การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12112
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1825 รหัสสำเนา 17843
คำถามอย่างย่อ
สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
คำถาม
สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
คำตอบโดยสังเขป

ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่

ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :

1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ

2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี

3.ความใกล้ชิดกับพระเจ้าเป็นผลที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติดี, หรือการดำเนินในหนทางของการขัดเกลาจิตวิญญาณก็มิได้จำกัดเฉพาะอยู่ในเรื่องเพศแต่อย่างใด

4.ความแตกต่างระหว่างบุรุษและสตรีในเรื่องหลักการปฏิบัติ, ก็มิได้เกิดจากการอธรรม หรืออำนาจอธิปไตยของบุรุษ ซึ่งถืออำนาจบาดใหญ่มาจากหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีมากกว่า ในเรื่องการดูแลและรับผิดชอบครอบครัว และสังคม

คำตอบเชิงรายละเอียด

ถ้าหากเราปิดหูปิดตาไม่มองสภาพความเป็นจริง หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นและเป็นไป หรือไม่ยอมพิจารณาแม้ในสิ่งที่ตนยอมรับ แล้วเวลานั้นได้แสดงทัศนะออกมา ซึ่งเราก็จะพบว่าจริงๆ แล้วความสมบูรณ์ของสตรีนั้น มิได้อยู่ในสถานภาพเดียวกันกับบุรุษแต่อย่างใด หรือมิใช่ว่าบุรุษจะมีความทะเยอทะยาน และกระโดดโลดเต้นในความเป็นบุรุษของตน

ความจริงก็คือ กายภาพในการสร้างมนุษย์นั้นมีเป็นสองครึ่งที่มีความอิสระโดยสิ้นเชิง, ทว่าทั้งสองได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมีความสัมพันธ์กัน (บุรุษและสตรี)

สิ่งที่บ่งบอกให้เห็นว่าบุรุษและสตรีนั้นมีดีกว่ากันก็คือ ความกระตือรือร้นในการพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง,กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพให้เป็นทุนมนุษย์ขณะที่อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา –แต่ในแง่ของวะฮฺยูและคำสอนอิสลาม – และอัลกุรอานแล้วไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย นอกเสียจากว่าเป็นความจำเป็น ความเป็นระบบ และความสัมพันธ์ในการสร้างเท่านั้น

เนื่องจากคำถามคือ “การรู้จักสถานภาพของสตรี” ในประเด็น “คำสอนอิสลาม” ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาจากทุนด้านในอันเป็นแนวคิดของศาสนา กล่าวคือจำเป็นต้องได้รับประโยชน์จากอัลกุรอาน ซุนนะฮฺอันเป็นแก่นของนบี (ซ็อล ฯ) และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)

ทัศนะและมิติแห่งสถานภาพของสตรี

สถานภาพของสตรีในทัศนะอิสลามนั้น สามารถกล่าวสรุปได้ใน 3 ประเด็นดังต่อไปนี้

ก. ฐานะคือบุคลิกของความเป็นมนุษย์

1. สตรีคือแหล่งที่มาของความละเอียดอ่อน ความประณีต ความน่ารัก ความสวยงาม และความสงบ. เนื่องจากสรรรพสิ่งทั้งหลายคือแหล่งที่มาอันเป็นนามธรรมจากบรรดานามทั้งหลายของพรเจ้า, เนื่องจากบรรดาสิ่งถูกสร้างนั้นมาจากคุณลักษณะปัจจุบันของพระเจ้า (มิใช่มาจากคุณลักษณะแห่งอาตมันของพระองค์) อันประกอบด้วย ภาพปรากฎของพระเจ้าในรูปร่างของสิ่งถูกสร้างต่างๆ ดังเช่นที่ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิแด่เอกองค์อัลลอฮฺ ซึ่งทรงปรากฏแจ้งแก่สิ่งถูกสร้าง (มนุษย์) ของพระองค์[1] และ[2]

จากมุมมองของอัลกุรอาน, ความเร้นลับในการสร้างสตรีนั้นมีความกระตือรือร้นมากยิ่งกว่า การสร้างสตรีในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนร่วมในก่อตั้งครอบครัว หรือการมีเพศสัมพันธ์อันเป็นสัญชาติญาณพื้นฐานของมนุษย์

“และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้า เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และทรงมีความรักใคร่และความเมตตา ระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในการนี้แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ[3]

2.ความพิเศษต่างๆ แห่งเชื้อชาติ และชนิด และ....ล้วนเป็นสิ่งผุสลายทั้งสิ้น “ผู้ที่เกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺคือผู้มีความสำรวมตนจากบาป”[4]

3. การเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) และคำพูดของบรรดาคัมภีร์แห่งฟากฟ้าทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งประโยคหนึ่งได้ประกาศก้องเสมอว่า “ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติตามข้าฯ แท้จริงเขาเป็นพวกของข้าฯ”[5]

4.สถานภาพของสตรีในการสร้างมิได้เป็นพรมแดนแห่งชัยชนะ, การมี หรือการไปถึงยังเป้าหมายแต่อย่างใด “โอ้ มนุษย์เอ๋ย แท้จริงเจ้าต้องพากเพียรไปสู่พระผู้อภิบาลของเจ้าอย่างทรหดอดทน แล้วเจ้าจะได้พบพระองค์”[6] “แต่ละคนย่อมได้รับการค้ำประกันในสิ่งที่เขาขวนขวายไว้”[7] “และมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลยนอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้ และแท้จริงการขวนขวายของเขาก็จะได้เห็นในไม่ช้า”[8]

5. บุคคลใดก็ตามเป็นบ่าวที่แท้จริงของพระเจ้า เขาจะได้ใกล้ชิดกับพระองค์ไม่ว่าบุรุษหรือสตรีก็ตาม

“และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าว่าว่าข้าอยู่ไหน? อันที่จริงข้านี้อยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอน ถ้าเขาวิงวอนต่อข้า”[9]

6. การไปถึงยังวิถีชีวิตหรือชีวิตที่ดี (สะอาดบริสุทธิ์) ประกอบไปด้วยเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ อันได้แก่ : การประพฤติคุณงามความดี และการเป็นผู้ศรัทธา (ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม)

“ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม ขณะที่เขาเป็นผู้มีศรัทธา ดังนั้น แน่นอนเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาเคยกระทำไว้”[10]

7.แม้ว่าเขาจะย่างก้าวอยู่บนสัจธรรมความจริง, กระนั้นยังได้รับการสาปแช่งจากพระเจ้า

“แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และได้สิ้นชีพลง ขณะที่พวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาอยู่นั้น ชนเหล่านี้จะประสพกับการสาปแช่งของอัลลอฮฺ และมะลาอิกะฮฺและปวงมนุษย์”[11]

สิ่งที่ได้รับจากบรรดาโองการเหล่านี้คือ, ผู้ที่อัลลอฮฺทรงตรัสถึงคือ มนุษย์ทั้งสิ้น, อันเนื่องจากมนุษย์, อยู่ในกลุ่มของผู้มีศรัทธาและปฏิบัติการงานของตน “ดังนั้น ทุกคนคือผู้ดำเนินกิจกรรมของตน” ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม, ส่วนสตรีในมุมมองของวะฮฺยู, ในประเด็นของบุคลิกภาพคือ “ความเป็นมนุษย์” เพศนั้นมิได้มีผลกระทบต่อการมีบทบาทและหน้าที่ของบุคคลแต่อย่างใด

อีกประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงคือ สถานของสตรีในมุมมองของอิสลาม :

ข. สตรีคือบันใดของนักเอรฟานและฟากฟ้าแห่งการรู้จัก

1. มิได้เป็นเช่นนั้น, กล่าวคือพระเจ้ามิได้มีลักษณะเป็นเพศชาย หรือการรู้จัก ทว่าในความเป็นจริงพระองค์คือขุมคลัง สตรีคือ สิ่งต้องห้ามเมื่อได้ถูกนำเสนอแก่พวกเขา พวกเขาจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย ดังนั้น การพัฒนาจิตใจจะขึ้นอยู่กับสูตรสำเร็จดังต่อไปนี้ : การรู้จัก, ความรัก, การเชื่อฟัง, และความใกล้ชิด

ขณะที่, ไม่มีความแตกต่างกันสักนิดเดียวไม่ว่าจะเป็นใคร หรือจะย่างก้าวไปสู่การรู้จัก และวิทยปัญญามากน้อยเพียงใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือการรู้จักคุณค่าของการชี้นำ เวลานั้นเขาจึงจะได้อยู่ในข้อสัญญาของพระเจ้าที่ว่า :

“บรรดาพวกที่ต่อสู้ในวิถีทางของเรา, เขาจะได้เข้าสู่หนทางแห่งความใกล้ชิดกับเรา” และเขาได้ย่างก้าวอย่างสุขุมเพื่อไปถึงเป้าหมาย ทั้งบุรุษและสตรีอัลกุรอานได้หยิบยกตัวอย่างอันสำคัญยิ่งอันเป็นบทเรียนสำคัญแก่พวกเราเอาไว้ :

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสถึงบุคคลที่มีศรัทธาไว้ –ตัวอย่าง- “ภรรยาของฟิรอาวน์” (นางไม่พึงพอใจกับการปฏิเสธและความหยิ่งผยองของฟิรอาวน์แต่อย่างใด) นางได้ดุอาอฺกับพระเจ้าว่า “อัลลอฮฺทรงยกเอาภริยาของของฟิรเอานุเป็นอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ศรัทธา ขณะที่นางกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดสร้างบ้านหลังหนึ่ง ณ ที่พระองค์ในสรวงสวรรค์แก่ข้าฯ โปรดช่วยข้าฯ ให้พ้นจากฟิรเอานุและการกระทำของเขา และทรงโปรดช่วยข้าฯ ให้พ้นจากหมู่ชนผู้อธรรม”[12]

ตัวอย่างที่ดีอีกประการหนึ่งคือ ท่านหญิงมัรยัม (อ.) ซึ่งอัลกุรอาน บทตะฮฺรีม โองการที่ 12 ได้กล่าวถึงนางเอาไว้

ขณะเดี่ยวกัน อัลกุรอานได้กล่าวถึงตัวอย่างของประชาชาติที่เลวทรามเอาไว้เช่นกัน โดยกล่าวถึงสตรี 2 คน (ภรรยาของศาสดานูฮฺ และศาสดาลูฏ) เป็นตัวอย่างเอาไว้[13] โองการต่างๆ เหล่านี้,ได้ยกตัวอย่างของสตรีที่ดีและไม่ดี ซึ่งมิได้หมายความว่ามีเฉพาะสตรี หรือเป็นตัวอย่างสำหรับสตรีเท่านั้น ทว่าเป็นตัวอย่างแก่ทุกคน

2. ทุนอันมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาขัดเกลาจิตใจคือ “หัวใจ” และ “หัวใจที่แตกสลาย” ซึ่งสตรีคือทุนที่มีความสำคัญยิ่งกว่าบุรุษเพศ : “แนวทางในการพัฒนามนุษย์ไปสู่ความสูงส่งมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ แนวทางหนึ่งคือการคิดใคร่ครวญ ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือการรำลึก, ลิ้นคือหนทางของการรำลึก ส่วนหัวใจคือหนทางของการวิงวอน หนทางของความรัก ดังนั้น ถ้าหากสตรีไม่ประสบความสำเร็จยิ่งไปกว่าบุรุษ นางก็อยู่ในระดับเดียวกันกับบุรุษ”[14]

3.ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “ความรู้แห่งพระเจ้าองค์เดียวและการอิบาดะฮฺที่ดีและประเสริฐสุคคือ การขอลุแก่โทษ”[15] เป็นที่ประจักษ์ว่าการไปถึงยังความรู้เหล่านี้ ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรี

4. ถ้าหากมีความสำรวมตนต่อพระเจ้า บุคคลนั้นก็จะไปถึงยังตำแหน่งของการมีมโนธรรม และแน่นอน ความสำรวมตนจากความผิด (ตักวา) ก็มีได้เฉพาะเจาะจงอยู่ในกลุ่มใดเป็นการเฉพาะด้วย

“แท้จริง บุคคลใดสำรวมตนจากความชั่วและอดทน (เขาจะประสบชัย) เนื่องจากอัลลอฮฺ มิทรงทำลายรางวัลของบรรดาผู้ทำความดีให้เสียหาย[16]

แต่บุคคลใดก็ตาม “ส่วนผู้ที่เกรงกลัวต่อฐานันดรของพระผู้อภิบาลของเขา และได้ระวังจิตใจจากอำนาจฝ่ายต่ำ แน่นอน สรวงสวรรค์เป็นที่พำนักสำหรับเขา”[17]

สรุป : มีตัวอย่างมากมายสำหรับสตรีที่ประสบความสำเร็จในฐานะของ อาริฟ ในทุกยุคทุกสมัย, ซึ่งเราท่านทั้งหลายประจักษ์กับสายตาตนเองแล้วว่า การเปิดประตูไปสู่การขัดเกลา และการรู้จักจิตใจตนเอง สตรีคือผู้มีบทบาทสำคัญยิ่ง

ค. สถานภาพของสตรีในบทบัญญัติของพระเจ้า

แน่นอน สิ่งอันเป็นเหตุก่อให้เกิดคำถามต่างๆ มากมาย หรือความสงสัยเกี่ยวกับสถานภาพของสตรีในอิสลามคือ, บทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวข้องกับสตรี แต่ถ้าพิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วนทั่วไปแล้วเกี่ยวกับ บทบัญญัติและชนิดหรือเพศของพวกเธอ เราก็สามารถขจัดความสงสัยเหล่านั้นไปได้อย่างง่ายดายที่สุด

บทบัญญัติของอิสลาม – พิจารณาด้านเพศ – สามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่มดังนี้ :

1. บทบัญญัติร่วม : เช่น การถือศีลอด, นมาซ, ฮัจญ์, และ ....

2. บทบัญญัติเฉพาะสำหรับสตรี เช่น : การมีรอบเดือน ระดูเกินกำหนด และ ..

3. บทบัญญัติที่ดูเหมือนว่าจะแบ่งแยกชนชั้น เช่น : มรดกอันเป็นส่วนแบ่งของสตรี, ค่าปรับ, ค่าสินไหม, และ ...

โดยทั่วไปแล้วการมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับสตรี หรือการมีบทบัญญัติในสองลักษณะ (ภายนอกกับการแบ่งแยก) มีหลายองค์ประกอบด้วยกัน กล่าวคือ :

1.ผู้ชาย, คือผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้น ชายจึงต้องมีทรัพย์สินไว้ในครอบครองมากกว่าฝ่ายหญิง (ด้วยเหตุนี้ สิทธิในการรับมรดก –เฉพาะบางประการ- เท่านั้นที่ได้มากกว่าสตรี[18]

2.รายงานบางบทที่กล่าวถึง การประณามสตรี, ก็คือสตรีในฐานะของเจ้านาย มิใช่ในฐานะของสตรี คือมนุษย์ประเภทหนึ่ง ตัวอย่าง “สตรีเสมือนแมงป่อง ทว่าคำเหน็บแนมของหญิงนั้นไพเราะ”[19]

3. รายงานฮะดีซบางบท (โดยเฉพาะจากนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ) ที่ได้กล่าวประณามสตรีเอาไว้, สตรีที่ออกสงคราม ยะมัล ในสมัยปกครองของท่านอิมามอะลี (อ.) โดยการบัญชาการของ อาอิชะฮฺ คือสตรีที่ได้รับการประณามจากท่านอิมามอะลี (ซึ่งเฉพาะเจาะจงสตรีในยุคนั้นสมัยนั้นเท่านั้น)[20]

4. ในบางประเด็นของบทบัญญัติ เช่น การเริ่มสงคราม, การตัดสินคดีความ และ .... ได้รับการยกเว้นจากสตรี มิใช่ว่าเป็นการกีดกันสิทธิของสตรี ซึ่งประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนมาก เนื่องจากอัลลอฮฺมิทรงประสงค์ให้สตรีต้องตกอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบอันหนักหนาสาหัส ซึ่งทำให้ฝ่ายศัตรูได้รับความสบายใจ.

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “สตรีคือที่มาของความหอมรัญจวนจิตและบอบบาง มิใช่ผู้เก่งกาจที่โหดร้ายและป่าเถื่อน”[21] 

5. บทบัญญัติบางประการ เช่น การถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติของเด็กหญิงก่อนเด็กชาย .. ด้วยเหตุนี้ เด็กหญิงจึงมีโอกาสได้รับการอบรมสั่งสอนและการเอาใจใส่ดูแลก่อนเด็กชาย ซึ่งประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ในของ การขยายเผ่าพันธุ์ว่า โดยเฉพาะผู้หญิงนั้นจะสมรสก่อนผู้ชาย

6. บางครั้งการจำกัดบางประการ หรือการห้ามบางอย่างที่มีแก่เด็กหญิงก็เพื่อป้องการความเสียหาย ความอนาจาร และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ – ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง – เช่น ได้มีคำสั่งแก่สตรีว่า จงพูดจาให้ไพเราะและดี แต่อย่างดัดเสียงจนน่าเกลียดเพื่อการยั่วยวน เพื่อหัวใจที่เป็นโรคร้าย หรือการยั่วยุของมาร จะได้ไม่มุ่งหมายต่อเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า “ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้ง เพราะจะทำให้ผู้ที่มีโรคในจิตใจของตนเกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร”[22]

7.ดังที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าความบกพร่อง และความเลวเป็นเพียงการสมมุติเมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งอื่น เช่นเดียวกับเพศชายและเพศหญิงก็เป็นเพียงการสมมุติเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่เห็นการประณามหรือการจำกัดสำหรับสตรี ก็ถือว่าสิ่งนั้นเป็นการสมมุติเช่นกัน ตามคำสอนของอิสลามจะเห็นว่ามีอยู่หลายกรณีด้วยกันที่ให้สิทธิพิเศษแก่สตรี เช่น :

ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “ถ้าหากท่านกำลังนมาซมุซตะฮับ และเวลานั้นบิดาได้เรียกหาท่าน, ต้องไม่ยุตินมาซ, แต่ถ้ามารดาได้ร้องเรียกหาท่าน จำเป็นต้องหยุดนมาซและไปหามารดา”[23]

คำสั่งโดยตรงและชัดเจนของอัลกุรอานกล่าวว่า : “และจงอยู่ร่วมกับพวกนางด้วยดี”[24]

เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม โปรดดูได้จาก :

นิซอมฮุกูกซันดัรอิสลาม, ชะฮีด มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี

ซันดัร อออิเนะฮฺญะมอล วะญลอล, ญะวาดี ออมูลี, อับดุลลอฮฺ

หัวข้อ : กุรอานและการเป็นผู้คุ้มครองของบุรุษเหนือสตรี, คำถามที่ 267.

 



[1] «الحمدلله المتجلی لخلقه بخلقه»،นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 108

[2] ญะวาดี ออมูลี, อับดุลลอฮฺ, ซันดัรออยอีเนะฮฺ ญะมาลวะญะลาล, หน้า 21, สำนักพิมพ์ อัสรออฺ, พิมพ์ครั้งแรก

[3]  «و من آیاته أن خلق لکم من انفسکم ازواجاً لتسکنوا الیها و جعل بینکم مودة و رحمة ان فی ذلک لآیات لقوم یتفکرون» อัลกุรอาน บทโรม, 21

[4]  อัลกุรอาน บทฮุจรอต, 13

[5]   «فمن تبعنی فأنه منی»อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม, 36.

[6] อัลกุรอาน บทอิงชิกอก, 6.

[7]อัลกุรอาน บทฏูร, 21.

[8] อัลกุรอาน บทอันนัจญฺมุ, 39 – 40.

[9] อัลกุรอาน บทบะเกาะฮฺ, 186.

[10]  « من عمل صالحاً من ذکر و انثی و هو مؤمن فلنحیینه حیاة طیبة...» อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ, 97.

[11]  «ان الذین کفروا و ما توا و هم کفار اولئک علیهم لعنة الله والملائکة والناس أجمعین» อัลกุรอาน บทบะเกาะฮฺ, 161.

[12]  «وضرب الله مثلاً للذین آمنوا إمراة فرعون إذ قالت رب ابن لی عندک بیتاً فی الجنة و نجنی من فرعون و عمله و نجنی من القوم الظالمین»อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม, 11

[13]  «ضرب الله مثلاً للذین کفروا امراة نوح و امراة لوط...»อัลลอฮฺทรงยกเอาภริยาของนูฮฺและภริยาของลูฏเป็นอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ปฏิเสธ. อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม, 10.

[14] ญะวาดี ออมูลี, อับดุลลอฮฺ, ซันดัรออยอีเนะฮฺ ญะมาลวะญะลาล, หน้า 197

[15]  «خیر العلم التوحید و خیر العبادة الأستغفار»อุซูล กาฟียฺ, กุลัยนี, เล่ม 2, หน้า 517

[16] อัลกุรอาน บทยูซุฟ, 90

[17] อัลกุรอาน บทนาซิอาต, 40-41.

[18] เพื่อการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เป็นเพราะเหตุใดมรดก และค่าปรับของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของบุรุษ, โปรดศึกษาได้จากหัวข้อ ความแตกต่างระหว่างมรดกของชายและหญิงในบทบัญญัติอิสลาม คำถามที่ 116 (ไซต์) ความแตกต่างในเรื่องค่าปรับระหว่างหญิงกับชายในบทบัญญัติอิสลาม คำถามที่ 117 (ไซต์) มรดกที่เท่าเทียมกันระหว่างชายกับหญิง คำถามที่ 536 (ไซต์ 585) ชายมิได้ดีกว่าหญิง คำถามที่ 531 (ไซต์ 579)

[19] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำสุภาษิตที่, 61.

[20]  เช่น นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนา 80, «ان النساء النواقص الایمان...». อันที่จริงสตรีคือ ผู้มีศรัทธาไม่สมบูรณ์

[21] «فان المراة ریحانة و لیست بقهرمانة»،นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, จดหมายที่ 31.

[22] อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ, 32.

[23] ญามิอ์ อะฮาดีซ อัชชีอะฮฺ, เล่ม 21, หน้า 428-429

[24]  «و عاشر و هن بالمعروف» อัลกุรอาน บทนิซาอฺ, 19.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
    8884 پیامبران و کتابهای آسمانی 2555/09/29
    อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ ท่านเคฎ ไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวในฐานะของ "عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً" “แล้วทั้งสองได้พบบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้จากเราให้แก่เขา”[i] โองการสาธยายถึงฐานะภาพความเป็นบ่าว และความรู้อันเฉพาะของเขา,และอยู่ในฐานะของครูของมูซา บิน อิมรอน ซึ่งรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำถึงชายผู้มีความรู้นี้คือ เคฎ นั่นเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้มีความรู้ และได้รับความโปรดโปรานอันเฉพาะจากพระผู้อภิบาล นอกจากนั้นท่านยังล่วงรู้ในระบบกฎเกณฑ์การสร้างสรรค์โลก ความเร้นลับบางประการ และในด้านหนึ่งเป็นครูของศาสดามูซา บิน อิมรอน แม้ว่ามูซาจะมีความรู้เหนือพวกเขาอยู่หลายด้านก็ตาม บางส่วนของรายงาน และคำอรรถาธิบายโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าเขามีฐานะเป็นนะบี และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกส่งมา ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเพื่อประชาชาติของเขา เพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว การเป็นศาสดา ...
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    8470 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย
  • โองการที่ 144 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนบ่งบอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือไม่?
    9315 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ขณะที่เกิดข่าวลือในหมู่มุสลิมขณะทำสงครามอุฮุดว่าท่านนบีถูกสังหารแล้ว อันทำให้มุสลิมบางส่วนถอนตัวจากสงคราม ถึงขั้นที่บางคนหวังจะขอประนีประนอมกับพวกศัตรูและยอมออกจากศาสนาอิสลาม ในสถานการณ์ดังกล่าว โองการข้างต้นได้ประทานลงมาเพื่อตำหนิมุสลิมที่คิดจะปลีกตัวจากสงครามอย่างเผ็ดร้อน โดยสอนว่ามุสลิมจะต้องมั่นคง ในศาสนาไม่ว่าท่านนบีจะมีชีวิตอยู่หรือถูกสังหารไปแล้วก็ตาม จงอย่าหวั่นไหวในศรัทธาเด็ดขาดฉะนั้น กริยา قُتِلَ (ถูกสังหาร) เป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งที่กุรอานนำเสนอว่า แม้ท่านนบีจะเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นถูกสังหารก็ตาม มุสลิมจะต้องมั่นคงในศาสนาและไม่หวั่นไหวในภารกิจของตน ด้วยเหตุนี้ โองการดังกล่าวจึงใช้พิสูจน์ว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดไม่ได้ ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7815 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    6441 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    8477 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    10767 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • ขนแมวมีกฎว่าอย่างไร?
    10842 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ถ้าหากวัตถุประสงค์ของคำถามถามว่าขนแมวในทัศนะของฟิกฮฺมีกฎว่าอย่างไร? ต้องกล่าวว่าในหมู่สัตว์ทั้งหลายเฉพาะสุนัขและสุกรที่ใช้ชีวิตบนบกนะยิส[1]ด้วยเหตุนี้แมวที่มีชีวิตและขนของมันถือว่าสะอาดแต่อุจจาระและปัสสาวะแมว[2]นะยิสซึ่งกฎข้อนี้มิได้จำกัดเฉพาะแมวเท่านั้นทว่าอุจจาระและปัสสาวะของสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม (ห้ามบริโภค) และมีเลือดไหลพุ่งขณะเชือดถือว่านะยิส
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6060 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • เพราะสาเหตุใดส่วนแบ่งมรดกของสตรีจึงได้เพียงครึ่งหนึ่งของชาย?
    5774 สิทธิและกฎหมาย 2554/04/21
    จากการศึกษาเกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์อิสลามและประวัติความเป็นมาของค่าปรับจะเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความจำกัดพิเศษเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการชดเชยสิ่งที่เสียหายไปอีกด้านหนึ่งในสังคมซึ่งอิสลามได้พยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์หรือพยายามสร้างสังคมที่มีความสมบูรณ์จึงได้กำหนดกิจกรรมหลังของสังคมด้านเศรษฐศาสตร์ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสังคมกล่าวคืออิสลามได้มองเรื่องเศรษฐศาสตร์ภาพรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายชายทำให้ได้รับผลอย่างหนึ่งว่าผู้ชายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบบางหน้าที่ซึ่งฝ่ายหญิงได้รับการละเว้นเอาไว้ขณะที่หน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญที่สุดสำหรับสตรีคนหนึ่งคือการจัดระบบและระเบียบเรื่องค่าใช้จ่ายและการเป็นอยู่ของครอบครัวถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบในบทความนี้ท่านผู้อ่านสมารถเข้าใจเหตุผลได้อย่างง่ายดายว่า

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59032 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41356 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38137 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37891 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33206 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27310 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26927 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26809 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24897 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...