การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7919
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2552/06/01
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
คำถาม
เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา (เริ่มจากมักกะฮฺ และมะดีนะฮฺตามลำดับ)
คำตอบโดยสังเขป
ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์
 
คำตอบเชิงรายละเอียด
เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอานมี 3 ทัศนะดังนี้
1. โองการต่าง ๆ ของอัลกุรอาน ขณะที่ประทานลงมา ได้ถูกประทานลงมาอย่างสมบูรณ์ และตราบที่อัลกุรอาบทดังกล่าว ยังไม่สมบูรณ์ อัลกุรอานบทอื่นจะไม่ถูกประทานลงมาอย่างเด็ดขาด
2. อัลกุรอานแต่ละบท เมื่อถูกประทานลงมาสักสองสามโองการ อัลกุรอานบทนั้นจะค่อย ๆ สมบูรณ์ไปที่ละน้อย ดังนั้น คำถามที่ถูกถามขึ้นตรงนี้ก็คือ การจัดวางโองการต่าง ๆ ในอัลกุรอาน เป็นไปตามความเห็นชอบของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กระนั้นหรือ หรือว่าการกระทำเช่นนั้นเกิดขึ้นในสมัยของบรรดาสาวก ?
3. หรือการวางซูเราะฮฺ และวางโองการดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นฝีมือของบรรดาสาวกทั้งหลาย
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 1 :
ท่าน ซุยูฏีย์ บันทึกรายงานบทหนึ่งไว้ในหนังสือ อัลอิตติกอน ซึ่งรายงานบทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดามุสลิมต่างทราบเป็นอย่างดีว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺก่อนหน้กำหลังจะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อ “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม” ถูกประทานลงมา นั่นแสดงว่าอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะถูกประทานตามมา[1] คำกล่าวอ้างนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อัลกุรอานแต่ละซูเราะฮฺ จะถูกประทานลงมาโดยสมบูรณ์ ซึ่งบรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า นับตั้งแต่ช่วงแรกที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา อัลกุรอาน สองสามโองการในซูเราะฮฺ อัลอะลัก ก็ถูกประทานลงมา[2] ซึ่งบางครั้งบางโองการถูกประทานลงมา และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นำเอาโองการนั้นไปวางในซูเราะฮฺตามความเหมาะสม[3] ดังนั้น สมมุติฐานนี้ถือว่า เชื่อถือไม่ได้
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 2 :
ดังทัศนะแรกที่ผ่านมา  จะเห็นว่ามีโองการจำนวนมากที่กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีคำสั่งให้นำไปจัดวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการรวบรวมครั้งแรกเกิดขึ้นโดยน้ำมือของ ท่านอบูบักร์เคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง การรวบรวมอัลกุรอานครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺคนที่สาม แต่ทั้งสองครั้งก็ไม่ได้มีการสลับที่โองการแต่อย่างใด หรือหลักในการจัดเรียงโองการก็มิได้มีบทบาทแต่อย่างใด แม้ว่าอัลกุรอานบางบทเช่น “บทฟาติฮะฮฺ” จะลงมาในคราวเดียวจบ[4]
แต่สำหรับอัลกุรอานบางบท เช่น บทที่มีเนื้อความยาว ๆ โองการจะประทานลงมาสองสามโองการในตอนแรก (หมายถึงแต่ละบทจะมีโองการประทานลงมาบางส่วน และหลังจากนั้นจะทยอยลงจนจบบท)
ในกรณีนี้ท่านมัรฮูม เฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า “จุดประสงค์ของการประทาน อัลกุรอานตามขั้นตอนคือ การรักษาระเบียบในช่วงต้นของการประทานลงมากสักสองสามโองการ และก่อนที่จะจบสมบูรณ์ บทอื่นอาจจะประทานลงมาโดยสมบูรณ์ก่อน หรืออาจจะมีสองสามโองการของบทนอื่นถูกประทานลงมา หลังจากนั้นอัลกุรอานบทดังกล่าวจะประทานลงมาให้สมบูรณ์ก็ได้ ในกรณีนี้ทุกสิ่งจะย้อนกลับไปสู่ความเป็นระเบียบในเรื่องที่ประทานลงมา ทั้งที่มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ[5]
ฉะนั้น การคัดสรรโองการเพื่อนำไปวางในซูเราะฮฺต่าง ๆ เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพียงในสมัยของท่านอุสมาน ได้รวบรวมอัลกุรอานฉบับต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้เข้าด้วยกัน และแต่ละคนที่นำเอาต้นฉบับที่ตนมีอยู่มาเสนอ ซึ่งไม่มีอยู่ในต้นฉบับอื่น จะต้องนำพยานสองคนมายืนยันว่าเขาได้ยินอัลกุรอานจากท่านเราะซูลจริง[6]
วิเคราะห์ทัศนะที่ 3 :
เกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานลงมาตามขั้นตอนนั้น[7] ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การจัดระเบียบโองการเป็นไปตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นคำสั่งในลัษณะ เตาฟีกี[8] แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เครื่องหมายบางประการ กล่าวว่าอัลกุรอานบางส่วนประทานลงมาตามขั้นตอน ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยเคาะลิฟะฮฺ[9] แม้ว่ารายงานบางบท จะบ่งชี้ว่ากุรอานถูกรวบรวมแล้วในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[10] และสมมุติว่า การรวบรวมตามรายงานนี้จะเป็นทัศนะที่แข็งแรงก็ตาม แต่กระนั้นการรวบรวมอัลกุรอานก็ถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) สมัยเคาะลิฟะฮฺที่ 1 และ 2 และสุดท้ายคือ การรวบรวมในสมัยเคาะลิฟะฮฺที 3[11]
การรวบรวมอัลกุรอาน
อัลกุรอานถูกรวบรวมในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามคำสั่งของท่านศาสดา โดยการบันทึกของเซาะฮาบะฮฺบางท่าน ซึ่งการรวบรวมนี้ก็คือ การรวบรวมวะฮฺยู ในสมัยท่านอบูบักร์ มีการรวบรวมโองการต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายออกไป (เป้นเหมือนเล่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน) ในยุคสุดท้ายคือยุคของท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺที่สาม ได้รวบรวมต้นฉบับจากที่ต่าง ๆ จากพวกอาหรับ ที่มีต้นฉบับที่แตกต่างกัน โดยรวบรวมไว้ด้วยกัน[12]
มุซฮับของท่านอิมามอะลี (.)
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เริ่มต้นรวบรวมอัลกุรอาน หลังจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นวะฟาตไปแล้ว ความพิเศษของต้นฉบับนี้คือ การรวมโองการ และซูเราะฮฺไปตามวาระของการประทานอัลกุรอานอย่างละเอียด[13] กล่าวคือ มักกียะฮฺ ถูกประทานมาก่อนมะดีนะฮฺ[14] แต่ว่าอัลกุรอานฉบับของท่านอิมามอะลี (อ.) มิได้ได้การยอมรับจากบรรดาเคาะลิฟะฮฺก่อนหน้านี้[15] ที่สุดแล้วอัลกุรอานที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ฉบับที่อุสมานเคาะลิฟะฮฺที่สาม เป็นผู้รวบรวมเอาไว้ และอิมามอะลี (อ.) ลงนามยอมรับด้วย[16]
คำพูดสุดท้ายและบทสรุป : เมือพิจารณาสิ่งที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้คอ
1.การประทานโองการอัลกุรอาน แบบทยอยลงมานั้น บางครั้งลงมาในคราวเดียวทั้งซูเราะฮฺ หรือบางครั้งก็ประทานลงมาสองสามโองการก่อน
2. การประทานโองการอัลกุรอาน มีการประทานสลับซูเราะฮฺลงมา
๓. ซอฮาบะฮฺบางคนได้รวบรวมอัลกุรอาน แบบเลือกสรรโองการ แล้วนำไปวางไว้ตามซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) (มิได้บังคับให้ทำ)
๔. การเลือกสรรโองการกระทำลงไปตามคำสั่งของท่านศาสสดา
๕. การเลือกสรรซูเราะฮฺ ตามคำกล่าวอ้างนั้นได้ถูกกระทำในสมัยเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
๖. การรวบรวมอัลกุรอาน ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็คือการจดบันทึกวะฮฺยูตามคำบอกของท่านศาสดา ส่วนกุรอานในสมัยเคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง และสองคือ การรวบรวมเอาจากโองการที่กระจัดกระจายกันออกไป โดยการรวมเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนการรมในสมัยของท่านอุสมานนั้น มีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปี แล้วได้ยติลง
๗.ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอลกุรอานไปตามการประทานลงมา ขณะที่อุสมานเองก็ได้รวมอัลกุรอานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่านอิมามจึงยอมรับสิ่งทีอุสมานทำขึ้นมา เพื่อรักษาเอกภาพของสังคมมุสลิม และป้องการความแปลกแยก กับการฉวยโอกาสของศัตรู
 

[1] ท่านอิบนุอับบาส พูดว่า “ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ทราบดอกว่า อัลกุรอานบทนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จนกระทั่งว่า “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีมถูกประทานลงมา” มีคำกล่าวเสริมว่า “เมื่อบิซมิลลาฮฺ” ถูกประทานลงมา อัลกุรอานบทนั้นก็สิ้นสุดลง และอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น อัลมีซาน เล่ม 12, หน้า 186.
[2] มะอฺริฟัต มุฮัมมัด ฮาดี, อุลูมกุรอานนี, หน้า 76 สถาบั้น อัตตัมฮีม กุม 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 77, อิบนิอาชูร, อัตตะฮฺรีร วันตันวีร, เล่ม 1, หน้า 90, รายงานโดย ติรมีซี จากท่านอิบนุอับบาส จากท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน กล่าวว่า ...
«كان رسول اللّه صلّى اللّه عليه و سلّم مما يأتي عليه الزمان و هو تنزل عليه السور ذوات العدد- أي في أوقات متقاربة- فكان إذا نزل عليه الشي‏ء دعا بعض من يكتب الوحي فيقول ضعوا هؤلاء الآيات في السورة كذا».
[4] อุลูมกุรอาน หน้า 76
[5] เฏาะบัรซีรฺ ฟัฏลฺ อิบนุฮะซัน,มัจญฺมะอุลบะยาน ฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, ฉบับแปลเล่มที่ 26 หน้า 147, สำนักพิมพ์ ฟะรอฮันนี, เตหะราน 1360, ด้วยการย่อและสรุป อุลูมกุรอาน หน้า 89
[6] อัลมีซานฉบับแปล เล่ม 12, หน้า 174
[7] ทัศนะดังกล่าวนี้ นักตัฟซีรฝ่ายชีอะฮฺบางท่าน เช่น มุฮัมมัด บิน ฮะบีบุลลอฮฺ ซับซะวารียฺ นะญะฟี  บันทึกอยู่ในหนังสือ อัลญะดีด ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน อัลมะญีด” เล่ม 2, หน้า 420, และนักตัฟซีรที่มิใช่ชีอะฮฺ เช่น ท่านเชากานียฺ บันทึกไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลเกาะดีร เล่ม 1 หน้า 86 มีความเห็นที่แตกต่างออกไป
[8] ซุยูฎี “อัลอิตติกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน” เล่ม 1, หน้า 71, อุลูมกุรอานนี หน้า 119,
[9] อัลอิตกอน เล่ม 1, หน้า 69, บุคอรียฺ มุฮัมมัด เล่ม 4, หน้า 1907, ดารุล อิบนุกะซีร เบรุต 1407
[10] อะลี บินสุลัยมาน อัลอะบีด ญัมอุลกุรอาน ฮิซซอน วะกิตาบะตัน, หน้า 70,
المطلب الأول : الأدلة على كتابة القرآن الكريم في عهده صلى الله عليه وسلم ، ما رواه البخاري ومسلم عن ابن عمر  « أن رسول الله صلى الله عليه وسلم نهى أن يُسَافر بالقرآن إلى أرض العدو »
وفي لفظ لمسلم أن رسول الله صلى الله عيه وسلم قال : « لا تسافروا بالقرآن ، فإني لا آمنُ أن يناله العدو »،بیجا،بیتا
[11] อะฮฺมัด บิน อะลี อิมตินาอฺ อัลอัสมาอฺ เล่ม 4 หน้า 239, ดารุลกุตุบ อัลอาละมียะฮฺ เบรุต 1420
[12] ญัมอุลกุรอาน ฮิซซอน วะกิตาบะตัน หน้า 70, (การรวมอัลกุรอานในสมัยท่านเราะซูล), อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 69, หน้ 67, (เกี่ยวกับการรวบรวมของท่านอบูบักร์ และอุสมาน)
[13] ดังที่กล่าวไปแล้วว่า บางโองการถูกนำไปวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ อันเฉพาะเจาะจง ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
[14] อุลูมกุรอานนี หน้า 121, มุฮัมมัด บิน สะอีด, อัฏเฏาะบะกอต อัลกุบรอ, แปลโดย มะฮฺดี ดามะฆอนียฺ เล่ม 2, หน้า 324, พิมพ์ที่ ฟัรฮังวะอันดีเชะฮฺ เตหะราน ปี 1374
[15] อุลูมกุรอานนี หน้า 122
[16] เนื่องจากท่านอิมามอะลี (อ.) เมื่อเดินทางมาถึงกูฟะฮฺ (ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ) มีชายคนหนึ่งต้องการประณามท่านอุสลาม เนื่องจากท่านอุสมาน ปล่อยให้ประชาชนยุคนั้นมีอัลกุรอานเพียงฉบับเดียว ท่านอิมามอะลี (อ.) สั่งให้เขาหยุด และกล่าวต่อไปว่า ทุกสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปอย่างน้อย เราเป้นผู้ให้คำปรึกษาแก่เขา และถ้าหากฉันอยู่ในสภาพเดียวกันกับเขา ฉันก็คงจะกระทำเช่นนั้นเหมือนกัน และคงดำเนินการไปตามนั้น “อะอฺซัม อิบนุ กูฟี” อัลฟุตูฮฺ แปลโดย มุสเตาฟี ฮะระวี หน้า 997, สำนักพิมพ์ อิงเตชารอต วะออมูเซซ อิงกะลอบอิสลามมี เหหะราน ปี 1372, อุลูมกุรอานนี หน้า 133-123
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ศาสดาท่านหนึ่งมีนามว่า อิสราเอล ใช่หรือไม่? และสิ่งที่ได้ทำให้ฮะรอมสำหรับตนเองคืออะไร?
    6378 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    อิสราเอลคือชื่อของท่านยะอฺกูบ (อ.) ศาสดาท่านหนึ่งแห่งพระเจ้า และเนื่องจากความจำเป็นบางอย่างท่านไม่รับประทานเนื้ออูฐและนม โดยถือเป็นฮะรอมสำหรับตนเอง อัลกุรอานโองการที่ 93 บทอาลิอิมรอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า "كُلُّ الطَّعامِ كانَ حِلاًّ لِبَنِي إِسْرائِيلَ إِلاَّ ما حَرَّمَ إِسْرائِيلُ عَلى‏ نَفْسِهِ مِنْ قَبْلِ أَنْ تُنَزَّلَ التَّوْراةُ قُلْ فَأْتُوا بِالتَّوْراةِ فَاتْلُوها إِنْ كُنْتُمْ صادِقِينَ"؛ “อาหารทุกชนิดนั้นเป็นที่อนุมัติแก่วงศ์วานอิสรออีลมาแล้ว นอกจากที่อิสรออีล [ยะอฺกูบ] ได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามแก่ตัวเอง ก่อนที่เตารอตจะถูกประทานลงมาเท่านั้น จงกล่าวเถิดว่า ...
  • เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
    7171 เทววิทยาใหม่ 2554/10/22
    แม้ว่าความสัตย์จริงของศาสนาต่างๆในปัจจุบันบนโลกนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม, แต่รูปธรรมโดยสมบูรณ์และความจริงแท้แห่งความเป็นเอกะของพระเจ้ามีเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งท่านสามารถพบสิ่งนี้เฉพาะในคำสอนของอิสลาม, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้, ประกอบกับการสังคายนาและภาพความขัดแย้งกันทางสติปัญญาที่ปรากฏในคำสอนของศาสนาอื่น
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    7026 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • มนุษย์สามารถเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณโดยปราศจากศาสนาได้หรือไม่?
    10535 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/08
    รูปภาพของจิตวิญญาณสมัยที่โจทย์ขานกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับภาพทางจิตวิญญาณ ในความคิดของเราในฐานะมุสลิมหนึ่ง เนื่องจากความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของมุสลิมนั้น มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับคำสอนศาสนา จิตวิญญาณทางศาสนา, วางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตำแนะนำสั่งสอนของศาสนา จึงจะก่อให้เกิดสถานดังกล่าว คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับความจริงที่พ้นญาณวิสัย เหนือโลกวัตถุและความจริงที่วางอยู่บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่ามนุษย์ในระบบของการสร้างสรรค์ มีสถานภาพพิเศษ กำลังดำเนินชีวิตไปในหนทางพิเศษ อันเป็นหนทางที่ต้องอาศัยพฤติกรรมอันเฉพาะบางอย่าง อีกนัยหนึ่ง จิตวิญญาณทางศาสนา เป็นความรู้สึกหนึ่งที่มนุษย์มีต่อข้อเท็จจริง ซึ่งจะพบว่าความรู้สึกนั้นตั้งอยู่เหนือโลกของวัตถุ ขณะเดียวกันก็วางอยู่บนข้อตกลงและเงื่อนไขอันเฉพาะ ถ้าหากพิจารณาสติปัญญาที่มีขอบเขตของจำกัด ในการรู้จักมิติต่างๆ ของการมีอยู่ของมนุษย์ การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของเขา และในที่สุดการเลือกวิธีการต่างๆ ว่าจะดำเนินไปอย่างไร เพื่อไปให้ถึงสิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์ถวิลหา ดังนั้น ตรงนี้จึงไม่อาจพึงความรู้ในเชิงของเหตุผล หรือสติปัญญาได้เพียงอย่างเดียว ทว่าต้องพึ่งคำแนะนำและผู้ชี้นำทาง ซึ่งการทำความเข้าใจ และการครอบคลุมของสิ่งนั้นต้องเหนือกว่า สติปัญญา และสิ่งนั้นก็คือ วะฮฺยู ของพระเจ้า ซึ่งได้มาถึงสังคมมนุษย์โดยผ่านขบวนการของบรรดาเราะซูล ซึ่งได้แนะนำมนุษย์ให้เดินไปสู่สัจธรรมความจริงสูงสุด อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานเราะซูลลงมาคนแล้วคนเล่า ทรงทำให้ศาสนาของพระองค์สมบูรณ์ มนุษย์มีหน้าที่ตรวจสอบโดยละเอียด ...
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    8737 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย
  • เพราะอะไรต้องครองอิฮฺรอมในพิธีฮัจญฺด้วย?
    8390 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ฮัจญฺ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่มากไปด้วยรหัสยะและเครื่องหมายต่างๆ มากมาย ซึ่งมนุษย์ล้วนแต่นำพามนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ และธรรมชาติแห่งตัวตน เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าหากเราจะคิดใคร่ครวญถึงขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ชนิดก้าวต่อก้าวทั้งภายนอกและภายในของขั้นตอนการกระทำเหล่านั้น, เนื่องจากภายนอกของพิธีกรรมทีบทบัญญัติอันเฉพาะเจาะจง จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองเลยไปถึงด้านในของพิธีกรรมฮัจญฺ ถึงปรัชญาของการกระทำเหล่านี้ก็จะพบว่ามีรหัสยะและความเร้นลับต่างๆ อยู่มากมายเช่นกัน การสวมชุดอิฮฺรอม, เป็นหนึ่งในขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญฺ ซึ่งพิธีฮัจญฺนั้นจะเริ่มต้นด้วยการครองชุดอิฮฺรอม, ชุดที่มีความเฉพาะเจาะจงพิเศษสำหรับการปฏิบัติพิธีฮัจญฺ, ถ้าพิจารณาจากภายนอกสามารถได้บทสรุปเช่นนี้ว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ปวงบ่าวปฏิบัติวาญิบที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของพระองค์, ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดการสวมชุดอิฮฺรอม ให้เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และชุดนี้ก็จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษอันเฉพาะตัวด้วย เช่น ต้องสะอาด, ต้องไม่ตัดเย็บ และ...[1] ความเร้นลับของการสวมชุดอิฮฺรอม 1.ชุดอิฮฺรอม, คือการทดสอบหนึ่งในภราดรภาพและความเสมอภาค เป็นตัวเตือนสำหรับความตายที่รออยู่เบื้องหน้า, เป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่า มนุษย์หลุดพ้นพันธนาการแห่งการทดสอบ และการผูกพันอยู่กับโลกแล้ว, เขากำลังอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    20908 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8786 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    6071 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    11318 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59798 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57153 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41949 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38845 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38652 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33787 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27747 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27602 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27420 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25467 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...