การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12447
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1007 รหัสสำเนา 17849
คำถามอย่างย่อ
การตัดขาดการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม โดยปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษ มีกฎเกณฑ์เป็นเช่นไร
คำถาม
บนเงื่อนไขที่ว่าปัจจุบันมีคนชั่วที่ก่อการเสียหายอยู่เต็มทุกสังคม, ดังนั้น การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เป็นสาเหตุทำให้เกรงว่าตนจะแปดเปื้อนกับความโสโครกและความโสมม หรือบาปกรรมเหล่านั้น, ในกรณีนี้การตัดความสัมพันธ์กับสังคม โดยปลีกตัวไปสู่ความสันโดษ โดยออกห่างจากสังคมมีกฎเกณฑ์เป็นอย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิด

การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :

1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง

2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง

3.การปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม มีความขัดแย้งกับจิตวิญญาณคำสอนของศาสนาและมนุษย์ เฉกเช่นการรักษาสิทธิของผู้ศรัทธา, การประพฤติดีกับบิดามารดา, การเยี่ยมเยือนพี่น้องผู้ศรัทธาร่วมสายธารเดียวกัน, การทำให้ความต้องการของผู้ศรัทธาสัมฤทธิ์ผล, การปรับปรุงแก้ไขระหว่างประชาชาติ และ ...อีกมากมาย

4.ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างการปฏิบัติพิธีกรรมตามคำสั่งสอนของศาสนา กับชีวิตทางสังคม มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตร่วมไปในสังคม ขณะที่เขาจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่จำเป็นทางศาสนาควบคู่ไปด้วย และต้องมีความกระตือรือร้นในการรับใช้พวกเขา แม้ว่าในสังคมจะมีผู้คนคิดเหมือนท่านที่ว่า ความชั่วได้กระจายไปทั่วสังคมแล้วก็ตาม

ตามทัศนะของอิสลามในกรณีเช่นนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ศรัทธา ในฐานะของผู้ทำความสะอาดสภาพแวดล้อมของสังคม และพยายามที่จะให้บริการประชาชนย่อมมีมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

คำตอบเชิงรายละเอียด

การถือสันโดษ หรือปลีกวิเวก หรือปาวนาตนเป็นนักบวช หมายถึงการปลีกตัวไปจากสังคมและประชาชนไปอยู่ตามลำพังผู้เดียว[1] ซึ่งมีหลายประเภทด้วยกัน กล่าวคือ

1.การปลีกตัวไปอย่างสมบูรณ์และถาวร

2.การปลีกตัวที่ไม่สมบูรณ์ชั่วครู่ชั่วยาม

การปลีกตัวประเภทแรกถือว่า ไม่อนุญาต แต่การปลีกตัวหรือหลบหน้าสังคมและประชาชนไปชั่วคราว ในช่วงเวลาอันจำกัดโดยมีจุดประสงค์เพื่อการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ หรือเพื่อการขัดเกลาและการจาริกจิตใจไม่เป็นไร

บรรดาศาสดาส่วนใหญ่และผู้เป็นตัวแทนของท่าน มักจะปลีกตัวไปจากสังคมและประชาชนชั่วขณะหนึ่ง เพื่อการขัดเกลาและยกระดับจิตใจ[2] ใช้เวลาส่วนใหญ่เหล่านั้นนมาซ อธิษฐาน คิด และรำลึกถึงอัลลอฮฺ

เหตุผลการประณามและการวิพากษ์วิจารณ์การปลีกตัวประเภทแรก :

1. มีชนกลุ่มหนึ่งจากศาสนาของมูซา (อ.) และอีซา (อ.) ซึ่งมีจำนวนน้อยนิด แต่ได้หนีการปกครองที่อธรรม,เนื่องจากความหวาดกลัวในชีวิตและทรัพย์สินและศาสนาของตน พวกเขาจึงได้ปลีกตัวไปจากสังคมและประชาชน เพื่อการอิบาดะฮฺ[3]

มุสลิมบางกลุ่มคิดว่าการปลีกวิเวกไปอยู่อย่างสันโดษ เป็นวิธีการที่ถูกยอมรับ พวกเขาจึงเลือกปลีกตัวไปถือสันโดษ, แต่ได้รับการห้ามปรามจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อำลาจากโลกไปแล้ว ก็ยังมีมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งในนามของ พวกซูฟีย์ เลือกการถือสันโดษเพื่อปฏิบัติศาสนกิจส่วนตัว ขัดเกลา และจาริกจิต แต่ได้รับการห้ามปรามและไม่ได้รับการสนับสนุนจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)[4]

2.บรรดาศาสดาแห่งอัลลอฮฺ อัครสาวกและตัวแทนของพวกท่าน, แม้ว่าในช่วงสั้นๆ ของชีวิตท่านเหล่านั้นจะปลีกตัวไปสังคมและประชาชนก็ตาม แต่ในช่วงสั้นๆ นั่นเองท่านมีจุดประสงค์เพื่อการเตรียมพร้อมตัวเองให้มากยิ่งขึ้น เพื่อการยอมรับพระบัญชาของพระเจ้าที่ดีและมากกว่า ในการประกาศสั่งสอนประชาชน, ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าไม่มีใครแม้แต่คนเดียวจากท่านเหล่านั้นได้ปลีกตัวไปอย่างสมบูรณ์และถาวร พวกเขาได้มีส่วนร่วมกับประชาชนในการต่อสู้กับผู้ปกครองที่อธรรม และอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนมาโดยตลอด

3.ซุนนะอฺและการบริบาลของพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของประชาชน จะต้องจัดเตรียมพร้อมทั้งอุปกรณ์ที่นำไปสู่การหลงผิด และอุปกรณ์ที่นำไปสู่การชี้นำทาง, เนื่องจากความสมบูรณ์ของมนุษย์นั้นต้องผ่านสื่อต่างๆ เหล่านี้ไปให้ได้

ด้วยเหตุนี้เอง การปลีกตัวไปอยู่อย่างสันโดษ,ถือเป็นตัวการสำคัญหนึ่ง ที่ทำลายความจำเริญก้าวหน้าและการอบรมสั่งสอนจิตวิญญาณของศาสนาให้สูญสิ้นไป

4.ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า นักบวชในหมู่ประชาชาติของฉันคือ การอพยพ, การญิฮาด,นมาซ, ถือศีลอด, การประกอบพิธีฮัจญฺ และอุมเราะฮฺ[5]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวประโยคหนึ่งที่เน้นเฉพาะศาสนาอิสลามว่า “การปลีกวิเวกเพื่อความสันโดษ โดยห่างไกลจากประชาชนและสังคม ไม่มีอยู่ในคำสอนของศาสนาอิสลาม”[6]

5.การปลีกวิเวกเพื่อถือสันโดษสมบูรณ์และถาวรไปจากประชาชน มีความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงกับจิตวิญญาณคำสอนของศาสนา เช่น การรักษาสิทธิของมวลผู้ศรัทธา, การประพฤติดีกับบิดามารดา,การเยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ศรัทธาร่วมสายธารเดียวกัน, การทำให้ความต้องการของผู้ศรัทธาสัมฤทธิ์ผล,การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในหมู่ประชาชน, การให้อาหารแก่ผู้ศรัทธา, การช่วยเหลือภารกิจการงานของผู้ศรัทธา, การรักษาสัมพันธ์ทางเครือญาติ และ ...อื่นๆ อีกมากมาย[7]

ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ ระหว่างการปฏิบัติพิธีกรรมตามคำสั่งสอนของศาสนา กับการดำรงชีวิตทางสังคมไม่มีความขัดแย้งกันแม้แต่นิดเดียว, ทว่าการปลีกตัวในชีวิตทางสังคมควบคู่กับการักษาวัตถุประสงค์ของสิ่งนั้น เราก็สามารถกระทำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากจิตวิญญาณของพิธีกรรมทางศาสนาคือการปลีกตัวหาเวลาว่าง, ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างไปจากการออกห่างประชาชนและสังคม เช่น การดำรงวุฎูอฺเสมอ, การรำลึกถึงอัลลอฮฺและอ่านอัลกุรอานประจำ, การนอนน้อย, การพูดน้อย, การรับประทานน้อย, เพื่อปาวนาตัวเองให้อยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของอัลลอฮฺ และ ...[8] ซึ่งขณะที่เราใช้ชิวิตอยู่ในสังคมก็สามารถรักษาสิ่งเหล่านี้ควบคู่ไปด้วยได้อย่างไร้ปัญหา เนื่องจากเป้าหมายโดยแท้จริงของสิ่งนี้ก็คือ ความสมบูรณ์ของศาสนา การรักษาเวลา การพิจารณาสภาพของจิตและความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติ ซึ่งเป้าหมายทั้งหมดเหล่านี้คือวัตถุประสงค์ที่สามารถทำให้เกิดได้ในชีวิตทางสังคมและศาสนา

นอกจากนี้แล้วการอยู่ร่วมกับประชาชนในสังคม จะไม่มีปัญหาเรืองการปลีกวิเวกเพื่อความสันโดษแต่อย่างใด

สรุปก็คือว่า มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในสภาพเช่นใดก็สามารถรำลึกถึงอัลลอฮฺได้ทั้งสิ้น และยังสามารถขัดเกลา จาริก และยกระดับจิตใจตนให้สูงได้ตลอดเวลาอีกด้วย



[1] อัตตะรีฟาต,ซัยยิดชรีฟ อะลี บินมุฮัมมัด ญุรญานียฺ, หมวด ฆัยน์, นิยามของซูฟียฺ, กะมาลุดดีน อับดุรเราะซาก กาชานีย์, หมวดอักษร คอ, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 173.

[2] มิอฺรอจญ์ สะอาดะฮฺ, หน้า 569.

[3] ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 178.

[4] มิซบาฮุลฮิดายะฮฺ, หน้า 115.

[5] ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่ม 19, หน้า 178.

[6] อุซูลกาฟีย์, กิตาบอีมานวะกุฟร์, หมวดชะรอยิอ์, เล่ม 1.

[7] อุซูลกาฟีย์, กิตาบอีมานวะกุฟร์, กิตาบดุอาอฺ, กิตาบมะอาชิรัต.

[8] เคมีสะอาดะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 454, มิซบาฮุลฮิดายะฮฺ, หน้า 117, อะวาริฟุล มะอาริฟ, หน้า 213, 220

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8164 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    11463 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • มีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่ ซูเราะฮ์เราะอ์ด وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا
    7770 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ในประเด็นที่ว่าโองการوَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... หมายความว่าอย่างไรนั้นนักอรรถาธิบายกุรอานได้นำเสนอไว้สองทัศนะด้วยกัน1. โองการต้องการจะสื่อว่าหากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขาหรือแยกแผ่นดินหรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอานทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือทุกคัมภีร์2. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหารโดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้นแม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการหรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำหรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตามแต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ. ...
  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17066 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4039 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • อะฮ์ลุลบัยต์หมายถึงบุคคลกลุ่มใด?
    11348 ปรัชญาอิสลาม 2554/06/28
    คำว่า“อะฮ์ลุลบัยต์”เป็นศัพท์ที่ปรากฏในกุรอานฮะดีษและวิชาเทววิทยาอิสลามอันหมายถึงครอบครัวท่านนบี(ซ.ล.) ความหมายนี้มีอยู่ในโองการตัฏฮี้ร(อายะฮ์33ซูเราะฮ์อะห์ซาบ).นักอรรถาธิบายกุรอานฝ่ายชีอะฮ์ทั้งหมดและฝ่ายซุนหนี่บางส่วนแสดงทัศนะฟันธงว่าโองการดังกล่าวประทานมาเพื่อกรณีของชาวผ้าคลุมอันหมายถึงตัวท่านนบีท่านอิมามอลีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน. อะฮ์ลุลบัยต์ในที่นี้จึงหมายถึงบุคคลเหล่านี้ (อ้างจากฮะดีษที่รายงานจากอิมามอลีอิมามฮะซันอิมามฮุเซนอิมามซัยนุลอาบิดีนและอิมามท่านอื่นๆรวมทั้งที่รายงานจากอุมมุสะลามะฮ์อาอิชะฮ์อบูสะอี้ดคุดรีอิบนุอับบาสฯลฯ) นอกจากนี้ยังมีฮะดีษจากสายชีอะฮ์และซุนหนี่ระบุว่าอะฮ์ลุลบัยต์หมายรวมถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนจนถึงอิมามมะฮ์ดี(อ.)ด้วยเช่นกัน. ...
  • สามารถครอบครองที่ดินบริจาคได้หรือไม่? สามารถขายที่ดินบริจาคได้หรือไม่?
    5281 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    โปรดพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    5597 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8484 انتظار فرج 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8175 گناه 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59028 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56446 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38131 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37879 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33200 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27306 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26921 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26799 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24887 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...