การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7123
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/03/07
คำถามอย่างย่อ
มีการประทานโองการที่เกี่ยวกับอิมามอลี(อ.)ในเดือนใดมากที่สุด?
คำถาม
มีการประทานโองการที่เกี่ยวกับอิมามอลี(อ.)ลงมาในเดือนใดมากที่สุด?
คำตอบโดยสังเขป

เพื่อไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นควรทราบข้อสังเกตุดังต่อไปนี้
1. โดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษที่กล่าวถึงเหตุแห่งการประทานโองการกุรอานมีสองประเภท หนึ่ง. เล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคของท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ  สอง. เล่าถึงโองการที่ประทานลงมาเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยมิได้กล่าวถึงรายละเอียดเหตุการณ์ อย่างเช่นโองการที่เกี่ยวกับฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และอิมาม(อ.)ท่านอื่นๆ[1]

2. โองการกุรอานประทานลงมาสู่ท่านนบี(ซ.ล.)เป็นระยะๆตามแต่เหตุการณ์ วันเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน ทว่ามีบางโองการเท่านั้นที่มีฮะดีษช่วยระบุถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าว หรืออาจจะมีฮะดีษที่ระบุไว้แต่มิได้ตกทอดถึงยุคของเรา

3. มีโองการมากมายที่กล่าวถึงฐานันดรภาพของท่านอิมามอลี(อ.)และมะอ์ศูมีน(อ.)ท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพิสูจน์และตีแผ่หลักการสำคัญอย่างเช่นหลักอิมามะฮ์ (ภาวะผู้นำภายหลังนบี)

หากพิจารณาเหตุแห่งการประทานโองการต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าโองการที่กล่าวถึงฐานันดรภาพและภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)มักจะประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่นโองการต่อไปนี้

หนึ่ง.
 يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللَّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللَّهَ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكافِرينَ
“โอ้ศาสนทูต จงเผยแผ่สิ่งที่ประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า มาตรว่าเจ้าไม่ปฏิบัติ ก็เท่ากับว่ามิได้เผยแผ่สาส์นใดๆของพระองค์เลย และพระองค์จะปกปักษ์เจ้าให้พ้นจาก(ภยันตรายของ)ผู้คน แท้จริงพระองค์มิทรงนำทางกลุ่มชนผู้ปฏิเสธ”[2]

สอง.
الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دينَكُمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتي‏ وَ رَضيتُ لَكُمُ الْإِسْلامَ ديناً
“วันนี้ ข้าได้เติมเต็มศาสนาของสูเจ้าให้สมบูรณ์สำหรับสูเจ้า และได้ประทานเนี้ยะมัตอย่างถึงขีดสุด และพึงพอใจให้อิสลามเป็นศาสนาของสูเจ้า”[3]

สองโองการข้างต้นประทานมาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)ในวันที่สิบแปด เดือนซุลฮิจญะฮ์[4]

สาม. ซูเราะฮ์อัลอินซานก็ประทานมาในวันที่ 25 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ตรงกับวันรุ่งขึ้นหลังจากที่อิมามอลีและครอบครัวได้เลี้ยงอาหารแก่เชลยศึก[5]

สี่.
إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذينَ آمَنُوا الَّذينَ يُقيمُونَ الصَّلاةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكاةَ وَ هُمْ راكِعُون

“ผู้ปกครองของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ และเหล่าผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซและจ่ายซะกาตในขณะโค้งรุกู้อ์”[6]

โองการนี้ (ที่เป็นที่รู้จักในนามโองการแห่งวิลายะฮ์[7]) ก็ประทานมาในวันที่ 24 ซุลฮิจญะฮ์[8]

นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโองการที่ประทานมาในเดือนซุลฮิจยะฮ์ ตลอดจนวันสำคัญต่างๆในเดือนนี้ได้จากหนังสือ “มะซารุชชีอะฮ์” ประพันธ์โดยเชคมุฟี้ด[9]
สรุปคือ ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้ทราบว่า โองการที่เกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)ประทานลงมาในเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นส่วนใหญ่

คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด

 

 


[1] ฮัยดัร, ฮะซัน มุฮ์ซิน, อัสบาบุนนุซูลุลกุรอานี ตารีควะฮะกออิก,หน้า 113,114,ศูนย์การศึกษาอิสลามระดับโลก,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1385,ฮ.ศ.1427

[2] มาอิดะฮ์,ย่อความจากระเบียน “ภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)” คำถามที่ 7277(ลำดับในเว็บไซต์ 7554)

[3] มาอิดะฮ์,3

[4] ดู: ดาวู้ดพะนอฮ์,อบุลฟัฎล์,อันวารุ้ลอิรฟาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 10,หน้า 55,56,สำนักพิมพ์ศ็อดร์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1375 และหาอ่านได้จากระเบียน “หลักฐานของอำนาจหน้าที่ของมะอ์ศูมีน(อ.)” คำถามที่ 18(ลำดับในเว็บไซต์ 218), “เหตุผลความเชื่อต่อหลักอิมามัตและเหล่าอิมาม” คำถามที่ 321(ลำดับในเว็บไซต์ 2707), “พิสูจน์ภาวะผู้นำของอิมามอลี(อ.)จากกุรอาน” คำถามที่ 324(ลำดับในเว็บไซต์ 1817)

[5] ฮุจญะตี,ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร,เหตุแห่งการประทานโองการ,หน้า 36,สำนักเผยแพร่วัฒนธรรมอิสลาม,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่หก,ปี1377

[6] ย่อความจากคำถามที่ 7277(ลำดับในเว็บไซต์ 7554)

[7] ดู: ระเบียน “หลักฐานของอำนาจหน้าที่ของมะอ์ศูมีน(อ.)” คำถามที่ 18(ลำดับในเว็บไซต์ 218), “เหตุผลความเชื่อต่อหลักอิมามัตและเหล่าอิมาม” คำถามที่ 321(ลำดับในเว็บไซต์ 2707), “พิสูจน์ภาวะผู้นำของอิมามอลี(อ.)จากกุรอาน” คำถามที่ 324(ลำดับในเว็บไซต์ 1817)

[8] เชคมุฟี้ด,มะซารุชชีอะฮ์,หน้า 41,สัมมนาเชคมุฟี้ด,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1413

[9] มะซารุชชีอะฮ์,หน้า 36-42

 

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6633 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • จากเนื้อหาของดุอากุเมล บาปประเภทใดที่จะทำให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาด บะลาถาโถมมา และทำให้ดุอาไม่ได้รับการตอบรับ?
    9751 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/13
    โดยปกติแล้วบาปทุกประเภทจะเป็นเหตุให้ม่านแห่งความละอายถูกฉีกขาดบาปทุกประเภทสามารถทำให้เกิดบะลายับยั้งการตอบรับดุอาและริซกีของมนุษย์ได้ทั้งสิ้นเหล่านี้เป็นผลกระทบตามธรรมชาติของการทำบาปซึ่งตำราวิชาการของเราก็เน้นย้ำไว้เช่นนี้อย่างไรก็ดีบางฮะดีษเจาะจงถึงผลลัพท์ของบาปบางประเภทเป็นการเฉพาะอาทิเช่นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่น
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7193 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
    5743 รหัสยทฤษฎี 2555/03/12
    มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์ ...
  • ใครคือบุคคลทีได้เข้าสรวงสวรรค์?
    9583 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    จากการศึกษาอัลกุรอานหลายโองการเข้าใจได้ว่าสวรรค์คือพันธสัญญาแน่นอนของพระเจ้าและจะตกไปถึงบุคคลที่มีความสำรวมตนจากความชั่ว “มุตตะกี”หรือผู้ศรัทธา “มุอฺมิน” ผู้ที่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้า (ซบ.) และคำสั่งสอนของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) โดยสมบูรณ์บุคคลเหล่านี้คือผู้ได้รับความจำเริญและความสุขอันแท้จริงและเป็นผู้อยู่ในกลุ่มของผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายด้วยการพิจารณาพระบัญชาของอัลลอฮฺ (
  • เราสามารถทำงานในร้านที่ผลิตหรือขายอาหารที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อสุกรได้หรือไม่?
    5909 ข้อมูลน่ารู้ 2557/03/04
    บรรดามัรญะอ์ตักลี้ด (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อิสลาม) ต่างก็ไม่อนุญาตให้ทำงานในสถานประกอบการที่จัดจำหน่ายสิ่งฮะรอม (ไม่อนุมัติตามหลักอิสลาม) ฉะนั้น หากหน้าที่ของท่านคือการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นการเฉพาะ งานดังกล่าวจะถือเป็นสิ่งฮะรอม ส่วนกรณีอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ถือว่าไม่มีข้อห้ามประการใด อย่างไรก็ดี สามารถสัมผัสอาหารฮะรอมตามที่ระบุในคำถามได้ (โดยไม่บาป) แต่หากสัมผัสขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จะต้องชำระล้างนะญิส (มลทินภาวะทางศาสนา) ด้วยน้ำสะอาดตามที่ศาสนากำหนด ...
  • มีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สามีภรรยาเข้าใจกันและกัน
    7915 จริยธรรมทฤษฎี 2555/09/15
    ความซื่อสัตย์คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตคู่ ในทางตรงกันข้าม ภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานระหว่างคู่รักก็คือความไม่ไว้วางใจและการหลอกลวงกัน จากที่คุณถามมา พอจะสรุปได้ว่าคุณสองคนขาดความไว้วางใจต่อกัน ขั้นแรกจึงต้องทำลายกำแพงดังกล่าวเสียก่อน วิธีก็คือ จะต้องหาต้นตอของความไม่ไว้วางใจให้ได้ แล้วจึงสะสางให้เป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากเสริมสร้างความไว้วางใจได้สำเร็จ ไม่ว่าคุณไสยหรือเวทมนตร์คาถาใดๆก็ไม่อาจจะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับภรรยาได้อีก ...
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7097 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8382 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59366 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...