหมายทั่วไป และยังมีศักยภาพในการจัดการอย่างกว้างขวางอีกด้วย”[2]
เหตุผลด้านรายงาน
ก. เหตุผลทั่วไป (เหตุผลทางภูมิปัญญา) การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม สถาปนาความยุติธรรม สร้างขวัญและกำลังใจแก่มนุษย์ทุกคน, ดังนั้น สติปัญญาจึงตัดสินว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสถาปนาความยุติธรรมทำนองนี้ อีกด้านหนึ่งสังคมซึ่งมีการปฏิบัติตามกฎหมายและมีหน้าที่ตามกฎหมาย ในฐานะที่ได้รับการยอมรับเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด,ย่อมจะต้องปฏิบัติตามความถูกต้องเหมาะสมกับผู้ที่ประพฤติผิด, เพื่อว่าการละเมิดของพวกเขาจะได้ไม่เกินขอบเขตที่วางไว้ โดยด้านหนึ่งจาก มัรญิอฺผู้มีอำนาจออกกฎหมายจะไม่ทำให้ความสงบเรียบร้อยของสังคมเกิดช่องว่างลง เพื่อว่าจะเป็นการสนับสนุนให้คนอื่นกระทำความผิดต่อไป และด้วยข้อพิสูจน์ทางกฎหมายที่เรียบง่าย จึงก่อให้เกิดพื้นฐานที่สำคัญของกฎเกณฑ์ที่กำลังกล่าวถึง
ฉะนั้น นักปราชญ์ส่วนใหญ่, เมื่อเวลาอ้างถึงกฎดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องยกเหตุผล หรือนำเสนอข้อพิสูจน์ต่างๆ เนื่องจากกฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ไม่มีความขัดแย้ง หรือมีความเห็นตรงกันข้ามกันเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับ กฎการปกครองของฮากิมบนสิ่งต้องห้าม ความเร้นลับบนความเข้าใจนี้คือ ความชัดเจนของกฎและมีการสนับสนุนเหตุผลที่ชัดเจนของสติปัญญา หรืออาจเป็นเพราะว่าเหตุผลของ วิลายะตุลฟะกีฮฺ เพียงพอแล้วและไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผลอื่นมาอธิบายประเด็นดังกล่าวอีก[3]
ข. เหตุผลอันเฉพาะ : กล่าวคือ อัลฮากิม วะลียุลมุมตะนิอฺ มิได้มีกล่าวไว้ในรายงาน, แต่ความรวมโดยทั่วไปมีปรากฏอยู่ในบางรายงาน ซึ่งสามารถค้นได้จากบางรายงาน เช่น
1.รายงานจาก ซัลละมะฮฺ บิน กุฮีล : ซัลละมะฮฺ บิน กุฮีล รายงานว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับชะรีฮฺว่า : เกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ยอมจ่ายหนี้สินของเจ้าหนี้ ทั้งที่มีความสามารถและมีทรัพย์พอที่จะจ่าย แต่เขากับไม่สนใจ จงพิจารณาและเอาใจใส่ประเด็นนี้ให้ดี สิทธิของประชาชนจะต้องจ่ายคืนแม้ว่าจะต้องขายทรัพย์สินบางชนิดของพวกเขาไปก็ตาม, เนื่องจากฉันได้ยินจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า การวางเฉยไม่สนใจของบุคคลที่มีความสามารถ คือการอธรรมอย่างหนึ่งที่มีต่อบรรดามุสลิมที่เป็นเจ้าหนี้”[4]
แม้ว่าบางครั้งการไม่ใส่ใจจะดูว่าเป็นความอ่อนแอบางอย่างก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากสาระของรายงานแล้ว เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป[5]
2.รายงานจากฮุซัยฟะฮฺ : รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ประสบภัยธรรมชาติทำให้สังคมขาดข้าวสาลี, บรรดามุสลิมได้มาหาท่าน และกล่าวว่า : โอ้ ท่านเราะซูลแห่งพระเจ้าตอนนี้สังคมปราศจากข้าวสาลี นอกเสียจากมีที่คนๆ หนึ่งเท่านั้น โปรดสั่งให้เขาขายข้าวสาลีด้วยเถิด ท่านเราะซูลได้กล่าวกับบุรุษผู้นั้นว่า : บรรดามุสลิมได้มารายงานว่าตอนนี้ข้าวสาลีขาดตลาด นอกเสียจากข้าวสาลีจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ที่เจ้า, ดังนั้น จงนำออกมาขายในตลาดเถิดแม้ว่าเจ้าจะไม่พอใจเท่าใดนัก แต่ก็จงอย่าเก็บรักษาไว้เลย[6]
อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระของรายงานข้างต้น มิได้ระบุถึงขั้นตอนการขัดขวางแต่อย่างใด เพื่อว่าจะได้นำเอากฎของวิลายะฮฺมาปฏิบัติ กล่าวคือการขายข้าวสาลีโดยตรงโดยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) แต่ลักษณะที่คล้ายคลึงกันสิ่งที่รายงานได้สาธยายไว้คือ, การขัดขวางไม่ขายอาหารโดยผู้มีอาหารอยู่ในครอบครอง ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ส่วนการร้องเรียนของบรรดามุสลิมต่อท่านศาสดา โดยขอให้ท่านออกคำสั่งให้เขาขายข้าวสาลี ก็ถือว่าอยู่ในเงื่อนไขที่เปิดเผยและสมควรได้รับการปฏิบัติ[7]
3. รายงานจากอบูบะซีร : ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามที่หลีกเลี่ยงการจัดหาเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวของภรรยา, ดังนั้น อิมาม (อ.) มีสิทธิ์ที่จะทำการหย่าร้างเขาทั้งสอง, รายงานดังกล่าวแม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับความไร้สามารถในการจ่ายค่าเลี้ยงดู หรือการขัดขวางไม่ยอมจ่ายก็ตาม สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ การหลีกเลี่ยงการหย่าร้างทั้งสอง[8]
4.การอิจญฺมาอ์ : จากคำพูดของนักปราชญ์ผู้อาวุโสบางท่านเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวคือ คำกล่าวอ้างด้านอิจญฺมาอ์[9] การอิจญฺมาอ์ดังกล่าวนี้ แม้ว่าจะไม่ได้ออกมาในฐานของกฎก็ตาม แต่อย่างน้อยก็เป็นการสำทับให้เห็นถึงตัวอย่างของคำกล่าวอ้างได้อย่างชัดเจน[10]
เมื่อพิจารณาสิ่งที่กล่าวผ่านมาจะเห็นว่า ทั้งความหมายของกฎและเหตุผลเป็นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น, แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบทบัญญัติได้อย่างมากมาย ซึ่งแต่ละประเด็นเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นเอกเทศและมีการอธิบายรายละเอียดอย่างกว้างขวาง
[1]ชะฮีด ตับรีซียฺ, ฟะตาฮฺ, ฮิดายะตุลฏอลิบ อิลา อัสรอร อัลมะกาซิบ, เล่ม 3, หน้า 605, พิมพ์ อิฎลาอาต, ตับรีซ, ปี ฮ.ศ. 1375.
[2] มุฮักกิก ดามอด, ซัยยิดมุสตะฟา, กะวาอิด ฟิกฮฺ, เล่ม 3, หน้า 213, นัชร์ อุลูมอิสลามมี, เตหะราน, ปี ฮ.ศ. 1406.
[3] เอสฟาฮานนี, มุฮัมมัด ฮุเซน, คำอธิบายหนังสือมะกาซิบ, เล่ม 2, หน้า 399, อันวารุลฮุดา, กุม, พิมพ์ใหม่ ปี ฮ.ศ. 1418.
[4] กุลัยนียฺ, มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, เล่ม 7, หน้า 412, ดารุลกุตุบอิสลามียะฮฺ, เตหะราน ปี ฮ.ศ. 1407.
[5] กะวาอิดฟิกฮฺ, เล่ม 3, หน้า 205.
[6] อัลกาฟียฺ, เล่ม 5, หน้า 164.
[7] เกาะวาอิด ฟิกฮฺ, เล่ม 3, หน้า 206.
[8] ซะดูก,มุฮัมมัด บิน อะลี, มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ, เล่ม 3, หน้า 441, ตัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามมี,กุม ปี ฮ.ศ. 1413
[9] นะญะฟี, มุฮัมมัดฮะซัน, ญะวาเฮรุลกะลาม, เล่ม 22, หน้า 485, ดาร อะฮฺยาอฺ อัตตุรอษ อัลอะเราะบียฺ, เบรูต, บีทอ
[10] มัรฮูม เชค มุฮัมมัดฮะเซน ฆัรวี เอซฟาฮานี เกี่ยวกับประเด็นนี้ท่านกล่าวว่า : วิลายัต ฮากิม เกี่ยวกับประเด็นข้างต้น มีการอิจญ์มาอ์ อย่างมากมาย ซึ่งคำพูดของอัซฮาบถือว่าเป็น แก่นที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อพิสูจน์หรือหลักฐานอันใดอีก สามารถนำมาเป็นข้ออ้างอิงได้, ฮาชียะฮฺ กิตาบมะกาซิบ, เล่ม 2, หน้า 399 พิมพ์ใหม่