การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8706
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10521 รหัสสำเนา 20025
คำถามอย่างย่อ
กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
คำถาม
กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
คำตอบโดยสังเขป
ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมี มีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)
ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้ เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(..)บ่งบอกว่าตำแหน่งดังกล่าวว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของอะฮ์ลุลบัยต์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกอะฮ์ลุลบัยต์มานั่งใต้ผ้าคลุมในสถานที่ๆมีเพียงบุคคลเหล่านี้เท่านั้น อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงอิมามอลีในฐานะผู้สืบทอดอีกด้วย และจบท้ายด้วยประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนบี(..)กับอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน
ส่วนภาวะปลอดบาปของบุคคลเหล่านี้ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยสำนวนที่ว่า وَ اَذْهِبْ عَنْهُمُ الرِّجْسَ وَ طَهِّرْهُمْ تَطْهیراً สรุปคือ ฮะดีษนี้มีความสำคัญในสองแง่มุม นั่นคือประเด็นอิมามัตและอิศมัต
คำตอบเชิงรายละเอียด

มีรายงานมากมายที่กล่าวถึงฮะดีษกิซาอ์โดยสังเขป[1] ทุกบทรายงานตรงกันว่า ท่านนบี(..) ได้เรียกอิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.) มาอยู่ใต้ผ้าคลุมร่วมกับท่าน แล้วกล่าวว่า
โอ้อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้คือคนในครอบครัวของข้าพระองค์ ขอทรงขจัดมลทินให้ห่างจากพวกเขาทันใดนั้นเอง โองการนี้ก็ประทานแก่ท่าน إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ نازل گردید

ฮากิม ฮัสกานี ผู้รู้ที่มีชื่อเสียงฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้รายงานฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ชะวาฮิดุตตันซี้ล[2] และซัยยิด บิน ฏอวู้ส[3]ก็ได้รายงานฮะดีษดังกล่าวจากสายรายงานที่หลากหลาย
แต่สิ่งที่เราจะกล่าวถึง  ที่นี้ก็คือฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาส กุมี
รายงานชิ้นนี้มีความสำคัญในสองแง่มุมเป็นพิเศษ

1. พิสูจน์ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์
ในเบื้องต้น ฮะดีษกิซาอ์บ่งบอกถึงประเด็นอิมามัตและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ โดยได้จำกัดตำแหน่งนี้ไว้เฉพาะบุคคลดังกล่าว
. ความเป็นอิมามของอะฮ์ลุลบัยต์:  ท่านนบี(..)กล่าวถึงภาวะผู้นำของอิมามอลี(.)ในหลายเหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งฮะดีษกิซาอ์ก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์เหล่านั้น ท่อนหนึ่งของฮะดีษนี้ระบุว่าท่านนบี(..)กล่าวถึงอิมามอลี(.)ว่าเป็นน้องชาย เคาะลีฟะฮ์ และผู้ถือธงชัยของท่าน[4] ท่านต้องการจะให้ผู้คนทราบถึงฐานันดรและความสำคัญของอะฮ์ลุลบัยต์ เพื่อจะได้รักษาเกียรติยศของพวกเขาภายหลังจากท่าน จึงได้รวบรวมบุคคลดังกล่าวไว้ใต้ผ้าคลุมพร้อมกับกล่าวว่า บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นสมาชิกครอบครัว คนพิเศษ และวงศ์วานของฉัน เนื้อพวกเขาคือเนื้อของฉัน เลือดพวกเขาคือเลือดของฉัน ผู้ใดทำให้พวกเขาเจ็บปวดเท่ากับทำให้ฉันเจ็บปวด ผู้ใดทำให้พวกเขาโศกเศร้า เท่ากับทำให้ฉันโศกเศร้า ฉันรบกับผู้ที่ก่อสงครามกับพวกเขา และสันติกับผู้ที่สานสันติกับพวกเขา จึงขอให้พระองค์ทรงประสาทพร และมอบบะเราะกัตและความรัก และความอภัยโทษแก่ข้าพระองค์และพวกเขา

. จำกัดกรอบตำแหน่งอิมามัต:  หลังจากที่อิมามฮะซัน อิมามฮุเซน  อิมามอลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (.) เข้าพบท่านนบี(..) ท่านได้คลุมบุคคลเหล่านี้ด้วยผ้าคลุมเยเมน และขอพรจากพระองค์ให้พวกเขาหลุดพ้นจากมลทินทั้งปวง เป็นเหตุให้อัลลอฮ์ทรงประทานโองการลงมา คำถามก็คือ พฤติกรรมดังกล่าวของท่านนบี(..) มีเหตุผลรองรับหรือไม่? หรือว่าปราศจากเหตุผลใดๆรองรับ?
แน่นอนว่าบุคคลที่ยิ่งใหญ่อย่างท่านนบี(..)ย่อมไม่กระทำสิ่งใดโดยปราศจากเหตุผลอย่างแน่นอน[5] เมื่อพิจารณาถึงประโยคก่อนและหลังโองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ... จะพบว่าท่านประสงค์จะจำแนกอะฮ์ลุลบัยต์ออกจากบุคคลทั่วไป และต้องการจะสื่อว่าโองการดังกล่าวจำกัดเฉพาะบุคคลเหล่านี้เท่านั้น เพื่อไม่ให้ผู้ใดเข้าใจผิดคิดว่าสมาชิกครอบครัวของท่านนบีทั้งหมดทุกคนเป็นอะฮ์ลุลบัยต์  ทั้งนี้ ถ้าหากท่านนบีไม่ได้จำแนกเช่นนั้น อาจทำให้บางคนเข้าใจว่าภรรยานบีและเครือญาติคนอื่นๆของท่านอยู่ในกรอบความหมายของโองการด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีรายงานว่า ท่านนบี(..) กล่าวย้ำถึงสามครั้งว่าโอ้ อัลลอฮ์ บุคคลเหล่านี้เท่านั้นที่เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพระองค์ ขอทรงขจัดมลทินจากพวกเขาเทอญ[6]
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากตำราอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ว่า ท่านนบี(..) แวะมาเคาะประตูบ้านของอิมามอลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) โดยพร่ำกล่าวว่า 

السلام علیکم أهل البیت و رحمة الله و برکاته ، الصلاة رحمکم الله »، إنما یرید الله لیذهب عنکم الرجس أهل البیت و یطهرکم تطهیرا[7] [8]

2. พิสูจน์ภาวะปลอดบาป (อิศมัต)
อีกแง่มุมหนึ่งที่สะท้อนจากฮะดีษกิซาอ์ก็คือภาวะปลอดมลทินของอะฮ์ลุลบัยต์และบรรดาอิมาม ทั้งนี้ จากการที่ฮะดีษดังกล่าวเป็นเหตุที่โองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ ประทานลงมา ฉะนั้น ในเมื่อโองการดังกล่าวบ่งบอกถึงภาวะปลอดบาป ฮะดีษนี้ก็บ่งบอกในทำนองเดียวกัน
นักอรรถาธิบายบางคนจำกัดความหมายของริจส์เพียงแค่การตั้งภาคี หรือบาปใหญ่ที่น่ารังเกียจเช่น ซินา...ฯลฯ ทว่าจริงๆแล้วไม่มีเหตุผลใดรองรับการจำกัดความหมายเช่นนี้ ความหมายเชิงกว้างของ ริจส์ (เมื่อคำนึงว่ามีอลีฟลามที่ให้ความหมายเชิงกว้าง) ครอบคลุมถึงมลทินและบาปกรรมทั้งปวง เนื่องจากบาปทุกชนิดล้วนถือเป็นมลทินทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้กุรอานจึงใช้คำนี้กับการตั้งภาคี การดื่มสุราเมรัย การพนัน การหน้าไหว้หลังหลอก และเนื้อสัตว์ที่ผิดบทบัญญัติ[9]

อีกมุมหนึ่ง ด้วยเหตุที่พระประสงค์ทุกประการของอัลลอฮ์จะต้องบังเกิดขึ้น ฉะนั้น ประโยค إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ จึงบ่งบอกถึงพระประสงค์ที่ต้องบังเกิดขึ้น โดยเฉพาะการที่มีคำว่า انّما ปรากฏอยู่ ซึ่งให้ความหมายเชิงเจาะจง ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงประสงค์อย่างแน่วแน่ที่จะต้องบันดาลให้อะฮ์ลุลบัยต์หลุดพ้นจากมลทินทั้งปวง และนี่ก็คือภาวะปลอดบาปนั่นเอง

ที่น่าสนใจก็คือ พระประสงค์ในโองการนี้มิไช่พระประสงค์ประเภทเดียวกับบทบัญญัติฮะล้าลฮะรอม (พระประสงค์เชิงขะรีอัต) เนื่องจากบทบัญญัติศาสนาครอบคลุมถึงบุคคลทั่วไปมิได้เจาะจงอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ที่มีการใช้คำว่า انّما
ฉะนั้น พระประสงค์อันต่อเนื่องนี้จึงหมายถึงการช่วยเหลือประเภทหนึ่งจากอัลลอฮ์ ที่ทำให้อะฮ์ลุลบัยต์สามารถรักษาภาวะปลอดบาปไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มิได้ขัดต่อหลักอิสรภาพของมนุษย์ในการเลือกกระทำ

อันที่จริงนัยยะของโองการดังกล่าวก็ปรากฏในบทซิยารัตญามิอะฮ์เช่นกันอัลลอฮ์ทรงปกป้องพวกท่านจากความเฉไฉ และให้พ้นจากความเสื่อมเสีย และชำระให้ปลอดจากมลทิน และผลักไสราคะให้ห่างไกลจากพวกท่าน เพื่อให้บริสุทธิหมดจด[10]
ด้วยคำอธิบายที่นำเสนอไปแล้ว คงไม่เหลือข้อกังขาใดๆเกี่ยวกับภาวะปลอดบาปของอะฮ์ลุลบัยต์อีกต่อไป[11]
ฉะนั้น จึงกระจ่างแล้วว่าฮะดีษกิซาอ์มีความสำคัญต่อการพิสูจน์หลักอิมามัตและภาวะปลอดบาปของอะฮ์ลุลบัยต์เพียงใด



[1] ฮะละบี,ฮะซัน บิน ยูซุฟ, นะฮ์ญุลฮักก์ วะกัชฟุศศิดก์, หน้า 228-229, สถาบันดารุลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407 ในหนังสือมุสนัด อะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้รายงานฮะดีษจากหลากสายรายงาน ส่วนหนังสือ อัลญัมอ์ บัยนัศ ศิฮาฮิส ซิตตะฮ์ รายงานจากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ว่า ฟาฏิมะฮ์ได้เข้าพบท่านนบี(..) ท่านกล่าวว่า เธอจงเรียกสามีและลูกชายทั้งสองคนมาด้วย ขณะที่ทั้งหมดอยู่ใต้ผ้าคลุม โองการ إِنَّما یُرِیدُ اللَّهُ لِیُذْهِبَ عَنْکُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَیْتِ وَ یُطَهِّرَکُمْ تَطْهِیراً ก็ประทานลงมา ท่านนบีจับปลายผ้าคลุมแล้วชี้ไปที่เบื้องบนพร้อมกับกล่าวว่า คนเหล่านี้แหล่ะคืออะฮ์ลุลบัยต์ของข้าพระองค์ ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์เล่าว่า ฉันได้ก้มศีรษะเพื่อจะเข้าไปอยู่ใต้ผ้าคลุมด้วย แล้วถามท่านนบีว่า ดิฉันเป็นอะฮ์ลุลบัยต์ด้วยหรือไม่คะ? ท่านตอว่า เธออยู่ในสถานะที่ดี (ทว่ามิได้อยู่ในกรอบอะฮ์ลุลบัยต์) เนื้อหาเดียวกันนี้รายงานในเศาะฮี้ห์ อบี ดาวู้ด และ มุวัฏเฏาะอ์ มาลิก, และเศาะฮี้ห์มุสลิม โดยอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน

[2] ฮัสกานี, ฮากิม, ชะวาฮิดุตตันซี้ล ลิกอวาอิดุตตัฟฎี้ล, เล่ม 2,หน้า 17, เตหราน,..1411

[3] ซัยยิด บินฏอวู้ส, อัฏเฏาะรออิฟ ฟี มะอ์ริฟะติล มะซาฮิบิฏ เฏาะวาอิฟ,เล่ม 1,หน้า 124, สำนักพิมพ์คัยยอม,..1400

[4] قالَ لَهُ وَعَلَیْکَ السَّلامُ یا اَخى یا وَصِیّى وَخَلیفَتى وَصاحِبَ لِواَّئى

[5] อันนัจม์, 3,4 และเขา(นบี) ไม่พูดบนพื้นฐานของกิเลส ทุกวาจานั้นมิไช่อื่นใดนอกจากวะฮีย์

[6] اللهم هؤلاء أهل بیتی و خاصتى فاذهب عنهم الرجس و طهرهم تطهیر เชคเศาะดู้ก, อะมาลี, สำนักพิมพ์อะอ์ละมี, เบรุต ..1400

[7] อะฮ์ซาบ,33

[8] ฏ็อบรอนี, อัลมุอ์ญัม อัลเอาสัฏ, เล่ม 17,หน้า 438, ฮะดีษที่ 8360

[9] ฮัจญ์,30 มาอิดะฮ์,90 เตาบะฮ์,125 อันอาม,145

[10] عصمکم اللَّه من الذلل و آمنکم من الفتن، و طهرکم من الدنس، و اذهب عنکم الرجس، و طهرکم تطهیرا

[11] มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์, เล่ม 17,หน้า 298, ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งแรก,..1374

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    6026 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    17349 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6570 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7690 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7717 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6916 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8832 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ในวันอีดกุรบาน สามารถจะเชือดสัตว์กุรบานที่เขาหักได้หรือไม่?
    7484 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    หากกุรบานในที่นี้หมายถึงการเชือดกุรบานในพิธีฮัจย์ที่ต้องกระทำในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา อุละมาส่วนใหญ่ให้ทัศนะไว้ว่า หากสัตว์ที่จะนำมาเชือดกุรบานมีเขาแต่เดิมอยู่ ทว่าปัจจุบันไม่มี หรือหักไป สามารถนำมาเชือดกุรบานได้[1] เว้นแต่ว่าเขาภายในหักหรือถูกตัดไป ในกรณีนี้จะทำให้กุรบานไม่ถูกต้อง แต่หากเขาภายนอกหักถือว่าไม่เป็นไร[2] ส่วนการเชือดกุรบานนอกพิธีฮัจย์ที่เหนียตกระทำเพื่อผลบุญในเชิงมุสตะฮับนั้น หากจะเชือดสัตว์ที่เขาหักก็ไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี เราได้สอบถามปัญหานี้จากสำนักงานของมัรญะอ์ตักลี้ดท่านต่างๆได้ความดังนี้ อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี,ซีสตานี, มะการิมชีรอซี : ไม่มีปัญหาใดๆ อายะตุลลอฮ์ศอฟี โฆลพอยฆอนี: สามารถกระทำได้ อินชาอัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงตอบรับ คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ได้แก่ อายะตุลลอฮ์.. ...
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7713 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60050 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57423 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42134 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39208 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38875 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33941 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27959 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27874 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27689 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25709 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...