การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9678
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
คำถาม
บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์เป็นอย่างไร? อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับเขา และมีรายงานฮะดีซจากเขาบ้างหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.)

คำตอบเชิงรายละเอียด

อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เขาเป็นหนึ่งในกอรียฺอัลกุรอาน มีความสามารถและเชี่ยวชาญการอ่านอัลกุรอานเป็นอย่างดี[1]เขาเป็นผู้ได้รับความเคารพและมีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ[2]แหล่งอ้างอิงของชีอะฮฺ ได้บันทึกรายงานจำนวนหนึ่งของเขาไว้ด้วย และนักปราชญ์ฝ่ายริญาล, กล่าวว่า เขาคือเซาะฮาบะฮฺผู้ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดาและเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู[3]เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.)

หนึ่งจากรายงานของเขาที่มีอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺ, คือ คำอธิบายของเขาเกี่ยวกับเหตุการณ์การแต่งตั้งตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งท่านได้กล่าวด้วยความเด็ดเดี่ยวรุนแรง, ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์เฆาะดีรคุมและรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับเรื่องเคาะลิฟะฮฺ แก่ประชาชนทั้งหลาย ขณะเดียวกันก็เป็นการกล่าวตำหนิบรรดาผู้ที่ช่วงชิงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺไป

เฏาะบัรซียฺ ได้บันทึกรายงานของ อุบัย บิน กะอฺบ์ ไว้ในหนังสือ “อิฮฺติยาต” ไว้โดยละเอียด แต่เพื่อความเหมาะสมจะขอกล่าวบางวรรคบางตอนเท่านั้น กล่าวว่า :

หลังจากที่การเทศนสของ, อบูบักร์ – วันศุกร์แรกของเดือนรอมฎอน – อุบัย บินกะอฺบ์ ได้ลุกขึ้นและกล่าวว่า ..กลุ่มผู้อพยพที่มุ่งหวังความพึงพอพระทัยของพระเจ้า และได้รับการยกย่องไว้ในอัลกุรอานของพระเจ้า, และโอ้ ชาวอันซอรเอ๋ย ผู้อาศัยอยู่ในเมืองที่มีแต่ความศรัทธา ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ ทรงกล่าวถึงพวกท่านไว้ในอัลกุรอาน พวกท่านลืมแล้วหรือ หรือว่าพวกท่านพยายามทำให้ตัวเองลืม พวกท่านได้เปลี่ยนแปลงพันธสัญญาแล้วหรือ หรือว่าพวกท่านได้เปลี่ยนศาสนาแล้ว หรือว่าพวกเขาเลือกสิ่งแย่กว่า หรือว่าไร้ความสามารถไปเสียแล้ว? พวกท่านลืมไปแล้วหรือว่า ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ในวัน เฆาะดีรคุม นั้นท่านได้กล่าวคำเทศนาในหมู่พวกเราอย่างชัดถ้อยชัดคำ ท่านได้นำเอาอะลี มาแสดงตนต่อหน้าพวกเรา พร้อมกับกล่าวว่า : “บุคคลใดก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองของเขา อะลีคนนี้ก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย และบุคคลใดที่ฉันเป็นศาสดาของเขา อะลีก็คือผู้ปกครองเขา” พวกท่านลืมไปแล้วหรือว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวแก่เขาว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย สถานะของเธอ ณ ฉันเปรียบเสมือนสถานภาพของฮารูน ณ มูซา เว้นเสียแต่ว่าหลังจากฉัน จะไม่มีนบีคนใดถูกส่งมาอีก, วาญิบสำหรับประชาชนต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเธอหลังจากฉัน, เหมือนกับที่พวกเขาได้เคยปฏิบัติตามฉันมาก่อนในช่วงที่ฉันยังมีชีวิตอยู่”

ฉันไม่มีสิ่งใดที่จะแจ้งอีกต่อไป, นอกจากวาญิบสำหรับประชาชนต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเธอหลังจากฉัน, เหมือนกับที่พวกเขาได้เคยปฏิบัติตามฉันมาก่อนในช่วงที่ฉันยังมีชีวิตอยู่”

พวกท่านทั้งหลายลืมคำพูดนี้ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้วหรือ ที่กล่าวว่า : “เมื่อใดก็ตามที่ฉันไม่ได้อยู่ในหมู่พวกเธอ ฉันได้แต่งตั้งให้อะลีเป็นตัวแทนในหมู่พวกเธอ บุรุษผู้ประหนึ่งตัวฉันเอง”

พวกท่านจำไม่ได้หรือว่า ก่อนที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จะจากไป, พวกเราได้รวมตัวกันอยู่ภายในบ้านของฟาฏิมะฮฺ (อ.) ท่านศาสดา กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงมีวะฮยูแก่มูซาว่า เธอจงเลือกพี่น้องของเธอขึ้นมา แล้วตั้งให้เขาเป็นนบี, แล้วให้ครอบครัวของเขาและบุตรหลานของตนเป็นแบบอย่าง, เพื่อจะได้ช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจากทุกความชั่วร้าย และสะอาดจากทุกความสงสัยคลางแคลงใจ แล้วมูซาก็ได้เลือกฮารูน, แล้ทรงทำให้บุตรหลานของเขาเป็นศาสดาแห่งวงศ์วานอิสราเอล. ขณะที่อัลลอฮฺ ทรงประทานวะฮฺยูแก่ศาสดาว่า (ให้ปฏิบัติประหนึ่งมูซากันฮารูน) กล่าวคือ เธอจงเลือกอะลี ให้เป็นพี่น้องของเธอ, และบุตรของเขาก็คือบุตรของเธอ (จงตั้งให้พวกเขาเป็นอิมาม) ซึ่งฉันได้ให้พวกเขาเป็นประหนึ่งบุตรหลานของฮารูน พึงรู้ไว้เถิดว่า ฉันได้ทำให้นบูวัติสิ้นสุดลงแล้วที่เธอ และหลังจากเธอแล้วจะไม่ส่งนบีคนใดลงมาสั่งสอนอีก” และบุตรหลานเหล่านั้นก็คือ บรรดาอิมามที่ได้รับทางนำแล้วนั่นเอง, ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า พวกท่านทั้งหลายหลังจากท่านศาสดาจากไปแล้ว พวกท่านได้บิดพลิ้วและทำลายสัญญาที่ให้แก่ท่านศาสดา, ปัญหาเรื่องอิตรัตของเขาพวกท่านก็มีความขัดแย้งกัน พวกท่านได้นำเอาคนอื่นมาแล้วก็จัดการเลือกตั้งขึ้นมา”[4]

เรื่องราวเหล่านี้ทั้งหมดบ่งบอกให้เห็นว่า อุบัย บิน กะอฺบ์ นั้นยอมรับวะลายะฮฺของอะลี ตามคำแนะนำของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่เกี่ยวกับอะลี (อ.) และเขายังได้สนับสนุนเชิญชวนให้บุคคลอื่นปฏิบัติเยี่ยงเขา, อุบัย บิน กะอฺบ์ หลังจากศาสดาได้จากไปได้ประมาณ 2-3 ปี เขาก็ได้เสียชีวิต, แต่ช่วงการเสียชีวิตของเขามีความเห็นต่างกันบ้าง เนื่องจากบางกลุ่มกล่าวว่า เขาได้เสียชีวิตในยุคสมัยของ อุสมาน แต่ตามคำกล่าวของ อิบุ ฮะญัร ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัลอะซอบะฮฺ” เชื่อว่า เขาได้เสียชีวิตในยุคสมัยของอุมัรเคาะลิฟะฮฺที่สอง ประมาณปี ฮ.ศ. ที่ 22[5]

บทสรุปสุดท้าย เนื่องจากรายงานฮะดีซของอุบัย บิน กะอฺบ์ มิได้มีกล่าวไว้ในแหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺ มากนัก, ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อาจกล่าวสรุปได้ว่าอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับรายงานของเขา

 


[1] อิบนุอับดุลบิร,อัลอิสตีอาบ ฟี มะอฺริฟะติลอัซฮาบ, เล่ม 1, หน้า 65, ดารุลญะลีล, เบรูต, ปี 1412.

[2] เหมือนกับว่าในตำราของฝ่ายซุนนีกล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺ ที่สอง ได้ตั้งฉายานามแก่เขาว่า “ซัยยิดุลมุสลิมีน” อิบนุอะซีร, อะซะดุลฆอบะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 61. ดารุลฟิกรฺ, เบรูต, ปี 1409.

[3] อัลลามะฮฺ ฮิลลียฺ, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, อิฮฺติญาจญฺ, แปลโดยมาซันดะรอนนียฺ, เล่ม 1, หน้า 254, - 260, สำนักพิมพ์ อิสลามียะฮฺ,เตหะรอาน, ปี 1381.

[4] เฏาะบัรซียฺ,ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, อิฮฺติยาจญฺ, แปลโดยมาซันดะรอนนี, เล่ม 1 หน้า 254, -260,สำนักพิมพ์ อิสลามียะฮฺ,เตหะรอาน, ปี 1381.

[5] อัสกาลานียฺ, อิบนุ ฮะญัร, อัลอะซอบะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 181, ดารุล กุตุบ อัลอะลัมมียะฮฺ, เบรูต, 1415.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7944 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39652 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7901 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6877 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    13096 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • ท่านอิมามฮุซัยนฺและเหล่าสหายในวันอาชูทั้งที่มีน้ำอยู่เพียงน้อยนิด และฆุซลฺได้อย่างไร?
    6006 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/11/21
    การพิจารณาและวิเคราะห์รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกระหายของเหล่าสหายและบรรดาอธฮฺลุลบัยตฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และรายงานที่กล่าวถึงการฆุซลฺ (อาบน้ำตามหลักการ
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9950 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6934 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • ควรจะตอบคำถามเด็กๆ อย่างไร เมื่อถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ?
    7812 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    ไม่สมควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ที่เด็กๆ ได้ถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านั้นด้วยความถูกต้อง เข้าใจง่าย และมั่นคง,โดยอาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก พร้อมคำอธิบายง่ายๆ ขณะเดียวกันด้วยคำอธิบายที่ง่ายนั้นต้องกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้าชนิดคำนวณนับมิได้ ซึ่งอยู่ร่ายรอบตัวเอรา นอกจากนั้นยังสามารถพิสูจน์คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความปรีชาญาณ, พลานุภาพ, และความเมตตาแก่เด็กๆ ...
  • สามารถอธิบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชน ระหว่างแพทย์กับคนไข้ตามบทบัญญัติของอิสลามได้หรือไม่?
    6469 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    ด้านหนึ่ง บทบัญญัติของพระเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้, ก) บทบัญญัติอิมฎออีย์, ข) บทบัญญัติตะอฺซีซียฺ อะฮฺกามอิมฎออียฺ หมายถึง บทบัญญัติซึ่งมีมาก่อนอิสลาม, แต่อิสลามได้ปรับปรุงและรับรองกฎนั้น เช่น การค้าขายประเภทต่างๆ มากมาย, อะฮฺกามตะอฺซีซียฺ หมายถึง บทบัญญัติที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าอิสลามได้กำหนดกฎเกณฑ์เหล่านั้นขึ้นมา เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺทั้งหลาย สิทธิซึ่งกันและกัน ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมิได้มีเฉพาะแต่ในอิสลามเท่านั้น, ทว่าระหว่างศาสนาต่างๆ ของพระเจ้า, หรือแม้แต่ศาสนาที่มิได้นับถือพระเจ้าก็กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะที่ว่า มนุษย์มีภาคประชาสังคม และการตามโดยธรรมชาติ, ดังนั้น เพื่อรักษาระเบียบของสังคม จำเป็นต้องวางกฎเกณฑ์ และกำหนดสิทธิขึ้นสำหรับประชาคมทั้งหลาย ซึ่งพลเมืองทั้งหมดต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและต้องรักษากฎระเบียบเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า สิทธิของบุคคล เกี่ยวกับสิทธิซึ่งกันและกัน ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60299 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57836 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42403 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39652 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39063 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34154 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28177 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28129 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28043 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25999 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...