การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5793
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1878 รหัสสำเนา 10192
คำถามอย่างย่อ
ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
คำถาม
ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
คำตอบโดยสังเขป

คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ

1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่

2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?

ดูเหมือนว่าความเจริญรุ่งเรืองจะไม่แยกออกจากความสมบูรณ์แบบ มนุษย์ไม่ว่าเขาจะได้รับประโยชน์จากความสมบูรณ์มากเท่าใดเขาก็จะได้รับความรุ่งเรืองไปด้วย มนุษย์คือสรรพสิ่งที่ประกอบด้วยจิตวิญญาณและร่างกาย ซึ่งจิตวิญญาณนั้นเปรียบเสมือนหัวใจของมนุษย์ ความรุ่งเรื่องของจิตวิญญาณและร่างกาย ทั้งสองเป็นความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ ความรุ่งเรืองของจิตวิญญาณคือบันไดที่โน้มนำไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้า ในกรณีนี้เองที่บ่งบอกว่ามนุษย์ได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ขั้นสุดท้ายของตน แน่นอน การได้รับประโยชน์จากความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย และภารกิจทางโลกในรายงานของอิสลามถือว่า เป็นความรุ่งเรืองของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ในประเด็นนี้มีบางทัศนะมีความคิดเห็นว่า ความรุ่งเรืองนั้นแยกออกต่างหากจากความสมบูรณ์ หรือในเรื่องมนุษย์วิทยานั้นเขามีทัศนะอย่างอื่น ซึ่งแต่ละประเด็นนั้นได้รับการวิพากษ์วิเคราะห์ในที่ของมัน เช่น บางคนถือว่ามนุษย์คือการมีอยู่ในสภาพของวัตถุ แน่นอน ความรุ่งเรื่องของเขาคือการได้รับประโยชน์จากความสุขทางวัตถุ บางกลุ่มชนของนักปรัชญามีความเชื่อมั่นว่า สติปัญญาคือแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ ส่วนนักปราชญ์ฝ่ายเอรฟาน เชื่อว่าความรักคือ หลักเกณฑ์ของความเป็นมนุษย์ และทั้งหมดเป็นเพราะไม่เคยเห็น ความจริง, พวกเขาจึงสร้างตำนานขึ้นมา

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบที่ถูกต้องและครอบคลุมสำหรับคำถามในแง่ของคำอธิบายที่ชัดเจน และความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความรุ่งเรือง และการรู้จักที่ถูกต้องของมนุษย์และป้าหมายจึงจะประสบความสำเร็จ ขณะที่บางคน เช่น Kant เชื่อในเรื่องการแยกของความสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง และเขาได้กล่าวเช่นนี้ว่า โลกทั้งโลกมีความสมบูรณ์แบบและสิ่งที่ดีเพียงเหนึ่งเดียวเท่านั้น และสิ่งนั้นคือความประสงค์ดี ซึ่งความประสงค์ดีนั้นหมายถึงการเชื่อฟังปฏิบัติตาม เมื่อเปรียบเทียบกับคำสั่งที่เป็นมโนธรรม ซึ่งไม่ว่าการติดตามสิ่งนั้นจะมีความสุขหรือไม่ก็ตาม แต่ความรุ่งเรืองคือความสุขและความปิติ ที่ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ แอบแฝงอยู่เลย ขณะที่จริยธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ไม่ใช่ความรุ่งเรือง[1] แต่นักวิชาการ นักปรัชญา และจริยศาสตร์อิสลามต่างกล่าวว่า ไม่ว่ามนุษย์จะได้รับประโยชน์จากความสมบูรณ์แบบมากน้อยเพียงใด และมีบั้นปลายสุดท้ายทีดีเท่ากับเขาได้ไปถึงความสุขและความรุ่งเรืองแล้ว[2] บุคคลเหล่านี้มีความคิดเหมือนกับ Kant ในแง่ที่ว่าความเจริญรุ่งเรืองนั้นไม่แยกออกจากความสมบูรณ์แบบ แน่นอน พวกเขายอมรับว่าถ้าจุดประสงค์ของความรุ่งเรื่องหมายถึงความรุ่งเรืองทางประสาทสัมผัส (ความสุขทางโลกและวัตถุ) แน่นอน ความรุ่งเรืองเหล่านี้จะแยกออกจากความสมบูรณ์แบบตามธรรมชาติ[3] ในทางกลับกันทัศนคติของสำนักคิดต่างๆ เกี่ยวกับมนุษย์นั้นแตกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุทำให้การพัฒนาด้านความรุ่งเรืองของพวกเขาแตกต่างกัน

สำนักคิดที่เชื่อว่า มนุษย์คือการมีอยู่ในแง่ของวัตถุ ดังนั้น ความรุ่งเรืองของเขาจัดอยู่ในกลุ่มอันเป็นความต้องการด้านวัตถุ ในกลุ่มเหล่านี้มีบางคนเชื่อว่า ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเผชิญกับความสุขแห่งโลกวัตถุ (ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญแบบปัจเจกบุคคลคือสังคมส่วนรวมก็ตาม) ในที่นั้นสติปัญญาคือมาตรฐานของความเป็นมนุษย์ ฉะนั้น ความรุ่งเรืองของเขาจึงขึ้นอยู่กับกับการเติบโตของสติปัญญา โดยผ่านวิชาการและสัจพจน์แห่งพระเจ้า พวกเขาเช่นพวกที่ล่วงรู้การเดินจิตด้านใน พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์คือ สรรพสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญญา และอยู่ในบริเวณจำกัดห่างไกลจากหลักของความสมดุลและบ้านเกิด ความรุ่งเรืองของเขาขึ้นอยู่กับการได้รับประโยชน์จากความรักมากน้อยเพียงใด และบางกลุ่มที่เป็นกลุ่ม Nietzsche ถือว่าฐานของอำนาจขึ้นกับการทำงาน, ดังนั้น มนุษย์ผู้มีความเจริญรุ่งเรืองคือ มนุษย์ผู้มีความสามารถมีอำนาจ แต่ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีของศาสนาอิสลาม (โดยการยอมรับภูมิปัญญาและความรัก) ได้แนะนำมนุษย์ว่าเป็น สรรพสิ่งมีอยู่ที่มีศักยภาพและความสามารถที่แตกต่างกัน จากชีวิตและร่างกาย (จิตวิญญาณและร่างกาย) ถูกประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ใช่วัตถุเพียงประการเดียว[4] ชีวิตที่แท้จริงนั้นอยู่ในอีกโลกหนึ่งซึ่งชีวิตได้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับโลกนั้น ความคิด การกระทำ และพฤติกรรมต่างๆของเขา คือปัจจัยสำคัญที่สร้างเนื้อและร่างกายใหม่สำหรับเขา

ด้วยความคิดทำนองนี้กับความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมกับการเปล่งบาน การร่วมมือและศักยภาพของมนุษย์ จะให้คำตอบที่เหมาะสมเป็นจริงกับความต้องการของจิตวิญญาณและร่างกาย ท่านอัลลามะฮฺเฎาะบาเฎาะบาอี กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : ความรุ่งเรืองของทุกสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับ การไปถึงยังความดีงามของการมีอยู่ของเขา ความรุ่งเรืองของมนุษย์ในฐานะที่เป็นสรรพสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณคือการไปถึงยังความดีงามทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ และการได้ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้น[5]

จิตวิญญาณนั้นเป็นของพระเจ้า "และข้าได้เป่าจิตวิญญาณจากข้าไปบนเขา”[6] ความรุ่งเรืองของเขาอยู่ในความใกล้ชิดกับพระเจ้า หมายถึงการกลับไปสู่แหล่งเริ่มต้นเดิมที่ตนได้รับมาจากสิ่งนั้น อีกนัยหนึ่งคือ จิตวิญญาณคือแก่นแท้ของมนุษย์และมาจากพระเจ้าว่า "แท้จริงเราเป็นของอัลลอฮฺ" ด้วยการพัฒนาไปตามระดับขั้นในโลกแห่งธรรมชาติ ซึ่งได้อาศัยอยู่ในนั้น และความรุ่งเรืองของเขาผสมผสานอยู่ในความรักและความตายตามเจตนารมณ์เสรี[7] เขาได้อพยพจากไปจากโลกแห่งธรรมชาติ จนไปถึงยังสถานที่ซึ่งเขาต้องพำนักอยู่ในนั้น (แท้จริงเราต้องย้อนกลับไปหาพระองค์) มนุษย์เช่นนี้แม้จะมีร่างกายอยู่บนโลกนี้ แต่จิตใจของเขาผูกพันอยู่กับอีกโลกหนึ่ง[8] แน่นอนว่า สิ่งนี้มิได้หมายความว่า เป็นการปล่อยว่างภารกิจทางโลกทั้งหมด เพราะอะไร ก็เพราะว่าการมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ถือเป็นหนึ่งในความรุ่งเรืองของมนุษย์ ซึ่งได้รับการแนะนำเอาไว้ว่า ถ้าหากมนุษย์เอาใจใส่เรื่องความสะอาด และมั่นรักษาร่างกายให้สะอาดเสมอ เนื่องจากร่างกายที่สะอาดและแข็งแรงนั้น เท่ากับเป็นการเตรียมพร้อมไว้สำหรับจิตวิญญาณที่สมบูรณ์[9] ทว่าจุดประสงค์หมายถึง จิตวิญญาณคือแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้ก่อให้เกิดชีวิต ประกอบกับจุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อความใกล้ชิดกับพระองค์ อัลกุรอานกล่าวว่า “โอ้ ดวงชีวิตที่สงบมั่นเอ๋ย จงกลับมายังพระผู้อภิบาลของเจ้า ขณะที่เจ้ามีความยินดี (ในพระองค์) และเป็นที่ปิติ (ของพระองค์) ฉะนั้น จงเข้ามาอยู่ในหมู่ปวงบ่าวของข้าเถิด และจงเข้ามาอยู่ในสรวงสวรรค์ของข้าเถิด[10]  บางโองการกล่าวว่า “โอ้ มนุษย์เอ๋ย แท้จริงเจ้าต้องพากเพียรไปสู่พระผู้อภิบาลของเจ้าอย่างทรหดอดทน แล้วเจ้าจะได้พบพระองค์”[11] บางโองการกล่าวว่า “ในสถานที่อันทรงเกียรติ ณ พระเจ้าผู้ทรงอานุภาพ”[12] บางโองการกล่าวว่า “ข้ามิได้สร้างญินและ มนุษย์เพื่อการใด นอกเสียจากเพื่อแสดงความเคารพภักดีต่อข้า”[13] ดังนั้น การอิบาดะฮฺคือหนึ่งในสื่อที่จะทำให้เราเข้าใกล้ชิดกับพระเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า “จงแสวงความช่วยเหลือด้วยการนมาซและความอดทน”[14] ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่สามารถช่วยเหลือมนุษย์ให้ใกล้ชิดกับพระเจ้าได้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เขาพบกับความรุ่งเรืองได้เช่นกัน ตรงนี้เองที่จะเห็นว่า ไม่เพียงนมาซเท่านั้นที่จะเป็นสื่อสร้างให้มนุษย์ใกล้ชิดพระเจ้า ทว่าการรับใช้ปวงบ่าวของพระเจ้าก็ถือเป็นอิบาดะฮฺและเป็นสือหนึ่งที่จำนำมนุษย์เข้าใกล้ชิดกับพระเจ้า

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวว่า และนี่คือสิ่งที่นำพาความโปรดปรานมายังสูเจ้า แน่นอนว่าสรรพสิ่งเหล่านั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว และเป็นความช่วยเหลือจากพระเจ้าที่มีมายังมนุษย์ เพื่อให้เขาได้ไปถึงยังความรุ่งเรืองอันแท้จริง อันได้แก่ความใกล้ชิดต่อพระเจ้า ที่เกิดจากการอิบาดะฮฺ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ณ เบื้องพระพักต์ของพระเจ้า ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “เราไม่ได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื้อการใดยกเว้น เพื่ออิบาดะฮฺต่อข้า”



[1]  มุเฏาะฮะรี มุรตะฎอ, ฟัลสะฟะฮฺ อัคลาก หน้า 70-71

[2]  ความเข้าใจคำว่า คำรุ่งเรือง ในหนังสือจริยธรรมทั้งหลาย ซึ่งถือว่าเป็นหลักการของจริยธรรม ศึกษาเพิมเติมได้จากหนังสือ “มอ์รอจญ์สะอาดะฮฺ” หน้า 18 และ 23

[3] มุเฏาะฮะรี มุรตะฎอ, ฟัลสะฟะฮฺ อัคลาก หน้า 72

[4] อัล-กุรอาน บทฮิจญร์ 29,มุอ์มินูน 12-14

[5] เฎาะบาเฎาะบาอี มุฮัมมัด ฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 11 หน้า 28

[6] อัลกุรอานบทฮิจญร์ 29

[7] ความตายตามเจตนารมณ์เสรีคือ การต่อสู้กับอำนาจฝ่ายต่ำ ดังคำเรียกของท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า แน่นอนเขาได้ฟื้นฟูสติปัญญาของเขา และคร่าอำนาจฝ่ายต่ำของเขา” (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 220)

[8] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวแก่โกเมลบุตรของซิยาดว่า โลกคือสถานที่อยู่อาศัยของร่างกาย ส่วนจิตวิญญาณนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่สูงส่งกว่า (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ จดหมายที่ 147)

[9]  อุซูลกาฟี เล่ม 2 หน้า 550

[10]  อัลกุรอาน บทอัลฟัจญฺร์ 27

[11]  อัลกุรอาน อิลชิก๊อก 6

[12] อัลกุรอาน บทอัลเกาะมัร 55

[13] อัลกุรอาน บทอัซซาริยาต 56

[14] อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ 45

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7374 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5997 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12088 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6524 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    5801 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8728 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5864 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม
  • ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
    9330 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/04
    บางฮะดีษระบุว่า ยาฮุวะ หรือ ยามันลาฮุวะ อิลลาฮุวะ คืออภิมหานามของพระองค์ (อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม) แน่นอนว่าข้อแตกต่างระหว่างลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ นั้น สืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง “ฮุวะ” และ “อัลลอฮ์”นั่นเอง “ฮุวะ”ในที่นี้สื่อถึงคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ซึ่งอยู่พ้นนิยามและญาณวิสัย และจะเร้นลับตลอดไป ส่วนคำว่า “อัลลอฮ์” สื่อถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะอันไพจิตรและพ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ทั้งมวล ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แปลว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมิได้จะสื่อว่าอาตมันของพระองค์จำแนกจากคุณสมบัติทั้งมวล และเมื่อกล่าวว่า พระองค์ (ฮุวะ) คืออัลลอฮ์ (ในซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์) นั่นหมายถึงว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ...
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    11728 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7713 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59388 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41670 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38416 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27234 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27132 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25206 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...