การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10343
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
คำถาม
ถ้าเป็นผู้นิยมการค้นคว้าวิจัยอย่างแท้จริง และหลังงานวิจัยได้บทสรุปว่า ศาสนาของศาสดาอีซามะซีฮฺ, มีความสมบูรณ์ยิ่งกว่าศาสนาอิสลาม และได้ออกนอกอิสลามไป บุคคลเช่นนี้ต้องถูกประหารชีวิตหรือไม่ สมมุตว่าเขาตกศาสนาโดยกำเนิด?
คำตอบโดยสังเขป

แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น

บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น

อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ที่มิใช่นักปราชญ์หรือผู้เชี่ยวทางศาสนาอีกด้วย

ในยุคแรกของอิสลาม ศัตรูอิสลามกลุ่มหนึ่งได้พยายามวางแผนการณ์ โดยเปลือกนอกแสร้งทำเป็นยอมรับอิสลาม ต่อมาได้ออกนอกศาสนา เพื่อว่าการกระทำของพวกเขาจะได้ทำให้ความศรัทธาของประชาชนเกิดความอ่อนแอลง

อิสลามต้องการปกป้องภัยคุกคามเหล่านี้, จึงได้วางบทลงโทษที่หนักหน่วงสำหรับผู้ที่ออกนอกศาสนาเอาไว้, แม้ว่าการพิสูจน์ความจริงเหล่านั้นจะยากลำบากก็ตาม, ดังนั้น จะเห็นว่ามีคนบางกลุ่มในยุคแรกของอิสลามที่ได้รับการลงโทษดังกล่าว, ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าในแง่ของจิตวิทยาการลงโทษดังกล่าวมีผลเกินตัว, และสามารถสร้างบรรยากาศที่สมบูรณ์สำหรับสังคมส่วนรวมได้, ฉะนั้น การลงโทษผู้ตกศาสนา, จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่โน้มน้าวบุคคลที่มิใช่มุสลิม ให้สนใจอิสลามมากยิ่งขึ้น, และยังช่วยปกป้องความอ่อนแอของอีมาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ,[1]แน่นอนว่า คำสั่งนี้มิได้เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลหนึ่งตั้งตนเป็นปรปักษ์กับรากหลักของศาสนา, กล่าวคือถ้าหากบุคคลหนึ่งยอมรับอิสลามแล้ว และเติบโตขึ้นมาภายในครอบครัวที่เคร่งครัดศาสนา แต่ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากหลักศรัทธาประการหนึ่ง แล้วต่อต้านซึ่งผลจากความเชื่อส่วนบุคคล ได้ลามไปสู่สังคม และนำไปสู่การต่อต้านศาสนา หรือสร้างความเสื่อมทรามทางความคิดแก่สังคม ซึ่งทำให้เกิดความลังเลใจในการจำแนกสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขาได้ก่ออาชญากรรมทางสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องถูกลงโทษอย่างสาหัส[2]

กล่าวคือ การลงโทษคนที่ออกนอกศาสนาอันเนื่องมาจาก เขาได้ก่ออาชญากรรมทางสังคม แม้ว่าบุคลลดังกล่าวได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาความจริงแล้วก็ตาม ก็ต้องได้รับการลงโทษ เพียงแต่ว่าการตกศาสนาของเขาจะได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, และตามความเป็นจริงแล้วในขอบข่ายของบทบัญญัติส่วนตัวเขาไม่ใช่อาชญากรก็ตาม

สำหรับความชัดแจ้งในคำตอบ, จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ :

ประเด็นที่ 1 : ผู้ออกนอกศาสนา (มุรตัด) คือใคร?

มุรตัด หมายถึงบุคคลที่ได้ออกนอกอิสลามไปแล้ว, และเลือกการปฏิเสธศรัทธาแทน[3] ได้ออกนอกอิสลามพร้อมกับปฏิเสธรากหลักของศาสนา, หรือปฏิเสธหลักศรัทธาข้อใดข้อหนึ่ง (ความเป็นเอกะของพระเจ้า, นบูวัต, และมะอาด) หรือปฏิเสธข้อบังคับของศาสนา –ซึ่งข้อบังคับดังกล่าวนั้นเป็นที่ชัดเจนสำหรับมุสลิมทั้งหลาย- ในลักษณะที่ว่า เป็นการปฏิเสธสาส์นของศาสดาด้วย และตัวของเขาเองก็ใส่ใจต่อสิ่งดังกล่าว ดังนั้น จึงถือว่าเขาออกนอกศาสนาไปแล้ว[4]

การออกนอกศาสนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ :

มุรตัดฟิฏรียฺ : หมายถึงบุคคลหนึ่งขณะที่บิดามารดได้ร่วมหลับนอน และเกิดปฏิสนธิขึ้นระหว่างนั้น โดยที่ทั้งสองอยู่ในสภาพของมุสลิม และตัวของเขาหลังจากบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติแล้ว ได้ประกาศตนเป็นมุสลิม, หลังจากนั้นได้ออกนอกอิสลาม[5]

มุรตัดมิลลี : หมายถึงบุคคลที่บิดามารดาของเขาขณะปฏิสนธิมิได้เป็นมุสลิม หรือเป็นกาเฟร, และหลังจากบรรลุศาสนภาวะแล้วเขาได้ประกาศว่าเป็นกาฟิร หลังจากนั้นได้ยอมรับอิสลาม, แต่ต่อมาได้กลับไปเป็นกาฟิรอีกครั้งหนึ่ง[6]

ประการที่ 2: บทบัญญัติของมุรตัดในศาสนาแห่งพระเจ้าและศาสนาอิสลาม

ตามหลักการฟิกฮฺของชีอะฮฺ, มุรตัดมีบทบัญญัติบางประการด้านแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่อง ทรัพย์สมบัติและคู่ครอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว บทบัญญัตินี้ยังมิได้ถูกถามถึง, บทลงโทษเกี่ยวกับมุรตัดคือ : บุรุษที่ตกมุรตัดโดยกำเนิด ต้องถูกประหารชีวิต การลุแก่โทษของเขา ณ ผู้พิพากษาไม่ถูกยอมรับ, ส่วนมุรตัดมิลลี อันดับแรกจะเชิญชวนในลุแก่โทษก่อน, กรณีที่เขาได้ลุแก่โทษจะได้รับอิสรภาพ, แต่ถ้าไม่เขาก็จะถูกประหารชีวิตเช่นกัน, สตรีที่ตกมุรตัด,ไม่ว่าจะเป็นมุรตัดฟิฏรียฺหรือมิลลีก็ตาม จะไม่ถูกประหารชีวิต ทว่าจะได้รับการเชิญชวนไปสู่การลุแก่โทษ, ถ้าเธอได้ลุแก่โทษก็จะได้รับอิสรภาพ, แต่ถ้าไม่จะถูกจำคุก[7]

ส่วนหลักฟิกฮฺของฝ่ายซุนนียฺ ตามทัศนะส่วนใหญ่, มุรตัด –ทุกประเภท- อันดับแรกจะเชิญชวนไปสู่การลุแก่โทษ, ถ้าหากได้ลุแก่โทษเขาจะได้รับอิสรภาพ, แต่ถ้าไม่จะถูกประหารชีวิตโดยไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง มุรตัดฟิฏรียฺหรือมิลลี, ชายหรือหญิง[8]

การออกนอกศาสนาในศาสนาอื่นแห่งฟากฟ้า ที่นอกเหนือจากอิสลามถือว่าเป็นอาชญากรรมและได้ทำบาปอย่างใหญ่หลวง ซึ่งบทลงโทษคือ ความตาย[9]

ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า มุรตัด ในทุกศาสนาถือว่าเป็น อาชญากรรมและเป็นบาป ซึ่งมีบทลงโทษคือความตาย (เพียงแต่แตกต่างกันในเรื่องเงื่อนไข)

ประการที่ 3 : ปรัชญาของการลงโทษมุรตัด

เพื่อความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับปรัชญาการลงโทษ มุรตัด จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ :

1.บทบัญญัติอิสลาม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ ปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวม, แน่นอน บทบัญญัติที่เกี่ยวกับสังคมนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเหมาะสม สถานภาพ และความถูกต้องทางสังคม, บางครั้งการเติมเต็มสถานภาพดังกล่าว, จำเป็นต้องจำกัดอิสรภาพส่วนตัวให้ลดน้อยลง, ซึ่งประเด็นนี้ไม่มีสังคมใดบนโลกนี้สามารถปฏิเสธได้

2.บุคคลที่เป็น มุรตัด ถ้าหากได้พยายามศึกษาค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองแล้ว, การเป็นมุรตัดของตน ณ อัลลอฮฺ ย่อมได้รับการอภัย, และในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดอันใดทั้งสิ้น[10] แต่ถ้าเขาเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจต่อการศึกษาค้นคว้าหาความจริงแล้วละก็, ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวก็ถือว่าเขามีความผิดเช่นกัน

เมื่อใดก็ตามบุคคลที่เป็น มุรตัด ได้เผยแผ่การออกนอกศาสนาของตนไปสู่สังคม, ความประพฤติของเขาก็จะเข้าไปสู่บทบัญญัติของสังคมส่วนรวม ดังนั้น เงื่อนไขของบัญญัติที่ว่าด้วยสังคมส่วนรวม ก็จะถูกนำมาปฏิบัติกับเขา ในกรณีนี้ถือว่าเขาเป็น อาชญากร เนื่องจาก :

ประการแรก : เขาได้ทำลายสิทธิของบุคคลอื่น, เนื่องจากเขาได้สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้เกิดขึ้นในความคิดของคนอื่น ก่อให้เกิดความลังเลสองจิตสองใจ ฉะนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าการสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้เกิดขึ้น ในความคิดของส่วนรวมเป็นสาเหตุทำให้จิตวิญญาณและอีมานของสังคม บังเกิดความอ่อนแอ ขณะที่การวิจัยเรื่องข้อสงสัยต่างๆ อยู่ในความสามารถของผู้มีความเชี่ยวชาญด้านศาสนาเท่านั้น, ซึ่งสังคมส่วนใหญ่แม้ว่าจะมีศาสนา แต่ก็มิได้มีศักยภาพเพียงพอต่อการค้นคว้า และพวกเขามีสิทธิอยู่ในสังคมที่มีความเข้มแข็งและสมบูรณ์

ประการที่สอง : เป็นที่แน่นอนว่า การปกป้องจิตวิญญาณและความเชื่อศรัทธาของสังคม เป็นสิทธิของประชาชนทุกคน, ซึ่งอิสลามถือว่าสิ่งนั้นเป็นความเหมาะสมของสังคม ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับการสนับสนุนอย่างดีว่าสิ่งนั้นเป็นสัญลักษณ์ของศาสนา[11] ซึ่งมีการห้ามปรามไว้ว่ามิให้ทำลายสิ่งนั้น[12]

สุดท้ายผู้ที่ออกนอกศาสนาบางที่ในทัศนะของบทบัญญัติปัจเจกชน อาจจะไม่ใช่อาชญากร, แต่ในแง่ของสังคมเขาคืออาชญากรก็ได้

3.เนื่องจากผู้ที่เป็นมุรตัดถือว่าเป็น อาชญากร,ฉะนั้น ปรัชญาการลงโทษพวกเขาจึงสามารถอธิบายได้ดังนี้

ก) พวกเขาสมควรได้รับการลงโทษ : บทลงโทษผู้เป็นมุรตัด, เป็นการลงโทษไปตามช่องว่างของจริยธรรมที่เขาได้ก่อขึ้น,กล่าวคือ ช่องว่างในแง่จริยธรรมศาสนาเกิดขึ้นมากเท่าใด หรือเป็นการทำลายสิทธิทางสังคมมากเท่าใด บทลงโทษก็จะหนักขึ้นไปตามนั้น, เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนว่าสังคมใดก็ตาม จิตวิญญาณของศาสนาอ่อนแอลง สังคมก็จะยิ่งห่างไกลจากความเจริญผาสุกอันแท้จริงมากเท่านั้น แม้ว่าในแง่ของเทคโนโลยีจะพัฒนาล้ำหน้าไปไกลแล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง นอกจากจะออกนอกศาสนาแล้ว ทุกการกระทำที่ทำให้ความเชื่อศรัทธาและอีมานของสังคม อ่อนแอลงเขาผู้นั้นต้องได้รับการลงโทษอันสาหัส, เช่น การด่าประจารท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรืออิมาม (อ.) เป็นต้น เนื่องจากเมื่อใดก็ตามความศักดิ์สิทธิ์ของสังคมถูกทำลายลง ความบิดเบือนทางศาสนา และความหายนะก็จะเปิดกว้างขึ้น

ข) ป้องกันการเผยแผ่การออกนอกศาสนา โดยบุคคลที่เป็นมุรตัด: ตรงนี้บุคคลที่เป็นมุรตัด ตราบที่เขามิได้เผยแผ่หรือประกาศการออกนอกศาสนาของตน เท่ากับเขายังมิได้ก่อความผิดแก่สังคม, ฉะนั้น การลงโทษอันหนักหน่วงที่อิสลามได้กำหนดไว้สำหรับ บุคคลที่ออกนอกศาสนา ก็เพื่อปิดกั้นการเผยแผ่ความเป็นมุรตดของเขา

ค) เป็นเครื่องของการให้ความสำคัญต่อศาสนาในสังคม : ขบวนการกฎหมายและการลงโทษของสังคม ได้ร่างขึ้นมากฎขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ภารกิจใดมีความสำคัญมากกว่ากัน ฉะนั้น บทลงโทษสำหรับผู้ออกนอกศาสนาหนักหน่วงก็เนื่องจาก ต้องการรักษาจิตวิญญาณและความศรัทธาของสังคมให้เข้มแข็งต่อไป

ง) เพื่อเชิญชวนให้ใคร่ครวญในศาสนา,ก่อนที่จะยอมรับ: บทลงโทษผู้ออกนอกศาสนา, เป็นการกระตุ้นเตือนบุคคลที่มิใช่มุสลิมว่า ให้ใส่ใจ ใคร่ครวญ และพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะประกาศยอมรับอิสลาม แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวเป็นการป้องกันความศรัทธาที่เรรวน หรือความศรัทธาที่อ่อนแอหวั่นไหวไปตามสภาพ

จ) การลดหย่อนโทษอื่น : ในทัศนะของศาสนากล่าวว่า การลงโทษบนโลกนี้คือสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การลดหย่อนโทษในปรโลก, อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีเมตตายิ่งกว่าที่มนุษย์ได้คิดไว้ว่า สำหรับความผิดหนึ่งต้องได้รับโทษถึง 2 ครั้ง,รายงานได้บ่งบอกให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวว่า ในยุคแรกของอิสลามมีความเชื่อว่า การลงโทษบนโลกนี้จะทำให้การลงโทษในปรโลกถูกยกเลิกไป จึงได้มีการสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดสารภาพและขอลุแก่โทษในความผิด

อย่างไรก็ตาม : แม้ว่าอย่างน้อยที่สุดการลงโทษบนโลกนี้จะช่วยลดหย่อนการลงโทษในปรโลกได้ ทว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเปิดโอกาสให้มนุษย์อีกวิธีหนึ่งด้วยความการุณย์ของพระองค์ นั้นคือ การเตาบะฮฺหรือกลับตัวกลับใจด้วยความจริงใจ, ฉะนั้นถ้าหากผู้กระทำความผิดได้ลุแก่โทษด้วยความจริงใจ ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการลงโทษในโลกนี้ ความผิดของเขาก็จะได้รับการอภัย

4.ข้อระวังในการร่างกฎหมาย : บางที่ปรัชญาการลงโทษผู้เป็นมุรตัดได้ถูกสาธยายไปแล้ว และสิ่งที่กล่าวไว้ในอัลกุรอานเกี่ยวกับแผนการร้ายของชาวคัมภีร์[13] อาจจะไม่ครอบคลุมผู้เป็นมุรตัดทั้งหมดก็ได้ กล่าวคือ บุคคลที่เป็นมุรตัด มิเคยมีเจตนาที่จะชักจูง หรือมิมีเจตนาที่ทำลายความเชื่อของสังคม ประกอบการเป็นมุรตัดของเขา มิได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อของสังคม, แต่กระนั้นอิสลามก็มิได้ลดหย่อนการลงโทษแก่เขา สาเหตุของมันคืออะไร? อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า ภารกิจหนึ่งซึ่งปรัชญาของการลงโทษมุรตัด มิได้ครอบคลุมเหนือเขา ดังนั้น แล้วเป็นเพราะสาเหตุใดที่อิสลามยังต้องลงโทษเขาอีก?

คำตอบ : ทุกตัวบทกฎหมายประเด็นของกฎหมายนั้น จะครอบคลุมกว้างมากกว่าปรัชญาของมัน ซึ่งเรียกสิ่งนั้นว่า ข้อควรระวังในการร่างกฎหมาย และสิ่งนี้ก็ด้วยเหตุผลนี้เอง จะขอกล่าวถึง 2 ประเด็นสำคัญที่สุดของกฎหมาย กล่าวคือ

ก) บางครั้งเงื่อนไข คือตัวกำหนดประเด็นหรือหัวข้อที่แท้จริง ไม่ใช่ในลักษณะที่ว่ามนุษย์สามารถรับผิดชอบในการแบ่งแยกสิ่งเหล่านั้นได้, เช่น ปรัชญาหลักของการห้ามจอดรถมอเตอร์ไซบนท้องถนน, ก็เพื่อควบคุมและจัดระบบการจลาจรในท้องถนน และปรัชญาของสิ่งนี้ก็เนื่องจากว่า ท้องถนนไม่เคยว่าง แต่ขณะเดียวกันตำรวจจลาจรจะห้ามจอดรถบนถนนตลอดไป เนื่องจากไม่สามารถมอบให้ประชาชนแบกรับความรับผิดชอบการจลาจรที่ติดขัดเช่นนั้นได้

ข) บางที่การให้ความสำคัญต่อกฎเกณฑ์ข้อหนึ่งนั้นก็มากมาย เนื่องจากผู้ร่างกฎเกณฑ์ได้ทำด้วยการระมัดระวัง วางขอบข่ายของประเด็นให้มีความกว้างขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนสามารถปฏิบัติตามกฎนั้นจริง เสมือนดังเช่น ค่ายทหาร, สิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารจำเป็นต้องห่างไกลจากสายตาประชาชน เพื่อจะได้อยู่เป็นความลับต่อไป แต่ทหารมีความระมัดระวัง เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญ จึงจัดตั้งเครื่องอำนายความสะดวก ให้ห่างไกลไปอีกหลายเท่าเพื่อจะได้มั่นใจในการเติมเต็มเป้าหมายของตน

ในการร่างกฎหมายอิสลามก็เช่นเดียวกัน 2 ประเด็นสำคัญตามกล่าวมา ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ซึ่งอัลลอฮฺทรงกำหนดขอบเขตของหัวข้อของบทบัญญัติให้กว้างกว่า หัวข้อที่แท้จริงของปรัชญาของบทบัญญัติ เพื่อจะได้มั่นใจได้ว่าปรัชญาของสิ่งนั้นครอบคลุมทั่วทั้งหมดแล้ว

เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรัชญาการลงโทษในอิสลาม :

- ศึกษาได้จาก : ปรัชญาแห่งสิทธิ, กุดเราะตุลลอฮฺ โคสโรชาฮี-มุเฏาะฟา ดอนิช พะชู สถาบันการเรียนการสอนอิมามโคมัยนี, หน้า 210-222

- อัดล์ อิลาฮียฺ, ชะฮีด มุเฏาะฮะรียฺ, สำนักพิมพ์ซ็อดรอ

- ศึกษาได้จาก : การอธิบายความโองการ “ไม่มีการบังคับในศาสนา” ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 2, หน้า 278, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 360.

 


[1] ไม่มีการบีบบังคับในศาสนา, บทบะเกาะเราะฮฺ, 256.

[2] สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม, โปรดดูได้จาก “ออเชะนอบอมะซอฮิบอิสลาม” (15) คำถามตอบตามทัศนะของสุนียฺและชีอะฮฺ, หน้า 116-117.

[3] อิมามโคมัยนี (รฎ.), ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 2, หน้า 366, อิบนุกุดามะฮฺ, อัลมุฆนี, เล่ม 10, หน้า 74.

[4] อิมามโคมัยนี (รฎ.), ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 1, หน้า 118.

[5] อิมามโคมัยนี (รฎ.), ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 2, หน้า 366, บางคนกล่าวว่า อิสลาม หนึ่งในบิดามารดาขณะเกิดคือเงื่อนไขสำคัญ (คูอียฺ,มะบานี ตะกัลป์ละมะฮฺ อัลมินฮาจญฺ เล่ม 2 หน้า 451) บางคนกล่าว่า การเผยอิสลามหลังจากบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ มิใช่เงื่อนไข (ชะฮีดซานี, มะซาลิก อัลอัฟฮาม, เล่ม 2, หน้า 451)

[6] อิมามโคมัยนี (รฎ.), ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 2, หน้า 336.

[7]อิมามโคมัยนี (รฎ.), ตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 2, หน้า 494.

[8] อับดุรเราะฮฺมาน อัลญะซีรียฺ, อัลฟิกฮฺ อะลัลมะซาฮิบ อัลอัรบะอะฮฺ, เล่ม 5, หน้า 424, อบูฮะนะฟะฮฺ มีทัศนะเหมือนกับชีอะฮฺที่ว่ามีความแตกต่างกันระหว่างชายกับหญิง (อบูบักร์ อัลกาซานียฺ, บิดาอุซซะนาบิอ์, เล่ม 7, หน้า 135) ฮะซัน บัซรียฺ ไม่ยอมรับเรื่องการเชิญไปสู่การลุแก่โทษ (อิบนุกุดามะฮฺ, อัลมุฆนี, เล่ม 10, หน้า 76)

[9] โปรดศึกษาจาก สัญญาฉบับเก่า, สารการเดินทาง, บทที่ 13,คัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลภาษาฟารซียฺ วิลเลียม โคล, ดารุลซัลตะนะฮ์, ลอนดอน, คศ. 1856, หน้า 8-357, คัมภีรไบเบิล,ดารุล อัลมัชริก, เบรุต

[10] อัลลอฮฺตรัสว่า "لا يكلف اللَّه نفساً الّا وسعها" จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของเขาเท่านั้น, (บะเกาะเราะฮฺ 286)

[11] อัลกุรอาน บทฮัจญฺ, 32.

[12] บทมาอิดะฮฺ, 2.

[13] บทอาลิอิมรอน, 72.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...