การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6437
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
คำถาม
เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด

เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน

อีกเหตุผลหนึ่ง เนื่องจากท่านมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ไม่สบายจึงไม่อาจเข้าร่วมได้ เหตุผลที่สาม เนื่องจากท่านได้รับมอบหมายหน้าที่จากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้เฝ้าคอยระวังมะดีนะฮฺในช่วงที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ  (อ.) ไม่อยู่ แล้วคอยส่งข่าวให้ท่านได้รับทราบ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อการรู้จักบุคลิกภาพของมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ให้มากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องวิภาษประเด็นดังต่อไปนี้

อันดับแรกขอกล่าวถึงบทนำเกี่ยวกับการลอบสังหารบุรุษจากครอบครัวอิมามมะฮฺ โดยน้ำมือของศัตรูตลอดหน้าประวัติศาสตร์ผ่านมา หลังจากนั้น

1.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับบิดาผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามอะลี (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามอะลีมีต่อเขา

2.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮะซัน (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามฮะซันมีต่อเขา

3.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามฮุซัยนฺมีต่อเขา

4.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ มีผู้ยืนหยัดต่อสู้และบรรดาผู้ทวงหนี้เลือดทั้งหลายของอะอิมมะฮฺ

การวิเคราะห์และอธิบายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพของลูกอิมามอะลี (อ.) ซึ่งจะนำเสนอในลำดับต่อไป

บทนำ

การเผชิญหน้าของประวัติศาสตร์กับบรรดาบุรุษที่พาดพิงถึงครอบครัวของท่านอิมามอะลี (.)

การศึกษาค้นคว้าอย่างไม่พิถีพถัน และการวิเคราะห์หลักฐานทั้งหมด ตลอดจนเครื่องหมายทั้งหลายเพื่อนำมาอธิบายความจริงดังกล่าว ต้องอาศัยเวลามากกว่านี้ แน่นอนว่าสิ่งนั้นเกินความจำเป็นของบทความนี้ ด้วยเหตุนี้ จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงความจริงบางอย่างเท่าที่เพียงพอในโอกาสนี้

. เป็นที่ยอมรับกันว่าตำราด้านประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ได้ถูกประพันธ์ขึ้นตามความต้องการของผู้ปกครอง ในลักษณะที่ว่าสิ่งนั้นต้องไม่ขัดแย้ง หรือหรือสร้างความรู้สึกไม่ดีกับการปกครองของตน ด้วยเหตุนี้ อิบนุฮิชาม นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งจึงได้เขียน และสรุปประวัติศาสตร์ ซีเราะฮฺ อิบนุ อิสฮาก ตามวิถีของตนกล่าวว่า : บางอย่างที่บันทึกอยู่ในหนังสือของอิบนุอิสฮาก ฉันมิได้นำมากล่าวถึง เนื่องจากเป็นสิ่งที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ไม่เคยกระทำหรือมิได้เป็นผลมาจากการกระทำของท่าน หรือสิ่งเหล่านั้นไม่มีหลักฐานปรากฏในอัลกุรอาน หรือไม่มีตัฟซีรอ้างและพาดพิงถึงแต่อย่างใด .. ทำนองเดียวกันบทกวีที่นักกวีทั้งหลายมิได้ประพันธ์ขึ้นมา หรือมิรู้จักกับบทกวีเหล่านั้น หรือเป็นบทกวีที่ประชาชนส่วนใหญ่รังเกลียดและไม่ชอบ[1]

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวัตถุประสงค์ของอิบนุฮีชาม ที่กล่าวถึงประชาชนในที่นี้ (ที่ประพฤติชั่วบางอย่าง) หมายถึงชนชั้นผู้ปกครอง เพราะถ้าเป็นประชาชนธรรมดาทั่วไป จะไม่สามารถขัดขวางการบันทึก หรือทำให้อิบนุฮิชามต้องบันทึกประวัติชนิดบิดเบือนความจริงได้อย่างแน่นอน

. เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์แล้วพบว่า นักประวัติศาสตร์บางคนก็มิได้เจริญรอยตามวิถีของ อิบนุฮิชาม แต่เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกอย่างอื่นจำนวนมากมาย ทำให้พวกเขาต้องบันทึกประวัติศาสตร์ไปตามความเห็นชอบ และความต้องการของผู้ปกครอง ตัวอย่าง เมื่อประวัติศาสตร์ได้บันทึกตามความถูกต้องไว้ว่า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ตั้งแต่วันแรกที่ยะซีดขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ท่านได้ตั้งตนเป็นปรปักษ์กับเขาทันที และกล่าวแก่วะลีด ผู้ปกครองมะดีนะฮฺสมัยนั้นว่า  : พวกเราเป็นอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา เป็นคลังแห่งสาส์น เป็นสถานที่ไปมาของมวลมลาอิกะฮฺ และ ....ขณะที่ยะซีดคือ ผู้ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน ดื่มสุรา เล่นการพนัน สังหารชีวิตบริสุทธิ์ที่ไร้ความผิด มีพฤติกรรมเป็นพวกกลับกลอก และ ... ดังนั้น บุคคลเยี่ยงฉันจะไม่ให้สัตยาบันกับยะซีดอย่างแน่นอน[2]

พวกเขาได้บิดเบือนคำพูดนี้อย่างจงใจแล้วพาดพิงถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) โดยกล่าวว่า ท่านอิมามได้ขอร้องให้วะลีดพาท่านไปพบยะซีด ฉะนั้น เป็นที่ชัดเจนว่า นี่เป็นคำพูดบิดเบือนอันชัดแจ้ง เพราะพวกเขาได้ทำไปตามความต้องการของผู้ปกครองหรือเคาะลิฟะฮฺแห่งยุคสมัย ดังนั้น เมื่อนักประวัติศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงคำพูดที่ชัดแจ้งของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้เพียงนี้ สิ่งอื่นก็มิต้องกล่าวถึงแล้วว่าจะเป็นเช่นไร

. นักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮะดีซจำนวนหนึ่ง, เนื่องจากพวกเขามีความหวาดกลัวต่ออำนาจปกครองของเคาะลิฟะฮฺ หรือความเผด็จการของพวกเขา, พวกเขาจึงปฏิเสธเรื่องความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) และในทางกลับกันสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความประเสริฐของท่านอิมามอะลี (อ.) และอะฮฺลุลบัยตฺพวกเขากับยกย่อง บุคคลเหล่านั้นจึงได้กุเรื่องเท็จเพื่อยกย่องเกียรติของพวกเขาให้สูงส่ง[3] ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวด้วยความมั่นใจได้ว่า ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลูกหลานของท่านอิมามอะลี (อ.) แล้วได้รับการบิดเบือนมากเป็นพิเศษ ห่างไกลจากความจริงและความยุติธรรมทางสังคม ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำเอาหลักฐานและเครื่องหมายที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ หรือในหนังสือประวัติศาสตร์ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลลิคของมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ซึ่งเครื่องหมายเหล่านั้นประกอบด้วย:

1 .ความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับบิดาผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอิมามอะลี (.) และความรักที่อิมามอะลีมีต่อเขา

บุคคลใดก็ตามได้ติดตามประเด็นนี้ หรือได้ค้นคว้าเกี่ยวกับช่วงเวลาที่รายงานต่างๆ ได้กระจัดกระจายออกไปและปรากฏอยู่ในตำราทั้งฝ่ายซุนนีย์ และชีอะฮฺ ซึ่งเป็นฮะดีซเกี่ยวกับอิมาม (อ.) จะเข้าใจได้ทันทีว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) นั้นรักบรรดาบุตรของท่านมากน้อยเพียงใด ถึงขั้นที่ว่าบางคนท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า “ใครก็ตามที่ต้องการทำดีกับฉันทั้งโลกนี้และโลกหน้า เขาต้องทำดีกับมุฮัมมัดบุตรชายของฉันคนนี้”[4]

เจ้าของหนังสือ อัลอิตติฮาฟ วะซียัตอิมาม (อ.) กล่าวว่า “หลังจากอิมามได้มองไปยังมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ แล้วกล่าวว่า : เจ้ายังจำได้ไหมสิ่งที่พ่อได้สั่งเสียและแนะนำเกี่ยวกับพี่ชายทั้งสองของเจ้า? มุฮัมมัด กล่าวว่า ได้ครับ หลังจากนั้นท่านอิมามได้กล่าวว่า : ดังนั้น พ่อขอสั่งเจ้าอีกเหมือนเช่นเคยว่า เจ้าต้องให้ความเคารพพี่ทั้งสอง เนื่องจากเขาทั้งสองมีบุญคุณใหญ่หลวงนักกับเจ้า เจ้าจงเชื่อฟังคำสั่งของเขา จงอย่ากระทำการใดๆ โดยปราศจากคำปรึกษาจากทั้งสอง หลังจากนั้นท่านอิมามได้กำชับอีกว่า : พ่อขอกำชับเจ้าทั้งสอง (ฮะซะนัยนฺ) เกี่ยวกับมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ, เนื่องจากเขาเป็นน้องชายของเจ้าทั้งสอง[5]และเป็นลูกของบิดาของเจ้าทั้งสอง และเจ้าทั้งสองรู้ดีว่าบิดาของเจ้าทั้งสองคักเขามากเพียงใด”[6]

ประโยคนี้เป็นหนึ่งในคำสั่งเสียของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าท่านนั้นรักและเป็นห่วงมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺมากน้อยเพียงใด ทว่ายังเห็นได้อีกว่าท่านอิมามพยายามเสริมสร้างความรักระหว่างพี่น้องด้วยกันให้มีความเข็มแข็งขึ้น

ในโอกาสนี้ มีความเหมาะสมยิ่งที่จะหยิบยกคำสั่งเสียของท่านอิมาม (อ.) ที่มีความยึดยาวพอสมควร ซึ่งท่านเชคซะดูก ได้กล่าวเอาไว้เป็นการบงชี้ให้เห็นถึง การเอาใจใส่เป็นพิเศษของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อ มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ บุตรชายของท่าน แต่เนื่องจากคำสั่งเสียนั้นมีความยาวจึงขอหยิบยกบางส่วนจากท่อนแรก และท่อนสุดท้ายมากล่าวเป็นตัวอย่างแก่ท่านผู้อ่านดังนี้ : คำสั่งเสียของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อบุตรชายคนหนึ่งของท่าน มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ท่านกล่าวว่า : โอ้ บุตรชายของฉัน จงระวังตัวเชื่อถือความฝันทางโลกนี้เป็นจริงจัง เนื่องจากความหวังทั้งหลาย ....ถ้าหากเจ้าต้องการได้รับความดีงามทั้งจากโลกนี้และโลกหน้า จงตัดขาดจากขาดจากความอยากได้ทั้งหลายที่อยู่ในมือของประชาชน”[7]

เป็นที่ชัดเจนว่าพินัยกรรมนี้เป็นพินัยกรรมสุดท้ายของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งได้สาธยายถึงความผูกพันและความรักของท่านอิมาม (อ.) ที่มีต่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ และความกรุณาที่ท่านมอบต่อบุคลิก และการชี้นำไปสู่แนวทางของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในลักษณะที่ว่าท่านอิมามมีปัญหารอบด้านรายล้อมอยู่ กระนั้นท่านย้งเขียนพินัยกรรมอันยาวนี้ขึ้นมา สิ่งนี้บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว

2.อธิบายถึงความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮะซัน (อ.) และความรักผูกพันที่อิมามฮะซันมีต่อเขา

หลักฐานและเครื่องหมายเกี่ยวกับคำพูดดังกล่าวมีจำนวนมาก ซึ่งในที่นี้จะขอหยิบยกบางประเด็นมาอธิบายดังต่อไปนี้

2.1 เป็นที่ชัดเจนว่าท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ปกป้องชีวิตของอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) ไว้อย่างมั่นคงและเข็มแข็งที่สุด เนื่องความต่อเนื่องการเป็นอิมามด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งสายตระกูลของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่อสืบทอดจากทั้งสอง นั่นหมายความว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัญหาการมีชีวิตของท่านอิมามทั้งสอง ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมาม (อ.) จึงต้องมอบหน้าที่อันตรายยิ่งกว่าให้เป็นหน้าที่ของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ดังนั้น บางคนจึงต้องการสร้างความแตกแยกระหว่างมุฮัมมัดฮะนะฟียะฮฺ กับพี่ชายทั้งสอง -หรือถ้าจะคิดดีกับพวกเขา- พวกเขาได้พยายามที่จะค้นหาเหตุผลในพฤติกรรมที่แตกต่างของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็ต้องถามเขาว่า บิดาของท่านส่งท่านให้ไปปฏิบัติหน้าที่อันตรายได้อย่างไร ทำไมไม่ส่งฮะซะนัยนฺไปทำแทน? พวกเขาพยายามสร้างสถานการณ์ให้มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ โดยสร้างคำพูดที่ก่อให้เกิดความคิดแตกแยกทางความคิด ความรัก และความศรัทธาที่แตกต่างกับพี่ชายทั้งสอง และการตัดสินใจของบิดาของพวกเขา แต่เขาได้ตอบข้อสงสัยของบุคคลเหล่านั้นว่า : พี่ชายทั้งสองของฉันคือ แก้วตาดวงใจของบิดา ส่วนฉันคือมือของท่าน แน่นอน ถูกต้องแล้วที่บิดาของฉันใช้มือของท่านปกป้องดวงตาของตน[8]

2.2 เมื่อท่านอิมามฮะซัน (อ.) ใกล้ที่จะสิ้นชีพ ท่านได้เรียกฆัมบัรให้เข้ามาหา แล้วสั่งว่า เธอจงเรียกมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ มาพบฉันหน่อยซิ ฆัมบัร กล่าวว่า เมื่อฉันได้บอกกับมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺว่า อิมามฮะซัน (อ.) ได้ให้มาตามท่าน เขาได้ถามฉันทันทีว่า มีอะไรเกิดขึ้นกับท่านอิมามหรือ? ฉันตอบว่า ท่านจงไปหาท่านอิมามเถิด และเขาได้รีบไปหาท่านอิมามอย่างรวดเร็ว เมื่อมาถึงแล้วเขาได้กล่าวสลาม แล้วท่านอิมามได้กล่าวกับเขาว่า จงนั่งลงซิ โอ้ มุฮัมมัด บุตรของอะลี ฉันไม่เคยหวาดกลัวเรื่องความริษยาที่มีต่อเธอ ดังเช่นที่อัลลอฮฺ ทรงสาธยายถึงคุณลักษณะเหล่านี้เอาไว้แก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย และฉันก็ไม่เห็นว่าชัยฏอนจะมีหนทางหลอกลวงเธอได้ ...หลังจากนั้นมุฮัมมัด ได้กล่าวแก่พี่ชายของท่านว่า : ท่านคืออิมามและเป็นนายของฉัน และแนวทางของฉันที่ไปสู่ศาสดา ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันปรารถนาความตายก่อนที่จะได้ยินคำพูดเหล่านี้จากท่าน[9]

คำพูดนี้คือตัวอธิบายระดับชั้นของความศรัทธาของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ และความเชื่อของเขาที่มีต่ออิมามะฮฺของพี่ชาย[10]

และคำยืนยันของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ที่กล่าวถึงมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ว่าเขานั้นห่างไกลจากความอิจฉาริษยา และชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือตัวเขาได้ แน่นอน มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ คือ หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของโองการที่ว่า : ชัยฏอนไม่มีอำนาจเหนือปวงบ่าวทีแท้จริงของฉัน[11] สิ่งนี้ย่อมเป็นเหตุผลอันชัดแจ้งที่ยืนยันให้เห็นถึงบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่าน

2.3 เมื่อท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้ชะฮาดัต มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ได้เสียใจเป็นที่สุด ท่านร่ำไห้และพรรณนาถึงพี่ชายสุดที่รักแถบขาดใจตาย เสียงรำพันและถ้อยคำที่เอื้อนเอ่ยออกมา บ่งบอกให้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อพี่ชาย

ยะอฺกูบียฺ นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : เมื่อร่างของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ได้วางลงเพื่อกะฟั่น มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺกล่าวว่า : โอ้ อะบามุฮัมมัด ขออัลลอฮฺ ทรงเมตตาท่าน ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ชีวิตของท่านเปี่ยมไปด้วยเกียรติยศ ความตายของท่านคือการชี้นำทาง ไม่ว่าดวงวิญญาณจะอยู่ในร่างของท่านเหรือไม่ก็ตาม หรือร่างที่ปราศจากดวงวิญญาณซึ่งกำลังจะถูกกะฟั่นในไม่ช้านี้, แล้วทำไมจะไม่เป็นเช่นนี้เล่า ขณะที่ท่านมาจากมวลผู้ให้การชี้นำทาง ท่านคือพันธแห่งความสำรวมตน เป็นหนึ่งในห้าท่านจากบุคคลที่ได้รับอาหารสวรรค์จากอัลลอฮฺ ท่านได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบ้านแห่งอิสลาม, ท่านได้ดื่มน้ำนมจากอกของหญิงที่เป็นแหล่งความศรัทธา, ท่านได้ดำรงชีวิตอย่างผู้บริสุทธิ์และจากโลกนี้ไปด้วยความสะอาด ขออัลลอฮฺทรงสรรเสริญและประสาทพรแด่ท่าน ...[12]

ถ้าหากบุคคลใดพิจารณาใคร่ครวญคำพูดของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺอย่างรอบคอบแล้วละก็จะเห็นว่า ท่านได้ยกย่องเกียติของพี่ชายด้วยคำพูดสั้นๆ แต่เปี่ยมด้วยความหมาย คำพูดของเขาเป็นหนึ่งในคำพูดที่ดีที่สุดที่บ่งบอกถึงเกียรติยศและความประเสริฐ แล้วยังจะได้พบอีกว่าคำพูดของเขาครอบคลุมเหนือความจริงที่ปรากฏ และเมื่อเขาได้สาธยายถึงเรือนร่าง และวิญญาณของท่านอิมามฮะซัน ทำให้รู้ว่ายังจะมีผู้ใดที่รู้จักฐานะภาพของอิมามยิ่งไปกว่ามุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺอีก[13]

3. ความรักผูกพันระหว่างมุฮัมมัด บินฮะนีฟะฮฺ กับอิมามฮุซัยนฺ (.) และความรักผูกพันที่อิมามฮุซัยนฺมีต่อเขา

หลักฐานที่ยืนยันให้เห็นถึงความผูกพันทั้งสองฝ่าย จึงทำให้บังเกิดสิ่งตามมาคือ :

3.1 ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า เมื่อท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) อยู่ต่อหน้าท่านอิมามฮะซัน เพื่อให้เกียรติและเคารพพี่ชายท่านจะไม่กล่าวสิ่งใด ทำนองเดียวกันเมื่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ อยู่ต่อหน้าท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ก็จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน[14]

3.2 ซิบฏ์ บิน เญาซียฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตัซกิเราะตุลคอซ” ว่า : เมื่อมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ทราบข่าวการเดินทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ขณะนั้นเขากำลังวุฎูอฺ เขาได้เสียใจและร้องไห้อย่างหนัก” สิ่งนี้คือเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความผูกพันอย่างยิ่ง ระหว่างมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺกับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พี่ชาย ผู้เป็นหนึ่งในอะฮฺลุลบัยตฺที่ยิ่งใหญ่[15]

3.3 คำสนทนาระหว่างท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กับมุฮัมมัดฮะนะฟียะฮฺ ดังที่ฏ็อบรียฺได้บันทึกไว้ : โอ้ พี่ชายของฉัน ท่านคือบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งและมีเกียรติที่สุดในหมู่ประชาชน ณ ฉัน และ...[16]

จากสิ่งที่กล่าวมาจะพบว่า สถานภาพของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ณ บิดาผู้ยิ่งใหญ่ของเขา ท่านอิมามอะลี (อ.) หรือ ณ พี่ชายทั้งสองท่านอิมามฮะซะนัยนฺ (อ.) เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนยิ่ง

แต่ก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นว่า เพราะเหตุใดมุฮัมมัด ฮะนะฟียฺ ไม่ร่วมเดินทางไปกัรบะลาอฺพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)

ปรัชญาของการไม่เข้าร่วมในเหตุการณ์กัรบะลาอฺ ของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺคือ อะไร

นี่คือคำถาม ที่ได้รับการอธิบายต่างๆ นานา, ดังที่ปรากฏในสาระของคำถามตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น เพื่อความชัดเจนของเรืองนี้ คำตอบสำหรับประเด็นดังกล่าวจึงต้องพิจารณาหลายด้านด้วยกัน :

1.เนื่องจากการเดินทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮีดอยู่ ณ เบื้องหน้า และการที่จะทำให้เป้าหมายดังกล่าวสำเร็จสมบูรณ์ก็ด้วยจำนวนสหายที่ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงเห็นว่าไม่สมควรแต่อย่างใด ที่จะให้ลูกหลานแห่งอะฮฺลุลบัยตฺเข้าร่วมทั้งหมดโดยพร้อมหน้ากัน เนื่องจากการสู้รบในครั้งนี้บทสรุปคือการเป็นชะฮีดของเหล่าสหายทุกคน ซึ่งทัศนะนี้เป็นหลักฐานที่ยืนยันมาจากคำพูดของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ที่ว่า : สหายพวกนั้นทุกคนชื่อของเขาและชื่อบิดาของเขาได้ถูกบันทึกไว้แล้ว ณ พวกเรา”[17]

2.อีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ขณะที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ออกเดินทางนั้นเขาไม่สบายมาก แต่มีความขัดแย้งกันเรื่องอาการไข้ที่เขาเป็นอยู่[18]

3.ทัศนะที่สามเป็นทัศนะที่มีเหตุผลในการยอมรับมากที่สุดกล่าวคือ, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้มอบหมายหน้าที่ให้มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ น้องชายเป็นผู้ดูแลจัดการแทนท่านในมะดีนะฮฺ ขณะที่ท่านไม่อยู่ ซึ่งทัศนะดังกล่าวนี้มีหลักฐานยืนยันประกอบหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :

. อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ และอัลลามะฮฺมุฮฺซิน อะมีน กล่าวว่า, ท่านอิมาม (อ.) ได้มอบหมายให้น้องชายคอยระวังศัตรูและดูแลการเคลื่อนไหวของพวกเขาให้มะดีนะฮฺ, ขณะที่ท่านอิมาม (อ.) กับสหายและครอบครัวได้เคลื่อนขบวนออกจากมะดีนะฮฺ ไปยังมักกะฮฺ ท่านได้แต่งตั้งน้องชายไว้ในฐานะเป็นผู้สืบข่าวกรอง ซึ่งคอยแจ้งข่าวแก่ท่านแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในมะดีนะฮฺก็อย่าให้เล็ดรอดการับรู้ของท่านอิมาม : ท่านอิมามกล่าวว่า ส่วนเธอจะไม่อยู่ในมะดีนะฮฺ เว้นเสียแต่ว่าต้องเป็นหูเป็นตาแทนฉันในมะดีนะฮฺ และคอยส่งข่าวการเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูให้ฉันทราบทุกระยะ”[19] และนี่เป็นตัวอย่างของเหตุผลที่ว่า ท่านอิมามได้มอบหมายภารกิจสำคัญให้เขาดูแลและรับผิดชอบ เป็นธรรมดาที่ว่าท่านอิมาม (อ.) ย่อมให้ความสำคัญกับเมืองใหญ่ของอิสลาม เฉกเช่นมะดีนะฮฺเป็นต้น ดังนั้น เมื่อท่านเดินทางออกไปก็ไม่ต้องการให้ตัวท่านตกข่าวการเคลื่อนไหวของเมืองนั้น

. หลักฐานที่สอง : จดหมายฉบับสุดท้ายที่อิมาม (อ.) ได้เขียนถึงมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า จดหมายฉบับสุดท้ายที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เขียนคือ จดหมายที่ท่านเขียนส่งให้น้องชายคือ มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ซึ่งท่านอิมามบากิร (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไดเขียนจดหมายจากกัรบะลาอฺ เพื่อส่งให้น้องชายที่อยู่ในมะดีนะฮฺว่า : ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงปรานียิ่งเสมอ จากฮุซัยนฺ บุตรของอะลี (อ.) ถึงมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ บุตรของอะลี จากแผ่นดินกัรบะลาอฺ, โลกมิได้รับการปฏิเสธ ขณะเดียวกันปรโลกก็มิเคยถูกทำลายให้สิ้นไป”[20]

ด้วยเหตุนี้, ถ้าหากท่านอิมามไม่พอใจน้องชายที่ไม่ร่วมขบวนการกัรบะลาอฺกับท่านแล้วไซร์ ท่านจะไม่มีวันเขียนจดหมายฉบับสุดท้ายส่งให้น้องชายอย่างแน่นอน

. หลักฐานที่สาม : ความจริงจังและความพยายามของฮะนะฟียะฮฺ ในการยืนหยัดต่างๆ หลังจากนั้น โดยมีเจตนาเพื่อทวงหนี้เลือดให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)  ถ้าหากเขาไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามเป็นความผิดแล้วละก็ ท่านอิมามต้องท้วงติงเขาในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่า ทำไมไม่ช่วยเหลืออิมาม ขณะที่มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ได้ท้วงติงมุคตารในความล่าช้าที่จะประหารชีวิต อุมะริบนิสะอัด, ท่านอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : มุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺได้นั่งร่วมกับบรรดาชีอะฮฺ ในงานชุมนุมหนึ่ง ได้ท้วงติงมุคตารในการประหารชีวิตอุมะริบสะอัด และไม่ทันที่ท่านจะกล่าวจบศรีษะของศัตรูสองคนได้ถูกนำมาวางตรงหน้าท่าน หลังจากนั้นท่านได้ลงซัจญฺดะฮฺขอบคุณ และยกมือดุอาอฺ พร้อมกับกล่าวว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์อย่าทรงลืมวันเวลาเหล่านี้ของมุคตาร โปรดให้เขาเป็นสหายที่ดีที่สุดของอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วยเถิด หลังจากนั้น ท่านได้สาบานว่าหลังจากนี้ฉันจะไม่ขอทักท้วงงานของมุคตารอีกต่อไป[21]

. ตัวอย่างที่สี่ เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เราจะพบว่าประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ขอให้อาของท่านมาช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาในการยืนหยัดต่างๆ ใจความจดหมายของท่านอิมามซัจญาด (อ.) : โอ้ ท่านอาที่รัก ถ้าหากท่านมีความเสียใจและเป็นห่วงเป็นใยอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นวาญิบสำหรับประชาชนต้องช่วยเหลือเขา ดังนั้น ฉันเห็นว่าท่านมีความสมควรอย่างยิ่งสำหรับภารกิจนี้ ฉะนั้น สิ่งใดที่ท่านเห็นสมควรจงกระทำเถิด”[22]

การมอบหมายการเป็นผู้นำในการยืนหยัดจากท่านอิมามซัจญาด ที่มีต่ออาของท่าน ฮะนะฟียะฮฺ เป็นวิถีที่ดีที่สุด, เนื่องจากท่านได้รับการใส่ร้ายจากผู้ปกครองว่า เป็นผู้ต่อต้านการปกครอง และเป็นความเข้าใจผิดจากศัตรู เนื่องจากท่านมิได้ติดตามตำแหน่งอิมามะฮฺ แต่อย่างใด ขณะเดียวกันท่านอิมามซัจญาด (อ.) ก็ได้รับการควบคลุมพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดจากฝ่ายปกครอง เนื่องจากท่านอิมามอยู่ในฐานะของ วะลี ผู้มีสิทธิทวงหนี้เลือดบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลาอฺ อีกทั้งมีคุณสมบัติในการเป็นอิมามดีด้วย, เนื่องจากความรู้ ความสำรวมตน ความประเสริฐและเกียรติยศของท่าน, ขณะเดียวกันท่านอิมามก็มิได้เล็ดรอดสายตาของสายสืบจากรัฐบาล ซึ่งมีชีอะฮฺบางกลุ่มเชื่อมั่นในการเป็นอิมามของท่าน, ด้วยเหตุนี้เอง เป็นความจำเป็นที่อิมามต้องปกป้องชีวิตให้รอดพ้นจากน้ำมือของพวกบนีอุมัยยะฮฺ และต้องฟื้นฟูแนวทางของศาสนา ขณะเดียวกันต้องจัดเตรียมความพร้อมเพื่อก่อตั้งรัฐปกครองแห่งความยุติธรรม ซึ่งท่านอิมาม (อ.) มิได้ละเลยหน้าที่หรือเพิกเฉยต่อการทวงหนี้เลือดของบรรดาชีอะฮฺแม้แต่น้อย[23] และบุคคลใดก็ตามหากพิจารณาอย่างรอบคอบเขาก็จะพบว่า การยืนหยัดดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ถ้าปราศจากการพยายามของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ

การพาดพิงคำกล่าวอ้างการเป็นอิมามไปยังฮะนะฟียะฮฺ

จากสิ่งที่อธิบายมาเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงบุคลิกภาพทั้งในแง่สวนตัว และสังคม และฐานะภาพของฮะนะฟียะฮฺในหน้าประวัติศาสตร์, และด้วยบุคลิกภาพทั้งหมดที่มี พร้อมทั้งความพิเศษต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วเกี่ยวกับเขา หากจะเชื่อว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์คนหนึ่งที่ไม่มีความผิดพลาดแต่อย่างใด ซึ่งเราจะเห็นว่าท่านอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ มากด้วยประสบการและความรู้ และมีควมเชี่ยวชาญด้าน ริญาล เป็นอย่างดี กล่าวว่า ฉันไม่พบรายงานที่กล่าวขัดแย้ง หรือกล่าวท้วงติงอีมานของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ แต่อย่างใด หรือแม้แต่รายงานที่กล่าวพาดพิงว่าเขาได้กล่าวอ้างการเป็นอิมาม ฉันก็ไม่เห็นว่าจะมีรายงานใดถูกต้องสักรายงานเดียว และความศรัทธาของเขาก็ไม่เป็นที่สงสัยแต่อย่างใด ซัยยิดคูอียฺ กล่าวอีกว่า : รายงานที่เชื่อได้บ่งบอกให้เห็นถึงความศรัทธามั่นคงของมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ความเชื่อศรัทธาของเขาที่มีต่อสถานะการเป็นอิมามของท่านอิมามซัจญาด (อ.)[24]

ตามความคิดเห็นของเราทัศนะของอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ ถูกต้อง, เนื่องจากถ้าหากบุคคลใดใคร่ครวญรายงานดังกล่าวด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่อนแรกของรายงาน เขาก็จะพบประโยคที่มีความสวยงาม คำพูดที่แฝงเร้นไว้ด้วยมารยาทอันดีงาม จากมุฮัมมัดฮะนะฟียะฮฺเกี่ยวกับบุตรของพี่ชายของเขา อิมามซัจญาด (อ.) และในตอนท้ายของารยงานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงการยอมรับการเป็นอิมามของท่านอิมามซัจญาด (อ.) รายงานกล่าวว่า :“หลังจากมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺได้กลับมา เขาได้ให้สัตยาบันยอมรับวิลายะฮฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.)[25]

 


[1] อิบนุฮิชาม, อับดุลมาลิก บุตรขิงชองฮิชาม อัลฮะมีรี อัลมะอาฟิรี, ซีเราะฮฺนะบะวียฺ, เล่ม 1, หน้า 4, ค้นคว้าโดย, มุศเฏาะฟา อัสสะกอ และอิบรอฮีม อัลอบียารี และอับดล ฮะฟีซ ชะลียี, เบรุต ดารุลมะอฺริฟัต บีทอ.

[2] อิบนุ อะอ์ษัม, อบูมุฮัมมัด อะฮฺมัดอัลกูฟี, กิตาบอัลฟะตูฮฺ, เล่ม 5, หน้า 14, ค้นคว้าโดย อะลี ชีรียฺ, เบรูต, ดารุลอัฎวาอ์, พิมพ์ครั้งแรก, ฮ.ศ. 1411, คศ. 1991.

[3] เกี่ยวกับประเด็นนี้ เพียงพอแล้วที่ท่านอัลลามะฮฺอะมีนนี ได้บันทึกไว้ถึง 10 รายการด้วยกันในหนังสือ เมาซูอะฮฺ ภายใต้หัวข้อว่า ฆุลู ฟี ฟะซออิล

[4] กาฟียฺ, เล่ม 1 หน้า 300, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 174.

[5] ฟุตูห์ อิบนุ อะอ์ซัม, เล่ม 4, หน้า 28, ได้กล่าวด้วยประโยคว่า "أوصيت أخاكما بكما و أوصيكما به".

[6] ฏ็อบรียฺ อบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร, ตารีคอัลอุมัม วัลมะลูก, เล่ม 5, หน้า 147, ค้นคว้าโดยมุฮัมมัด อบุลฟัลฎ์ อิบรอฮีม, เบรูต,ดารุลตุรอษ, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี ฮศ. 1387, คศ 1967.

[7] เชคซะดูก, อบูญะอฺฟัร, มันลายะเฎาะเราะฮูลฟะกีฮฺ, เล่ม 4, หน้า 284+292 ญามิอฺมุดัรริซซีน, กุม ฮศ. 1413.

[8]อิบนุอิมาด อัลฮันบะลียฺ ชะฮาบุดดีน อบุล ฟัลลาฮฺ อัดดิมิชกียฺ,ชัซรอตุซซะฮับ ฟี อัคบาร มิน ซิฮับ, เล่ม 1, หน้า 331, ค้นคว้าโดยอัลอัรนาอูฏ ดะมิชก์ เบรูต, ดารุ อิบนุ กะซีร, พิมพ์ครั้งแรก, ฮศ. 1406, คศ. 1986.

[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 176, 177, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 300.

[10] อีกรายงานหนึ่งได้บ่งชี้ให้เห็นถึง ความเชื่อที่มีต่ออิมามะฮฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แต่เพือไม่ให้เยิ่นเย้อในบทความจึงไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้

[11] อัลกุรอาน บท ฮิจญฺร์, 42.

[12] ยะอฺกูบียฺ, อะฮฺมัดบินอบียะอฺกูบ บินญะอฺฟัร, ตารีคยะอฺกูบียฺ, เล่ม 2, หน้า 225, เบรูต, ดารุลซอดิร, บีทอ.

[13] นะญะฟียฺ อะลี บิน อัลฮุซัยนฺ อัลฮาชิมี, มุฮัมมัด บิน อัลฮะนะฟี, หน้า 94, ค้นคว้าโดย สถาบันอิสลามียะฮฺ สำหรับการวิพากษ์เกี่ยวกับวิชาการ, พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮศ. 1424

[14] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 43, หน้า 319.

[15] ตัซกิเราะตุลคอซ, หน้า 217, คัดลอกมาจาก นะญะฟี, อลี บิน อัลฮุซัยนฺ อัลฮาชิมี, มุฮัมมัด บิน อัลฮะนะฟียะฮฺ, หน้า 100.

[16] ตารีค ฏ็อบรียฺ, เล่ม 5, หน้า 341.

[17] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 186, อิบนุ ชะฮฺริ อาชูบ, อัลมะนากิบ, เล่ม 4, หน้า 53, สำนักพิมพ์ อัลลามะฮฺ, กุม 1379.

[18]มุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮฺ, หน้า 109-112, คัดลอกมาจากเชคญะอฺฟัร, อันนักดี, อัซซัยยิดะฮฺ ซับนับ อัลกุบรอ, หน้ 9, เมะฮฺนาบ บิน ซินาน จากริญาลของอัลลามะฮฺ ลาฮีญี, หน้า 119, ฉบับเขียนด้วยลายมือ

[19] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44, หน้า 329, อะอฺยานุลชีอะฮฺ , เล่ม 1 หน้า 588. ดารุตตะอาริฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรูต

[20] กุมมี, กามิล อัซซิยารัต, หน้า 75, สำนักพิมพ์ มุรตะเฎาะวียะฮฺ, นะญัฟ ฮศ. 1356.

[21] คูอียฺ, ซัยยิดอบุลกอซิม, มุอฺญิม ริญาล อัลฮะดีซ, เล่ม 18, หน้า 100, คัดลอกมาจากบิฮารุลอันวาร, บาบอะฮฺวาลมุคตาร, เล่ม 45.

[22] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 45, หน้า 365.

[23] ฮุซัยนี ญ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...