การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7243
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1631 รหัสสำเนา 19010
คำถามอย่างย่อ
อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
คำถาม
อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
คำตอบโดยสังเขป

ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกัน กล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมา ซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมาย และรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรม ความสงบสุข อีกทั้งยังความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วโลก ผลกระทบของการฉ้อฉลอธรรมและความหยิ่งยโสจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป เขาจะช่วยเหลือผู้ได้รับกดขี่ให้รอดพ้นจากกงเล็บของผู้กดขี่รุกรานทั้งหลาย ภารกิจของโลกจะถูกมอบให้แก่ผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหง เขาจะเป็นผู้พึ่งพาความยุติธรรม สร้างดุลยภาพให้บังเกิดบนโลกนี้ และประชาโลกทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสันติบนพื้นฐานความเป็นพี่น้องกัน

กระนั้นบนพื้นฐานดังกล่าวนี้ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก เอกลักษณ์ของผู้ปลดปล่อยในบางศาสนาคือ ศาสดาแห่งศาสนานั้น และบางศาสนาก็มิได้อธิบายให้ชัดเจนแต่อย่างใด หรือบกพร่องและไม่เป็นที่รับรู้, บุคลิกภาพ, คุณลักษณะต่างๆ, การมีชีวิตอยู่, ช่วงของการปรากฏกาย, การปรากฏรูปลักษณ์ของผู้ปลดปล่อย, การรอคอยเขา, ชื่อและฉายานาม และอีกมากมายหลายประการอันเป็นปัญหาที่มีความแตกต่างกัน และมีความเห็นไม่ตรงกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

การแนะนำผู้ได้ถูกสัญญาไว้ในยุคสุดท้ายของการมีอายุขัยของมนุษย์ เป็นคำสั่งหนึ่งที่ศาสนาและนิกายต่างๆ ได้ให้ความสำคัญเอาไว้อย่างมาก, เพียงแต่ว่าจำนวนศาสนาอันมากมายด้านหนึ่ง ประกอบกับหัวข้อนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่มีคำถามเกิดขึ้นมาก อีกแง่หนึ่งการที่จะวิเคราะห์ในทุกแง่ทุกมุมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

อีกแง่หนึ่งการเปลี่ยนแปลงและการอุปโลกน์จำนวนมาก และความเป็นไปไม่ได้ที่จะพิจารณาต้นฉบับของคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับแรกๆ (ยกเว้นอิสลาม) สิ่งนี้ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่สามารถกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ถึงความน่าเชื่อถือ ของศาสนาเหล่านั้น

ในบทความสั้นๆ นี้พยายามที่จะกล่าวอย่างรวบรัดในเชิงสรุปความ บนพื้นฐานของตำรับตำราและแหล่งอ้างอิงที่มีอยู่ของศาสนาเหล่านั้น อาทิเช่น ศาสนาอิสลาม, ยะฮูดียฺ, คริสต์, และพุทธศาสนา

ดังนั้น กรอบของการพูดคุยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้ ...

) วิสัยร่วมกันของศาสนาต่างๆ

1.สัญญาของการแจ้งข่าวการปรากฏกาย

2.บุคลิกภาพอันสูงส่งและการเลือกสรรผู้ช่วย

3.รัฐบาลสากล

4.สถาปนาความยุติธรรม ความสงบ และทำลายความอธรรม

5.การเป็นผู้สืบทอดการปกครองบนหน้าแผ่นดิน ของบ่าวผู้บริสุทธิ์ถูกอธรรม

) วิสัยที่แตกต่างของศาสนาต่างๆ

1.สัญลักษณ์ของผู้ปลดปล่อย คำสัญญา และฉายานาม

2.สถานภาพและฐานันนดรทางจิตวิญญาณของผู้ถูกสัญญา

) วิสัยร่วมกันของศาสนาต่างๆ

1.สัญญาของการแจ้งข่าวการปรากฏกาย :

อิสลาม

ประเด็นดังกล่าวนี้เป็นหลักความเชื่อแน่นอนของศาสนาอิสลาม ทั้งอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซอิสลาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายธารชีอะฮฺ) ได้มีการอธิบายไว้อย่างกว้างขวาง[1]

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการว่า :

"وعدالله الذین آمنوا منکم و عملوا الصالحات لیستخلفنهم فی الارض"

อัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่สูเจ้าและกระทำความดีทั้งหลายว่า พระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบทอดบนแผ่นดิน[2]

โองการนี้พระองค์ทรงสัญญาเรื่องการปรากฏกายเอาไว้, มีรายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัดตะกียฺ (.) กล่าวว่า : กออิมของเราก็คือมะฮฺดียฺผู้ถูกสัญญาเอาไว้ ...ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พระผู้ทรงแต่งตั้งให้มุฮัมมัดเป็นนบี และส่งเขามา และทรงแต่งตั้งให้พวกเราเป็นอิมามะฮฺเฉพาะว่า มาตรแม้นว่าโลกจะมีอายุขัยเพียงแค่วันเดียว อัลลอฮฺ จะทรงทำให้วันนั้นยาวนานออกไป, เพื่อมะฮฺดียฺจะได้ปรากฏกายออกมา และทำให้โลกนี้เปี่ยมไปด้วยความยุติธรรม, ดุจดังเช่นที่โลกเคยเปี่ยมไปด้วยความอธรรมมาแล้ว[3]

ยะฮูดีย์

ตามคำสอนของศาสนายะฮูดียฺได้มีการกล่าวถึง การปรากฏกายของ มาชีฮ์ (mashiah) ซ้ำหลายครั้ง[4] ในวันนั้นเสียงแตรสังข์ของ มะกาอีลี จะดั่งสนั่น....และผู้ที่นอนอยู่ในพื้นดิน (คนตาย) จะฟื้นคืนชีพขึ้นมามากมาย บางคนฟื้นขึ้นมาเพื่อการมีชีวิตนิรันดร์ และบางคนฟืนขึ้นมาเพื่อชีวิตตกต่ำรันทดตลอดไป[5]

คำพูดดังกล่าววิพากถึงเรื่องการรัจญฺอัต (ย้อนกลับคืน) ในสมัยการปรากฏกายของอิมามมะฮฺดียฺ (.) ซึ่งได้รับการเน้นย้ำไว้อย่างมากมายในหลักความเชื่อของมุสลิม

ศาสนาคริสต์

ผู้ปฏิบัติตามตริสตศาสนา (คาทอลิค ออโทรดอกซ์ และโปรแตสแตนต์) ต่างรอคอยผู้มาช่วยเหลือที่ถูกสัญญาไว้เช่นกันเนื่องพระบุตรซึ่งเป็นมนุษย์ที่จะมาในพระสิริของพระองค์ และบรรดาทวยเทพต่างลงประทับบนบัลลังก์อันยิ่งใหญ่[6]

ฉันได้ถามพระบิดาว่าจะมีการมอบอำนาจอื่นแก่พระองค์อีกไหม เพื่อว่าพระองค์จะธำรงไปตลอดกาล, หมายถึงจิตวิญญาณเที่ยงแท้ ซึ่งโลกไม่อาจมองเห็นได้[7]

โซโรอัสเตอร์

บรรดาผู้ติดตามศาสนานี้ต่างรอคอยผู้ถูกสัญญา 3 ท่าน ซึ่งแต่ละท่านจะปรากฏกายโดยมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 1,000 ปี และทั้งหมดเป็นโอรสของ พระโซโรอัสเตอร์ โอรสที่สามมีนามว่า อัสทรัตอิราตา (Astrat- Ersta) ซึ่งตามคำสอนของศาสนานี้ถือว่าเป็นผู้ถูกสัญญาองค์สุดท้าย

คัมภีร์ อเวสตะ เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ตอนหนึ่งได้กล่าวว่า   โอ้ ผู้บริสุทธิ์จะปรากฏมาในวันรุ่งอรุณที่สดใส ส่องสว่างไปด้วยพระรัศมี พระองค์จะบำรุงศาสนาที่เที่ยงธรรมให้มั่นคง และประกาศเชิญชวนให้ผู้คนมาสู่ศาสนาของพระองค์ด้วยวิทยปัญญาและสันติวิธี แล้วผู้ใดเล่าที่ละทิ้งศาสนาของพระองค์ ขณะที่ผู้ตอบรับคำเชิญได้กลายเป็นมิตรและผู้ปลดปล่อยพระองค์ ดังนั้น เพื่อแจ้งข่าวการปรากฏกายของผู้ปลดปล่อยเราขอแต่งตั้งเจ้า โอ้อาหุรา

ข้าขอสรรเสริญต่อพระผู้ทรงพลานุภาพ ผู้ทรงสร้างแสงอันเรืองรอง,....ขณะที่พระองค์สร้างโลกใหม่....ในเวลานั้นเมื่อผู้ตายได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา เพื่อกลับสู่การดำรงชีวิตนิรันดร์[8]

บุคลิกภาพอันสูงส่งและการเลือกสรรผู้ช่วย

ตามคำสอนของศาสนาต่างๆ จะพบว่ามีบุคคลผู้ให้การช่วยเหลือทีได้ถูกสัญญาไว้อยู่ในตำแหน่งสูงส่งทางศาสนา, เพียงแต่ว่าอิสลามได้ให้ความสำคัญพิเศษเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าวไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามมะฮฺดียฺ ซอฮิบุซซะมาน (.)

ตามทัศนะของอิสลาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีอะฮฺ) ผู้ให้การช่วยเหลือในยุคสุดท้ายนั้น ต้องมีคุณลักษณะพิเศษแห่งความเป็นมนุษย์ชาติและต้องได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้า, เช่น ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์, ต้องเป็นสื่อกลางแห่งพระมหากรุณาธิคุณ, เป็นผู้รับความเมตตาธิคุณ และความจำเริญทั้งปวงของพระเจ้า, ศูนย์กลางของการดำรงอยู่และเป็นสาเหตุแห่งความสงบผ่อนคลายในระบบของการดำรงอยู่ เหล่านี้คือลักษณะที่โดดเด่นของผู้ที่จะมาให้การช่วยเหลือโลก ซึ่งอิสลามได้มอบหมายภารกิจนี้แด่ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) ส่วนในศาสนาอื่นๆ ก็มีการกล่าวถึงคุณลักษณะพิเศษของผู้ถูกสัญญาเอาไว้อย่างสวยงามเช่นกัน ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถค้นคว้าได้จากคำสอนของคัมภีร์ในศาสนาเหล่านั้น

3. รัฐบาลสากล

ศาสนาที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของโลกต่างกล่าวว่า ผู้ให้การช่วยเหลือโลกนั้นจะสถาปนารัฐบาลสากลขึ้น ซึ่งรัฐบาลของท่านจะปกครองเหนือชาวโลกทั้งปวง, ในลักษณะทีว่าทุกประเทศและทุกเชื้อชาติ, ทุกศาสนาและทุกวัฒนธรรมต่างอยู่ภายใต้ธงชัยผืนเดียวกัน หรือเป็นความสุขและเป้นความพึงพอใจของสังคมทั้งหมด

อิสลาม

พระองค์คือ ผู้ส่งศาสนทูตของพระองค์มาพร้อมด้วยคำแนะนำและศาสนาแห่งสัจจะ เพื่อที่จะทรงให้ศาสนาแห่งสัจจะนั้นประจักษ์เหนือศาสนาทุกศาสนา และแม้ว่าบรรดาผู้ตั้งภาคีจะชิงชังก็ตาม[9]

จากโองการดังกล่าวเข้าใจได้ว่า ด้วยการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) รัศมีแห่งอิสลามจะขจรขจายไปทั่วสารทิศบนโลกนี้ ประชาโลกทั้งหลายต่างน้อมรับและจำนนต่ออิสลาม, หรือจะพินาศภายใต้ใบมีดอันคมกริบของความยุติธรรม และธงชัยแห่งอิสลามจะถูกชักสูยอดเสาด้วยเกียรติยศและศักดิ์ศรีในทุกที่ 

ยะฮูดียฺ

เซยูร ดาวิด (.) กล่าวว่าโอ้ ข้าพระผู้เป็นเจ้า,โปรดมอบกฎเกณฑ์และบทบัญญัติของพระองค์,กรรมสิทธิ์และบทบัญญัติของพระองค์ ให้แก่ผู้ปลดปล่อย เพื่อว่าเขาจะได้ปกครองโลกตั้งแต่มหาสมุทรสู่มหาสมุทร จากน่านน้ำสู่น่านน้ำ จนกระทั่งไปถึงจุดที่ไกลโพ้นที่สุด[10]

คริสเตียน

ชนทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์จะรวบรวมอยู่  เขา[11]

4.สถาปนาความยุติธรรม ความสงบ และทำลายความอธรรม

การสถาปนาความยุติธรรม และความสงบบนโลกนี้ พร้อมกับทำลายความอยุติธรรมให้หมดไป ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ว่าที่ใดก็ตามเมื่อมีการกล่าวถึงผู้ปลดปล่อยโลก ประเด็นนี้จะได้รับการเน้นย้ำเป็นพิเศษ

อิสลาม

การแจ้งข่าวอันจำเริญยิ่งมากกว่าสิ่งใดแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายคือ การให้สัญญาเรื่องการสถาปนารัฐบาลสากลบนหน้าแผ่นดิน, การได้รับชัยชนะเหนือผู้กดขี่และความอธรรมทั้งหลาย พร้อมกับการดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขปราศจากภยันตรายและความหวาดกลัวทั้งปวง ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีความพึงพอใจพิเศษอัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้มีศรัทธาในหมู่พวกเจ้าและบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า พระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบทอดบนหน้าแผ่นดินเสมือนดังที่พระองค์ ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขาเป็นตัวแทนสืบทอดมาก่อนแล้ว และพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขา ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานเป็นที่มั่นคง เป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัยหลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้า ไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า[12]

ยะฮูดียฺ

และเขาจะตัดสินหมู่ชนของเจ้าด้วยความยุติธรรม ทำให้วิถีชีวิตของเจ้าดำเนินไปอย่างราบเรียบ ... ทำความผู้อธรรมทั้งปวงบนโลกนี้.... ในยุคสมัยของเขาท่านจะพบบ่าวผู้บริสุทธิ์จำนวนมากมาย...และประชาชาติทั้งหมดบนโลกนี้จะสร้างพึงพอใจแก่เขา[13]

ใครคือผู้วางรากฐานความยุติธรรม  เบื้องเท้าของเขา...และทำให้เขากลายเป็นมหาจักรพรรดิปกครอง[14]

ตามคำสอนของศาสนาฮินดูกล่าวว่าวิถีการดำเนินชีวิตบนโลกในยุคสุดท้าย ได้ถูกมอบแด่พระมหาจักรพรรดิผู้มีความยุติธรรม ซึ่ง ...”[15]

5.การเป็นผู้สืบทอดการปกครองบนหน้าแผ่นดิน ของบ่าวผู้บริสุทธิ์ถูกอธรรม

ประเด็นดังกล่าวนี้ได้ถูกกล่าวไว้ในคำสอนของศาสนาต่างๆ เช่นเดียวกัน และเป็นความหวังสำหรับทุกคนว่า วันหนึ่งผู้กดขี่และเป็นมหาอำนาจจะประสบความปราชัยอย่างใหญ่หลวง และผู้ได้รับการกดขี่จะกลับกลายเป็นผู้มั่นคงแข็งแรง กลับมามีอำนาจบนโลกนี้

อิสลาม

และเราปรารถนาที่จะให้ความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอในแผ่นดิน และเราจะทำให้พวกเขาเป็นผู้นำและจะทำให้พวกเขาเป็นผู้รับมรดก[16]

และแท้จริงนั้น เราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์อัซซะบูร หลังจากการตักเตือน ว่าแผ่นดินนี้จะสืบทอดโดยบรรดาบ่าวของฉันที่ดี[17]

ยะฮูดียฺ

เซยูร ..ส่วนบรรดาผู้มอบหมายแด่พระเจ้าเขาจะได้เป็นผู้ปกครองโลก ..ส่วนพวกที่อ่อนน้อมถ่อมตนที่ได้เป็นผู้สืบทอดบนหน้าแผ่นดินนั้น เขาจะมีความสุขและความศานติอย่างมากมาย ... และบรรดาผู้ซื่อสัตย์ที่ได้สืบทอดเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นตลอดไป[18]

โซโรอัสเตอร์

“...ด้วยนามของซูชิยานัต ผู้ครองชัยชนะ ซึ่งจะครอบคลุมเหนือเพื่อนพร้องทั้งหมด.. ส่วนคนชั่วที่สร้างบาปกรรมจะถูกทำลายทิ้งหมดสิ้น และผู้ใช้เล่ห์เพทุบายจะถูกขับไล่และถูกเนรเทศ[19] คำว่าซูชิยานัต หมายถึงผู้ให้การช่วยเหลือนั่นเอง

วิสัยที่แตกต่างของศาสนาต่างๆ

เนื่องจากมีความจำกัดในคำตอบของเรา ดังนั้น จะขอกล่าวคร่าวๆ เฉพาะ 2 ประเด็นสำคัญอันเป็นพื้นฐานหลักที่สุดของความต่าง

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6622 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10870 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8606 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    21486 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • เพราะอะไรจึงเรียกชาวยะฮูดียฺทั้งหลายว่า ยะฮูด?
    13118 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    เกี่ยวกับสาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่ชน อิสราเอล ว่ายะฮูด, มีความเห็นแตกต่างกัน, บางคนกล่าวว่า “ยะฮูด” หมายถึงผู้ที่ได้รับการชี้นำทางแล้ว ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ การกลับตัวกลับใจ (เตาบะฮฺ) ของหมู่ชนมูชา (อ.) จากการเคารพสักการลูกวัว[1] บางคนกล่าวว่าสาเหตุของการเรียกหมู่ชนอิสราเอลว่า “ยะฮูด” ก็เนื่องจากบุตรคนที่ 4 ของศาสดายะอฺกูบ ซึ่งมีชื่อว่า “ยะฮูดา” ซึ่งคำว่า “ยะฮูด” ได้ผันมาจากคำว่า “ยะฮูซ” จุดบนตัว ซาล ได้ตัดขาดหายไป[2] [1] ฏอละกอนียฺ, ...
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9898 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6480 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12910 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7805 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7701 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60420 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57990 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42522 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39814 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39172 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34282 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28329 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28254 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26126 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...