การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9126
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1535 รหัสสำเนา 18289
คำถามอย่างย่อ
มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
คำถาม
เชคกุลัยนีกล่าวไว้ในหนังสืออัลกาฟีย์,เล่ม1,หน้า239 ว่า "สหายของเราบางท่านรายงานจากอะห์มัด บิน มุฮัมมัด จากอับดุลลอฮ์ บิน ฮัจญ้าล จากอะห์มัด บิน อุมัร ฮะละบี จากอบูบะศี้ร รายงานว่า ตนได้เข้าพบท่านอิมามศอดิก(อ.)และกล่าวกับท่านว่า "ท่านขอรับ กระผมต้องการถามปัญหาสักข้อหนึ่ง ไม่ทราบว่าในที่นี้มีผู้ใดได้ยินเสียงกระผมหรือไม่?" ท่านอิมาม(อ.)เปิดม่านดูว่าไม่มีผู้ใดอยู่ จึงกล่าวว่า "เชิญถามมาเถิด" ฉันเอ่ยว่า "ท่านขอรับ ...ฯลฯ" ท่านหยุดนิ่งชั่วครู่ แล้วเอ่ยขึ้นว่า "มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์อยู่ ณ เรา คนทั่วไปจะรู้อะไรเกี่ยวกับมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์!" ฉันจึงถามว่า "แล้วมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไรหรือครับ?" ท่านตอบว่า "เป็นรูปเล่มที่หนาสามเท่าของกุรอานที่มีอยู่ทั่วไป ขอสาบานต่อพระองค์ ในเล่มนี้ไม่มีแม้คำเดียวที่เป็นกุรอาน" ฉันกล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ นี่แหล่ะคือวิชาการที่สมบูรณ์" ท่านตอบว่า "นี่ก็เป็นคลังวิชาการ แต่มิไช่ความรู้อันสมบูรณ์"
คำถามก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)และเศาะฮาบะฮ์ทราบหรือไม่ว่ามุศฮัฟฟาฏิมะฮ์มีอยู่จริง? หากท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ทราบเรื่องนี้ เหตุใดอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านจึงทราบ แต่ท่านกลับไม่ทราบทั้งที่เป็นศาสดา? แต่ถ้าท่านทราบเรื่องนี้ เหตุใดจึงปกปิดอุมมัตของท่าน ทั้งที่อัลลอฮ์ตรัสว่า "โอ้ศาสนทูต จงเผยแพร่สิ่งที่ประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า(อย่างสมบูรณ์) มาตรว่าเจ้าไม่ปฏิบัติ เท่ากับว่ามิได้ปฏิบัติภารกิจใดๆที่ได้รับจากพระองค์เลย"
คำตอบโดยสังเขป

มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้ว เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต ตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(..) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมาม และเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมาม ปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(.)
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(..) จึงไม่มีฮะดีษใดๆจากนบีเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่มิได้หมายความว่าท่านจะไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะเราเชื่อว่าท่านสามารถหยั่งรู้อนาคตได้ด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นสัญลักษณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งอิมามเท่านั้น บุคคลทั่วไปจึงไม่อาจจะล่วงรู้เนื้อหาภายในได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร?
มุศฮัฟแปลว่าเอกสารชุดที่มีการรวมเล่มขนาบด้วยปกสองด้าน ฉะนั้นจึงสามารถเรียกหนังสือทั่วไปว่ามุศฮัฟได้ บรรพชนมุสลิมยุคแรกก็เรียกกุรอานว่ามุศฮัฟ[1]
ตำราอิสลามมีการกล่าวถึงหนังสือที่บรรดามะอ์ศูมีนครอบครองเป็นการเฉพาะ บุคคลเหล่านี้เป็นกลุ่มเดียวที่รู้ถึงเนื้อหาภายใน หนังสือเหล่านี้อาทิเช่น กิตาบอลี(.), มุศฮัฟอลี(.) และมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์(.)
แหล่งอ้างอิงบางเล่มเรียกหนังสือเล่มท้ายสุดว่ามุศฮัฟฟาฏิมะฮ์, เศาะฮีฟะฮ์ ฟาฏิมะฮ์, กิตาบฟาฏิมะฮ์[2] อย่างไรก็ดี มีรายงานไม่น้อยที่กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ บางรายงานไม่น่าเชื่อถือนัก แต่บางรายงานมีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์ ทำให้พอจะมั่นใจได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีจริง แม้แต่ละรายงานจะแตกต่างกันเกี่ยวกับรายละเอียดปลีกย่อยของหนังสือก็ตาม

มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์บันทึกอย่างไร?
ภายหลังการวะฝาตของท่านนบี(..) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรีของท่านระทมทุกข์ด้วยความอาลัยอย่างยิ่ง การจากไปของบิดายังความทุกข์โศกอย่างหนักแก่เธอ
มีฮะดีษที่น่าเชื่อถือรายงานว่า มีมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งได้รับภารกิจให้ลงมาปลอบโยนเธอตั้งแต่หลังนบีวะฝาตจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตเธอ บางฮะดีษระบุว่ามะลาอิกะฮ์องค์นี้ก็คือญิบรออีล[3] ซึ่งได้แจ้งความเป็นอยู่ของท่านนบี(..)ในอาลัมบัรซัค ตลอดจนเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้มีฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า
"
หลังจากท่านนบี(..)วะฝาตไป ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์โศกสลดต่อการสูญเสียบิดาเป็นอย่างยิ่ง อัลลอฮ์เท่านั้นที่ทรงทราบขีดความทุกข์ระทมของเธอ พระองค์จึงส่งมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งมาเพื่อปลอบโยนเธอให้คลายความเศร้าตรม ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ได้เล่าให้ท่านอิมามอลี(.)ทราบ และท่านอิมามอลี(.)ได้จดบันทึกไว้ นี่คือที่มาของการเรียบเรียงมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"[4]
จากฮะดีษข้างต้นทำให้ทราบว่า มุศฮัฟนี้เรียบเรียงขึ้นโดยท่านอิมามอลี(.)ภายหลังนบี(..)วะฝาต มีเนื้อหาเป็นถ้อยคำของมะลาอิกะฮ์ที่กล่าวแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) อย่างไรก็ดี ฮะดีษอีกชุดหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าฮะดีษชุดข้างต้นระบุว่ามุศฮัฟนี้บันทึกในสมัยที่ท่านนบี(..)ยังมีชีวิตอยู่ โดยซัยยิด ญะฟัร มุรตะฎอ อามิลี ได้พยายามรวมสองทัศนะเข้าด้วยกันว่า อาจจะเริ่มบันทึกตั้งแต่สมัยท่านนบี(..)และดำเนินเรื่อยมาแม้หลังนบีวะฝาตก็เป็นได้[5]

ประเด็นการสนทนาระหว่างมะลาอิกะฮ์กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อ กุรอานก็กล่าวไว้ว่า "และเมื่อมวลมะลาอิกะฮ์กล่าวว่า โอ้มัรยัม อัลลอฮ์ทรงเลือกสรรเธอ และชำระเธอ และคัดเลือกเธอให้เหนือกว่าเหล่าอิสตรี"[6] ท่านหญิงมัรยัมได้รับเกียรติถึงเพียงนี้เพราะเป็นนายหญิงของอิสตรีในยุคของนาง ฉะนั้นจึงไม่ไช่เรื่องแปลกที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ผู้เป็นประมุขหญิงของเหล่าอิสตรีนับแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้ายจะได้รับเกียรติเช่นนี้เช่นกัน

เนื้อหาของมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์(.)
เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้สามารถจำแนกเนื้อหาของมุศฮัฟได้ดังนี้
1. เรื่องราวในอนาคต[7]
2. คำสั่งเสียของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[8]
3. รายนามของผู้ที่จะขึ้นครองอำนาจจวบจนถึงวันกิยามะฮ์[9]
4.
ข่าวคราวเกี่ยวกับบุตรหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[10]
5. ข่าวคราวเกี่ยวกับท่านนบี(..)ภายหลังจากวะฝาต[11]
ตัวอย่างฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้:
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)มีชีวิตอยู่ภายหลังท่านนบี(..)เพียง 75 วัน ระหว่างนี้เธอโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการจากไปของผู้เป็นบิดา ช่วงเวลานี้เองที่ญิบรออีล(.)หมั่นมาเยี่ยมเยียนเธอ และแสดงความเสียใจตลอดจนปลอบประโลมเธอให้คลายความเศร้าหมอง โดยได้เล่าความเป็นอยู่ของท่านนบี(..)และสถานะของท่านในอาลัมบัรซัค อีกทั้งเล่าความเป็นไปของบุตรหลานของนางในอนาคต โดยที่อิมามอลี(.)ได้จดบันทึกคำบอกเล่าดังกล่าวไว้ กระทั่งเรียบเรียงเป็นมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"[12]

บรรดาอิมาม(.)เน้นย้ำถึงความแตกต่างระหว่างกุรอานและมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์
เมื่อพิจารณาฮะดีษบางบท ทำให้เข้าใจว่าพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์รู้จักมุศฮัฟนี้ตั้งแต่ยุคแรกๆ โดยคิดไปว่าชีอะฮ์เชื่อว่า โองการกุรอานที่ถูกบิดเบือนและตัดทอนออกไปได้รับการรวบรวมไว้ในมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม(.)จึงปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่มีโองการกุรอานใดๆอยู่ในมุศฮัฟนี้[13] อัลลามะฮ์ อัสกะรี กล่าวว่า "นักเขียนชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านได้ใส่ใคล้ผู้เลื่อมใสในสายธารอะฮ์ลุลบัยต์ว่ามีกุรอานอีกเล่มหนึ่งนามว่า มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากตำราเล่มนี้ชื่อมุศฮัฟ ซึ่งไปพ้องกับที่มุสลิมในยุคแรกเรียกกุรอานว่ามุศฮัฟ"[14] มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)ระบุว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์อยู่  เรา ซึ่งไม่มีโองการกุรอานในนี้เลยแม้แต่โองการเดียว"[15]

สัญลักษณ์แห่งอิมามัต
มีฮะดีษที่ค่อนข้างยาวจากอิมามริฎอ(.)กล่าวถึงสัญลักษณ์ของอิมามว่า "สัญลักษณ์หนึ่งของอิมามก็คือการมีมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ไว้ในครอบครอง"[16] ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า "ก่อนที่ท่านอิมามบากิร(.)จะเป็นชะฮีดนั้น ท่านได้มอบมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์แก่ฉัน"[17]
มุศฮัฟนี้ส่งทอดกันมาระหว่างอิมามจากรุ่นสู่รุ่น และปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(.)

ท่านนบี(..)ทราบเกี่ยวกับมุศฮัฟหรือไม่?
เนื่องจากฮะดีษมากมายระบุว่ามุศฮัฟฟาฏิมะฮ์(.)เรียบเรียงขึ้นในยุคอิมามอลี(.)ภายหลังนบี(..)วะฝาตไปแล้ว จึงไม่มีการเอ่ยถึงมุศฮัฟดังกล่าวในวจนะของท่านนบี(..) อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่าท่านไม่อาจจะล่วงรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะเราเชื่อว่าท่านนบี(..)มีความสามารถที่จะทราบเรื่องราวในอนาคตด้วยพลานุภาพจากอัลลอฮ์ กุรอานระบุว่าท่านเป็นประจักษ์พยานที่สามารถล่วงรู้การทุกกระทำและเหตุการณ์ได้ สรุปคือ มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คือหนึ่งในสัญลักษณ์ของอิมาม และอิมามเท่านั้นที่มีสิทธิ์ครอบครอง
อย่างไรก็ดี หากเป็นไปตามเนื้อหาของฮะดีษบางบทที่ระบุว่ามุศฮัฟมีมาตั้งแต่สมัยท่านนบี(..)และเรียบเรียงขึ้นโดยคำบอกเล่าของท่าน แน่นอนว่าท่านย่อมทราบเรื่องนี้ดี

ประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือ มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์มิไช่โองการกุรอาน ที่ท่านนบี(..)จะมีหน้าที่ต้องเผยแพร่เนื้อหาให้สาธารณชนทราบ อีกทั้งท่านนบี(..)เองก็ไม่มีโอกาสจะสอนสั่งทุกสิ่งทุกอย่างในช่วงชีวิตของท่าน ทำให้ต้องส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่วงศ์วานของท่านแทน[18] ฉะนั้น การที่ท่านนบี(..)มิได้แจ้งเกี่ยวกับมุศฮัฟให้ประชาชาติของท่านทราบ ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้



[1] ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 9,หน้า186

[2] อิบนิ บาบะวัยฮ์,อัลอิมามะฮ์วัลตั้บศิเราะฮ์,หน้า12

[3] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 241

[4] เพิ่งอ้าง,เล่ม 1,หน้า 238

[5] ซัยยิดญะฟัร มุรตะฎอ,ค็อลฟีย้าต กิตาบ มะอ์ซาตุซซะฮ์รออ์,เล่ม 6,หน้า 57-58

[6] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน, 42

[7] อัลอิห์ติญ้าจ,เล่ม 2,หน้า 134

[8] เพิ่งอ้าง,เล่ม 1,หน้า 241

[9] เพิ่งอ้าง,เล่ม 2,หน้า 134

[10] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 241

[11] เพิ่งอ้าง

[12] เพิ่งอ้าง

[13] มัฆนียะฮ์,มุฮัมมัด ญะว้าด,อัชชีอะฮ์ ฟิ้ลมีซาน,หน้า 61

[14] มะอาลิมุ้ลมัดเราะสะตัยน์,เล่ม 2,หน้า 32

[15] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 238

[16] มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 4,หน้า 419

[17] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 26,หน้า 47

[18] ดังที่ปรากฏในฮะดีษษะเกาะลัยน์อันน่าเชื่อถือ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمُ الثَّقَلَیْنِ مَا إِنْ تَمَسَّکْتُمْ بِهِمَا لَنْ تَضِلُّوا کِتَابَ اللَّهِ وَ عِتْرَتِی أَهْلَ بَیْتِی وَ إِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 27,หน้า 33

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...