การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7788
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1653 รหัสสำเนา 11560
คำถามอย่างย่อ
การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
คำถาม
การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
คำตอบโดยสังเขป

การให้ความเคารพ การย้อนกลับ การขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่า พวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผล และสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้ โดยเป็นอิสระจากพระเจ้า หรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์ การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริก อีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ (อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนบรรดาศาสดา มะลัก หรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์) ดังนั้น การมีเจตนาดังกล่าวถือว่าไม่เข้ากันและเป็นชิริกกับการบริบาลและการกระทำของพระองค์

แต่ถ้าการตะวัซซุล การให้ความเคารพ และการย้อนกลับมีเจตนารมณ์เพื่อว่า :

. เพื่อการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้า

. การเผยแพร่ศาสนา เมื่อสัมพันธ์ไปยังความจริงที่ว่าพวกเขาได้สร้างศีลธรรม ความดีงามและการพัฒนาตลอดการออกกฎหมาย ซึ่งเป็นบุญคุณที่ท่านเหล่านั้นมีอยู่เหนือตัวเรา

. การสร้างแบบอย่างและการได้รับประโยชน์อันเฉพาะ จากความโปรดปรานอันเฉพาะของบรรดาท่านเหล่านั้น โดยที่เรามิได้คิดว่าท่านเหล่านั้นมิได้ปราศจากความต้องการไปยังอาตมันสากลในการบริบาลของพระเจ้า ฉะนั้น การคิดเช่นนี้ถือว่าไม่ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ (พระผู้ทรงบริบาล) ในฐานะที่พระองค์คือผู้ตอบสนองความต้องการ เนื่องจากในความเป็นจริงผู้กระทำ ผู้บริบาล และผู้ขจัดความต้องการของเรา ถึงแม้ว่าจะมาจากบรรดาท่านเหล่านั้น แต่เป็นไปในแนวตั้งของอำนาจบริบาลและการตอบสนองของพระเจ้า มิใช่เป็นไปในแนวนอนเพื่อที่ว่าสิ่งนั้นจะกลายเป็นชิริก

ด้วยเหตุนี้ มาตรฐานของการเป็นชิริก (ตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า) ในการแสวงหาความต้องการจากสิ่งอื่นอกจากพระเจ้า ขึ้นอยู่กับเจตนาของแต่ละบุคคล ฉะนั้น ถ้าหากบุคคลหนึ่งได้ตะวัซซุลไปยังพวกเขา โดยมอบความคู่ควรในการเคารพภักดี หรือการบริบาลโดยปราศจากการพึ่งพิงไปยังพระเจ้า การตะวัซซุลเช่นนี้ตามหลักความเชื่อแล้ว ถือว่าเป็นชิริก

แต่ถ้าเป็นไปเพื่อการเคารพภักดีพระเจ้า หรือการใช้ผลประโยชน์จากเกียรติยศและศักดิ์ศรีของพวกเขา และเพื่อให้ตัวตนบริสุทธิ์ของพวกเขาวิงวอนขอความต้องการของเราจากพระองค์ หรือโดยการอนุญาตของพระองค์ให้พวกเขาขจัดความต้องการของเรา การกระทำเช่นนี้มิใช่เพียงจะไม่เป็นชิริกเท่านั้น ทว่าผู้ที่ทำการตะวัซซุล ยังมีความหวังอย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากเขาได้ปฏิบัติไปตามพระบัญชาของพระเจ้า

คำตอบเชิงรายละเอียด

มนุษย์คือสรรพสิ่งมีสองมิติคือ กล่าวคือเป็นการรวมกันระหว่างวิญญาณอันเร้นลับกับร่างกายอันไม่จีรัง เป็นสสารวัตถุประเภทหนึ่งยากจนและต้องพึ่งพิง และเนื่องจากมีสององค์ประกอบสำคัญ ดังนั้น จำเป็นต้องกระทำเพื่อตอบสนองทั้งสององค์ประกอบด้วยความสมดุล ปราศจากความสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อจะได้มีความสมบูรณ์แข็งแรง และสามารถดำรงสืบต่อไปได้อย่างปกติ มีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาการไปสู่ความรุ่งเรืองสูงสุดอันแท้จริง (ไปสู่ตำแหน่งตัวแทนของพระเจ้า)

พระผู้อภิบาลผู้ทรงปรีชาญาณสูงสุดทรงกำหนดเป้าหมายแน่นอนในการการสร้างของมนุษย์ และทรงรอบรู้ความต้องการและความปรารถนาของมนุษย์ในทุกด้าน ทั้งก่อนหน้าที่จะสร้างรูปลักษณ์ของเขา หรือในเวลาเดียวกันที่ทรงสร้างพวกเขา พระองค์ทรงตระเตรียมการเพื่อขจัดความต้องต่างๆ ของพวกเขา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงประสงค์ให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นสืบต่อไป ตามกระบวนการทางธรรมชาติด้วยเจตนารมณ์เสรี ความสมบูรณ์แข็งแรงทางกายภาพและจิตวิญญาณ โดยการใช้สื่อเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้ทรงตระเตรียมไว้สำหรับเขา มิเช่นนั้นแล้วพระเจ้าทรงมีศักยภาพในการสร้างกายภาพของมนุษย์ให้สมบูรณ์ตั้งแต่ตอนแรก โดยที่เขาไม่ต้องมาวิวัฒนาการตนไปสู่ความสมบูรณ์อีก ดังการสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน หรือทรงสร้างจิตวิญญาณของมนุษย์ให้สมบูรณ์ตั้งแต่แรก ในแง่ของการแสดงความเคารพภักดี เพื่อว่าเขาจะได้เข้าไปสู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์ โดยปราศจากความขาดตกบกพร่อง  ดังเห็นได้จากการสร้างมวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย แต่ทว่าความประเสริฐของมนุษย์ที่มีเหนือสิ่งอื่นก็ตรงนี้เอง กล่าวคือขณะที่มนุษย์มีความต้องการทั้งด้านกายภาพและจิตวิญญาณ มนุษย์ยังสามารถพัฒนาตนไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งเหนือมวลมลาอิกะฮฺได้

ดังนั้น มนุษย์ผู้มีเจตนารมณ์เสรีหากต้องการขจัดความต้องการของตน จำเป็นต้องใช้ความโปรดปรานทั้งหมดของพระเจ้าที่แพร่หลายอยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้คงมีอยู่ด้วยความสุขสมบูรณ์ และสำหรับการขจัดความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆที่พระองค์ทรงกำหนด เพื่อที่ว่าจิตวิญญาณอันเร้นลับของตนจะได้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับโลกแห่งความสูงส่ง และสามารถขจัดความต้องการของตนให้หมดไปได้

ในการใช้ปัจจัยที่เป็นตักวีนี เพื่อขจัดความต้องการทางกายภาพของมนุษย์ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากความต้องการอันกว้างไพศาลตลอดระยะเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ต้องสงสัยเลยเนื่องจากมนุษย์มี 2 องค์ประกอบสำคัญนับตั้งแต่แรกเกิดพวกเขามีความคุ้นเคยกับมัน ฉะนั้น ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีความเคร่งครัดในศาสนา สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นการใช้เครื่องมือหรือสื่อ อันเป็นสาเหตุของการขจัดความต้องการทางร่างกายของตน จะเป็นชิริก หรือเป็นการใช้ทรัพย์สินของพระเจ้าชนิดไม่ถูกที่ก็หาไม่

 

พระเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณ ทรงขจัดความต้องการทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ในรูปแบบของศาสนาและการออกกฎหมาย, โดยมอบอาหารที่สมบูรณ์แข็งแรงด้านความเชื่อศรัทธา การแสดงความเคารพภักดี จริยธรรม การอบรมสั่งสอน โดยผ่านกลุ่มชนนามว่าศาสดา (.) ซึ่งมาจากหมู่พวกเขาเอง ซึ่งพระองค์ทรงแต่งตั้งให้พวกเขาเป็นผู้ชี้นำสั่งสอน พระองค์ได้วางกฎหมายหมายหรือกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับมนุษย์ในการไปถึงยังตำแหน่งอันสูงศักดิ์ ขณะที่บรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าเองต่างมีหน้าที่ในการรักษาขอบข่ายและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านั้น เพื่อว่าจะได้สามารถใช้หนทางดังกล่าวขจัดความต้องการด้านจิตวิญญาณของตน และสามารถเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเร้นลับในอีกมิติหนึ่งซึ่งอยู่เหนือความรู้สึกของประสาทสัมผัสทั้งห้า และอยู่เหนือญาณวิสัยของมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงวันหนึ่งๆ ท่านได้ติดต่อกับโลกแห่งความเร้นลับนั้นเป็นช่วงเป็นระยะเวลา (ในรูปแบบของการอิบาดะฮฺประจำวัน) และในหมู่มนุษย์ด้วยกันเองมีบางคนที่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลมากกว่าคนอื่น จากฎเกณฑ์ดังกล่าว ในลักษณะที่ว่าเขาได้ยกตัวเองพ้นไปจากโลกแห่งธรรมชาตินี้ไปสู่โลกในอีกมิติหนึ่ง บางคนประสบความสำเร็จถึงขั้นได้เป็นตัวแทนของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน จากหนทางดังกล่าวนี้ บางคนก็ไม่อาจไปถึงยังความภิรมย์แห่งพระเจ้าได้ กล่าวคือ สื่อระหว่างโลกและบุคคลได้ตกค้างไปจากขบวน ดังนั้นการ ตกค้างนี่เองที่เขาจำเป็นต้องเลือกหนทางดังกล่าวเพื่อขจัดความต้องการแห่งจิตวิญญาณตน

ประเด็นนี้เองทำให้เกิดความสงสัยคลางแคลง ในความแตกต่างของการตะวัซซุลไปยังพวกเขา หรือการขอความช่วยเหลือจากผู้ทรงเกียรติเหล่านั้น กับความเป็นเอกเทศในการงาน หรือการบริบาลของพรเจ้า

แต่ทว่าดังที่กล่าวไปแล้วว่า การใช้ประโยชน์จากวัตถุสสาร เพื่อช่วยขจัดความต้องการทางกายภาพ ไม่เป็นชิริก เนื่องจากพระเจ้าได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ ดังที่อัลกุรอานก็กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้[1] อีกทั้งพระองค์พระองค์ยังได้มอบสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นแก่พวกเขาอีกต่างหาก และมนุษย์ก็ทราบดีว่าสิ่งถูกสร้างทั้งหมดเหล่านี้ ไม่มีสิ่งใดเป็นเอกเทศโดยปราศจากการพึ่งพิงไปยังพระองค์ ด้วยเหตุนี้ การยึดมั่นหรือการตะวัซซุลไปยังผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น เพื่อให้เกียรติเคารพและขจัดความต้องการของตน ไม่มีสิ่งใดขัดแย้งกับการยอมรับในอำนาจบริบาล หรือการงานของพระเจ้า หรือการเป็นผู้ขจัดความต้องการของพระเจ้าแม้แต่นิดเดียว เนื่องจากในการตะวัซซุลนั้นกับบุคคลเหล่านั้นไม่ได้เป็นไปในแนวนอนอันก่อให้เกิดการเป็นชิริกแต่อย่างใด ทว่ามนุษย์ทราบเป็นอย่างดีว่า การงานของผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น ตลอดจนอำนาจบริหารของพวกเขาอยู่ในแนวตั้งของการงานและการบริบาลของพระเจ้า ประกอบกับการมีอยู่ของพวกเขาก็คล้ายเหมือนกับสิ่งอื่น ที่ยากจนและต้องพึ่งพิงไปยังอาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า แน่นอน ถ้าพระองค์ไม่ทรงเมตตา หรือไม่ทรงการุณย์กับพวกเขา พวกเขาก็ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้ แล้วจะนับประสาอะไรกับการงานและการบริหารหรือการขจัดความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น การเชื่อในการกระทำคือการขจัดความต้องการของมนุษย์ของพวกเขา เป็นไปในแนวตั้งของพระเจ้า สิ่งนี้จึงไม่ถือว่าเป็นชิริกแต่อย่างใด[2]

แต่

แต่เป็นเพราะสาเหตุใด พระเจ้าจึงได้มีบัญชาให้เราย้อนกลับไปยังพวกเขาเหล่านั้น และเป็นเพราะเหตุใดที่เราต้องอาศัยสื่อเหล่านั้น เพื่อรังสรรค์ประโยชน์ทางด้านจิตวิญญาณและโลกแห่งความเร้นลับด้วย ประเด็นนี้สามารถตอบได้หลายเหตุผลด้วยกันกล่าวคือ :

1. บุคคลเหล่านี้ "คือสื่อนำไปสู่ความภิรมย์ของพระเจ้า" เป็นช่องทางที่ความเมตตาจากพระเจ้า,จะไหลหลั่งผ่านมาทางนี้แด่มวลสรรพสิ่งทั้งหลายบนจักรวาลนี้ และถ้ามีไม่บุคคลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้บนโลก, พระเจ้าก็จะไม่สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและมวลสรรพสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองขึ้นมาการใดทั้งสิ้น ดังคำกล่าวของฮะดีซ กุดซีย์ ที่เชื่อถือได้ กล่าวว่าโอ้ บนีเอ๋ยถ้าหากไม่มีเธอ ข้าก็จะไม่สร้างจักรวาลนี้ขึ้นมา ถ้าหากไม่มีอะลี ข้าก็จะไม่ได้สร้างเธอขึ้นมา ถ้าไม่มีฟาฏิมะฮฺ ข้าก็จะไม่สร้างเธอทั้งสองคนขึ้นมา เนื่องจากการมีอยู่ของเธอทั้งสามคนคือความสมบูรณ์ของกันและกัน และเป็นสเหตุของการสร้างสรรพสิ่งอื่น[3]

ดังนั้น เพื่อการไปถึงยังแหล่งของพระเมตตาจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าว เพื่อว่าเราจะได้ไม่ถูกกีดกันจากพระเมตตาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ในบทดุอาอ์ นุดบะฮฺ เราจึงอ่านว่า อยู่  ที่ใดหรือ ที่พำนักแห่งพระเจ้าพวกเราจะได้เข้าไปหา

2. บรรดาผู้ทีได้รับความโปรดปรานพิเศษจากพระเจ้า สื่อสร้างสรรค์ความใกล้ชิดของพระองค์ พวกเขาได้ย้อมตัวเองด้วยสีสันและคุณลักษณะของพระเจ้า การพิจารณาและมองไปยังพวกเขาประหนึ่งการจ้องมองไปยังพระเจ้า เนื่องจากความคุ้นเคยกับพวกเขา แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางอุปสรรคปัญหา ก็จะทำให้มนุษย์รำลึกถึงพระเจ้าและขอความคุ้มครองจากพระองค์ตลอดเสมอมา ดังคำวิงวอนในดุดอาอ์นุดบะฮฺที่กล่าวว่า :"อยู่  ที่ใดหรือ พระพักตร์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ซึ่งหมู่มวลมิตรของพระองค์ได้หันหน้าไปสู่

3 บรรดาผู้ทีได้รับความโปรดปรานพิเศษจากพระเจ้า สื่อสร้างสรรค์ความใกล้ชิดของพระองค์ ดุอาอ์ของพวกเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ แต่จะถูกตอบจากพระเจ้า นอกจากนั้นชะฟาอะฮฺของพวกเขายังได้รับการตอบรับจากพระเจ้าด้วย ดังนั้น จะเห็นว่าในดุอาอ์ นุดบะฮฺ ได้กล่าวต่อไปอีกว่าอยู่  ที่ใดกันเล่าผู้ปัดเป่าความทุกข์ยาก เมื่อเราได้วิงวอนดุอาอ์ของเราจะถูกตอบรับและเนื่องจากพระองค์เป็นผู้มีเมตตาสูงส่ง ไม่ทรงปฏิเสธการวิงวอนของผู้ใดทั้งสิ้น และถ้าสิ่งที่วิงวอนขอไปนั้นตรงกับความเห็นพร้องของพระองค์ด้วยแล้ว พระองค์จะไม่ปล่อยให้เขากลับมือเปล่าอย่างแน่นอน ซึ่งสิ่งนี้ระหว่างบุคคลร่วมสมัยกับบรรดาท่านเหล่านั้น และระหว่างผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมเยือนท่านต่างได้เห็นกับตาตัวเองหลายต่อหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมีเสียงกล่าวเรียกพวกท่านทั้งหลายว่าความเคยชินของพวกท่านคือความดีงาม ชะตาชีวิตของพวกท่านคือเกียรติยศ ฐานันดรของพวกท่านคือความสัจจริง ความซื่อสัตย์ และความเมตตา[4]

4. ความสัมพันธ์โดยตรงกับโลกเร้นลับ มนุษย์ที่ไม่เคยพัฒนาและขัดเกลาตนเอง หรือไม่เคยผ่านขบวนการเหล่านี้มาก่อนเขาไม่สามารถกระทำได้แน่นอน ดังนั้น ควรที่จะยึดเอาอุปกรณ์หรือแนวทางที่พระองค์ทรงมอบให้แก่เราเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺตรัสงว่าโอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พึงสำรวมตนต่ออัลลอฮ์เถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้และเสียสละในทางของอัลลอฮ์เถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ[5] นอกจากนั้นยังมีรายงานจำนวนมากมายกำกับไว้ว่า บรรดาอะฮฺลุลบัยต์ (.) คือสื่อของอัลลอฮฺ และ "ความเชื่อมั่นคงอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเจ้า ดังนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ศรัทธาคนหนึ่ง จำเป็นต้องรู้จักพวกเขา และยึดพวกเขาไว้ให้มั่น[6] ในดุอาอ์นุดบะฮฺ กล่าวว่าเชื่อว่า :อยู่  ที่ใดกันเล่ม สื่อที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินและท้องฟ้า ?"

5. การรู้จักการหันหน้าไปสู่และการตะวัซซุลกับบุคคลเหล่านี้ คือมูลเหตุที่ทำให้ความต้องการของเราถูกแก้ไขจัดการ มูลเหตุของความคุ้นเคย, มิตรภาพและความรัก ซึ่งมิตรภาพและความรักที่มีต่อบุคคลเหล่านี้คือ มูลเหตุของการศึกษาและความเป็นเลิศในการชี้นำบุคคล ในขณะที่ตัวตนอันบริสุทธิ์ของพวกเขามิเคยต้องการ ความช่วยเหลือของประชาชน เนื่องจากพวกเขาได้รับความการุณย์พิเศษจากพระเจ้า ไปถึงยังเป้าหมายปลายทาง

6 การย้นอกลับของประชาชนไปยังหมู่มวลมิตรของพระเจ้าคือ ผลรางวัลประการหนึ่งซึ่งพวกเขาได้รับเนื่องจากความอุตสาหะที่ได้เพียรพยายามเอาไว้ ดังที่อัลลอฮฺตรัสกับท่านศาสดามุฮัมมัดว่าและยามหนึ่งของราตรี เจ้าจงตื่นขึ้นมานมาซ ด้วยความสมัครใจของเจ้า หวังว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าจะทรงให้จ้าได้รับตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ (ตำแหน่งชะฟาอะฮฺทั้งโลกนี้และโลกหน้า)”[7]

7. การย้อนไปสู่และการตะวัซซุลของประชาชนที่มีต่อตัวตนศักดิ์สิทธิ์คือ สาเหตุของการส่งเสริมให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขาด้านหนึ่ง นอกจากนั้นยังเป็นการตัดขาดจากความยโสโอหัง ให้ออกไปจากผู้ที่ดำรงอิบาดะฮฺอย่างเนืองนิด ผู้มีความยำเกรง และผู้ที่ขัดเกลาตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์ และยังเป็นการป้องกันและไม่เปิดโอกาสให้แก่ผู้ปลอมแปลงและผู้หลอกลวงทั้งหลายอีกด้วย

8. สถานภาพอันสูงส่งของมนุษย์ผู้สมบูรณ์แบบนั้นมีความโดดเด่นยิ่งกว่ามวลมลักทั้งหลาย เนื่องจาก :

1 มวลมลักทั้งในโลกนี้และปรโลกคือผู้รับใช้บ่าวผู้บริสุทธิ์

2 กิจการงานของมวลมลัก ไม่ถือว่าเป็นความพิเศษอันใดสำหรับพวกเขาแม้แต่นิดเดียว

3 ในค่ำคืนแห่งมิอ์รอจญ์ ท่านศาสดา (ซ็อล ) อยู่ไนตำแหน่งที่ล่วงล้ำเกินญิบรออีลเสียอีก และในบางที่มวลมลาอิกะฮฺคือผู้บริหารงานของพระเจ้าพวกเขาคือผู้บริหารกิจการ[8] (พวกเขาอยู่ในแนวตั้งของผู้ประกอบกิจการงานของพระเจ้า) ต่างไปจากมนุษย์ เพราะมนุษย์คือผู้สร้างตัวเองขึ้นไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่งมวลมลาอิกะฮฺมิได้เป็นเช่นนั้น

9. แบบฉบับของบรรดาผู้อาวุโส ผู้สูงศักดิ์คือ ภารกิจบางส่วนถ้าหากผู้อยู่ใต้บังคับชาสามารถปฏิบัติได้ เขาจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบุคคลเหล่านั้น เมื่อมีผู้มาพบพวกเขาจะได้ให้คำตอบหรือคำปรึกษาได้ เพื่อใช้วิธีการนี้เป็นการอบรมสั่งสอนบุคคลที่เลือกสรรพิเศษ และเป็นรางวัลในความพยายามที่พวกเขาได้ขวนขวายเอาไว้ อีกประการหนึ่งเพื่อให้บุคคลอื่นได้รู้จักตัวเขาและสถานภาพของเขา เพื่อจะได้มีความสะดวกในการไปมาหาสู่หรือติดต่อกับพวกเขา

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ทีมาพบปะกับพวกเขาต่างทราบดีว่า สื่อนี้ไม่ได้อยู่ในสานเดียวกันกับพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอย่างแน่นอน และพวกเขาไม่กระทำสิ่งใดอันมิใช่พระประสงค์ หรือมิได้รับอนุญาตจากพระองค์อย่างแน่นอน

สรุป สาระสำคัญตามที่กล่าวมา : สำหรับการเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเร้นลับ หรือการปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า การอบรม การขัดเกลา การพัฒนา และการขจัดความต้องการของตนเองทั้งโลกนี้และโลกหน้า จำเป็นต้องรู้จักสื่อ และต้องย้อนกลับ ต้องตะวัซซุล และต้องมอบความรักแก่หมู่มวลมิตรของพระเจ้า การตะวัซซุลไปยังพวกเขา หมายถึง การยึดมั่นไปยังมูลเหตุ และสายเชือกอันเหนียวแน่นมั่นคงของพระเจ้าพระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงสุด พวกเขาคือสื่อซึ่งการมีอยู่และเกียรติยศของพวกเขาทั้งหมด สัมพันธ์ติดอยู่กับอาตมันบริสุทธิ์ของพระเจ้า กิจการงานของพวกเขา คำพิพากษา และการขจัดความต้องการทั้งหลายของพวกเขา อยู่ในแนวตั้งแห่งกิจการงานของพระเจ้า แน่นอนว่า การย้อนกลับไปหรือการตะวัซซุลกับบุคคลเหล่านี้ จึงไม่เป็นชิริกแต่อย่างใดทั้งสิ้น เนื่องจากผู้ขจัดความต้องการทั้งปวง มีเฉพาะอัลลอฮฺ แต่เพียงผู้เดียว

แหล่งทรัพยากรทางวิชาการสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม :

Mousavi Esfahani, Seyed Mohammad Taqi, Mkyal Almkarm, เล่ม. 1 และ 2, แปล, Seyed Mehdi Haeri Qazvin

Mesbah - Yazdi, Mohammad Taqi ออมูเซซอะกออิด, เล่ม 1-3

Mesbah - Yazdi, Mohammad Taqi มะอาริฟอัลกุรอาน, เล่ม 1-3

Shirvani, Ali, มะอาริฟอิสลามมี ในผลงานของชะฮีด Mottahary , หน้า. 250-251 และ 90-110

นอกจากนี้ยังมีหนังสือ ด้านกะลาม หมวดวิพากษ์เกี่ยวกับชะฟาอะฮฺ เตาฮีดอัฟอาล และบทวิพากษ์เกี่ยวกับอิมามมะฮฺ



[1]  อัลกุรอานบท ญาซียะฮฺ 12,13 บทลุกมาน 20

[2]  โปรดย้อนกลับไปศึกษาคำถามที่ 95 เจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ คำถามที่ 217 และ 51 และคำถามที่ 80

[3] คัดลอกมาจาก บัรนาส เซามิอะฮฺ สะรอยี มะฮฺดี หนังสือ คืนอานุภาพคืออะไร พิมพ์ที่ เกาซัร เฆาะดีร เล่ม 2 หน้า 79,81

[4]  ซิยารัตญิมิอ์กะบีร

[5]  อัลกุรอานบท อัลมาอิดะฮฺ 35, บทอาลิอิมรอน 103, บทอัลอิสรอ 57

[6]  ฮาเอรีย์ ซัยยิดมะฮฺดี, ฉบับแปลหนังสือ มิกยาลุลมะการิม เล่ม 1 หน้า 625,639 , นอกจากนี้หนังสือตัฟซีร อีกหลายเล่มตอนอธิบายโองการดังกล่าว

[7] อัลกุรอานบท บทอัลอิสรอ 79

[8]  อัลกุรอานบทนาซิอาต 5

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...