การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6147
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/30
คำถามอย่างย่อ
ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ. ความแตกต่างของทั้งสองคำนี้ในแง่ภาษาแล้วถือว่าชัดเจน แต่ต้องการทราบถึงการวิเคราะห์ของทั้งสองระดับว่าจะทำได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอาน กล่าวถึงวันกิยามะฮฺในฐานะสถานพำนักหลักสำหรับมนุษย์ ด้วยนามชื่อที่แตกต่างกัน เช่น อัลวากิอะฮฺ, อัรรอญิฟะฮฺ, อัฏฏอมะฮฺ, อัซซอเคาะฮฺ, อัลฮากเกาะฮฺ, เยามุลฟัฎล์, เยามุลนะดิม, เยามุลนุชูร,เยามุลฮัก, เยามุลมัซอะละฮฺ, เยามุลฮิซาบ, เยามุลมะฮาซิบะฮฺ, เยามุลตะลาก, และเยามุลฮัซเราะฮฺ, ซึ่งคำเหล่านี้ถูกกล่าวในอัลกุรอานในฐานะของ วันกิยามะฮฺ

ความหมายของ ฮัซรัต :

ความหมายเดิมของคำว่า ฮัซรัต คือการเปิดเผยชัดเจน ความชัดเจน[1]มีคำกล่าวว่าเนื่องจากวันกิยามะฮฺความจริง และความเร้นลับต่างๆ จะถูกเปิดเผยชัดเจนออกมา (วันซึ่งความเร้นลับภายในของบุคคลจะถูกเปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน)[2] และวันนั้นเรียกว่า วันแห่งความเสียใจ[3] คำว่า ฮัซรัต ยังถูกใช้ในความหมายอื่นอีก เช่น ในความหมายว่า “การสำนึกผิด” (เนื่องจากสิ่งหนึ่งได้หลุดลอยมือไป และไม่สามารถทดแทนสิ่งนั้นได้อีก) และเนื่องจากว่าผลของการเปิดเผยความจริงอันชัดเจน, เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องเสียใจและสำนึกผิดในสิ่งที่ได้กระทำลงไป, จึงเรียกวันนั้นว่า วันแห่งความเสียใจ ซึ่งการนำไปใช้ในลักษณะนี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นการใช้ในความหมายสำรองมากกว่า. ทำนองเดียวกันบางครั้งกล่าวว่า ฮัซรัต ก็ถูกนำไปใช้ในความหมายว่า การตกค้างจากการขับเคลื่อน ดังนั้น ตามคำอธิบายข้างต้นจะเห็นว่า ในวันกิยามะฮฺมนุษย์จะตกค้างจากขบวนการขับเคลื่อน และเขาไม่สามารถกระทำการงานอื่นใดต่อไปได้อีก งานของเขาจะถูกรวบรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งตามคำอธิบายของอัลกุรอาน »ในวันนั้นขณะที่ทุกสิ่งสิ้นสุดลง«[4] ซึ่งไม่อาจทดแทนได้อีกต่อไป, ดังนั้น วันฟื้นคืนชีพถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจ ทำนองเดียวกันบางครั้งหมายถึง ความหวาดกลัวและกังวล ซึ่งวันกิยามะฮฺได้ถูกเรียกว่าเป็นวันแห่งความเสียใจและเป็นกังวล เนื่องจากในวันนั้นมนุษย์จะได้เห็นฉากใหม่ๆ ที่แปลกประหลาด พวกเขาจะกังวลและมีความงงงวย พร้อมกับความระหนเป็นที่สุด

ส่วนการที่กล่าวว่า “ดารุลฮัซเราะฮฺ” มิได้มีการกล่าวไว้ในตำราศาสนาแต่อย่างใด ทั้งในอัลกุรอาน และฮะดีซ แต่ประโยคที่ว่า »เยามุลฮัซเราะฮฺ« มีกล่าวไว้ทั้งในอัลกุรอานและฮะดีซ

อัลกุรอาน กล่าวว่า :  »โอ้ เราะซูลจงเตือนสำทับพวกเขาถึงวันแห่งความเสียใจ ขณะที่วันนั้นทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง และพวกเขาอยู่ในหลงลืมและพวกเขาไม่มีศรัทธา«[5]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวอธิบายไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : จากบริบทของโองการเข้าใจได้ว่าสาเหตุของความเสียใจของพวกเขาคือ การงานของพวกเขาได้สิ้นสุดลง และพวกเขากำลังติดตามผลงานของตน ต่อมาทราบว่าพวกเขาได้รับความเสียหายและขาดทุนยิ่ง สิ่งที่พวกเขาได้พยายามสั่งสมไว้ ได้อันตรธานหายไปจากมือ ซึ่งโองการกล่าวต่อไปว่า : สาเหตุของความเสียหายของพวกเขาคือ การหลงลืมของพวกเขาบนโลกนี้นั่นเอง[6]

วันแห่งความเสียใจ, คือวันซึ่งประชาชนรู้สึกหดหู่และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความเพิกเฉยและเลยในการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ[7] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :             »ความหายนะประสบแด่บุคคลที่หลงลืมและเพิกเฉย ซึ่งอายุขัยของเขาต่อต้านการดำรงอยู่ของเขา มิหนำซ้ำชีวิตประจำวันของเขายังฉุดกระชากเขาไปสู่ความอับโชค«[8]

มีรายงานฮะดีซที่สวยงามหลายบท กล่าวอธิบายไว้ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺและซุนนียฺ โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวว่าบรรดามะอฺซูม (อ.) ได้อธิบายโองการดังกล่าวด้วยตัวอย่างที่งดงามยิ่ง มีผู้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับโองการดังกล่าว, ท่านอิมาม กล่าวว่า : »หลังจากชาวสวรรค์ได้เข้าสู่สวรรค์ และชาวนรกได้ถูกนำตัวสู่นรกแล้ว, จะมีเสียงเรียกดังมาจากพระผู้เป็นเจ้าว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย และโอ้ บรรดาชาวนรก พวกเธอรู้ไหมว่าความตายจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร. มีเสียงตอบว่า ไม่. อุปมาความตายประหนึ่งแกะตอนตัวผู้สีเทา ซึ่งจะอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก. หลังจากนั้นได้เรียกทั้งหมดให้เข้ามาใกล้ๆ และจงมองดูความตายเถิด, หลังจากเข้ามาใกล้ๆ แล้ว, อัลลอฮฺทรงมีบัญชาให้เชือดสัตว์ แล้วมีเสียงกล่าวว่า : โอ้ บรรดาชาวสวรรค์เอ๋ย จะได้พำนักอยู่ในสวรรค์ตลอดไป จะไม่มีวันตาย ความหายนะจงมีแด่ชาวนรก ซึ่งพวกเจ้าจะได้พำนักอยู่ในนรกตลอดไป โดยไม่ตาย« หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า : นี่คือคำอธิบายของพระเจ้า ที่ตรัสว่า : »จงทำให้พวกเขากลัววันแห่งความเสียใจ, ในเวลานั้นขณะที่ทุกสิ่งกำลังจะสิ้นสุดลง แต่พวกเขาอยู่ในระหว่างการหลงลืม และไม่ศรัทธา« หมายถึงการงานของชาวสวรรค์ ได้ทำให้พวกเขาธำรงเป็นนิจนิรันดร์อยู่ในสวรรค์ และการงานของชาวนรก ได้ทำให้พวกเขาธำรงอยู่ในนรกตลอดไป«[9] แหล่งอ้างอิงบางฉบับ ได้รายงานฮะดีซต่อไปอีกว่า : » ชาวสวรรค์มีความปิติยินเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะความดีใจ ส่วนชาวนรกจะส่งเสียงตะโกนโหวกเหวก ซึ่งถ้าเขาจะตายในที่นั้นก็ตายเพราะ ความเสียใจ«[10]

ใช่, ในโลกนั้นบรรดาพวกที่ทำความผิด ต่างแสดงความเสียใจและสำนึกผิดว่า เพราะอะไรพวกเขาจึงไม่ทำความดี และผู้ที่ประกอบความดีก็จะเสียใจเช่นกันว่า โอ้ พระเจ้า ทำไมเราจึงไม่ทำความดีงามให้มากกว่านี้.ชาวสวรรค์ในเวลานั้นยังมิได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาจะเสียใจและกล่าวประณามถากถางตัวเอง[11]

ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : จะมีสองคนในวันฟื้นคืนชีพแสดงความเสียใจมากกว่าใครทั้งหมด, หนึ่งในนั้นคือ บุคคลที่สามารถใฝ่หาความรู้ได้บนโลกได้, แต่ว่าไม่ได้กระทำ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ผู้ที่ได้สอนความรู้แก่คนอื่น ซึ่งผู้เรียนรู้ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้นั้น, แต่ส่วนเขามิได้รับประโยชน์อันใดจากความรู้ของตน«[12]

การงานไม่ดีและความเฉยเมยทางโลก จะมีความเสียใจตามไปในปรโลกหน้า[13]

 


[1] อัลอัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 134, ลิซานุลอาเราะบี, เล่ม 4, หน้า 189.

[2] บทอัฏฏอริก, 9.

[3] เราฎุลญินาน และเราฮุลญินาน, เล่ม 13, หน้า 83

[4] บทมัรยัม, 39.

[5] وَ أَنْذِرْهُمْ يَوْمَ الْحَسْرَةِ إِذْ قُضِيَ الْأَمْرُ وَ هُمْ في‏ غَفْلَةٍ وَ هُمْ لا يُؤْمِنُونบทมัรยัม, 39.

[6] อัลมีซาน, เล่ม14. หน้า 51

[7] อัตติบยาน,เล่ม 7,หน้า 127

[8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ เฟฎุลอิสลาม, คำเทศนาที่ 63, หน้า 153.

[9] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 346, และรายงานที่คล้ายกันบันทึกอยู่ใน เซาะฮียฺบุคอรียฺ เล่ม 5, หน้า 236, และในแหล่งอ้างอิงอีกจำนวนมากของชีอะฮฺ และซุนนียฺ

[10] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 345,

[11] กันซุลอุมาล, เล่ม 1, ฮะดีซที่ 1806

[12] นะฮฺญุลฟะซอฮะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 245.

[13] ฆุรรอรุลฮะกัม, ฮะดีซ 10626.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    6266 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    6334 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ในทัศนะของอิสลาม ชาวฮินดูถือว่าเป็นนะญิสหรือไม่ และจะต้องออกห่างพวกเขาหรือไม่?
    7701 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    บรรดามัรญะอ์ได้ฟัตวาว่ากาฟิรเป็นนะญิสและจะต้องหลีกเลี่ยงความเปียกชื้นจากพวกเขาท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “กาฟิรคือผู้ที่ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือตั้งภาคีต่อพระเจ้าหรือไม่ยอมรับในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) เขาผู้นั้นถือเป็นนะญิส
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    14087 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • ทำไมจึงเกิดการทุจริตในรัฐบาลอิสลาม ?
    10123 จริยธรรมทฤษฎี 2554/03/08
    ปัจจัยการทุจริตและการแพร่ระบาดในสังคมอิสลาม -- จากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน – อาจกล่าวสรุปได้ในประโยคหนึ่งว่า : เนื่องจากไม่มีความเชื่อในพระเจ้าและการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึงทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่สีสันของพระเจ้า) ในทางตรงกันข้ามความเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิดซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่และร่วมกันอันก่อให้เกิดความก้าวหน้า
  • การเผยแพร่ศาสนา (สอนและแนะนำต่างศาสนิก) เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนหรือไม่?
    23026 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/02
    อิสลามเป็นศาสนาระดับโลกสำหรับสาธารณชน และเป็นศาสนาสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกชาติพันธุ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม วิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้อื่นรู้จักศาสนาแห่งมนุษยธรรมดังกล่าวก็คือ การเผยแพร่ข้อเท็จจริง บทบัญญัติ คำแนะนำและขนบมารยาทของอิสลามให้เป็นที่รู้จัก คัมภีร์กุรอานได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ไว้ในหลายโองการด้วยกัน ดังโองการที่ว่า “จะมีใครมีวาจาที่ประเสริฐไปกว่าผู้ที่เชื้อเชิญสู่อัลลอฮ์และความประพฤติอันงดงาม โดยกล่าวว่าฉันคือหนึ่งในมวลมุสลิม”[1] อีกโองการหนึ่งระบุว่า “และจะต้องมีคณะหนึ่งจากสูเจ้าที่เชื้อเชิญสู่ความประเสริฐ กำชับสู่ความดีและห้ามปรามจากความชั่ว บุคคลเหล่านี้แหล่ะคือผู้ได้รับชัยชนะ”[2] แม้ว่าการเผยแพร่ศาสนาจะมิได้เป็นภาระหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่กุรอานได้กำชับให้มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธาออกไปศึกษาวิชาการอิสลามเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ศาสนา โองการกล่าวว่า “มิบังควรที่เหล่าผู้ศรัทธาจะกรีฑาทัพ(สู่สมรภูมิ)ทุกคน เหตุใดจึงไม่กรีฑาทัพไปเพียงคณะหนึ่งจากแต่ละกลุ่ม (และเหลือบุคคลที่ยังอยู่ในมะดีนะฮ์)เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา(สารธรรมและบทบัญญัติอิสลาม)อย่างลึกซึ้ง และจะได้กำชับสอนสั่งกลุ่มชนของตนเมื่อพวกเขากลับ(จากสมรภูมิ) เพื่อหวังว่าพวกเขาจะยำเกรง”[3] โองการดังกล่าวสื่อว่า จำเป็นต้องมีความพร้อมสรรพด้านวิชาการในการเผยแพร่ศาสนา โดยแต่ละคนมีหน้าที่ในการเผยแพร่ตามความรู้ที่ตนมี ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่รายงานฮะดีษของเราจำนวนมาก อันจะสามารถทำให้จิตใจของชีอะฮ์ของเรามั่นคง บุคคลผู้นี้ประเสริฐกว่าผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์ถึงหนึ่งพันคน”[4] การช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดีที่สำคัญที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ การตอบปัญหาและการปกป้องความเชื่ออันบริสุทธิของชีอะฮ์ให้พ้นจากเหล่าผู้ใส่ไคล้ ผู้ที่หวงแหนศาสนาย่อมจะต้องพร้อมด้วยการศึกษาวิชาการศาสนา เพื่อที่จะสนองความต้องการทางวิชาการและการเผยแพร่ศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การเผยแพร่มิได้จำกัดอยู่เพียงการกล่าวเทศนาหรือการเขียนตำรา ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    6309 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    7005 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9633 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    7266 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60157 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57615 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42241 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39432 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38971 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34028 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28039 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28014 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27847 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25834 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...