Please Wait
7144
“เซาบาน” ในฐานะที่ถูกกล่าวขานถึงว่าเป็น “เมาลาของท่านเราะซูล” ทั้งที่เขาคือทาสคนหนึ่ง ซึ่งได้รับความเป็นไทโดยการไถ่ตัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เขาได้กลายเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นผู้จงรักภักดีกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับความจงรักภักดีและความรักที่เขาทีต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และครอบครัวของท่านนั้น ตำราบางเล่มได้สาธยายถึงรายงานฮะดีซเกี่ยวกับเขาเอาไว้
รายชื่อของเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จำนวน 2-3 คน หนึ่งในนั้นคือ “เซาบาน”, แต่ชื่อว่า เซาบาน ได้ถูกอธิบายคุณสมบัติต่อ ด้วยคำว่า “เมาลา[1] เราะซูล” ซึ่งเขาเป็นเพียงคนเดียวที่ได้รับนานนี้[2]
ด้วยเหตุนี้เอง เซาบาน จึงเป็นหนึ่งในสหายของท่านศาสดา แต่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับเขา, อย่างน้อยที่สุดสามารถกล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้มีความรักต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และครอบครัวของท่านเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตามในหนังสือ ริญาลของ เชคฏูซีย กล่าวว่า เซาบาน ซึ่งมีชื่อเล่นว่า อะบาอัลดิลลาฮฺ เป็นเซาะฮาบะฮฺคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[3] และตามคำกล่าวของ อัสเกาะลานียฺ ในหนังสือ “อัลอะซอบะฮฺ” กล่าวว่า เซาบานคือ สหายที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งตอนแรกท่านศาสดา ได้ซื้อเขา หลังจากนั้นได้ปล่อยเขาเป็นไท, แต่เซาบานได้อาสาอยู่รับใช้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วยเจตนารมณ์ของตนเอง จนกระทั่งสิ้นอายุขัยของท่าน[4]
มีคำกล่าวว่า ในตำราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของเรา เช่น หนังสือกุตุบอัรบะอะฮฺ, มิได้บันทึกรายงานของเขาไว้เลย, แต่ในหนังสือฮะดีซเล่มอื่น ได้มีการบันทึกรายงานของเขาไว้จำนวนเล็กน้อย เช่น รายงานจากเขาที่บันทึกเอาไว้ในหนังสือเหล่านั้นคือ ความจงรักภักดีที่เขามีต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ของท่าน, รายงานซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ถามถึงความรักของเซาบานที่มีต่อท่าน และครอบครัว ซึ่ง เซาบาน กล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ถ้าหากเรือนร่างของฉันถูกสับออกเป็นชิ้นๆ, หรือร่างกายของฉันถูกหั่นออกเป็นชิ้นส่วน, หรือโยนฉันเข้าไปในไฟเพื่อเผาทั้งเป็น และ ...สำหรับฉันแล้ว การกระทำเหล่านี้ง่ายดายเสียยิ่งกว่า การไม่มีความบริสุทธิ์ใจต่อท่านและครอบครัวของท่าน แม้มีน้ำหนักเท่าเพียงผงธุลีก็ตาม[5]
เฏาะบัรซียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรมัจญมะอุลบะยาน ตอนอธิบายโองการที่ว่า
«وَ مَنْ يُطِعِ اللَّهَ وَ الرَّسُولَ فَأُولئِكَ مَعَ الَّذينَ أَنْعَمَ اللَّهُ عَلَيْهِمْ مِنَ النَّبِيِّينَ وَ الصِّدِّيقينَ وَ الشُّهَداءِ وَ الصَّالِحينَ وَ حَسُنَ أُولئِكَ رَفيقاً»،[6]
มีคำกล่าวว่า โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมาแก่ เซาบาน คนรับใช้ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากวันหนึ่งเขาได้เข้าไปรับใช้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขณะที่เขาไม่สบาย, ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถามเขาว่าเป็นอะไรหรือ? เขาตอบว่า : ไม่เป็นอะไรหรอก แต่ฉันครุ่นคิดว่า ถ้าหากพรุ่งนี้เป็นวันกิยามะฮฺ, และถ้าฉันถูกนำตัวไปสู่นรก, แล้วฉันคงจะไม่ได้พบท่านอีอย่างแน่นอน, แต่ถ้าฉันได้ถูกนำตัวเข้าสวรรค์, ก็คงจะมีฐานันดรอันต่ำต้อยกว่าท่านอย่างมากมาย ก็คงไม่มีโอกาสได้มาเยี่ยมท่านอีกเช่นกัน เรื่องนี้เองที่ทำให้ฉันไม่สบายใจและเป็นกังวลอย่างยิ่ง ในเวลานั้นเอง โองการได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงได้กล่าวแก่เขาว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ไม่มีความศรัทธาของมุอฺมินคนใดจะสมบูรณ์ได้ จนกว่าเขาจะรักเรามากกว่าตัวเอง มากกว่าบิดามารดา ภรรยา บุตรของเขาและประชาชนทั้งหมด[7]
ด้วยเหตุนี้เอง จากเนื้อหาที่อธิบายผ่านมา,สามารถกล่าวได้ว่า เซาบาน คือหนึ่งในผู้จงรักภักดีกับท่านศาสดาและครอบครัวของท่านมากที่สุดคนหนึ่ง
ฉะนั้น ทราบแล้วว่าความหมายของคำว่า “เมาลา” ซึ่งเป็นคุณลักษณะหนึ่งของ เซาบาน (เซาบานเมาลาเราะซูล) สามารถกล่าวได้ว่า หมายถึงความอิสรภาพ หรือผู้ได้รับอิสรภาพแล้วของเราะซูล, หรืออาจหมายถึง บ่าวของเราะซูล, แต่เนื่องจาก เซาบาน ได้รับอิสรภาพจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ตั้งแต่แรกแล้ว ความหมายแรกจึงเหมาะสมกับบุคลิกของเขามากกว่า
สุดท้าย ขอกล่าวว่า เซาบาน ไม่ได้มีรายงานมากมายบันทึกไว้ในตำราของชีอะฮฺ, ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่ค่อยได้พบเจอทัศนะของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่แสดงเกี่ยวกับเขาและรายงานของเขา
[1] คำว่า “วิลายะฮฺ” และ “เมาลา” มาจากรากศัพท์คำเดียวกันนั่นคือ วะลี นักภาษาศาสตร์ได้ตีความหมายของคำนี้ไว้เป็นจำนวนมากมาย เช่น หมายถึง มาลิก อับด์ มะตีก (ผู้ให้ความอิสรภาพ) มุอฺตัก (เป็นอิสระแล้ว) ซอฮิบ (เพื่อนร่วมทาง) กะรีบ (เช่นลูกของลุง) ญาร (เพื่อนบ้าน) ฮะลีฟ (ร่วมพันธสัญญา) อิบนุ (บุตรชาย) อัมเมะ (ลุง อา) ร็อบ นาซิร มุนอิม, นะซีล, (บุคคลที่ได้เลือกสถานที่พัก) ชะรีก, อิบนุลอุคติ (บุตรชายพี่สาวหรือน้องสาว) มุฮิบ, ตาบิอ์, ซะฮัร (เขย) เอาลา บิตตะซัรรุฟ (บุคคลที่มีสิทธิ์ในการควบคุมภารกิจของคนอื่น เนื่องจากตัวเขาดีกว่านั่นเอง) คัดลอกมาจากหัวข้อ ความหมายของวิลายะฮฺ คำถามที่ 153 (ไซต์ : 1156)
[2] อัสกะลานียฺ อิบนุฮะญัร, อัลอะซอบะฮฺ เล่ม 1, หน้า 528, ดารุลกุตุบ อัลอะลัมมียะฮฺ, เบรูต ปี 1415.
[3] ฏูซียฺ, มุฮัมมัด บินฮะซัน, ริญาลฏูซี, หน้า 31, สำนักพิมพ์ ฮัยดะรียะฮฺ, นะญัฟ ปี 1381
[4] อัลอะซอบะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 528.
[5] ตัฟซีร อิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) หน้า 370, มัดเราะซะฮฺ อิมามมะฮฺดียฺ (อ.) กุม, ปี 1409, มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 27, หน้า 100, ดารุลอะฮฺยา อัตตุรอซ อัลอาเราะบี, เบรูต, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี 1403
[6] อัลกุรอานบท นิซาอฺ, 69.
[7] เฏาะบัรซียฺ, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 3, หน้า 110, สำนักพิมพ์นาซิร โคสรู, เตหะราน, ปี 1372.