การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
16545
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/24
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ จึงไม่ตอบรับดุอาอฺขอฉัน?
คำถาม
เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่ฉันเฝ้าวอนขอดุอาอฺ แล้วมันอยู่ที่ไหนหรือ???เดือนรอมฎอนคือเดือนแห่งการตอบรับดุอาอฺ แต่ทำไมถึงไม่ถูกตอบรับ? อัลลอฮฺ ตรัสว่า : จงวิงวอนต่อข้าเพื่อข้าจะได้ตอบรับ นานกี่เดือนกี่ปีหรือ?
คำตอบโดยสังเขป

ดุอาอฺ คือหัวใจของอิบาดะฮฺ, ดุอาอฺคือการเชื่อมน้ำหยดหนึ่งกับทะเล และด้วยการเชื่อมต่อนั่นเองคือ การตอบรับ.ความสัมฤทธิ์ผลจากอัลลอฮฺต่างหาก ที่มนุษย์ได้มีโอกาสดุอาอฺต่อพระองค์, การตอบรับดุอาอฺนั้นมีมารยาทและเงื่อนไขอยู่ในตัว, ต้องเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านั้น และต้องขจัดอุปสรรค์ที่ขวางกั้นให้หมดไป, อุปสรรคสำคัญอันเป็นเหตุให้ดุอาอฺไม่ถูกตอบรับคือ บาปกรรม,การรู้จักอัลลอฮฺก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ดุอาอฺถูกตอบรับ

คำตอบเชิงรายละเอียด

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวคำเทศนาอันเป็นสำนวนจับใจในวันศุกร์หนึ่ง ซึ่งในตอนท้ายของคำเทศนาท่านกล่าวว่า : โอ้ ประชาชนเอ๋ย มีความทุกข์อันยิ่งใหญ่อยู่ 7 ประการ ซึ่งจำเป็นต้องขอความคุ้มครองและพึ่งพิงต่ออัลลอฮฺ, ผู้รู้ที่หลงผิด, ผู้ดำรงอิบาดะฮฺที่เหนื่อยหน่าย, ผู้ล้มละลายจากทรัพย์สิน, ผู้ที่สูญสิ้นอำนาจมารมีตกต่ำยิ่งกว่าคนขอทานที่เจ็บป่วย, ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาอัลลอฮฺ, เวลานั้นได้มีชายคนหนึ่งยืนขึ้นพร้อมทั้งกล่าวว่า : ท่านพูดความจริงหรือ, โอ้ อะมีรุลมุอฺมินีน ท่านคือกิบละฮฺสำหรับพวกเรา เมื่อพวกเราระหนอย่างไร้จุดหมาย ท่านคือแสงสว่างสำหรับพวกเรา เมื่อพวกเราตกอยู่ในความมืดมิด แต่พวกเราขอถามท่านเกี่ยวกับพระดำรัสของอัลลอฮฺ ที่ตรัสว่า : »จงวิงวอนต่อข้าเพื่อข้าจะได้ตอบรับเจ้า« แล้วพวกเราก็ได้วิงวอน แต่เกิดอะไรขึ้นหรือ พระองค์จึงไม่ตอบรับคำวิงวอน? ท่านอิมาม กล่าวว่า : »เป็นเพราะหัวใจของพวกเธอได้ทรยศคุณสมบัติพิเศษ 8 ประการ

หนึ่ง พวกเธอรู้จักอัลลอฮฺ, สิทธิของพระองค์คือ สิ่งที่พระองค์ทรงวาญิบแก่พวกเธอ, แต่พวกเธอมิได้ปฏิบัติตาม.ด้วยเหตุนี้ การรู้จักจึงไม่ยังประโยชน์แก่พวกเธอ

สอง พวกเธอศรัทธาต่อศาสดาของพระองค์, แต่มิได้ปฏิบัติตามแบบฉบับและแนวทางของท่าน อีกทั้งยังทำลายบทบัญญัติของท่าน. ดังนั้น ความศรัทธาของเธอจะมีประโยชน์อันใดอีกหรือ?

สาม พวกเธออ่านอัลกุรอาน, แต่มิได้นำเอาสิ่งนั้นไปปฏิบัติ, พวกเธอพูดว่า ครับผม พวกเราจะเชื่อฟังปฏิบัติตาม, แต่กลับต่อต้าน

สี่ พวกเธอกล่าวว่า พวกเรากลัวไฟนรก, แต่พวกเธอกลับเข้าใกล้ไฟนรกไปทุกขณะ เพราะบาปกรรมที่ก่อขึ้น, ดังนั้น ความเกรงกลัวของพวกเธออยู่ที่ไหนหรือ?

ห้า พวกเธอกล่าวว่าพวกเราปรารถนาสรวงสวรรค์ ขณะที่พวกเธอได้กระทำภารกิจหนึ่งอันเป็นเหตุให้ห่างไกลจากสวรรค์ไปทุกขณะ แล้วความปรารถนาของพวกเธออยู่ที่ไหนหรือ?

หก พวกเธอได้รับประโยชน์จากความโปรดปรานอันอเนกอนันต์ของพระเจ้า, แต่พวกเธอไม่เคยขอบคุณความโปรดปรานเหล่านั้น

เจ็ด พระองค์มีบัญชาแก่พวกเธอว่า จงเป็นศัตรูกับชัยฏอนมารร้าย ตรัสว่า:  »ชัยฏอนนั้นคือศัตรูตัวฉกาจของเธอ ดังนั้น จงถือว่ามารคือศัตรูของเจ้า« แต่พวกเธอกับมิได้แสดงตนเป็นศัตรู ทว่าได้เป็นมิตรกับมาร

แปด พวกเธอมองเห็นแต่ข้อบกพร่องและข้อตำหนิของคนอื่น แต่กับหลงลืมข้อตำหนิของตนเอง. ขณะที่เป็นการสมควรยิ่งที่จะประณามว่ากล่าวตนเอง แต่กับประณามตำหนิคนอื่น. พวกเธอมีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ในตัว แล้วดุอาอฺจะถูกตอบรับได้อย่างไร?  พวกเธอต้องเปิดประตูดุอาอฺแก่ตัวเอง มั่นวิงวอนขอต่อพระองค์ ปรับปรุงแก้ไขการงานของตนให้ถูกต้อง ทำจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ส่งเสริมการทำความดีและห้ามปรามความชั่ว เพื่อว่าอัลลอฮฺจะได้ตอบรับดุอาอฺของพวกเธอ«[1]

ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา ดุอาอฺ คืออิบาดะฮฺหรือบางครั้งถูกแนะนำว่า เป็นหัวใจของอิบาดะฮฺด้วยซ้ำไป. ถ้าหากพิจารณาบทบัญญัติของอิสลาม เราจะพบว่าบทบัญญัติส่วนใหญ่เหล่านั้นครอบคลุมอยู่เหนือดุอาอฺทั้งหลาย. อัลลอฮฺ ทรงกล่าวเรียกร้องมนุษย์หลายต่อหลายครั้งในอัลกุรอานว่า ให้ดุอาอฺ

เช่น ตรัสว่า : »จงวิงวอนต่อข้า เพื่อข้าจะได้ตอบรับคำวิงวอนของเจ้า«[2] หรือตรัสว่า : »และเมื่อบ่าวของข้าวิงวอนต่อข้า อันที่จริงข้านี้อยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอน ถ้าเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้น จงวิงวอนต่อข้า และจงมีศรัทธาต่อข้า เพื่อจะได้รับการชี้นำ«[3]

ดุอาอฺ คือการเชื่อมต่อหยดน้ำไปยังมหาสมุทร. เพียงแค่การได้สัมพันธ์โดยตัวของมันแล้วมีค่ายิ่งและเท่ากับเป็นการตอบรับจากพระองค์. เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสแม้แต่การสายสัมพันธ์เชื่อมต่อไปยังพระองค์ เพียงแค่มนุษย์ได้รำลึกถึงพระองค์ และวิงวอนต่อพระองค์ ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ และมอบตัวเองเข้าสู่พระองค์ เท่านี้ก็นับว่าได้รับความโปรดปรานอย่างยิ่งจากพระองค์แล้ว ดังนั้น มนุษย์ต้องถือเอาโอกาสนี้ขอบคุณต่อพระองค์ผู้บริสุทธิ์ให้มากยิ่ง อัลลอฮฺ ตรัสว่า : »จงรำลึกถึงข้า เพื่อข้าจะได้รำลึกถึงเจ้า« การรำลึกของเรามิได้ยังประโยชน์อันใดต่อพระองค์ทั้งสิ้น, ทั้งการรำลึกของเราและการระลึกของพระองค์ล้วนเป็นประโยชน์ต่อเราทั้งสิ้น.

ดุอาอฺ มีมารยาทและเงื่อนไขอันเฉพาะ ซึ่งแน่นอนว่า การเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านั้น ดุอาอฺของเราจะถูกตอบรับ โอวาทของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ได้แสดงให้เห็นมารยาทและเงื่อนไขต่างๆ ของดุอาอฺไว้อย่างมากมาย. มีผู้ศรัทธากลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านอิมามซอดิก (อ.) พร้อมกับกล่าวว่า : พวกเราได้ดุอาอฺแล้ว, แต่เป็นเพราะอะไร ดุอาอฺของพวกเราไม่ถูกตอบรับ? ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า : »เนื่องจากพวกเธอได้ดุอาอฺ โดยมิได้แนะนำผู้ใดต่อพระองค์«[4]

บางครั้งเราวิงวอนขอบางสิ่งต่ออัลลอฮฺทั้งที่สิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อตัวเอง, ประหนึ่งเด็กที่ไม่รู้ได้วอนขอบางสิ่งจากมารดา ทั้งที่สิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อตัวเอง. ดังนั้น ถ้าหากมารดาได้ตอบสนองตามความต้องการของบุตร เท่ากับได้อธรรมต่อเขา ในเวลานั้น เป็นไปได้ที่บุตรอาจจะไม่พอใจมารดา หรือโกรธ, แต่นั่นก็เป็นประโยชน์กับตัวเอง.ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : »โอ้ ปวงบ่าวของอัลลอฮฺเอ๋ย พวกเธอเปรียบเสมือนคนป่วย และอัลลอฮฺคือแพทย์ผู้รักษา, การเยียวยารักษาอาการป่วยคือ สิ่งที่อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งแพทย์รู้และจะพิจารณา มิใช่สิ่งที่คนไข้ต้องการ พึงสังวรไว้เถิด จงมอบหมายการงานต่อพระองค์ เพื่อว่าสิ่งนั้นจะได้ถูกต้อง[5]«

บางครั้งเรามองเห็นประโยชน์ของเราเพียงด้านเดียว โดยลืมคิดไปว่าการตอบรับดุอาอฺของเรา อาจเป็นอันตรายต่อคนอื่นก็ได้. ดุอาอฺของเราอาจถูกตอบรับนานแล้ว,แต่เราอาจไม่รู้ตัว. หรือบางครั้งเราอาจรีบร้อนในการตอบรับ เพียงแค่ดุอาอฺจบลง เราก็ต้องการให้ดุอาอฺถูกตอบรับโดยทันที. รายงานกล่าวว่า ดุอาอฺของมูซาและฮารูน (อ.) เกี่ยวกับฟาโรห์นั้น นานถึง 40 ปี จึงถูกตอบรับ.[6]

บางครั้งการไม่ตอบรับดุอาอฺคือ ความกรุณาอย่างหนึ่งจากพระเจ้า เพื่อจะได้รับเตาฟีกในการสนทนากับอัลลอฮฺ นานยิ่งขึ้น, ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า : »ดังที่พระเจ้าทรงล่าช้าในการตอบรับดุอาอฺของมุอฺมิน,เนื่องจากพระองค์ปรารถนาที่จะรับฟังคำวิงวอนของปวงบ่าวให้มากยิ่งขึ้น แต่ดุอาอฺของพวกกลับกลอกพระองค์จะทรงตอบรับโดยเร็ว, เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงปรารถนาที่จะได้ยินเสียงของพวกเขา«[7]

ถ้าหากเราพิจารณาสักนิด เราจะเข้าใจว่าอัลลอฮฺ ทรงประทับอยู่ทั่วทั้งจักรวาล พระองค์ทรงมองเห็นทุกสรรพสิ่งในจักรวาล, ดังนั้น จงอย่าปล่อยให้การต้อนรับของเจ้าของบ้าน ทำให้เราถูกกีดกันออกจากเจ้าของบ้าน »เนื่องจากมี 100 ย่อมมี 99 อยู่ในมือแล้ว« ดังนั้น เมื่อเรามีอัลลอฮฺ อยู่ในใจเท่ากับเราได้รับทุกสิ่งแล้ว.

ฉะนั้น ถ้าหากเราคิดไปเองว่า อัลลอฮฺ ไม่ทรงตอบรับดุอาอฺของเรา, เราต้องไม่สิ้นหวัง เราต้องไม่หมดหวังในความเมตตาของพระองค์ เพราะการหมดหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงยิ่ง อัลลอฮฺ ตรัสว่า : »โอ้ ปวงบ่าวของข้าผู้ละเมิดต่อตนเอง อย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺ ทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล พระองค์คือพระผู้ทรงอภัยผู้ทรงปรานีเสมอ«[8]

อุปสรรคสำคัญที่สุดที่ขวางกั้นการตอบรับ ดุอาอฺ คือบาปกรรมต่างๆ ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวต่ออัลลอฮฺ ในดุอาอฺ โกเมลว่า : โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดอภัยในความผิดบาปที่กีดขวางการตอบรับดุอาอฺ. ช่างไร้มารยาทและไร้ความอายสิ้นดี ถ้าหากเราฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ แล้วปรารถนาบางสิ่งจากพระองค์ อีกทั้งยังคาดหวังว่าพระองค์จะเปิดพระทัยกว้างตอบรับคำวิงวอนและความปรารถนาของเรา.

บาปกรรมคือ ตัวการที่จะทำให้ความศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ และเราะซูลของพระองค์ลดน้อยลง และกลายเป็นสาเหตุสำคัญทำให้มนุษย์ลืมหรือปฏิเสธอัลลอฮฺและสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระองค์ อัลกุรอานกล่าวว่า : »แล้วบั้นปลายของบรรดาผู้กระทำความชั่วเลวร้ายยิ่งคือ การปฏิเสธสัญญาณทั้งหลายของอัลลอฮฺ และพวกเขาได้เย้ยหยัน«[9] ในทางกลับกัน, อิบาดะฮฺคือ สื่อนำมาซึ่งความเชื่อมั่น »จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของเจ้า จนกระทั่งความเชื่อมั่นจะมาถึงสูเจ้า«[10]

ดุอาอฺ คือการเปิดเผยความต้องการของปวงบ่าวต่ออัลลอฮฺ ใช่มิต้องสงสัยว่าพระองค์คือผู้ทรงเมตตา, แต่ขณะเดียวกันพระองค์ทรงปรีชาญาณยิ่ง และทั้งความเมตตาและความการุณย์จะไม่เกินเลยวิทยปัญญาของพระองค์ อัลลอฮฺ มิทรงตระหนี่ถี่เหนียว ดังนั้น พระองค์จะทรงตอบรับคำวิงวอนของปวงบ่าวบนวิทยปัญญาของพระองค์ มิใช่บนความปรารถนาของปวงบ่าว

อัลลอฮฺ ตรัสว่า : »และหากอัลลอฮฺทรงตอบรับตามความปรารถนาของมนุษย์ ชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดินและสิ่งที่อยู่ในนั้นต้องเสียหายอย่างแน่นอน«[11]

อัลลอฮฺ ตรัสว่า : »นโอ้ ปวงบ่าวของข้า จงเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของข้าเถิด แต่จงอย่าบอกข้าว่า สิ่งใดดีสำหรับเจ้า ข้ารู้ดีกว่าเจ้า และข้ามิได้ตระหนี่ถี่เหนียวในการประทานสิ่งสมควรยิ่งแก่เจ้า«[12] มนุษย์พึงปฏิบัติหน้าที่ของตน เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงทราบดีว่าสมควรกระทำสิ่งใด

»พึงปล่อยทุกสิ่งไป คำพูดของมิตรย่อมไพเราะยิ่งกว่า« อัลลอฮฺ ตรัสว่า  : » แท้จริงบรรดาผู้กล่าวว่า อัลลอฮฺ คือพระผู้อภิบาลของพวกเรา แล้วพวกเขาได้ยืนหยัดตามคำกล่าวนั้น มลากิกะฮฺจะลงมาหาพวกเขา จงอย่ากลัวและอย่าเศร้าสลดใจ แต่จงรับข่าวดีนั่นคือ สรวงสวรรค์ ที่ถูกสัญญาไว้แก่สูเจ้า«[13]

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อต่อไปนี้ :

เงื่อนไขการตอบรับดุอาอฺอย่างแน่นอน, คำถามที่ 983 (ไซต์)

การตอบรับดุอาอฺต่างๆ โดยเร็ว, คำถามที่ 14940 (th14733 )(ไซต์)

 


[1] มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 5, หน้า 269.

[2] อัลกุรอาน บทฆอฟิร, 60.

[3] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 186

[4] มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 5, หน้า 191.

[5] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 153

[6] มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 5, หน้า 192.

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 194.

[8] อัลกุรอาน บทอัซซุมัร, 53.

[9] อัลกุรอาน บทอัรโรม, 10.

[10] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์, 99.

[11] อัลกุรอาน บทมุอฺมินูน, 71.

[12] เอรชาด อัลกุลูบ, เล่ม 1, หน้า 152

[13] อัลกุรอาน บทฟุซซิลัต, 30.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    8942 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16867 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    8277 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6762 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    6662 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • มีการระบุสิทธิของสิ่งถูกสร้างอื่นๆไว้ในคำสอนอิสลามหรือไม่?
    6505 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ในตำราทางศาสนามีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆมิได้ครอบคลุมเฉพาะมนุษย์เท่านั้นทว่ามัคลู้กอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันดังที่ปรากฏในหนังสือمن لا یحضره الفقیه มีฮะดีษหลายบทรวบรวมไว้ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของปศุสัตว์เหนือเจ้าของ (حق الدابّة علی صاحبه ) ซึ่งเราขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้:ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองดังต่อไปนี้จะต้องให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมันจะต้องให้มันกินน้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำจะต้องไม่บรรทุกสัมภาระหรือบังคับให้เดินทางเกินความสามารถของมันและอย่าฟาดที่ใบหน้าของมันเพราะสรรพสัตว์พร่ำรำลึกถึงพระองค์เสมอ”[1]นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่คล้ายคลึงกันในหมวดحق الدابّة علی صاحبه ของหนังสือบิฮารุลอันว้ารเล่าว่าท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “สรรพสัตว์มีสิทธิเหนือเจ้าของเจ็ดประการ1. จะต้องไม่บรรทุกเกินกำลังของมัน 2.ให้อาหารเมื่อลงจากหลังของมัน 3.ให้น้ำเมื่อผ่านแหล่งน้ำ... “[2]เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่ระบุถึงสิทธิของสัตว์ทำให้ทราบว่ามนุษย์มิไช่ผู้ที่มีสิทธิเพียงผู้เดียวทว่าสรรสิ่งอื่นๆก็มีสิทธิบางประการเช่นกันกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ระเบียน:  วิธีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ของวัตถุและพืชคำถามที่ 7575  ( ลำดับในเว็บไซต์8341 ) 
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6670 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    5872 ข้อมูลน่ารู้ 2557/03/04
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9105 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7077 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59309 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38325 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27491 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27173 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25140 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...