Please Wait
7520
ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพ หรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าอาจปะปนอยู่ในอาชีพการงานเพียงอย่างเดียว, บางครั้งก็จะพบว่ามีมนุษย์ตั้งมากมายมีอยู่อาชีพเดียว รายได้ก็เพียงเล็กน้อย แต่มีความรักและลุ่มหลงต่อโลกอย่างมากมาย, ขณะที่มนุษย์บางคนมีทุนรอนจำนวนมหาศาล แต่มิได้มีจิตผูกพันหรือลุ่มหลงโลกถึงเพียงนั้น, เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จำเป็นต้องกล่าวว่า ถ้าหากความต้องการต่างๆ ในชีวิต- อยู่ในระดับธรรมดาทั่วไป – แต่รายได้ที่หามาได้จากการประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ซึ่งทำให้ครอบครัวต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่ง ฉะนั้น อาชีพที่สองนอกจากจำเป็นแล้ว ยังเป็นวาญิบเสียด้วยซ้ำไป
แน่นอน มีคำกล่าวว่าในแง่ของกฎหมาย, การมีอาชีพอย่างเป็นทางการสองอาชีพ, หมายถึงการประกอบอาชีพสองที่ในเวลาเดียวกัน ขัดกับกฎหมายและระเบียบของประเทศ, ทำนองเดียวกันถ้าอาชีพที่สองนั้นกลายเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละเลยอาชีพแรก หรือทำได้อย่างไม่สมบูรณ์เต็มที่, การมีอาชีพที่สองถือว่าไม่อนุญาต, ดังนั้น การทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน ถ้าเป็นสาเหตุทำให้การอบรมสั่งสอนบุตรหลาน หรือทำให้ตนต้องละทิ้งหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับครอบครัว, หมายถึงในความเป็นจริงแล้วการทำอาชีพสองอย่างในเวลาเดียวกันเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่เป็นสาเหตุทำให้ลืมเลือนหน้าที่หลักที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง, และแน่นอนว่าสิ่งนี้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงอันมิอาจทดแทนได้ และต้องอดทนมิหนำซ้ำการชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปเป็นไปได้ยากด้วย ตรงนี้ที่บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อิมามฮุซัยนฺ) กล่าวว่า : “ฉันได้ถามบิดาฉันเกี่ยวกับภายในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านตอบว่า : การกลับบ้านอยู่ในอำนาจของท่าน และเมื่อท่านกลับบ้านแล้ว ท่านได้แบ่งเวลาออกเป็น 3 ส่วน : ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮฺ, อีกส่วนสำหรับครอบครัว, และอีกส่วนสำหรับตนเอง[1]
[1] ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า ..
سألت أبی عن مدخل رسول اللّه صلّى اللّه علیه و آله، فقال: کان دخوله فی نفسه مأذونا فی ذلک، فاذا آوى إلى منزله جزّى دخوله ثلاثة أجزاء: جزءا للّه و جزءا لأهله و جزءا لنفسه ..."
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, สุนันนบี (ซ็อล ฯ) เล่ม 1,หน้า 15, 19 แปลโดยมุฮัมมัด ฮาดี ฟิกฮียฺ, ร้านหนังสืออิสลามียะฮฺ, เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 7 ปี 1378