การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9406
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2153 รหัสสำเนา 14707
คำถามอย่างย่อ
ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
คำถาม
ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
คำตอบโดยสังเขป

จากการศึกษาอัลกุรอาน หลายโองการเข้าใจได้ว่า สวรรค์ คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้า และจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่วมุตตะกีหรือผู้ศรัทธามุอฺมินผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อล ) โดยสมบูรณ์ บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริง และเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลาย

ด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) และคำสอนของท่านเราะซูล (ซ็อล ) เข้าใจได้ว่าพระบัญชาของพระองค์และคำสั่งของเราะซูล (ซ็อล ) กำชับว่าจำเป็นต้องเชื่อฟังปฏิบัติตาม วะลียุลอัมริ, และการรู้จักบรรดาอิมามพร้อมกับมอบสิทธิอันชอบธรรมแก่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสำหรับผู้ที่ไม่มีได้มีความเชื่อด้วยหัวใจ, หรือด้วยคำพูด อีกทั้งมิได้ปฏิบัติคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล (ซ็อล ) ของพระองค์ อัลกุรอาน และอะฮฺลุลบัยตฺ (.) แล้วไซร้ เขาผู้นั้นมิใช่ผู้ศรัทธาที่แท้จริง เมื่อเป็นเช่นนั้นความเมตตา และพันธสัญญาของอัลลอฮฺจะไม่ครอบคลุมไปถึงพวกเขาอย่างแน่นอน, เนื่องจากอัลกุรอานกล่าวว่า

إِنَّ الَّذِینَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَهُمْ جَنَّاتٌ تَجْرِی مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ ذَلِکَ الْفَوْزُ الْکَبِیرُ      

ส่วนบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย พวกเขาจะได้รับสรวงสวรรค์หลากหลาย  เบื้องล่างมีลําน้ำหลายสายไหลผ่าน นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง[i]

ตามความเป็นจริงแล้วสวรรค์หรือนรก คือ ผลลัพธ์ของหลักความเชื่อและการปฏิบัติตัว ซึ่งเราได้ประกอบไว้บนหน้าแผ่นดิน อัลกุรอาน กล่าวว่า :

إِنْ أَحْسَنتُمْ أَحْسَنتُمْ لِأَنفُسِکُمْ وَإِنْ أَسَأْتُمْ فَلَهَا

หากสูเจ้าทำความดี สูเจ้าก็ทำเพื่อตัวของเจ้าเอง และหากว่าสูเจ้าทำความชั่ว ก็เพื่อตัวเอง

ความจำเป็นในการเชื่อฟังปฏิบัติตามอะฮฺลุลบัยตฺ (.) สูงส่งและยิ่งใหญ่เกินกว่าคำกล่าวอ้างว่า รักพวกเขา และสิ่งนี้มิใช่เฉพาะชีอะฮฺเท่านั้นที่กล่าวอธิบายเอาไว้ ความลับในการเข้าสู่สรวงสวรรค์ขึ้นอยู่กับ ความรู้จักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) แก่นของการรู้จักอันเป็นความเข้าใจและเป็นกุญแจสำคัญคือ : ความหมายของคำว่า อิมาม. วาญิบต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามอิมาม, ความจำเป็นในการมีอยู่ของอิมาม, ความต้องการในอิมามเพื่อการรู้จักความสุขและความจำเริญอันแท้จริง และฯลฯ

ซึ่งสามารถกล่าวสรุปได้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ไม่อาจเข้าถึงความจริงนี้ได้ หรือเขามิได้เพิกเฉยต่อการศึกษาหาความจริงแต่อย่างใด เขาจึงไม่มีความผิด และไม่ต้องถูกลงโทษในนรก เนื่องจาก นรก คือสถานที่ ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับบุคคลที่ทำความผิดและบาปกรรมต่างๆ มิได้ถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักความจริง หรือแก่แท้ของความจริง หรือไม่อาจเข้าถึงความจริงได้แต่อย่างใด



[i] อัลกุรอาน บทอัลบุรูจญฺ โองการที่ 11

คำตอบเชิงรายละเอียด

สรวงสวรรค์,คือสัญญาแน่นอนของอัลลอฮฺ (ซบ.)[1] แต่ส่วนข้อสัญญาของพระองค์ครอบคลุมถึงผู้ใดบ้าง? จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการที่กล่าวถึงชาวสวรรค์ เข้าใจได้ว่า :

"وعدالله المؤمنین و المؤمنات جنات تجری من تحتها الانهار"،

อัลลอฮฺได้ทรงสัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิง ว่าจะให้สวนสวรรค์ซึ่ง  เบื้องล่างมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน[2]

โองการระบุให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การเข้าสวรรค์นั้นมีเงื่อนไขสำคัญอยู่ประการหนึ่งนั่นคือ การเป็นผู้ศรัทธามุอฺมินแต่ผู้ศรัทธาเป็นใคร? การเอ่ยชะฮาดะตัยนฺด้วยปากเพียงอย่างเดียวถือว่าเพียงพอต่อการเป็นผู้ศรัทธา แล้วได้เข้าสวรรค์ไปรวมกับผู้ศรัทธาทีแท้จริงกระนั้นหรือ?

อัลกุรอาน กล่าวถึงผู้ศรัทธาว่า

"و من یطع الله و رسوله یدخله جنات تجری من تحتها الانهار".

ผู้ใดที่เชื่อฟังอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะทรงนำเขาเข้าสู่สวนสวรรค์หลากหลาย  เบื้องล่างมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน[3]

บรรดาผู้ศรัทธาที่ได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ได้แก่บรรดาผู้ซึ่ง เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูลของพระองค์โดยสมบูรณ์ ส่วนการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราะซูลนั้นทำอย่างไร? อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เข้าใจได้ว่า การเชื่อฟังปฏิบัติตามนั้นมี 2 ลักษณะ กล่าวคือความศรัทธาและการปฏิบัตินั่นเอง อัลกุรอานกล่าวว่า 

إِنَّ الَّذِینَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَهُمْ جَنَّاتٌ تَجْرِی مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ ذَلِکَ الْفَوْزُ الْکَبِیرُ      

ส่วนบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย พวกเขาจะได้รับสรวงสวรรค์หลากหลาย  เบื้องล่างมีลําน้ำหลายสายไหลผ่าน นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง[4]

ฉะนั้น :

- ตราบที่ยังไม่ได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเราะซูล (ซ็อล ) ถือว่าเขามิใช่ผู้ปฏิบัติตามโดยแท้

- การเชื่อฟังปฏิบัติตามต้องเกิดจากใจโดยมีศรัทธามั่น ควบคู่กับการปฏิบัติตามความเชื่อนั้น

-เพียงแค่ไม่เชื่อหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเราะซูล (ซ็อล ) เพียงคำสั่งเดียว ไม่ถือว่าเป็นผู้ภักดีโดยสมบูรณ์

ผลของการมีศรัทธาและประกอบการดีคืออะไร?

จากการพิจารณาอัลกุรอานอันเป็นองค์ประกอบสมบูรณ์ด้วย วิทยปัญญาและความละเอียดอ่อน ซึ่งผลจากทั้งสองประการนี้ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์แห่งความสำรวมตนจากความชั่วหรือที่เรียกว่าตักวานั่นเอง ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าผู้มีตักวาล้วนเป็นชาวสวรรค์ทั้งสิ้น อัลกุรอานกล่าวว่า:

"للذین اتقوا عند ربهم جنات تجری من تحتها الانهار".

บรรดาผู้ยำเกรงนั้น  พระผู้อภิบาลของพวกเขา พวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์  เบื้องล่างมีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน[5]

จากสิ่งที่กล่าวมาสรุปได้ว่า :

กลุ่มชนที่ได้รับความผาสุกอย่างแท้จริงคือ ผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว (ตักวา) และตักวาก็คือ การเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูล (ซ็อล ) โดยสมบูรณ์

แม้ว่า ตักวา จะมีระดับชั้นอยู่ก็ตาม ซึ่งระดับชั้นต่ำสุดของตักวาก็คือ การปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ทั้งหลาย และหลีกเลี่ยงจากการกระทำความผิดทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ ขอบข่ายเบื้องต้นของตักวาคือ การเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งอย่างสมบูรณ์โดยละเอียด

ดังนั้น หนึ่งในคำสั่งของท่านเราะซูล (ซ็อล ) คือสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้จัก และต้องปฏิบัติตามตัวแทนผู้เป็นอิมาม ที่แท้จริงภายหลังจากท่าน[6] มิต้องสงสัยเลยว่าผู้ที่มีความเชื่อเพียงแค่ลมปาก และไม่ได้แสดงความเชื่อฟังปฏิบัติตามตำแหน่งอิมามโดยแท้จริง เขาไม่ถูกนับว่าเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงที่ประกอบการดีต่างๆ นอกจากนั้นเขายังไม่มีระดับชั้นของความสำรวมตนจากความชั่ว (ตักวา) อีกด้วย

ประเด็นสำคัญ : จากโองการที่ 59 บทนิซาอฺ, ที่กล่าวถึงการเชื่อฟังปฏิบัติตาม วะลียุลอัมริ ว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับการเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องกล่าวสำทับในเรื่องนี้ก็คือ วะลียุลอัมริ ต้องเป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) มิได้หมายความว่าทุกคนที่ได้เป็นผู้ปกครองแล้วจะถือว่าเป็น วะลียุลอัมริ เนื่องจากถ้าวะลียุลอัมริ มิได้เป็นมะอฺซูมแล้วละก็ เป็นไปได้ที่คำสั่งของเขาอาจขัดแย้งกับคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูล (ซ็อล ) และในกรณีนี้ เท่ากับว่าคำสั่งให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ (ซบ.) และอูลิลอัมรินั้น เป็นการนำเอา 2 ความขัดแย้ง ที่ต่อต้านกันมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งการกระทำทำนองนี้เป็นไปไม่ได้แน่นอน

เราได้กล่าวไปแล้วว่าความจำเริญผาสุก และบทบาทของการเชื่อเรื่อง อิมามมะฮฺ คือปัจจัยสำคัญในการสร้างความผาสุกที่แท้จริง ดังนั้น ลำดับต่อไปจะอธิบายให้เห็นว่า บทบาทของอิมามมีผลต่อความจำเริญผาสุกของบุคคล และสังคม สวรรค์และนรกได้อย่างไร[7]

ความสำเร็จและบทบาทความเชื่อที่มีต่ออิมาม

เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่ได้กล่าวผ่านมาก่อนหน้านี้ จะขอทำความเข้าใจกับคำว่า การประสบความสำเร็จ หรือผู้มีชัยชนะ ความผาสุกบนโลกนี้และปรโลก ตลอดจนการรู้จักบทบาทความเชื่อที่มีต่ออิมามะฮฺ คือปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความจำเริญและความสำเร็จ

) ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำเร็จ

แต่ละคนจะมีคำจำกัดความสำหรับคำว่า ความสำเร็จและความสุขต่างกันออกไป แต่ความแตกต่างเหล่านั้นจะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่พวกเขาเลย ถ้าหากพวกเขาไม่ถวิลหาความสัตย์จริง

 มวลสิ่งดีงามวางอยู่  เบื้องหน้า สิ่งต้องห้ามชั่วช้าอยู่เบื้องหลัง

ถ้าหากกล่ำกลืนก็ถึงแก่ความตาย แต่ถ้ามุ่งหน้าไปก็จะมีชัย

ดังนั้น ดีกว่าสำหรับประเด็นนี้คือ เรียนรู้การตีความที่แท้จริงของคำนี้จาก อัลลอฮฺ (ซบ.) ครั้นเมื่อพระองค์ต้องจำแนกชนสองกลุ่มคือผู้ประสบความสำเร็จและผู้ได้รับความเสียหายให้ชัดเจนออกจากกัน เพื่อเราจะได้ประจักษ์ชัด

ดังนั้น เมื่อพระองค์ต้องการกล่าวถึงมนุษย์ผู้ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง เฉกเช่นท่านศาสดาอิบรอฮีม (.) พระองค์ได้แนะนำไว้เช่นนี้ว่า :

"و ان من شیعته لأبراهیم. اذ جاء ربه بقلب سلیم".

แท้จริง หนึ่งในบรรดาชนผู้ดำเนินตามแนวทางของเขานั้น คืออิบรอฮีม เมื่อเขาได้เข้าหาพระผู้อภิบาลของเขาด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว[8]

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อิบรอฮีม คือผู้เจริญรอยตามและเป็นชีอะฮฺที่แท้จริงของท่าน (ศาสดานูฮฺ) ด้วยสัญลักษณ์ที่ว่า เมื่ออิบรอฮีมได้เข้าหาพระผู้อภิบาลของเขา เขาได้เข้าไปด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ด้วยความสงบเชื่อมั่นอันเปี่ยมไปด้วยความนอบน้อม

ดุอาอฺบตอนหนึ่งของท่านศาสดาอิบรอฮีม (.) กล่าวว่า :

โปรดอย่าให้ข้าฯได้รับความอัปยศอดสูในวันที่พวกเขาถูกให้ฟื้นคืนชีพ วันซึ่งทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อํานวยประโยชน์อันใด เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮฺด้วยดวงใจที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว[9]

จากการที่อัลกุรอานได้เน้นย้ำถึง หัวใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เข้าใจได้ว่า : ผู้ประสบความสำเร็จ ได้รับชัยชนะ และมีความสุขแท้จริงคือ บุคคลที่ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาด้วยความเคร่งครัด ปาวนาตนให้เข้ากับศาสนา ดังนั้น เวลาไปพบอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงไปด้วยจิตใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว มีสัมมาคารวะ และหัวใจที่นอบน้อมต่อพระองค์

แต่ประเด็นที่สร้างความสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โองการข้างต้น (ชุอฺอะรอ 89) ได้เน้นย้ำว่าวันฟื้นคืนชีพ สรวงสวรรค์เป็นเครื่องประหนึ่งหนึ่งของมวลผู้ศรัทธาที่มีความสำรวมตนจากความชั่วสวรรค์จะพยายามเข้าใกล้พวกเขา สาระสำคัญของโองการได้เน้นย้ำว่า การมีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วคือผลของความสำรวมตน และรางวัลของผู้มีความสำรวมตนก็คือสรวงสวรรค์นั่นเอง

ดังนั้น ความผาสุก, ความสำเร็จและความปิติสุขทั้งหลายที่อยู่ในความพยายามนั้น ด้านหนึ่งคือการมีหัวใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วนั่นเอง ส่วนผู้ที่มีความผาสุกที่แท้จริงคือ ผู้ที่เป็นเจ้าของหัวใจผ่องแผ้ว ยอมจำนนโดยดุษณี ฉะนั้นความผาสุกจึงผูกพันอยู่กับการมีหัวใจที่สมบูรณ์

) บทบาทของความเชื่อที่มีต่ออิมามะฮฺอยู่ในความผาสุก

นักรายงานฮะดีซและนักเขียนจำนวนมากมายฝ่ายซุนนียฺ ได้บันทึกรายงานบทสำคัญนี้ไว้ ซึ่งบางตอนของรายงานกล่าวว่า :

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) ได้กล่าวแก่ท่านอิมามอะลี (.) ว่า :

ประชาชาติของศาสดามูซาจะแบ่งออกเป็น 71 พวก ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาทีจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นชาวนรก, และประชาชาติของศาสดาอีซา จะแบ่งออกเป็น 72 พวก ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาทีจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นชาวนรก, ส่วนประชาชาติของฉันจะแบ่งออกเป็น 73 พวก ซึ่งมีอยู่พวกเดียวในหมู่พวกเขาทีจะได้รับความช่วยเหลือ ส่วนที่เหลือจะกลายเป็นชาวนรก, อะลี (.) ถามว่า : โอ้ เราะซูลแห่งอัลลอฮฺ ประชาชาติพวกไหนหรือที่ได้รับความช่วยเหลือ? ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : ได้แก่บุคคลที่ยึดถือปฏิบัติตามแนวทางของเจ้า[10] 

บุรีดะฮฺ อัสละมี (ฝ่ายซุนนียฺเชื่อว่าเขาเป็นเซาะฮาบะฮฺของท่านเราะซูล (ซ็อล )) เขาได้รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ) ว่าวัตถุประสงค์ของซิรอฏ็อลมุสตะกีม (หนทางอันเที่ยงตรง) ในโองการอิฮฺดินัซซิรอฏ็อลมุสตะกีมหมายถึงมุฮัมมัดและลูกหลานของมุฮัมมัด[11]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามที่ต้องการข้ามสะพานซิรอตได้อย่างรวดเร็ว หรือกระแสลมพัดผ่าน และเข้าสู่สรวงสวรรค์โดยปราศจากการตรวจสอบ ดังนั้น เขาต้องยอมรับวิลายะฮฺของอะลี บุตรของอบีฏอลิบ ผู้เป็นวะลี และเป็นตัวแทนของฉัน เพราะเคาะลีฟะฮฺของฉันอยู่  ครอบครัวของฉัน 

ส่วนบุคคลใดก็ตามต้องการไปสู่ไฟนรก :

"فلیترک ولایته، فو عزت ربی و جلاله انه لباب الله الذی لایوتی الا منه، و انه الصراط المستقیم و انه الذی یسال الله عن ولایته یوم القیامة"

ดังนั้น จงละทิ้งวิลายะฮฺของเขา ฉันขอสาบานด้วยเกียรติยศและความสูงส่งของอัลลอฮฺว่า แท้จริงเขาคือ ประตูแห่งอัลลอฮฺ (ประตูทางเข้าเมื่อผ่านเข้าไปจะได้พบหนทางไปสู่อัลลอฮฺ) ประตูซึ่งนอกจากประตูนี้แล้ว ไม่มีหนทางอื่นไปสู่อัลลอฮฺได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาคือหนทางอันเที่ยงธรรม และเขาคือบุคคลซึ่งในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะสอบถามประชาชนเกี่ยวกับวิลายะฮฺของเขา[12]

การงานของบุคคลใดถูกตอบรับ?

วิลายะฮฺคือ เงื่อนไขสำคัญของการตอบรับอิบาดะฮฺ

ตามรายงานจำนวนมากมายจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ กล่าวว่า เงื่อนไขของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในการตอบรับการงานของประชาชาติคือ การยอมรับวิลายะฮฺของอะมีรุลมุอฺมินีน อะลี บุตรของอบีฏอลิบ (.)

ท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่า : การมองใบหน้าของอะลีอมีริลมุอฺมีนีน บุตรของอบีฏอลิบ เป็นอิบาดะฮฺ, การรำลึกถึงอะลีเป็นอิบาะฮฺ, อีมานของบุคคลจะไม่ถูกยอมรับ เว้นเสียแต่ว่ามีความรักต่ออะลี และเกลียดชังศัตรูของเขา[13]

สิ่งที่ได้รับจากรายงานบทนี้คือ เงื่อนไขในการตอบรับอีมาน (ความศรัทธาแล้วจะนับประสาอะไรกับอิบาดะฮฺ) คือการมีวิลายะฮฺและบะรออะฮฺ

อุละมาอฺและนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺ รายงานว่า :

ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : โอ้ อะลีเอ๋ย ถ้าหากบุคคลใดได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานเท่าอายุขัยของศาสดา (นูฮฺ) และเขามีแก้วแหวนเงินทองมากมายเท่าภูเขาอุฮุด พร้อมกับบริจาคทรัพย์สินเหล่านั้นในหนทางของอัลลอฮฺ เขาเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญฺด้วยเท้าเปล่า ตลอดอายุขัยของเขา เวลานั้นเขาได้ถูกสังหารเสียชีวิตระหว่างเนินเขาเซาะฟาและมัรวะฮฺ ด้วยความอธรรม แต่ถ้าเขาไม่มีวิลายะฮฺของเจ้า โอ้ อะลีเอ๋ย เขาจะไม่ได้กลิ่นอายของสวรรค์เป็นอันขาด และจะไม่มีวันเข้าสู่สรวงสวรรค์แน่นอน[14]

แต่สำหรับประเด็นที่ว่า ผู้ที่มิใช่ชีอะฮฺจะถูกส่งไปยังนรกหรือไม่ คือบทวิพากที่ต้องวิพากต่อไป แต่จะชี้ให้เห็นคร่าวๆ ก่อน :

อย่างไรก็ตามประชาชนที่ไม่ได้รับอิสลามแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1.กลุ่มที่หนึ่งได้แก่กลุ่มชนซึ่งโดยหลักการเรียกว่า ญาฮิลมุกัซซิรหรือผู้ปฏิเสธศรัทธา กล่าวคืออิสลามได้ไปถึงพวกเขาแล้ว และพวกเขาได้ศึกษาหาความจริง แต่เนื่องจากความดื้อรั้นและอวดดี ทำให้พวกเขาไม่อาจยอมรับความจริงได้ แน่นอน ชนกลุ่มต้องถูกการลงโทษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2. อีกกลุ่มหนึ่งโดยหลักการเรียกว่า ญาฮิลกอซิร หมายถึงกลุ่มชนที่อิสลามและความจริงมิได้ไปถึงพวกเขา หรืออิสลามที่ขาดๆ เกินๆ และไม่ใช่ความจริงได้ไปถึงพวกเขา หรือบางกลุ่มชนที่คิดว่าอิสลามเป็นศาสนาที่อยู่ในระดับเดียวกันกับศาสนาฮินดู เชน หรือสูงไปกว่านั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับศาสนายะฮูดียฺ และตริสเตียน แต่พวกเขายึดมั่นและปฏิบัติตามคำสอนศาสนาตนด้วยความเคร่งครัด ฉะนั้น พวกเขาย่อมได้รับการช่วยเหลือ

ด้วยเหตุนี้ ในทัศนะอิสลามถือว่าบุคคลเหล่านั้น ถ้าเขาปฏิบัติตัวเคร่งครัดตามคำสอนของศาสนาของตน ซึ่งวางอยู่บนธรรมชาติของความจริง เช่น ไม่โกหก หลีกเลี่ยงการทำบาป และการงานที่ฝ่าฝืนความเป็นมนุษย์ แน่นอน พวกเขาย่อมได้รับความช่วยเหลือ

ประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้ ครอบคลุมบรรดานักปราชญ์และผู้รู้ ซึ่งอิสลามได้แนะนำพระเจ้าแก่พวกเขาไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ประเด็นนี้จึงครอบคลุมบรรดาซุนนะฮฺ ที่ความจริงของชีอะฮฺยังมิได้ถูกอธิบายแก่พวกเขา

สรุปได้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ความจริงยังไปไม่ถึงพวกเขา และพวกเขามิได้เพิกเฉยต่อการค้นหาความจริง เขาจึงไม่มีความผิด และไม่ต้องถูกลงโทษในนรก เนื่องจาก นรก คือสถานที่ ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับบุคคลที่ทำความผิดและบาปกรรมต่างๆ มิได้ถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักความจริง หรือแก่แท้ของความจริง หรือไม่อาจเข้าถึงความจริงได้แต่อย่างใด

คำแนะนำเพื่อศึกษาเพิ่มเติม

1. นรกและผู้มิใช่มุสลิม, คำถามลำดับที่ 47 (ไซต์ : 283)

2. กอซิรีนและนิญาตอัซ ยะฮันนัม, คำถามลำดับที่ 323 (ไซต์ : 1751)



[1] อัลกุรอาน บทอัรเราะอฺดุ โองการที่ 35 กล่าวว่า (مَّثَلُ الْجَنَّةِ الَّتِی وُعِدَ الْمُتَّقُونَ) “อุปมาสวนสวรรค์ซึ่งได้ถูกสัญญาไว้แก่บรรดาผู้สำรวมตน (ประหนึ่งสวนซึ่ง) ”

[2] อัลกุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการ 72

[3] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการ 13

[4] อัลกุรอาน บทอัลบุรูจญฺ โองการที่ 11

[5] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 15

[6] อัลกุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการ 59 กล่าวว่าโอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! จงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังศาสนทูต และผู้ปกครองในหมู่พวกเธอเถิดอัลกุรอาน บทอัชชูรอ โองการที่ 23 กล่าวว่าจงกล่าวเถิด ฉันไม่ได้ขอร้องค่าตอบแทนใด  เพื่อการนี้เว้นแต่เพื่อความรักในเครือญาติใกล้ชิด" ฮะดีซบทจากท่านเราะซูล (ซ็อล ) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีผู้นี้ก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย” (อัลมุสตัดร็อก อะลัซเซาะฮีฮัยนฺ เล่ม 3, หน้า109)

[7]  อย่างไรก็ตามความเร้นลับที่ประชาชนมีความต้องการในอิมามะฮฺ นั้นจำเป็นต้องใช้เวลา และมีรายละเอียดมากไปกว่านี้ ซึ่งเกินพิกัดของบทความนี้ แต่จะกล่าวอธิบายในโอกาสเหมาะสมต่อไป

[8] อัลกุรอาน บทอัซซอฟาต โองการ 83-84

[9] อัลกุรอาน บทชุอฺอะรอ โองการ 87-89

[10] อัลอะซอบะฮฺ ฟี ตัมยีซซิซเซาะฮาบะฮฺ, อัสกะลานียฺ, เล่ม 2 หน้า 174

[11] รุชฟะตุซซอดียฺ, ซัยยิดชะฮาบุดดีน ชาฟิอียฺ, เล่ม 25, ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ, เชคซัลมาล ฮะนะฟียฺ, หน้า 114

[12]  ชะวาฮิร อัตตันซีล,ฮัสกานียฺ, เล่ม 1, หน้า 59, 90

[13] มะนากิบ คอรัซมียฺ, หน้า 19, 212, กิฟายะตุฏฏอลิบ, กันญียฺ ชาฟิอียฺ, หน้า 214

[14] (ثم لم یوالیک یا علی لم یشم رائحة الجنة ولم یدخلها) มะนากิบ, เคาะฏีบ คอรัซมียฺ, มักตัลฮุซัยนฺ (.), คอรัซมียฺ, เล่ม 1, หน้า 37

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7114 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6109 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7460 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • ชีวิตและจิตวิญญาณต้องนอนหลับหรือตายด้วยหรือไม่ ?
    6162 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ปัญหาเรื่องจิตวิญญาณและแก่นแท้ของมันเป็นปัญหาที่พิพาทถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคำถามข้างต้นก็ได้ก็เป็นผลพวงและแหล่งที่มาจากคำถามนี้เองที่ว่าแก่นแท้ของมนุษย์ก็คือ กายภาพอันเป็นวัตถุตามลักษณะที่ปรากฏกระนั้นหรือหรือว่าเบื้องหลังของมันยังมีสิ่งอื่นที่ซ่อนเร้นอยู่อีกซึ่งตาเนื้อธรรมดาไม่อาจมองเห็นได้ซึ่งอยู่นอกเหนือคุณสมบัติของวัตถุและมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงสิ่งนั่นเป็นวัตถุหรือนามธรรมที่ไร้สถานะและชะตากรรมของสิ่งนั้นภายหลังจากการตายของร่างกายจะเป็นอย่างไร?คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นนี้สามารถอธิบายในเชิงของทฤษฎีบท,ในลักษณะที่เป็นเชิงตรรกะเพื่อจะได้ไปถึงยังบทสรุป
  • เพราะสาเหตุใดการใส่ทองคำจึงฮะรอมสำหรับผู้ชาย?
    11472 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/22
    ตามทัศนะของนักปราชญ์และผู้รู้การสวมใส่ทองคำสำหรับผู้ชายมีผลกระทบที่สามารถทำลายล้างได้กล่าวคือก) เป็นการกระตุ้นประสาท[1], ข) การเพิ่มจำนวนที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดเลือดขาว[2]เหล่านี้คือผลเสียที่สามารถกล่าวถึงได้แต่ประเด็นทีต้องพิจารณาความรู้ที่รับผิดชอบต่อ"สุขภาพพลานามัย" ของมนุษย์ในขณะการปรับปรุงและพัฒนามิติด้านอาณาจักรที่เร้นลับและมิติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ผู้ที่เป็นกังวลสมควรเป็นมุสลิมมากที่สุดซึ่งต้องพิจารณาที่ "ร่างกาย" และ "ความรู้" ระดับในการแสดงออกและเป็นบทนำสำหรับการพิจาณาในขั้นต่อไปเนื่องจากมนุษย์มิใช่เป็นเพียงดินหรือวัตถุเท่านั้นความเป็นมนุษยชาติขึ้นอยู่กับการเติบโตของความสามารถและศักยภาพต่างๆของมนุษย์พระเจ้าผู้ทรงอำนาจได้ประทานให้แก่พวกเขาโดยมีประสงค์ให้เขาบรรลุตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺของพระองค์แต่จริงๆแล้วแนวทางที่ทำให้พรสวรรค์นี้เติบโตคืออะไร? ศัตรูและอุปสรรคของหนทางนี้อยู่ตรงไหน?อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้อธิบายถึงแนวทางและอุปสรรคขวางกั้นพรสวรรค์และศักยภาพของมนุษย์ไว้ในรูปแบบของบัญญัติแห่งศาสนาในฐานะที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆแล้วไม่อาจมีข้อสงสัยใดๆได้เลยว่าบทบัญญัติพระเจ้าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นภายนอกและในตัวเองแต่ถ้าต้องการทราบถึงปรัชญาของสิ่งนั้นจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ด้วย:1- มนุษย์สามารถรับรู้ปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติของพระเจ้าได้หรือไม่? แน่นอนคำตอบคือไม่เนื่องจาก:ก) เนื่องจากในตำราทางศาสนามิได้กล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดของบทบัญญัติเอาไว้ข) บทบัญญัติที่กล่าวถึงปรัชญาของตัวเองเอาไว้ไม่อาจรับรู้ได้ว่ากล่าวถึงปรัชญาทั้งหมดแล้วหรือไม่, ทว่าบางครั้งบทบัญญัติเพียงข้อเดียวก็มีปรัชญากล่าวไว้อย่างมากมายแต่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะกล่าวบางข้อเหล่านั้นเพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำค) ความรอบรู้ของมนุษย์ก็สามารถค้นหาปรัชญาและวิทยปัญญาบางประการของบทบัญญัติได้เท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7172 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    6898 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    5430 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5174 กาฟิร 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    6725 การโกหกถึงอัลลอฮ์และท่านนบี 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59035 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41358 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38138 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37897 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33208 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27311 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26929 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26814 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24901 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...